ยกระดับจิตสำนึกพนักงาน สร้างวัฒนธรรมองค์กรตระหนักภัยไซเบอร์

Loading

  ในโลกดิจิทัลที่ภัยคุกคามทางไซเบอร์ทวีความรุนแรงและซับซ้อนยิ่งขึ้น ข้อมูลจาก การ์ทเนอร์ ชี้ให้เห็นถึงความท้าทายสำคัญที่องค์กรกำลังเผชิญ เมื่อพนักงานถึง 93% รับทราบถึงพฤติกรรมของตนเองที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยง และน่าตกใจยิ่งกว่านั้นคือ 74% ยอมที่จะละเมิดนโยบายความปลอดภัยเพื่อบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าแนวทางการสร้างความตระหนักรู้แบบเดิมๆ อาจไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเสี่ยงเหล่านั้นอย่างยั่งยืน   Leigh McMullen รองประธาน นักวิเคราะห์ และ Gartner Fellow ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งได้นำเสนอแนวคิดอันน่าสนใจภายใต้หัวข้อ “ปลุกสำนึกพนักงานให้เห็นความสำคัญของความเสี่ยงไซเบอร์มากขึ้น” เพื่อเป็นแนวทางให้องค์กรต่างๆ ปรับกลยุทธ์ในการเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยที่เข้มแข็งและยั่งยืน   แม้ว่าองค์กรส่วนใหญ่จะทุ่มเททรัพยากรไปกับการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์และการลดความเสี่ยง แต่ผลลัพธ์ที่ได้กลับไม่เป็นที่น่าพอใจนัก สาเหตุสำคัญไม่ได้อยู่ที่การขาดความเข้าใจในหลักการพื้นฐาน แต่เป็นเพราะพนักงานส่วนใหญ่มองข้ามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองและองค์กร พวกเขาคุ้นชินกับการหาทางลัดในการทำงาน ซึ่งรวมถึงการละเลยมาตรการความปลอดภัยโดยไม่ได้ตระหนักถึงผลลัพธ์ที่ตามมาอย่างแท้จริง   เพื่อแก้ไขปัญหานี้ องค์กรจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนมุมมองและสร้างการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมอย่างจริงจัง ผู้บริหารด้านความปลอดภัยต้องก้าวข้ามกรอบของการสื่อสารเชิงเทคนิค ไปสู่การสร้างความรู้สึกร่วมและความเข้าใจในระดับบุคคล เพื่อให้พนักงานตระหนักถึงความเสี่ยงทางไซเบอร์ในฐานะที่เป็นเรื่องใกล้ตัวและมีผลกระทบที่จับต้องได้   นอกเหนือจาก การบังคับใช้บทลงโทษ องค์กรควรให้ความสำคัญกับการสร้างกลไกเชิงวัฒนธรรม ที่อาศัยแรงกดดันจากกลุ่มเพื่อนร่วมงานและการปลูกฝังค่านิยมที่ถูกต้อง ตัวอย่างที่น่าสนใจในอดีตคือแคมเปญ “ปากพล่อย พลอยล่มจม” ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ซึ่งสามารถสร้างความตระหนักถึงผลกระทบของการเปิดเผยข้อมูลแม้เพียงเล็กน้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเชื่อมโยงการกระทำของแต่ละบุคคลเข้ากับผลลัพธ์ที่ร้ายแรงต่อส่วนรวม ในบริบทขององค์กรปัจจุบัน คำถามที่น่าพิจารณาคือ เราจะออกแบบโปรแกรมด้านพฤติกรรมและวัฒนธรรมความปลอดภัยอย่างไรให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่า   หัวใจสำคัญคือการทำให้พนักงานตระหนักว่าการละเมิดนโยบายความปลอดภัยไม่ใช่เพียงแค่การฝ่าฝืนกฎระเบียบ แต่เป็นการกระทำที่ “ไม่ภักดีต่อองค์กร”…

