e-Signature ว่าด้วยเรื่องประโยชน์และความปลอดภัย

Loading

  เมื่อโลกเข้าสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ภาครัฐจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน เพื่อรักษาความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ หน่วยงานภาครัฐต่าง ๆ จึงควรให้ความสำคัญกับการจัดกลยุทธ์ระบบสารสนเทศแบบองค์รวมที่สนับสนุนการทำงานของหน่วยงานได้อย่างเหมาะสมและรองรับการให้บริการต่อประชาชนและหน่วยงานภายนอกได้ในอนาคต   สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) สพร. หรือ DGA เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าวจึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ “ยกระดับภาครัฐไทยสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัลที่มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานมีการทำงานแบบอัจฉริยะ ให้บริการโดยมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแท้จริง” และมุ่งมั่นที่จะสนับสนุนให้เกิดการใช้งาน e-Signature เป็นวงกว้างในหน่วยงานของภาครัฐ     บทบาทของ e-Signature ในหน่วยงานภาครัฐ   หน่วยงานรัฐเป็นองค์กรที่ใช้งานเอกสารกระดาษเป็นจำนวนมาก ที่สำคัญคือ มีลำดับขั้นของกระบวนการทำงาน การอนุมัติงานที่ซับซ้อน ทำให้ต้องใช้เวลานานในการจัดการเอกสาร และต้องจัดสรรพื้นที่สำหรับจัดเก็บงานเอกสารโดยเฉพาะ แต่เมื่อจะเรียกใช้งานข้อมูลที่จัดเก็บไว้กลับต้องใช้เวลาในการค้นหา หากเราสามารถย่นระยะเวลาในส่วนนี้ลงไปได้จะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้อย่างมหาศาล และยังเป็นการเพิ่มโอกาสให้เกิดบริการออนไลน์รูปแบบใหม่ๆ ของภาครัฐ ที่สามารถตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและภาคประชาชนได้อย่างตรงจุดด้วย   การนำ e-Signature มาใช้จะช่วยให้ระบบงานนั้นไม่จำเป็นต้องใช้เอกสารกระดาษอีกต่อไป เพราะเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์จะได้รับการรับรองทางกฎหมายเสมือนเป็นเอกสารกระดาษทั่วไป     เอกสารประเภทไหนควรใช้ e-signature แบบใด   เอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานในหน่วยงานภาครัฐถูกจำแนกออกเป็น 6 ชนิด ตามข้อ 10 แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณ…

การใช้ e-Signature ในประเทศไทย

Loading

  ปัจจุบัน กฎหมายรองรับ e-Signature ทำหน้าที่เหมือนลายเซ็นบนกระดาษ แต่เมื่อเป็นเรื่องใหม่จึงจำเป็นต้องระบุให้ได้ว่า e-Signature นั้นมีหน้าที่อะไรอย่างชัดเจน ซึ่งสามารถระบุได้สองประการที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ   ประการแรก ต้องระบุตัวตนเจ้าของ e-Signature ได้ เพื่อเป็นหลักฐานที่สามารถระบุตัวเจ้าของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์นั้นได้   ประการที่สอง ทำให้เกิดหลักฐานการแสดงเจตนาของเจ้าของลายเซ็นเกี่ยวกับเอกสารที่ได้เซ็นไว้ในการทำธุรกรรมออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การอนุมัติ เห็นชอบ หรือยอมรับข้อความ การรับรองหรือยืนยันความถูกต้อง การตอบแจ้งการเข้าถึงหรือการรับข้อความ และการเป็นพยานให้กับการลงลายชื่อของผู้อื่น     e-Signature ที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย   กฎหมายไม่ได้ระบุให้ e-Signature มีรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดกว้างให้มีความครอบคลุมภาพรวมของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในทุกรูปแบบดังที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น และเพื่อรองรับหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) ที่สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีใดก็ได้ในการลงลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทำให้ผู้ใช้งานมีความยืดหยุ่น สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีตามความเหมาะสมกับความเสี่ยงของธุรกรรมนั้น ๆ แต่เพื่อให้เป็น e-Signature ที่สมบูรณ์และได้รับการรับรองด้วยกฎหมายแล้วนั้น e-Signature จะต้องมีองค์ประกอบครบทั้ง 3 ข้อ ดังต่อไปนี้   1. สามารถระบุตัวตนของเจ้าของลายเซ็นได้ ว่าผู้เซ็นคือใคร…

