เตือนภัย AI ขโมยรหัสผ่าน ใช้เสียงแป้นพิมพ์ แม่นยำ 95% แนะใช้สแกนหน้า-นิ้วแทน

Loading

  AI ในปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลมาก นักวิจัยจาก Cornell University ได้ค้นพบว่า AI สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยใช้การจับเสียงจากแป้นพิมพ์ ซึ่งสามารถขโมยรหัสผ่านด้วยความแม่นยำถึง 95%   AI หรือปัญญาประดิษฐ์ อาจไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว แต่ AI ในอนาคตอาจกลับมาทำร้ายเราได้หากเราไม่รู้จักและเข้าใจมันมากพอ ซึ่งนักวิจัยจาก Cornell University ได้ทำการทดลองและวิจัยการใช้ AI เพื่อขโมยรหัสผ่านและปรากฏว่ามันสามารถทำได้แม่นยำถึง 95% เลยทีเดียว   นักวิจัยได้ฝึกโมเดล AI เกี่ยวกับเสียงการกดแป้นพิมพ์และปรับใช้บนโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ไมโครโฟนในตัว ซึ่งปัญญาประดิษฐ์จะฟังการกดแป้นพิมพ์บนอุปกรณ์ Macbook Pro และสามารถแกะรหัสผ่านด้วยความแม่นยำ 95% ซึ่งเป็นความแม่นยำสูงสุดที่นักวิจัยเคยเห็นโดยไม่ต้องใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่   ทีมวิจัยยังได้ทดสอบความแม่นยำระหว่างการโทรผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งบันทึกการกดแป้นพิมพ์ด้วยไมโครโฟนของแล็ปท็อปในระหว่างการประชุม ในการทดสอบนี้ AI มีความแม่นยำถึง 93% ในการสร้างการกดแป้นพิมพ์ซ้ำ ใน Skype โมเดลมีความแม่นยำ 91.7% เรียกได้ว่า AI สามารถแกะรหัสผ่านได้แม่นยำมาก   วิธีแก้การโจมตีนี้คือให้หลีกเลี่ยงการล็อกอินโดยใช้รหัสผ่าน…

Zoom ยืนยัน ไม่นำข้อมูลเสียง วิดีโอ แชทของผู้ใช้ไปเทรน AI, แต่นำข้อมูลเชิงสถิติไปใช้งาน

Loading

  Zoom ประกาศปรับแก้เงื่อนไขการให้บริการ (term of service) เพิ่มเนื้อหาว่าบริษัทมีสิทธินำข้อมูลของผู้ใช้ไปเทรน AI ได้ ยกเว้นข้อมูลเสียง วิดีโอ แชต ที่ต้องขอความยินยอม (consent) จากผู้ใช้ก่อน   ประกาศนี้ของ Zoom แปลว่าข้อมูลอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ 3 อย่างข้างต้น เช่น telemetry, diagnostic data ที่ใช้วิเคราะห์ระบบ ข้อมูลเหล่านี้เป็นของ Zoom ที่นำไปใช้งานได้ทันที แต่หากเป็นข้อมูลของผู้ใช้โดยตรง Zoom ยืนยันว่าจะขอความยินยอมก่อนเสมอ   ปัจจุบัน Zoom มีบริการ AI ชื่อ Zoom IQ คอยช่วยสรุปประชุม บริษัทยืนยันว่าจะนำข้อมูลไปเทรน AI ใช้เองเท่านั้น ไม่ได้ส่งต่อให้บุคคลหรือองค์กรภายนอกที่เป็นพาร์ทเนอร์กัน ผู้ใช้ที่เปิดฟีเจอร์ AI สามารถตั้งค่าได้ว่ายินดีแชร์ข้อมูลให Zoom หรือไม่ และผู้เข้าร่วมประชุมจะเห็นข้อความแจ้งเตือนเสมอว่า การประชุมครั้งนี้จะมี AI…

กรมที่ดินยืนยัน! ข้อมูลที่มิจฉาชีพใช้หลอกลวงประชาชนไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน

Loading

  นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน เปิดเผย หลังการประชุมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ สกมช. กรณีกลุ่มมิจฉาชีพแอบอ้างชื่อกรมที่ดินหลอกลวง ให้ปรับปรุงข้อมูลในลิงก์เว็บไซต์ปลอม หรือแอปพลิเคชันที่มิจฉาชีพทำขึ้น อีกทั้งยังมีการโทรศัพท์หาผู้เสียหาย ขอให้ปรับปรุงข้อมูลผ่านโทรศัพท์   กรมที่ดินขอยืนยันว่า ข้อมูลของประชาชนที่หลุดออกไปสู่มิจฉาชีพนั้น ไม่ได้หลุดจากกรมที่ดิน เนื่องจากการเข้าดูข้อมูลของกรมที่ดินนั้น ต้องเป็นเจ้าหน้าที่ ผู้มีรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบเท่านั้น ถึงจะเข้าสู่ระบบได้ อีกทั้งมีการเก็บประวัติการเข้าถึงข้อมูลในระบบ หากมีเจ้าหน้าที่เข้าดูข้อมูลนั้นจะมีข้อมูลชื่อ วัน เวลา บันทึกเสมอ   นอกจากนี้กรมที่ดินได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงของกรณีที่เกิดขึ้น โดยจะดำเนินการตรวจสอบผู้เสียหายทุกเคส ฝากประชาสัมพันธ์ถึงประชาชน กรมที่ดินไม่มีนโยบายในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงโทรศัพท์ไปหาเจ้าของที่ดิน เพื่อจะให้ปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน หรือในช่องทางแอปพลิเคชันไลน์ เพราะว่ากรมที่ดินเป็นหน่วยงานที่ให้บริการพี่น้องประชาชนให้เป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว   กรมที่ดินได้มีการพัฒนานวัตกรรมต่างๆ อาทิ แอปพลิเคชัน Landsmaps ซึ่งโฉนดสามสิบล้านแปลง อยู่ในแอปพลิเคชันตัวนี้ ซึ่งสามารถที่จะตรวจสอบ การเสนอขายที่ดินจากมือถือของท่านได้เลยว่า ตําแหน่งที่ดินนั้นๆ มีอยู่จริงหรือไม่ ตำแหน่งถูกต้องหรือไม่ ซึ่งหากดาวน์โหลดผ่าน App Store หรือ Play Store ซึ่งเป็นแหล่งดาวน์โหลดแอปพลิชันที่มีความน่าเชื่อถือ…

