ระวัง!! ภัยร้ายไซเบอร์ ป่วนหนักยิ่งกว่าเดิม

Loading

  “แคสเปอร์สกี้” เตือนภัย อันตรายทางไซเบอร์จะยิ่งรุนแรงเพิ่มขึ้นในปี 2024 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฟิชชิ่ง กลโกง การละเมิดข้อมูล การโจมตี APT แรนซัมแวร์ รวมถึงการโจมตีทางไซเบอร์ที่มีแรงจูงใจจากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์การเมือง   Keypoints : •  ขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” และ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์” •  ผู้คนหลายแสนคนจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับคัดเลือกให้เข้าร่วมปฏิบัติการหลอกลวงออนไลน์ •  ผู้ก่อภัยคุกคามมักใช้เทคนิควิศวกรรมสังคมที่ซับซ้อนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย •  บริษัทรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ระดับโลก “แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky)” เปิดคาดการณ์ภาพรวมภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่จะเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (APAC) ปีนี้ โดยระบุว่าเหตุการณ์ต่าง ๆ จะขับเคลื่อนด้วย “ความก้าวหน้าด้านดิจิทัล” อย่างรวดเร็วและ “ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์”   วิทาลี คัมลัก หัวหน้าศูนย์วิจัยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ทีมวิจัยและวิเคราะห์ระดับโลก (GReAT) แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า เศรษฐกิจดิจิทัลของเอเชียแปซิฟิกยังคงเติบโตอย่างทวีคูณ และคาดว่าจะรักษาโมเมนตัมเอาไว้ได้ในอีกห้าปีข้างหน้า   ด้วยความพยายามในการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น การชำระเงินดิจิทัล, Super…

แนะ 5 ข้อปฏิบัติเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ขององค์กร

Loading

  ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ   ในปีที่ผ่านมา เกิดข้อถกเถียงกันในแวดวงวิศวกรรมและการออกแบบ เนื่องจากมีการพบว่าบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งยังคงมีการใช้งานซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิกันอย่างแพร่หลาย   จากการดำเนินการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ช่วงที่ผ่านมาได้เผยให้เห็นว่า บริษัทด้านการออกแบบและวิศวกรรมที่ใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิหลายบริษัทมีส่วนร่วมในโครงการที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะ ด้วยเหตุนี้ บีเอสเอ | พันธมิตรซอฟต์แวร์ (BSA | Software Alliance) จึงออกมาแจ้งเตือนพร้อมเน้นย้ำถึงการใช้ซอฟต์แวร์หมดอายุการใช้งานและไม่ปลอดภัยในโครงการดังกล่าว ซึ่งอาจทำให้เกิดความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยแก่สาธารณะได้   นายดรุณ ซอว์เนย์ ผู้อำนวยการอาวุโส บีเอสเอ กล่าวว่า ผู้บริหารและผู้นำทางธุรกิจทุกท่านในอุตสาหกรรมวิศวกรรมและการออกแบบควรตั้งเป้าหมายสำหรับปี 2567 ในด้านการจัดการสินทรัพย์ซอฟต์แวร์อย่างรัดกุม เนื่องจากรัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคกำลังจับตามองการใช้ซอฟต์แวร์ในโครงการสาธารณะอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ทุกโครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐานอันมาจากภาษีของประชาชน ได้ถูกออกแบบด้วยซอฟต์แวร์ที่ปลอดภัยและถูกต้องตามกฎหมาย   ซอฟต์แวร์ที่ไม่มีสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนเพิ่มขึ้นทั่วโลก โดยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมูลค่าความเสียหายที่เกิดจากการละเมิดข้อมูลพุ่งแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ สร้างความสูญเสียเป็นมูลค่ามากกว่า 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 100 ล้านบาท ในปี 2566 ซึ่งสูงขึ้นถึง 6% เมื่อเทียบกับปี 2565   ดรุณ ซอว์เนย์   บริษัทต่าง…

