อินเดียผ่านร่างกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล

Loading

ภาพ : REUTERS/Kacper Pempel/File Photo   ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลดิจิทัล พ.ศ. 2566 (The Digital Personal Data Protection Bill, 2023) ผ่านมติโดยราชยสภา (วุฒิสภา) เมื่อ 9 ส.ค.66 โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศอินเดียมากกว่า 760 ล้านคน   กฎหมายได้กำหนดขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวม การใช้ และการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองอินเดีย และให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้งานในกรณีต้องการแก้ไขหรือลบข้อมูลส่วนบุคคลของตน นอกจากนี้ยังอนุญาตให้บริษัทต่าง ๆ สามารถถ่ายโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานบางส่วนไปยังต่างประเทศได้ สำหรับบทลงโทษในการละเมิดหรือการฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายจะถูกปรับสูงสุด 2.5 พันล้านรูปี (30 ล้านดอลลาร์สหรัฐ)   อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับใหม่นี้ มีข้อยกเว้นสำหรับรัฐบาลและหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย อาทิ อนุญาตให้รัฐบาลเข้าถึงข้อมูลได้ในกรณีความมั่นคงของประเทศและเหตุฉุกเฉิน เช่น โรคระบาดและแผ่นดินไหว รวมถึงออกคำสั่งเพื่อปิดกั้นเนื้อหาตามคำแนะนำของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลที่แต่งตั้งโดยรัฐบาลกลาง ส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์ว่า รัฐบาลอาจใช้อำนาจในการแสวงหาข้อมูลจากบริษัทต่าง ๆ และมีแนวโน้มที่จะนำไปสู่การสอดแนมมากขึ้น     ————————————————————————————————————————————————— ที่มา : …

ปลอดภัยแค่ไหน? แต่ละปีมี “ดาวเคราะห์น้อยอันตราย” พุ่งเฉียดโลกกี่ดวง?

Loading

  เปิดสถิติ ในแต่ละปี โลกของเราเผชิญเหตุการณ์ดาวเคราะห์น้อยพุ่งเฉียดผ่านมากน้อยแค่ไหน และเป็นภัยคุกคามหรือไม่   ในระบบสุริยะจักรวาลของเรา มี “ดาวเคราะห์น้อย” หรือเศษก้อนหินที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะ อยู่เป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน มีขนาดและความเร็วแตกต่างกันออกไป ซึ่งผลกระทบที่จะเกิดแก่โลกก็แตกต่างตามไปด้วย   บ่อยครั้งที่เราจะเห็นพาดหัวข่าวที่บรรยายถึงดาวเคราะห์น้อย ว่ามีขนาดเท่า “รถบัส” “รถบรรทุก” หรือ “ตู้ขายของอัตโนมัติ” รวมถึงระบุระดับความอันตรายว่าเป็น “ผู้ล้างเมือง” “ผู้พิฆาตดาวเคราะห์” หรือ “เทพแห่งความโกลาหล”   แน่นอนว่าภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยนั้นเป็นเรื่องจริง นักวิทยาศาสตร์และดาราศาตร์ต่างทำงานอย่างหนักเพื่อคำนวณวิถีว่ามีดาวเคราะห์น้อยดวงไหนบ้างที่จะชนโลกหรือเข้าใกล้โลก และพยายามคิดหาวิธีป้องกันมัน   แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ว่า ตัวเลขความเสี่ยงภัยคุกคามจากดาวเคราะห์น้อยอยู่ที่เท่าไหร่? มีดาวเคราะห์น้อยกี่ดวงที่พุ่งชนโลก และกี่ดวงที่คาดว่าจะเฉียดผ่านเราไป?   ข้อมูลจากองค์การนาซา (NASA) ระบุว่า ดาวเคราะห์น้อยมีหลายขนาด ดวงที่เล็กเส้นผ่านศูนย์กลางไม่ถึง 4 เมตรคาดว่ามีมากกว่า 500 ล้านดวง และที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อย 25 เมตรนั้น มีประมาณ 5 ล้านดวง ซึ่งทั้งสองขนาดนี้ตรวจจับได้ยากมาก   ส่วนขนาด 140 เมตร…

สิงคโปร์เข้ม ส่ง F-16 ขึ้นสกัด หลังพบเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติบินล้ำเข้ามาในน่านฟ้า