Ghibli Effect และปัญหาลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ AI

Loading

ผู้ใช้สามารถวาดภาพตัวเองในรูปแบบแอนิเมชั่นที่พวกเขาชื่นชอบ หรือแม้แต่สร้างรูปภาพที่เหมือนจริงของคนดังในสถานการณ์ต่าง ๆด้วยเหตุนี้ ผู้คนจึงอัปโหลดเซลฟี่เพื่อสร้างผลงานชิ้นเอกที่ได้รับแรงบันดาลใจจาก Ghibli เพียงแค่กด enter

สตช. เผยโฉม หุ่นยนต์ตำรวจ AI สุดล้ำ จดจำใบหน้า-ตรวจจับอาวุธได้ คุมเข้มความปลอดภัยช่วงสงกรานต์

Loading

      “Summary“ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เผยโฉมหุ่นยนต์ตำรวจ Robocop “AI Police Cyborg 1.0” ในชื่อ “พ.ต.อ.นครปฐม ปลอดภัย” ที่ช่วยดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยวในช่วงสงกรานต์ในย่านถนนต้นสน จังหวัดนครปฐม       ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 7 และตำรวจภูธรจังหวัดนครปฐม ร่วมกับเทศบาลนครนครปฐมได้เผยโฉม “พ.ต.อ.นครปฐม ปลอดภัย” หุ่นยนต์ตำรวจ Robocop “AI Police Cyborg 1.0” ที่มีกล้อง AI อัจฉริยะรอบตัวเพื่อดูแลความปลอดภัยให้แก่นักท่องเที่ยว ณ ถนนต้นสน จังหวัดนครปฐม โดยทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติระบุเอาไว้ถึงความสามารถของหุ่นยนต์ตัวนี้ว่า “เจ้า Police Cyborg นี้มีความสามารถในการดึงกล้อง CCTV ธรรมดาที่มีอยู่แล้วบริเวณในและรอบงาน รวมทั้ง Drone ที่บินดูแลรักษาความปลอดภัย เข้ามารวมกันและประมวลผลด้วยระบบ AI ที่สมองของ Cyborg เปลี่ยนกล้องธรรมดาเดิมรวมทั้งกล้องรอบตัว ให้มีความสามารถ…

รัฐบาลทรัมป์เล็งแบน DeepSeek มองว่าเป็น ‘ภัยคุกคามร้ายแรง’ ต่อความมั่นคงสหรัฐ

Loading

  KEY POINTS สหรัฐกำลังพิจารณาแบน DeepSeek แชตบอตเอไอจากจีน อาจห้ามไม่ให้บริษัทนี้ซื้อชิปเอไอจากอินวิเดียและอาจถึงขั้นห้ามคนอเมริกันใช้งาน DeepSeek คณะกรรมการเฉพาะกิจของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ ระบุผ่านรายงานว่า DeepSeek เป็น “ภัยคุกคามร้ายแรง” ต่อความมั่นคงของสหรัฐ อินวิเดียยังต้องการรักษาความสัมพันธ์กับตลาดจีน แม้ว่าชิป H20 ที่ออกแบบมาให้ผ่านข้อจำกัดของสหรัฐก็ยังไม่สามารถขายได้ มาตรการของสหรัฐที่จำกัดการส่งออกชิปให้จีน อาจผลักดันให้จีนเร่งสร้างอุตสาหกรรมชิปของตัวเองให้แข็งแกร่งขึ้น     ตามรายงานของสำนักข่าว The New York Times เมื่อวันพุธ (16 เม.ย.) รัฐบาลของโดนัลด์ ทรัมป์กำลังพิจารณาแบน DeepSeek ซึ่งเป็นแชตบอตปัญญาประดิษฐ์ (AI) จากจีน อาจห้ามไม่ให้บริษัทนี้ซื้อชิปเอไอจาก อินวิเดีย และอาจถึงขั้นห้ามคนอเมริกันใช้งาน DeepSeek  สาเหตุหลักเป็นเพราะรัฐบาลสหรัฐต้องการสู้กับจีนในเรื่องเทคโนโลยีเอไอ โดยหลังจาก DeepSeek เริ่มได้รับความนิยมในสหรัฐ ทั้งในวงการเทคโนโลยีและนักลงทุน รัฐบาลก็เริ่มมองหาวิธีป้องกันไม่ให้จีนเข้าถึงเทคโนโลยีและผู้ใช้งานในสหรัฐมากเกินไป   ความกังวลของสหรัฐไม่ได้มีเพียงแค่ด้านเศรษฐกิจ แต่ยังเกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งชาติ เนื่องจากเอไอถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่มี ความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ และรัฐบาลสหรัฐกังวลว่า การที่จีนมีความก้าวหน้าในด้านเอไออาจส่งผลกระทบต่อความเป็นผู้นำทางเทคโนโลยีและอำนาจทางการทหารของสหรัฐในระยะยาว     ความขัดแย้งทางเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐและจีนทวีความรุนแรง คณะกรรมการเฉพาะกิจของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐ…