‘โจรไซเบอร์’ ป่วนหนักองค์กรไทย ล็อกเป้า ‘ภาครัฐ – ทหาร – การผลิต – การเงิน’

Loading

  รายงานล่าสุดโดย “เช็ค พอยท์ ซอฟต์แวร์” พบว่า ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาระหว่างเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2566 หน่วยงานต่าง ๆ ในประเทศไทยถูกโจรไซเบอร์โจมตีมากถึง 1,892 ครั้งต่อสัปดาห์ สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกกว่าที่ถูกโจมตีประมาณ 1,040 ครั้ง กว่า 800 ครั้ง   Keypoints : •  เป้าหมายหลักคือ หน่วยงานภาครัฐ การทหาร อุตสาหกรรมการผลิต และการเงินการธนาคาร •  ท็อป 3 ภัยคุกคามคือ บอทเน็ต (Botnet), คริปโทไมเนอร์ (Cryptominer), และแรนซัมแวร์ •  ประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการโจมตีทั้งแบบฟิชชิ่ง การหลอกลวงรูปแบบต่าง ๆ และการปล้นทรัพยากร (Resource Hijacking)   ชาญวิทย์ อิทธิวัฒนะ ผู้จัดการสาขาประจำประเทศไทย บริษัท เช็ค…

นายหน้าเปิดโปงวิธีลอบส่งเงินสู่เกาหลีเหนือ

Loading

JUNGMIN CHOI / BBC ฮวัง จี-ซอง อดีตผู้แปรพักตร์มายังเกาหลีใต้เมื่อปี 2009 ผันตัวมาเป็นนายหน้าส่งเงินเข้าไปในเกาหลีเหนือ   “มันเหมือนกับภาพยนตร์สายลับและคนก็เอาชีวิตไปแขวนไว้บนเส้นด้าย” ฮวัง จี-ซอง นายหน้าชาวเกาหลีใต้ซึ่งช่วยผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านมากกว่า 10 ปี กล่าว   ฮวัง เล่าว่า เมื่อหลายปีที่แล้ว ชาวเกาหลีเหนือ บัญญัติคำศัพท์ขึ้นมาคำหนึ่งว่า “กิ่งก้านฮัลลาซาน” เพื่อเรียกกลุ่มคนที่รับความช่วยเหลือจากผู้แปรพักตร์เกาหลีเหนือในเกาหลีใต้ คำนี้ตั้งขึ้นจากชื่อภูเขาฮัลลาซาน ภูเขาไฟที่มีชื่อเสียงบนเกาะเจจู   “คนที่มาจากครอบครัวของกิ่งก้านสาขาฮัลลาซานเป็นคู่สมรสที่เป็นที่ต้องการมากที่สุด และดีกว่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์ด้วยซ้ำ”   ผลสำรวจจากฐานข้อมูลสิทธิมนุษยชนของชาวเกาหลีเหนือเมื่อปี 2023 ซึ่งเก็บข้อมูลจากผู้แปรพักตร์ราว 400 คน พบว่า ผู้แปรพักตร์จำนวน 63% โอนเงินกลับไปให้ครอบครัวในเกาหลีเหนือ แต่ด้วยการปราบปรามของทางการที่เพิ่มขึ้นทั้งในเกาหลีเหนือ และเกาหลีใต้ การส่งเงินข้ามประเทศยิ่งเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น   ตอนนี้การส่งเงินกลับไปยังเกาหลีเหนือกลายเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและยากมากกว่าเดิม เพราะต้องใช้เครือข่ายนายหน้าและคนส่งเงินที่ซ่อนตัวอย่างลับ ๆ ทั่วทั้งเกาหลีใต้ จีน และเกาหลีเหนือ การติดต่อสื่อสารในทางลับต้องใช้โทรศัพท์ที่ลักลอบโทรจากชายแดนจีนเข้าไปยังพื้นที่ชนบทห่างไกล โดยใช้ชื่อเข้ารหัสหรือชื่อโค้ดในการติดต่อ   ผลประโยชน์จากการเป็นนายหน้าส่งเงินนั้นสูงมากอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะการส่งเงินผิดกฎหมายทั้งในเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้…

