เรื่องต้องรู้? เมื่อประกาศใช้ ก.ม.ป้องกันโจรไซเบอร์!!

Loading

    ประกาศบังคับใช้อย่างเป็นทางการแล้ว!! สำหรับ พระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาตรการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี พ.ศ. 2566    หลังรัฐบาลเร่งตรา ก.ม.ฉบับนี้ออกมาใช้ให้เร่งด่วนที่สุด โดยหวัง “สกัดและเด็ดหัว” โจรไซเบอร์ ที่สร้างความเดือดร้อนและเสียหายทางทรัพย์สินให้กับประชาชนอย่างมาก!!   หลายคนอาจนึกไม่ออกว่า คนไทยตกเป็นเหยื่อมากแค่ไหน? จากสถิติของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ได้เปิดรับแจ้งความออนไลน์ ผ่าน https://thaipoliceonline.com/ ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีผู้เสียหายแจ้งความเป็นคดีสูงถึง 2.1 แสนคดี สร้างมูลค่าความเสียหายกว่า 3.1 หมื่นล้านบาท!!     หรือ เรียกง่ายๆ ว่า มีคนแจ้งความถึงวันละเกือบ 600 คดี!! ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคดีหลอกลวงซื้อขายสินค้า รองลงมาคือ หลอกให้โอนเงิน!!   ขณะที่การอายัดบัญชีของทางเจ้าหน้าที่ มีการขออายัด 50,649  เคส จำนวน 68,870 บัญชี  ยอดเงิน 6,723 ล้านบาท แต่สามารถอายัดได้ทัน 445 ล้านบาท เท่านั้น!?!   สิ่งที่จะบรรเทาความเสียหายให้ประชาชนได้ คือ ทำอย่างไรจะสามารถอายัดยัญชีได้เร็วที่สุด ก่อนที่เงินจะถูกโอนออกจากบัญชีไป เพราะหากเงิน “ลอย” ออกจากบัญชีของเราไปแล้ว การจะได้เงินคืนจึงเป็นเรื่องยาก!!   จึงได้มีการออก ก.ม.ฉบับนี้ เพื่อให้การแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น…

มุ่งสู่ประเทศที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

Loading

    ประเทศไทยมีความคืบหน้าเชิงประจักษ์ให้เห็น ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ยังมีความท้าทายหลายประการในการกำกับดูแลข้อมูลของภาครัฐ ที่ต้องได้รับการแก้ไข   เพื่อให้แน่ใจว่าพลเมืองทุกคนจะถูกรวมอยู่ในการสำรวจระดับชาติ และข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเชิงนโยบาย   รายงานขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ในปี 2565 ได้เสนอประเด็นสำคัญที่รัฐบาลไทยสามารถปรับปรุงได้ไว้หลายประการ รวมถึงมีเสียงสะท้อนจากผู้ใช้ข้อมูลของภาครัฐทั้งจากภาคเอกชน ประชาชน รวมถึงข้าราชการต่างกรมต่างกระทรวงกัน   ปัญหาหลักของข้อมูลไทยมีหลายประการ เฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับปรุงคุณภาพและความน่าเชื่อถือของข้อมูล   ในปัจจุบัน คุณภาพของข้อมูลที่รวบรวมโดยหน่วยงานของรัฐต่างๆ นั้นยังไม่สอดคล้องกัน บางแห่งมีข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์หรือยังทำความสะอาดข้อมูลไม่มากพอ ทำให้ยากต่อการนำมาใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้กำหนดนโยบาย   ประเทศไทยยังขาดการเชื่อมต่อของฐานข้อมูล และมีการแบ่งปันข้อมูลอย่างจำกัดระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เนื่องจากการทำงานแยกกันในการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล   ทำให้ยากสำหรับผู้กำหนดนโยบายภาคธุรกิจและประชาชนในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายตามหน่วยงานอย่างสะดวกและทันท่วงที   ปัญหาอีกประการที่สำคัญ คือ การเข้าถึงข้อมูลที่จำกัด ในขณะที่ไทยมีความก้าวหน้าอย่างมากในการเผยแพร่ข้อมูลสู่ภาคสาธารณะผ่านโครงการ Open Data Thailand แต่ยังพบว่าหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งยังไม่เปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะ   ปัจจุบันมีชุดข้อมูลเพียง 8,180 ชุดข้อมูล เมื่อเทียบกับการเปิดเผยข้อมูลของสหรัฐเมริกา ผ่าน Data.gov ที่มีปริมาณชุดข้อมูล 335,000 ชุดข้อมูล หรือเทียบว่าไทยเปิดข้อมูลเพียงร้อยละ…

‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

ติ๊กต๊อก : ทำไมโลกตะวันตกมองว่าบริษัทไอทีจีนเป็นภัยต่อความมั่นคง

Loading

    สภาคองเกรสของสหรัฐฯ เพิ่งเสร็จสิ้นการไต่สวนอย่างเคร่งเครียดกับนายโชว ซื่อ ชิว ซีอีโอของติ๊กต๊อก (Tik Tok) แอปพลิเคชันดูวิดีโอยอดนิยม หลังเกิดความระแวงสงสัยเรื่องความปลอดภัยของสื่อสังคมออนไลน์แพลตฟอร์มนี้ ซึ่งหลายประเทศกังวลว่าติ๊กต๊อกอาจมีสายสัมพันธ์ลับกับรัฐบาลจีน   ล่าสุดรัฐบาลสหรัฐฯขู่ว่า หากติ๊กต๊อกไม่ยอมขายกิจการในสหรัฐฯ ให้กับทางการ หรือยังคงยืนกรานจะอยู่ภายใต้การบริหารงานของบริษัทแม่ที่จีนต่อไป รัฐบาลสหรัฐฯ จะออกคำสั่งแบนติ๊กต๊อก โดยห้ามชาวอเมริกันใช้งานแอปพลิเคชันนี้อย่างเด็ดขาด   ชาติตะวันตกหลายประเทศได้ดำเนินมาตรการสกัดกั้นบริษัทด้านเทคโนโลยีของจีน โดยนอกจากติ๊กต๊อกแล้วยังมีแอปพลิเคชันและสื่อสังคมออนไลน์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจีนถูกสั่งแบนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเกรงว่าการใช้งานเทคโนโลยีเหล่านี้จะทำให้ความลับสำคัญรั่วไหล จนส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   มีมาตรการอะไรบ้างที่จำกัดการใช้งานติ๊กต๊อก   ติ๊กต๊อกเป็นสื่อสังคมหรือโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มหนึ่ง ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างและเผยแพร่คลิปวิดีโอสั้น ๆ โดยบริษัทแม่ของติ๊กต๊อกคือ “ไบต์แดนซ์” (ByteDance) บริษัทด้านเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ของจีน   ติ๊กต๊อกเริ่มดำเนินกิจการในปี 2016 และได้กลายมาเป็นหนึ่งในสื่อสังคมออนไลน์ยอดนิยมสามอันดับแรกของโลก โดยมีผู้ใช้งานถึงกว่า 1,000 ล้านคนต่อเดือน   อย่างไรก็ตาม ชาติตะวันตกและพันธมิตรหลายประเทศได้เริ่มจำกัดการใช้งานติ๊กต๊อกเมื่อไม่นานมานี้ โดยแคนาดา เบลเยียม เดนมาร์ก นิวซีแลนด์ ไต้หวัน สหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกคำสั่งให้ลบแอปพลิเคชันดังกล่าวออกจากสมาร์ทโฟนของหน่วยงานและองค์กรภาครัฐ…

กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร ทำไมรัสเซียขู่ตอบโต้หากส่งให้ยูเครน?