บิล เกตส์ เผย AI รุกคืบอาชีพ ‘ครู-แพทย์’ คนเกษียณเร็วขึ้น ทำงานน้อยลง

Loading

บิล เกตส์ (Bill Gates) ผู้ร่วมก่อตั้งไมโครซอฟท์ ได้กล่าวถึงผลกระทบของเอไอที่จะมีต่ออาชีพครูและแพทย์ โดยเป็นอาชีพที่เราเคยคิดว่าปลอดภัยจากการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีในรายการพอดแคสต์ People by WTF มหาเศรษฐีผู้นี้อธิบายว่า เอไอจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนบุคลากร ซึ่งเป็นปัญหาที่มีมานานทั่วโลก เขายกตัวอย่างว่า ประเทศต่างๆ ทั้งอินเดีย แอฟริกา และแม้แต่สหรัฐ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแพทย์อย่างรุนแรง

Global Risks Report 2025 ย้ำหายนะโลก! “เข้าสู่จุดเปลี่ยนที่ไม่อาจย้อนกลับ”

Loading

    โลกกำลังเดินหน้าสู่จุดเปลี่ยนครั้งใหญ่ที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ตามรายงาน Global Risks Report 2025 จาก World Economic Forum (WEF) ระบุว่า วิกฤตด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะสภาพภูมิอากาศรุนแรง และการล่มสลายของระบบนิเวศกำลังเป็นภัยคุกคามสำคัญที่สุดของมนุษยชาติ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว   ท่ามกลางโลกในปัจจุบันที่กำลังเผชิญกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ การแบ่งขั้วทางสังคม และภัยคุกคามจากสงครามที่ขยายตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้ว่าเศรษฐกิจโลกจะค่อย ๆ ฟื้นตัวจากความท้าทายหลัง โควิด-19 แต่สภาพแวดล้อมโลกกลับเต็มไปด้วยความขัดแย้งและความไม่แน่นอนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง   รายงานนี้อ้างอิงจากการสำรวจความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกว่า 900 คนทั่วโลก ซึ่งชี้ให้เห็นว่า ความเสี่ยงหลักที่โลกต้องเผชิญในปี 2025 มีลักษณะที่ซับซ้อนและเกี่ยวพันกัน โดยเฉพาะสงครามระหว่างรัฐ วิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ และการแบ่งขั้วทางการเมืองที่รุนแรงขึ้น   หนึ่งในประเด็นเร่งด่วนที่สุดคือ ความเสี่ยงจากสงครามระหว่างรัฐ ซึ่งกลายเป็นปัจจัยคุกคามอันดับ 1 ของปี 2025 อันเป็นผลจาก ความขัดแย้งทางทหาร ที่ปะทุขึ้นในหลายภูมิภาค เช่น สงครามในยูเครน ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง และสถานการณ์ในไต้หวัน ความไม่แน่นอนทางภูมิรัฐศาสตร์ได้ทำให้การเผชิญหน้าทางทหารและการใช้มาตรการกดดันทางเศรษฐกิจรุนแรงขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเผชิญหน้าในระดับที่อันตรายมากขึ้นในอนาคต   ขณะที่สภาพอากาศรุนแรง…