34 ปีไม่สาย! จับผู้ต้องหารายที่ 3 เอี่ยวโศกนาฏกรรม “ล็อกเกอร์บี”

Loading

  สหรัฐฯ-สกอตแลนด์เผย ควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยเอี่ยวเหตุโศกนาฏกรรมล็อกเกอร์บีเมื่อปี 1988 ที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 270 รายได้   เมื่อวันอาทิตย์ (11 ธ.ค.) ที่ผ่านมา ทางการสหรัฐฯ และสกอตแลนด์ออกมาเปิดเผยว่า สามารถจับกุมผู้ต้องหาที่เกี่ยวข้องกับเหตุโศกนาฏกรรมล็อกเกอร์บี (Lockerbie) เมื่อปี 1988 หรือ 34 ปีที่แล้ว ได้เพิ่มอีก 1 ราย   โดยเหตุสลดนี้เกิดขึ้นเครื่องบิน Boeing 747-121 ของสายการบิน แพน อเมริกา เวิลด์ แอร์เวย์ส หรือ แพนแอม (Pan Am) เที่ยวบินที่ PA103 มุ่งหน้าจากท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ไปยังกรุงนิวยอร์ก     หลังออกจากลอนดอนได้ไม่ถึงครึ่งชั่วโมง ขณะบินอยู่เหนือเมืองล็อกเกอร์บีของสกอตแลนด์ (ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร) จู่ ๆ เครื่องบินก็เกิดระเบิด สังหารผู้โดยสารและลูกเรือทั้ง 259 คนบนเครื่อง และเมื่อเครื่องบินตกลงใกล้กับเมืองล็อกเกอร์บี ก็ทำให้มีชาวเมืองเสียชีวิตอีก 11 ราย…

โครงข่ายรัฐบาลวานูอาตูที่ล่มนานกว่า 1 เดือนเต็ม หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์ ค่อย ๆ ฟื้นตัวแล้ว

Loading

  เว็บไซต์ Techspot เผยว่าระบบโครงข่ายของรัฐบาลวานูอาตู ประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ล่มมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน หลังจากถูกโจมตีทางไซเบอร์   การโจมตีที่เกิดขึ้นทำให้รัฐบาลต้องกลับไปใช้ระบบเอกสารแบบกระดาษ จนถึงขณะนี้มีเพียงร้อยละ 70 ของระบบที่กลับมาใช้งานได้แล้ว   ย้อนกลับไปขณะเกิดเหตุ รัฐบาลวานูอาตูที่เพิ่งได้รับเลือกตั้งเมื่อ 13 ตุลาคม เริ่มสังเกตเห็นปัญหาทันทีตั้งแต่วันแรกที่ได้เข้ารับตำแหน่งในวันที่ 6 พฤศจิกายน เหตุการณ์ในตอนนั้นทำให้ระบบโครงข่ายของรัฐบาลล่มไปทั้งหมด   เจ้าหน้าที่รัฐไม่สามารถเข้าใช้ระบบอีเมลของรัฐบาล ประชาชนไม่สามารถทำเรื่องต่อใบขับขี่หรือจ่ายภาษีได้ เช่นเดียวกับระบบให้บริการข้อมูลสาธารณสุขและการแพทย์ฉุกเฉินก็ไม่สามารถใช้งานได้เช่นกัน   ออสเตรเลียได้ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาช่วยกู้และซ่อมแซมระบบ โดยสำนักข่าว Sydney Morning Herald เชื่อว่ากรณีที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ แต่รัฐบาลวานูอาตูยังไม่เคยออกมาเผยรายละเอียดในเรื่องนี้     ที่มา TechSpot       ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                         …