Loading

  เครื่องบินขับไล่ F-16 ของสิงคโปร์ถูกส่งขึ้นบินสกัดในทันที หลังพบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ต่างชาติล้ำเข้าน่านฟ้า   กองทัพอากาศสิงคโปร์ออกแถลงการณ์ระบุว่าได้ส่งเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน 2 ลำ ขึ้นปฏิบัติภารกิจในช่วงเที่ยงของวันที่ 9 ส.ค. 2023 ทันทีที่พบว่ามีเฮลิคอปเตอร์ของต่างชาติบินล้ำเข้าสู่น่านฟ้าสิงคโปร์ ก่อนจะยกเลิกภารกิจหลังพบว่าไม่มีภัยคุกคามความมั่นคง   แถลงการณ์ของกองทัพเผยว่าได้ส่ง F-16 ขึ้นบิน เมื่อช่วง 12.40 น. ตามเวลาท้องถิ่น จากนั้นเมื่อตรวจพบในเบื้องต้นแล้ว พบว่าเฮลิคอปเตอร์ลำดังกล่าวเป็นของพลเรือน ที่จดทะเบียนกับบริษัทเอกชนของมาเลเซีย   ปฏิบัติการนี้ส่งผลทำให้เกิดความล่าช้าของเที่ยวบิน ในสนามบินนานาชาติชางงีราว 40 นาที ตั้งแต่เวลา 12.50 น. จนถึงเวลา 13.28 น.มีเที่ยวบินขาเข้าได้รับผลกระทบ 9 เที่ยวบิน และเที่ยวบินขาออกอีก 11 เที่ยวบิน   บัญชีเฟซบุ๊กของกองทัพอากาศสิงคโปร์ยังได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ทั้งภาคพื้นดินและภาคอากาศ ที่เตรียมพร้อมอยู่ตลอดเวลา ในการปกป้องน่านฟ้าของสิงคโปร์       ที่มา : https://www.channelnewsasia.com/singapore/f-16-jets-scrambled-helicopter-mindef-changi-airport-operations-3687481  …

ตร.เกาหลีใต้จะไม่ลังเลในการใช้ปืน หลังเกิดเหตุไล่แทงคน 3 คดีติด

Loading

  ตำรวจเกาหลีใต้ประกาศ จะไม่ลังเลที่จะใช้ปืนอีกต่อไปแล้ว หากเผชิญกับการก่ออาชญากรรมโดยใช้อาวุธมีดอีก หลังเกิดขึ้น 3 คดีติด   “เกาหลีใต้” ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในประเทศที่ปลอดภัย ในปี 2021 มีอัตราการเกิดคดีฆาตกรรมต่ำมาก ที่ 1.3 ต่อประชากร 100,000 คนเท่านั้น น้อยกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกถึงเกือบ 5 เท่า   แต่ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ในเกาหลีใต้กลับเกิดคดีฆาตกรรมและไล่แทงอุกอาจกลางเมืองต่อเนื่องกัน จนประชาชนพากันหวาดกลัว และไม่มั่นใจในความปลอดภัยของตัวเอง ว่าวันคืนดี หากเดิน ๆ อยู่จะถูกใครมาไล่แทงหรือไม่     เหตุไล่แทงครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม เกิดเหตุชายวันประมาณ 30 ปี ใช้อาวุธมีดไล่แทงคนในย่านซิลลิมดงของกรุงโซล บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟใต้ดินซิลลิมดง เป็นเหตุให้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย บาดเจ็บอีก 3 คน ขณะตำรวจเข้าควบคุมตัวผู้ก่อเหตุได้ตะโกนว่า “ผมไม่ต้องการมีชีวิตอยู่อีกต่อไปแล้ว”   ผ่านไปราว 2 สัปดาห์ ในวันที่ 3 สิงหาคม…

สหรัฐฯ ลั่นยังพร้อมแชร์ข่าวกรองให้ ‘ญี่ปุ่น’ หลังมีข่าวถูก ‘แฮ็กเกอร์จีน’ เจาะเครือข่ายไซเบอร์ทางทหาร

