เจาะ 4 ประเด็นสำคัญจากเอกสารลับ “เจเอฟเค” 2,000 ฉบับที่เผยแพร่ล่าสุด

Loading

  จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐฯ คนสุดท้ายที่ถูกลอบสังหาร เอกสารที่เพิ่งเผยแพร่ใหม่กว่า 2,000 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการสืบสวนการลอบสังหารอดีตประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ของสหรัฐอเมริกา มีความโดดเด่นไม่เพียงแต่เฉพาะเนื้อหาภายในเท่านั้น แต่ยังรวมถึงสิ่งที่ถูกละเว้นเอาไว้ด้วย ดังที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนคาดการณ์ไว้ การสั่งให้เปิดเผยเอกสารครั้งล่าสุดของรัฐบาลทรัมป์ไม่ได้ตอบคำถามทั้งหมดเกี่ยวกับเหตุการณ์สังหารเคนเนดี้ ที่เมืองดัลลาสเมื่อปี 1963 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในจุดเปลี่ยนประวัติศาสตร์อเมริกา อย่างไรก็ตาม เอกสารชุดล่าสุดนี้ ประกอบด้วย เอกสารที่ส่วนใหญ่หรือทั้งหมดที่ไม่มีการแก้ไข โดยมีการรวมเนื้อหาต้นฉบับไว้ในเอกสารชุดนี้แทนที่จะใช้สีดำถมหรือแทนที่ด้วยช่องว่าง นอกจากนี้ยังรวมถึงรายละเอียดหลายอย่างที่น่าสนใจจากมุมนักประวัติศาสตร์และผู้สังเกตการณ์คดี จอห์น เอฟ. เคนเนดี้ หรือเจเอฟเค (JFK) การสอบสวนของรัฐบาลสหรัฐฯ สรุปว่า ลี ฮาร์วีย์ ออสวอลด์ คนพเนจร และอดีตนาวิกโยธินสหรัฐฯ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยแปรพักตร์ไปอยู่กับสหภาพโซเวียตก่อนกลับมายังสหรัฐฯ ได้ก่อเหตุเพียงลำพังตอนยิงขบวนรถของเคนเนดี้จากอาคารใกล้เคียง อย่างไรก็ตาม คนอเมริกันส่วนใหญ่มีแนวโน้มจะไม่เห็นด้วย โดยผลสำรวจตลอดหลายทศวรรษชี้ให้เห็นอย่างต่อเนื่องว่า คนส่วนใหญ่ยังคงสงสัยเกี่ยวกับเรื่องราวอย่างเป็นทางการ อย่างไรก็ตาม คดีนี้ยังคงถูกตั้งคำถามพร้อมกับเกิดทฤษฎีสมคบคิดอันบ้าคลั่งถึงแม้ผ่านมาแล้วกว่า 60 ปี และการเปิดเผยเอกสารล่าสุดก็ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงประเด็นนี้ได้ ต่อไปนี้คือประเด็นสำคัญบางประการ เปิดเผยเรื่องมือสังหารมากขึ้น แต่ไม่มีอะไรเซอร์ไพรส์ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชื่นชมการเปิดเผยข้อมูลครั้งนี้ว่าเป็นก้าวย่างสำคัญในการสร้างความโปร่งใส ก่อนหน้านี้ทางการสหรัฐฯ ได้เปิดเผยเอกสารหลายแสนฉบับ ทว่าแม้จะให้คำมั่นมาหลายปี แต่เอกสารหลายฉบับก็ยังถูกปกปิดไว้หรือแก้ไขบางส่วน โดยเจ้าหน้าที่อ้างความกังวลต่อความมั่นคงของชาติ…

