อธิปไตยทางดิจิทัลกับการครอบงำทางเทคโนโลยี

Loading

แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ค้นพบแคมเปญภัยไซเบอร์รูปแบบใหม่ที่แพร่กระจายผ่านโฆษณาบนเว็บ และมุ่งเป้าโจมตีไปที่ผู้ใช้งานพีซีระบบปฏิบัติการ Windows โดยขณะที่เข้าเว็บไซต์ ผู้ใช้อาจจะคลิกโฆษณาที่โผล่ขึ้นมาปิดบังหน้าจอทั้งหมดโดยไม่รู้ตัว และไปที่หน้าเว็บ CAPTCHA ปลอม หรือข้อความแสดงข้อผิดพลาดของ Chrome ปลอม โดยหลอกให้ทำตามขั้นตอนต่างๆ เพื่อดาวน์โหลดมัลแวร์สตีลเลอร์ (stealer) แคสเปอร์สกี้ตรวจพบโฆษณาอันตรายลักษณะนี้มากกว่า 140,000 รายการในเดือนกันยายนและตุลาคม 2024 และพบว่าผู้ใช้จำนวนมากกว่า 20,000 คนถูกเปลี่ยนเส้นทางไปยังหน้าเว็บปลอมที่โฮสต์สคริปต์อันตราย โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้จากประเทศบราซิล สเปน อิตาลี และรัสเซีย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ผู้ใช้เข้าเว็บด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงการทำตามขั้นตอนที่น่าสงสัยเพื่อความปลอดภัย

เกาะอกาเลกา คือ สถานีสอดแนมทางทหารแห่งใหม่ของอินเดียจริงหรือไม่ ?

Loading

  อาร์โนด์ ปูเลย์ ไม่เคยต้องการออกจากเกาะอกาเลกาซึ่งเป็นเกาะเล็ก ๆ ในมหาสมุทรอินเดีย แต่ในปีนี้เขาเก็บกระเป๋าและออกเดินทางจากมา หลังอกหักกับสิ่งที่เขามองว่ามันกำลังทำให้บ้านเกิดของเขากลายเป็นฐานทางทหาร   ก่อนหน้านี้มีเพียง 350 คนที่อาศัยอยู่บนเกาะอกาเลกา พวกเขาทำประมงและปลูกมะพร้าว ส่วนอาหารอื่น ๆ ถูกส่งมาที่นี่ปีละ 4 ครั้งด้วยเรือจากเมืองหลวงของประเทศมอริเชียสซึ่งอยู่ห่างออกไป 1,100 กิโลเมตรทางตอนใต้ ขณะที่ลานบินขนาดเล็กแทบไม่ได้ใช้ นอกจากว่ามีเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์   แต่ในปี 2015 มอริเชียสซึ่งมีเกาะอกาเลกาเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ ได้ลงนามในข้อตกลงที่ช่วยให้อินเดียสร้างรันเวย์ขนาดใหญ่ 3,000 เมตร และท่าเทียบเรือขนาดใหญ่แห่งใหม่ที่นั่น อันเป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นในด้านความมั่นคงทางทะเลของทั้ง 2 ประเทศ   อย่างไรก็ตาม ชาวเกาะอกาเลกาบางคนกลัวว่าสิ่งนี้อาจขยายตัวไปสู่การเป็นที่ประจำการทางทหารอย่างเต็มรูปแบบ   ขณะที่ปูเลย์ ช่างซ่อมบำรุงและนักดนตรีเรกเก้วัย 44 ปี ได้นำการรณรงค์ต่อต้านโครงการนี้   “ผมรักเกาะของผม และเกาะแห่งนี้ก็รักผม” เขาบอก “แต่หากฐานทัพเปิดตัวเมื่อไร ผมก็ต้องจากไป”     หมู่เกาะอกาเลกา ประกอบด้วยเป็นเกาะเล็ก ๆ สองเกาะ (เกาะเหนือและเกาะใต้)…

แอมะซอน ซุ่มพัฒนา ‘แว่นตาอัจฉริยะ’ ช่วยคนขับรถส่งสินค้าเร็วขึ้น

Loading

อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของสหรัฐฯ แอมะซอน อยู่ระหว่างการพัฒนาแว่นตาอัจฉริยะ สำหรับคนขับรถส่งสินค้าของบริษัท เพื่อช่วยนำทางขนส่งอย่างราบรื่นและรวดเร็วขึ้น อ้างอิงจากผู้เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าวอย่างน้อย 5 รายที่ให้ข้อมูลกับรอยเตอร์