ใต้ฝุ่นตลบหลังบึ้มมูโนะ สะท้อนภาพ “ภัยแทรกซ้อน” โยงกลุ่มป่วนใต้

Loading

  จากเหตุการณ์โกดังเก็บพลุ ประทัด และดอกไม้ไฟระเบิด ที่ชุมชนตลาดมูโนะ หมู่ 1 ต.มูโนะ อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส เมื่อช่วงบ่ายของวันเสาร์ที่ 29 ก.ค.66 เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 12 ราย บาดเจ็บ 206 ราย และบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายกว่า 600 หลังคาเรือนนั้น   เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังเหตุการณ์โศกนาฏกรรมที่มูโนะ และมีการเปิดโปงเกี่ยวกับ “ส่วยดอกไม้ไฟ” และสภาพความเป็น “พื้นที่สีเทา” ของนราธิวาส โดยเฉพาะ อ.สุไหงโก-ลก จนมีการโยกย้ายและเรียกสอบข้าราชการที่เกี่ยวข้องบางส่วนนั้น ปรากฏว่าในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้เกิดเหตุความไม่สงบขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง และถี่ผิดสังเกต สรุปไล่เรียงได้ดังนี้   31 ก.ค.66 – คนร้ายใช้อาวุธปืนยิงนายอุสมาน นิอิงเจ๊ะแฮ ได้รับบาดเจ็บ เหตุเกิดบริเวณสามแยกบ้านปงมูชู หมู่ 1 ต.บาตง อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส   1 ส.ค. 66 – คนร้ายใช้อาวุธปืนยิง…

จีนออกกฎใหม่ บังคับผู้ให้บริการแอปฯ มือถือทุกราย ต้องยื่นเอกสารธุรกิจ

Loading

  เว็บไซต์แชนแนลนิวส์เอเชียรายงานว่า กระทรวงอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศจีน (MIIT) กล่าวเมื่อวันอังคาร (8 ส.ค.) ว่า จะกำหนดให้ผู้ให้บริการแอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือทุกรายในประเทศ ส่งข้อมูลรายละเอียดธุรกิจให้กับรัฐบาล โดยนับเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการควบคุมอุตสาหกรรมอย่างเข้มงวด   MIIT ระบุว่า แอปฯ ที่ไม่ได้ดำเนินการยื่นข้อมูลรายละเอียดธุรกิจอย่างถูกต้อง จะถูกลงโทษหลังจากพ้นระยะเวลาผ่อนผัน ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2567 โดยผู้เชี่ยวชาญมองว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวอาจจำกัดจำนวนแอปฯ และส่งผลกระทบอย่างหนักต่อผู้พัฒนารายย่อย   นายโหย่ว อวิ๋นถิง ทนายความจากสำนักงานกฎหมายเดอบุนด์ ในนครเซี่ยงไฮ้ แสดงความเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจากกระทรวง กฎใหม่นี้มุ่งเป้าต่อสู้กับการฉ้อโกงทางออนไลน์ แต่กลับจะส่งผลกับแอปฯ ทั้งหมดในประเทศ   ขณะเดียวกัน นายริช บิชอป ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทด้านแอปพลิเคชันอย่าง แอปอินไชน่า (AppInChina) ระบุว่า กฎใหม่นี้มีแนวโน้มว่าจะส่งผลกระทบต่อผู้พัฒนาจากต่างชาติ ซึ่งสามารถเปิดตัวแอปฯ ผ่านแอปสโตร์ของแอปเปิ้ลได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องยื่นเอกสารต่อรัฐบาลจีน   นายบิชอปเสริมว่า เพื่อให้สอดคล้องกับกฎใหม่นั้น บรรดาผู้พัฒนาแอปฯ จำเป็นจะต้องมีบริษัทตั้งอยู่ภายในประเทศจีน หรือทำงานร่วมกับผู้ให้บริการแอปฯ ในท้องถิ่นเท่านั้น   อย่างไรก็ดี แอปเปิ้ลยังไม่ได้ตอบกลับคำขอความคิดเห็นจากแชนแนลนิวส์เอเชียใด ๆ…