Loading

  รัฐบาลของสหราชอาณาจักรประกาศในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาว่า พวกเขาจะส่งกระสุนปืนเจาะเกราะที่มีส่วนผสมของ แร่ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ ไปให้ยูเครนเพื่อใช้รับการรุกรานจากรัสเซีย ทำให้ฝ่ายรัสเซียออกมาแสดงความต่อต้านทันที โดยวลาดิเมียร์ ปูติน ประกาศจะตอบโต้หากเรื่องนี้เกิดขึ้น   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการเสริมสมรรถนะยูเรเนียม ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ และอาวุธนิวเคลียร์ มันยังปล่อยกัมมันตภาพรังสีออกมา แม้จะอยู่ในระดับต่ำกว่าปกติ ทำให้เกิดข้อถกเถียงมาตลอดว่า อาวุธชนิดนี้มีอันตรายมากเกินไปหรือไม่   ประเทศอย่างสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ชื่อว่า กระสุนยูเรเนียมเสื่อมสภาพเป็นเครื่องมือที่ดีในการทำลายรถถังในปัจจุบัน โดยที่อังกฤษระบุในคู่มือการใช้ของพวกเขาว่า การสูดดมฝุ่นยูเรเนียมเข้าไปในปริมาณมากเกิดการบาดเจ็บเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก สวนทางกับรัสเซียที่บอกว่า กระสุนนี้เป็นอันตรายต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม   ด้านนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกระบุว่า ในกรณีทั่วไป แร่ชนิดนี้มีความเสี่ยงต่ำมาก เว้นแต่เกิดสถานการณ์เลวร้ายที่สุดที่มียูเรเนียมเสื่อมสภาพมาอยู่รวมกันมากๆ ก็อาจส่งผลร้ายแรงต่อทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมได้     ยูเรเนียมเสื่อมสภาพคืออะไร?   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพ (depleted uranium) คือผลพลอยได้ที่เหลือจากกระบวนการเสริมสมรรถนะแร่ยูเรเนียมสำหรับใช้ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์หรืออาวุธนิวเคลียร์ แม้จะเสื่อมสภาพแล้ว ยูเรเนียมประเภทนี้ยังคงเป็นสารกัมมันตรังสี แต่มีไอโซโทป U-235 กับ U-234 ต่ำกว่าในแร่ยูเรเนียมที่พบตามธรรมชาติมาก ลดการปล่อยกัมมันตภาพรังสีของมัน และไม่สามารถทำปฏิกิริยานิวเคลียร์ใดๆ ได้   ยูเรเนียมเสื่อมสภาพถูกนำไปใช้ในอาวุธเพราะคุณสมบัติความหนาแน่นสูงของมัน ทำให้มีน้ำหนักมากกว่าตะกั่วที่มีขนาดเท่ากัน เมื่อนำมาทำหัวกระสุนจึงมีความต้านทานของอากาศน้อยกว่าเวลายิงออกไป และสามารถทะลวงเข้าไปในวัสดุได้ดีเนื่องจากจุดที่ตกกระทบมีแรงกดดันสูงกว่า…

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล Documents Digital Platform Services : DPS       ความเป็นมา ปัจจุบันมีการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ซึ่งมีลักษณะเป็นสื่อกลางทางออนไลน์เพิ่มมากขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวัน ตลอดจนตอบสนองรูปแบบวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย โดยมีการให้บริการที่หลากหลายประเภทธุรกิจ เช่น บริการด้านการเงิน การขายสินค้าออนไลน์ การขนส่ง เป็นต้น ซึ่งล้วนมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมอย่างมาก ดังนั้น เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของประเทศ ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนามาตรฐานหรือกฎเกณฑ์ในการให้บริการแพลตฟอร์มดิจิทัล จึงเห็นถึงความจำเป็นในการควบคุมดูแลธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นให้เป็นไปอย่างหมาะสม มีความโปร่งใสและเป็นธรรม   กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้ผลักดันการจัดทำ (ร่าง) พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ พ.ศ. …. ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 ที่กำหนดให้บุคคลย่อมมีสิทธิประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ในกรณีจำเป็นเพื่อรักษาความมั่นคงทางการเงินและการพาณิชย์ เสริมสร้างความน่าเชื่อถือและยอมรับในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งเพื่อป้องกัน ความเสียหายแก่สาธารณชนหรือประชาชนที่ใช้บริการ ให้มีการตราพระราชกฤษฎีกากำหนดให้การประกอบธุรกิจบริการเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ใดเป็นกิจการที่ต้องแจ้งให้ทราบ ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2564 และต่อมาได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาการประกอบธุรกิจบริการแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ต้องแจ้งให้ทราบ…