AI เติบโต – ไร้กรอบ? จับตาอนาคตเทคโนโลยีสหรัฐ หลังทรัมป์นั่งเก้าอี้ผู้นำ

Loading

  ทิศทางเทคโนโลยีสหรัฐ หลัง ‘ทรัมป์-มัสก์’ ร่วมมือ คาดนโยบายด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) จะผ่อนคลาย ผู้บริหารเทคฯ ยักษ์ใหญ่แห่สนับสนุน แม้สังคมห่วงขาดการกำกับดูแล   การกลับมาของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ในฐานะว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ คนที่ 47 ทำให้หลายฝ่ายจับตามอง “ทิศทางนโยบายด้านเทคโนโลยี” ที่จะเกิดขึ้นในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่นโยบายการกำกับดูแลด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่คาดว่าจะผ่อนคลายลงอย่างมีนัยสำคัญ   ซิลิคอนวัลเลย์พลิกขั้ว ซีอีโอเทคฯ แห่สนับสนุนทรัมป์   ทันทีที่ผลการเลือกตั้งประกาศชัยชนะของทรัมป์ บรรดาซีอีโอของบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ต่างรีบส่งข้อความแสดงความยินดี ซึ่งแตกต่างจากท่าทีที่ระมัดระวังในการเลือกตั้งปี 2016 และ 2020   ผู้บริหารจาก Amazon, Apple, Google, Meta และ Microsoft ต่างโพสต์ข้อความสนับสนุนบนโซเชียลมีเดีย สะท้อนว่า พวกเขา “มีความหวัง” ที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับประธานาธิบดีคนใหม่ หลังจากที่พวกเขาเผชิญกับการตรวจสอบด้านการผูกขาดและการแข่งขันทางการค้าอย่างเข้มงวดในยุครัฐบาลไบเดน   มาร์ก ซัคเคอร์เบิร์ก (Mark…

รู้หรือยัง? ไทยมีใช้แล้ว คู่มือ AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร

Loading

  ปัจจุบันการใช้งานเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ  AI เป็นเทรนด์ที่กำลังมา มีการนำไปประยุกต์ใช้งานอย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ แต่อย่างที่รู้เทคโนโลยีนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย!   และเป็นที่ถกเถียงกันในหลายประเทศว่าควรจะมีการออกกฎหมายมาควบคุมหรือไม่?  ซึ่งมีเพียงสหภาพยุโรป ที่ได้ออกกฎหมาย AI เป็นฉบับแรกของโลก   ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีความชัดเจนว่าจะมีการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ AI หรือไม่?  ยังเป็นเรื่องที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังต้องหารือถึงผลดีผลเสียในการออกกฎหมายมากำกับดูแล แต่ในระหว่างนี้ที่มีการนำ AI มาใช้งานอย่างแพร่หลาย ทาง  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) จับมือสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า โดย ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Center หรือ AIGC)  เดินหน้าพัฒนากรอบธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอด  AI Governance Guideline ของไทย สู่การออกประกาศ  Guideline ใหม่ !   คือ “แนวทางประยุกต์ใช้ Generative AI อย่างมีธรรมาภิบาลสำหรับองค์กร” (Generative AI Governance Guideline for Organizations) สำหรับผู้บริหารและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปประยุกต์ใช้เพื่อการวางกรอบการกำกับดูแล การประยุกต์ใช้ Generative AI ระดับองค์กร     “ประเสริฐ จันทรรวงทอง”  รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) บอกว่า  ปัจจุบัน Generative AI ได้กลายเป็นอีกเครื่องมือสำคัญ สำหรับองค์กรในยุคดิจิทัล ที่หลายๆ องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนได้นำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการต่างๆ เพื่อช่วยเพิ่มทักษะการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ถึงแม้การใช้งาน Generative AI จะเติบโตอย่างรวดเร็วในหลายอุตสาหกรรม…

กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดตัว “Smart PDPA” แอปสุดล้ำ มั่นใจช่วยลดปัญหาข้อมูลรั่วไหล

Loading

  กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.) เดินหน้าเสริมความแข็งแกร่งด้านการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล เปิดตัว “Smart PDPA” แอปพลิเคชันอัจฉริยะที่จะช่วยปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนในยุคดิจิทัล     นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยระหว่างการประชุม TOP EXECUTIVE ครั้งที่ 13 ว่า ปัจจุบันยังคงพบการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมไทย โดยเฉพาะการนำข้อมูลไปใช้ในการหลอกลวงและก่ออาชญากรรม กระทรวงฯ จึงได้พัฒนา “Smart PDPA” ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการป้องกันและลดความเสี่ยงจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล   ฟีเจอร์เด่นที่น่าสนใจ   ดร.เวทางค์ พ่วงทรัพย์ รักษาการเลขาธิการ สคส. เผยว่า แอปพลิเคชัน Smart PDPA ได้รับการออกแบบให้ใช้งานง่าย ไม่ต้องลงทะเบียน พร้อมฟีเจอร์หลากหลาย ได้แก่  – ระบบยืนยันตัวตนผ่าน ThaID สำหรับการเข้าอาคารโดยไม่ต้องแลกบัตรประชาชน Cookie Checker สำหรับตรวจสอบการใช้งานคุกกี้ในเว็บไซต์ต่าง ๆ – ระบบเข้ารหัส PDF…