สหรัฐฯถอนตัวยุโรปปั่นป่วน

Loading

  ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ / ทหารประชาธิปไตย แม้ว่าจุดร้อนแรงของสงครามจะอยู่ที่ตะวันออกกลาง เมื่ออิสราเอลเปิดฉากโจมตีกาซาครั้งใหญ่ แม้ในช่วงที่กำลังมีการเจรจาหยุดยิง โดยมีสหรัฐฯเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจะมีผลทำให้การหยุดยิงต้องพังทลายลง และถ้าสหรัฐฯยังไม่สามารถหยุดยื้อเนทันยาฮู ในการก่อการร้ายได้ สงครามคงยืดเยื้อบานปลายไปสู่การโจมตีอิหร่าน โดยฝ่ายเนทันยาฮู จะพยายามชักจูงให้ทรัมป์เข้าร่วมปฏิบัติการ ทั้งๆที่อิหร่านมิได้เป็นภัยคุกคามสหรัฐฯเลย แต่เป็นภัยคุกคามอิสราเอลในประเด็นนี้จึงชี้ชัดได้ว่าสหรัฐฯมิได้ทำเพื่อผลประโยชน์ของสหรัฐฯตามคำขวัญของทรัมป์ America First แต่กลายเป็น Israel First   ในอีกสมรภูมิขณะที่ทรัมป์มีแนวทางที่จะถอนตัวจากความขัดแย้งในยุโรป โดยเฉพาะต้องการยุติความขัดแย้งยูเครน-รัสเซีย นับเป็นแนวทาง American First โดยแท้จริง   ทั้งนี้เพราะทรัมป์ตระหนักว่าสหรัฐฯ ไม่อาจเผชิญกับปัญหาความขัดแย้งใน 3 สมรภูมิ คือ ยุโรป ตะวันออกกลาง และจีนได้ในคราวเดียวกัน ซึ่งเมื่อวิเคราะห์ในทางยุทธศาสตร์พบว่า จีนคือภัยคุกคามอันดับหนึ่งของสหรัฐฯ ทั้งในแง่การทหาร เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ส่วนรัสเซียเป็นเพียงภัยคุกคามทางทหารในระยะสั้น จึงตัดสินใจถอนกำลังและการสนับสนุนทางการเงินและอาวุธ อันเป็นการถอนทางยุทธศาสตร์ เพื่อนำเอาสรรพกำลังไปเสริมสร้าง ความเข้มแข็งด้านสนามหลังบ้าน คือ ลาตินอเมริกา และอีกส่วน คือ การปิดล้อมจีนที่สหรัฐฯ ถือเป็นภัยคุกคามอันดับหนึ่ง  …

ส่องเทคโนโลยีทางเลือกของ GPS แล้วทำไมถึงต้องเปลี่ยน

Loading

ถ้าพูดถึงเทคโนโลยีนำร่อง คนส่วนใหญ่ก็คงจะนึกถึงเทคโนโลยี GPS ที่มนุษย์ใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะใช้ใน Google Maps เพื่อนำทางขณะขับรถไปไหนสักที่ หรือส่งโลเคชั่นใน Line ให้อีกฝ่ายรู้เพื่อให้นัดเจอกันได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาตามหากันให้วุ่นวายคงจะเป็นการยากหากจะให้นึกว่าแล้วถ้าไม่ใช้ GPS นำทางหรือบอกพิกัดที่อยู่ แล้วจะใช้อะไรทดแทน นี่เองเป็นประเด็นที่หลายประเทศให้ความสำคัญอยู่ในขณะนี้

F-35 เครื่องมือการทูตสหรัฐฯ ที่กำลังสั่นคลอนพันธมิตรยุโรป

Loading

อย่างไรก็ตามในอีกด้าน ช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นช่วงที่มีความสับสนและความเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับ F-35 ในหลายประเทศค่อนข้างมาก กล่าวคือแคนาดาซึ่งลงนามจัดหา F-35 จำนวน 88 ลำมูลค่า 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (6.27 แสนล้านบาท) ออกมาประกาศว่าอาจจำเป็นต้องยกเลิกการจัดหา F-35 บางส่วนเพื่อลดการพึ่งพาสหรัฐอเมริกาด้านความมั่นคงจากความไม่แน่นอนของนโยบายของทรัมป์