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ยืนยันวานนี้ (8 ส.ค.) ว่ายังคงเชื่อมั่นและพร้อมที่จะแบ่งปันข่าวกรองให้ญี่ปุ่น หลังสื่อดังในอเมริกาออกมาแฉว่าหน่วยแฮ็กเกอร์ทางทหารของจีนได้ทำการเจาะเครือข่ายข้อมูลด้านกลาโหมที่เปราะบางที่สุดของญี่ปุ่นได้แล้ว   หนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์เผยแพร่รายงานเมื่อวันจันทร์ (7) โดยอ้างแหล่งข่าวเจ้าหน้าที่สหรัฐฯ และญี่ปุ่นทั้งอดีตและปัจจุบันซึ่งระบุว่า แฮ็กเกอร์ของกองทัพจีนได้เจาะเครือข่ายกลาโหมชั้นความลับของญี่ปุ่นเมื่อปี 2020 และสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับแสนยานุภาพทางทหารของกองกำลังญี่ปุ่น ตลอดจนแผนงาน และผลการประเมินข้อบกพร่องต่าง ๆ   ฮิโรคาซุ มัตสึโนะ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุในงานแถลงข่าววานนี้ (8 ส.ค.) ว่า ญี่ปุ่นไม่สามารถยืนยันได้มีข้อมูลด้านความมั่นคงใด ๆ รั่วไหลออกไปหรือไม่   อย่างไรก็ตาม วอชิงตันโพสต์อ้างข้อมูลจากอดีตนายทหารสหรัฐฯ คนหนึ่งซึ่งยอมรับว่า ปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งนี้จัดว่า “รุนแรงและเลวร้ายอย่างน่าตกตะลึง” และผู้อำนวยการสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐฯ (NSA) ถึงขั้นต้องบินไปโตเกียวเพื่อหารือกับรัฐมนตรีกลาโหมญี่ปุ่น ซึ่งขอให้ทางสหรัฐฯ แจ้งเรื่องนี้ให้นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นทราบ   วอชิงตันโพสต์ระบุด้วยว่า แม้ญี่ปุ่นจะยกระดับป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายข้อมูลกลาโหม แต่เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์ออกนามหลายคนเชื่อว่ามาตรการเหล่านี้ “ยังไม่เพียงพอ” ที่จะสกัดหน่วยจารกรรมจีน และอาจกลายเป็นอุปสรรคต่อการแชร์ข้อมูลข่าวกรองที่มากยิ่งขึ้นระหว่างเพนตากอนกับกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นในอนาคต   ล่าสุด ซาบรีนา ซิงห์ โฆษกกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับรายงานของวอชิงตันโพสต์ โดยขอให้โตเกียวเป็นฝ่ายชี้แจงเอง แต่ย้ำว่าสหรัฐฯ…

สงบศึกครบ 70 ปี คาบสมุทรเกาหลียังคุกรุ่น

Loading

  การลงนามในข้อตกลงหยุดยิงสงครามเกาหลี เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ก.ค. 2496 เพื่อระงับการสู้รบระหว่างเกาหลีเหนือกับเกาหลีใต้ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีก่อนหน้านั้น คือเดือนมิ.ย. 2493 อย่างไรก็ตาม ข้อตกลงหยุดยิงสงครามเกาหลี ไม่ได้มีผลผูกพันตามกฎหมายระหว่างประเทศ ในการยุติสงคราม “เป็นการถาวร” เท่ากับว่า เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ จึงยังคงมีสถานะเป็นประเทศคู่สงคราม จนถึงปัจจุบัน   ผ่านมาแล้ว 70 ปี คาบสมุทรเกาหลียังคงแบ่งแยก รัฐบาลของสองเกาหลียังคงมองอีกฝ่าย “เป็นภัยคุกคามภายนอก” ขณะเดียวกัน ความตึงเตรียดดังกล่าว สร้างแรงกระเพื่อมมาถึงความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐกับจีน สองประเทศมหาอำนาจของโลกในปัจจุบัน   สงครามเกาหลีปะทุอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 มิ.ย. 2490 ท่ามกลางการแข่งขัน ระหว่างประเทศมหาอำนาจสองขั้วในเวลานั้น คือสหรัฐและสหภาพโซเวียต โดยความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศตึงเครียดตั้งแต่ปี 2488 สหรัฐและสหภาพโซเวียตต่างยึดครองคาบสมุทรเกาหลีคนละครึ่ง หลังญี่ปุ่นซึ่งเคยมีอิทธิพลเหนือพื้นที่แห่งนี้มาก่อน ตั้งแต่ปี 2453 ยอมปราชัยในสงครามโลกครั้งที่สอง   การแบ่งแยกคาบสมุทรเกาหลีด้วยเส้นขนานที่ 38 มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เมื่อเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้จัดตั้งรัฐบาล เมื่อปี 2491…