Telstra บริษัทโทรคมนาคมออสเตรเลียอ้างความผิดพลาดในระบบทำให้ข้อมูลลูกค้านับแสนรายหลุด

Loading

  Telstra บริษัทโทรคมนาคมจากออสเตรเลียอ้างว่าความบกพร่องของการจัดการฐานข้อมูลทำให้ข้อมูลลูกค้า 130,000 คน รั่วไหลออกสู่สาธารณะ   ข้อมูลเหล่านี้มีทั้ง ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของลูกค้าที่เคยข้อให้นำข้อมูลเหล่านี้ออกจากโลกออนไลน์   ไมเคิล แอ็กแลนด์ (Michael Ackland) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกมาเกิดจากความบกพร่องในการจัดเรียงข้อมูลภายในฐานข้อมูลที่ใช้ในการให้บริการ ไม่ได้เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์แต่อย่างใด   นอกจากนี้ แอ็กแลนด์ยังได้กล่าวคำขอโทษและชี้ว่าบริษัทอยู่ระหว่างการนำข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าออกจากระบบอยู่ โดยจะติดต่อลูกค้าที่ข้อมูลที่รั่วไหลทุกคน รวมถึงจะมีการตรวจสอบภายในด้วย   “พวกเราเสียใจที่เรื่องนี้เกิดขึ้น และเรารู้ว่าเราทำให้ทุกท่านผิดหวัง” แอ็กแลนด์กล่าว   ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา คู่แข่งรายใหญ่ของ Telstra อย่าง Optus ก็เพิ่งจะถูกโจมตีทางไซเบอร์จนข้อมูลลูกค้าเกือบ 10 ล้านรายหลุดออกไป     ที่มา Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                 …

กลาโหมสหรัฐฯ แถลงเปิดสัญญาร่วม 4 ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีสร้างระบบคลาวด์ใหม่

Loading

  กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา (DOD) เผยในการแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือกับ Google, Oracle, Microsoft และ Amazon ในการสร้างโครงข่ายคลาวด์ใหม่ของกระทรวงฯ   ระบบคลาวด์ใหม่นี้มีชื่อว่า Joint Warfighting Cloud Capability (JWCC) อยู่ภายใต้สัญญาจัดซื้อจัดจ้างมูลค่า 9,000 ล้านเหรียญ (ราว 312,000 ล้านบาท) มีกำหนดจะเสร็จสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2028 ซึ่งคาดว่าจะช่วยขยายขีดความสามารถด้านคลาวด์ให้แก่ทุกหน่วยงานภายใต้ DOD   พลอากาศตรี โรเบิร์ต สกินเนอร์ (Robert Skinner) ชี้ว่าขีดความสามารถใหม่ ๆ ของเทคโนโลยีคลาวด์ในปัจจุบันจะช่วยให้คนที่ไม่เข้าใจคลาวด์ก็สามารถใช้งานคลาวด์ได้ โดยยังบอกอีกว่าระบบ JWCC จะช่วยให้ทหารที่อยู่ในสมรภูมิสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เก็บรวบรวมโดยอากาศยานไร้คนขับหรือดาวเทียมสื่อสารบนอวกาศได้อย่างง่ายดาย รวมถึงจะทำให้การส่งข้อมูลข่าวกรองทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นด้วย   นี่ยังถือเป็นครั้งแรกที่เจ้าหน้าที่กลาโหมของสหรัฐฯ สามารถเข้าถึงระบบคลาวด์เอกชนในการทำงาน ก่อนหน้านี้เจ้าหน้าที่ที่ประจำอยู่ทั่วโลกไม่มีระบบคลาวด์ที่มีข้อมูลในทุกระดับชั้นความลับให้ใช้   ทั้งนี้ สัญญาจัดซื้อจัดจ้าง JWCC จะไม่ได้แบ่งเท่า ๆ กัน ระหว่าง 4 บริษัท โดยเริ่มแรกจะให้เงินบริษัทละ…