เอไอกับจุดเปลี่ยนสำคัญ

Loading

    มหกรรมคอมพิวเตอร์ระดับชาติ “คอมมาร์ต” ที่เพิ่งผ่านพ้นไปเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสะท้อนให้เห็นภาวะตื่นตัวของตลาดคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ดิจิทัลที่แตกต่างจากช่วงปีที่แล้วพอสมควร อาจเป็นเพราะที่ผ่านมานั้นผู้บริโภคไม่มีความรู้สึกที่อยากจับจ่ายใช้สอยมากนักด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ ในขณะที่ต้นปีนี้กระแสการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเป็นตัวจุดประกายให้ผู้บริโภคหันมาเลือกซื้ออุปกรณ์ดิจิทัลกันมากขึ้น เพราะทุกวันนี้ตลาดใหญ่อย่างสมาร์ตโฟนก็ได้ขยับไปสู่การเป็นเอไอโฟน เช่นเดียวกับชิปคอมพิวเตอร์ที่กลายเป็นเอไอชิปเข้ามาแทนที่ เพราะในรอบปีที่ผ่านมานั้นกระแสเทคโนโลยีที่ร้อนแรงที่สุดหนีไม่พ้นเรื่องของเอไอ และเอไอก็ได้ฝังตัวลงในอุปกรณ์ดิจิทัลทุกรูปแบบทั้งคอมพิวเตอร์พีซี โน้ตบุ้ค สมาร์ตโฟน ฯลฯ จนผลักดันให้บริษัทด้านเอไอหลายๆ แห่งเติบโตอย่างก้าวกระโดดจนติดอันดับโลกในปี 2024     เมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว แม้จะมีการแสเอไอจนคนตื่นตัวกันมากมาย แต่เทคโนโลยีดังกล่าวก็ยังคงมาไม่ถึงผู้บริโภค เปรียบเสมือนการก่อตัวของเมฆฝนที่ทำได้เพียงภาวะครึ้มฟ้าครึ้มฝน แต่ฝนก็ยังไม่ตกลงมาสักที งานคอมมาร์ตที่เพิ่งจบไปจึงดูเหมือนกับฝนที่เทกระหน่ำลงมาหลังจากรอคอยมานาน ต้องยอมรับว่าตลาดสินค้าและบริการด้านดิจิทัลนั้นอยู่ในภาวะอิ่มตัวมาหลายปี เพราะมันได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนทั่วไปเมื่อหลายปีมาแล้ว แม้ว่าคนแต่ละวัยจะใช้เทคโนโลยีแตกต่างกัน แต่ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็น Tiktok, Line, facebook ก็ล้วนต้องใข้งานผ่านอุปกรณ์ดิจิทัลด้วยกันทั้งนั้น แต่ความตื่นตัวในการเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์โน้ตบุ้คหรือสมาร์ตโฟน ล้วนถูกชะลอมาหลายปีเพราะผู้บริโภคยังมองไม่เห็นความแตกต่างอย่างมีนัยยะสำคัญของสินค้ารุ่นเก่าที่ใช้อยู่กับรุ่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัว การแข่งขันกันในด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ โดยเฉพาะเอไอจึงเข้ามาเปลี่ยนภูมิทัศน์ของสินค้าด้านดิจิทัลใหม่หมด เพราะเราเริ่มเห็นสมาร์ตโฟนของซัมซุงที่เปิดตัวในปีที่แล้วในฐานะเอไอโฟน และแอปเปิลก็ทะยอยเพิ่มลูกเล่นด้านเอไอให้กับไอโฟนของตัวเองอย่างต่อเนื่อง       เมื่อผู้บริโภคมองเห็นว่าผลิตภัณฑ์ใหม่เหล่านั้นสามารถตอบสนองความต้องการในการใช้งานของตัวเองได้แล้ว จึงไม่ลังเลที่จะลงทุนซื้ออุปกรณ์ใหม่ๆ เพราะเห็นว่าน่าจะช่วยทำให้งานราบรื่นมากขึ้นหรือรองรับด้านการเรียนได้เต็มที่ รอยต่อของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจึงเป็นสาเหตุสำคัญที่ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนของเดิมที่ใช้มายาวนานว่า 3-5 ปี การมาถึงของเทคโนโลยีเอไอจึงมีผลอย่างมากต่อการตื่นตัวของตลาดไอทีหลังจากอยู่ในภาวะทรงตัวมานาน แต่อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือภาวะเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นในหลายมิติ โดยเฉพาะเทคโนโลยีของประเทศจีนที่ได้เข้ามามีอิทธิพลในตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้เราจะเห็นมาตรฐานโครงข่าย 5G, ระบบเน็ตเวิร์ค…

จาก “อู่ต่อเรือ” สู่ “เมืองแห่งหุ่นยนต์” โอเดนเซ (Odense)

Loading

เมืองเล็กๆ แหล่งหนึ่งในเดนมาร์ก กำลังได้รับการยอมรับว่าเป็นเมืองแห่งหุ่นยนต์ที่สำคัญของโลก โอเดนเซ (Odense) เป็นเมืองที่มีขนาดเล็ก โดยเล็กกว่ากรุงเทพฯ ประมาณ 5 เท่า มีประชากรเพียง 2 แสนกว่าคน แต่กลับมีบริษัทด้านหุ่นยนต์กว่า 300 แห่ง