สายด่วน “I want to live” ปฏิบัติการทางจิตวิทยาของยูเครน

Loading

  สายด่วน Hotline “I want to live” ทหารรัสเซียโทรศัพท์ขอสละสงคราม ปฏิบัติการทางจิตวิทยาของยูเครน   “ผมก็แค่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป” I want to live. ประโยคสั้น ๆ ของชื่อสายด่วนที่ยูเครนเปิดขึ้นมาเพื่อให้ทหารรัสเซียที่อยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไป ยกหูโทรหาขอสละหน้าทัพสงคราม และผลปรากฎว่ามีทหารรัสเซียโทรเข้ามาหลายสายขอยอมจำนน   “I want to live” คืออะไร ? แปลเป็นไทยก็คือผมอยากมีชีวิตต่อไป นี่คือ Hotline หรือสายด่วนโทรศัพท์ที่จัดตั้งมาเพื่อทหารในกองทัพของรัสเซียผู้ซึ่งต้องการแปรพักตร์ สละสงคราม โดยสายด่วนนี้อยู่ภายใต้การดูแลของหน่วยทหารสืบราชการลับของยูเครน หรือ หน่วย GUR     รายการ world stories | หน่วย GUR   วิตาลีฟ มัตเวียนโก โฆษกของหน่วย GUR บอกกับ Financial Times ว่าการยอมจำนนของทหารรัสเซียนี้ถูกรู้จักกันในชื่อว่า “Operation Barynya”…

สำรวจโครงการอวกาศ 5 ชาติ แต่ละประเทศเดินหน้าไปอยู่จุดไหนแล้วบ้าง ?

Loading

  ชวนสำรวจการพัฒนาโครงการอวกาศ ของ 5 ชาติยักษ์ใหญ่ สหรัฐฯ สหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน จีน อินเดีย และ ญี่ปุ่น ณ เวลานี้ เดินทางไปถึงจุดไหนกันแล้ว   หลังจากญี่ปุ่นสร้างประวัติศาสตร์เป็นชาติที่ 5 ของโลกใบนี้ที่ ส่งยานอวกาศไปลงจอดดวงจันทร์ ได้สำเร็จ ตามหลังสหรัฐฯ สหภาพโซเวียตหรือรัสเซียในปัจจุบัน จีน และอินเดีย เราก็ต้องมาคอยลุ้นกันว่า ยานสำรวจดวงจันทร์ของญี่ปุ่นจะกลับมาเดินเครื่องได้อีกครั้งหรือไม่ หลังชัทดาวน์ตนเองไป และแผงโซลาร์เซลล์ไม่ทำงาน   ตลอด 2023 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นเดินหน้าโครงการด้านอวกาศอย่างเต็มกำลัง แต่อีกสี่ชาติที่เหลืออย่างสหรัฐฯ รัสเซีย จีนและอินเดียก็ไม่ได้หยุดยั้งการพัฒนาโครงการด้านอวกาศ เพราะนี่คือการแสดงออกถึงความเป็นมหาอำนาจของโลกใบนี้ อย่างไรก็ตาม ทั้งห้าประเทศก็มีทั้งภารกิจที่ประสบความสำเร็จ และล้มเหลวเช่นกัน   JAXA องค์การอวกาศแห่งญี่ปุ่น – น้องใหม่ด้านอวกาศ แต่ผลงานดีเยี่ยม REUTERS   นาซา องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ – ตั้งเป้าภารกิจส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์และดาวอังคาร หากพูดถึงงานด้านอวกาศ นาซา NASA…