[Guest Post] ทำไมสถาบันการเงินจึงต้องกำกับดูแลการใช้งาน AI ให้รัดกุม

Loading

บริการทางการเงินเป็นภาคธุรกิจที่มีความท้าทายสูงมากจากการที่ผู้ทำธุรกิจด้านนี้ต่างแสวงหาความได้เปรียบทางการแข่งขันด้วยการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และแนวทางในการทำธุรกิจต่าง ๆ รวมถึงการนำวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่ามาใช้ร่วมกัน ปัญญาประดิษฐ์ (AI) กำลังกลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้สถาบันการเงินปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานต่าง ๆ ให้เป็นแบบอัตโนมัติ เพิ่มความแม่นยำในการทำนายและคาดการณ์ และให้บริการแก่ลูกค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่างไรก็ดีสถาบันการเงินจำเป็นต้องกำหนดกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุมเพื่อขับเคลื่อนการใช้งาน AI ในทุกแง่มุมให้เป็นไปอย่างปลอดภัยและคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพ บทบาทของการกำกับดูแลการใช้ AI การกำกับดูแล AI ประกอบด้วยกฎเกณฑ์ แนวทางปฏิบัติ และกระบวนการที่ใช้ในการกำกับดูแลและควบคุมการใช้งาน การกำกับดูแลการใช้ AI มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มศักยภาพ ควบคู่ไปกับการลดค่าใช้จ่าย และลดความเสี่ยงให้เหลือน้อยที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื่องจากภาคธุรกิจการเงินมีกฎระเบียบที่เข้มงวด ดังนั้นสถาบันการเงินจึงต้องใช้กรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ที่รัดกุม เพื่อให้สามารถกำกับดูแลกลยุทธ์ด้าน AI ได้ดียิ่งขึ้น กรอบการทำงานดังกล่าวควรประกอบด้วยกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการใช้ AI และมีคู่มือหรือแนวนโยบายเกี่ยวกับการเก็บรวบรวมและการจัดการข้อมูล นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องระบุและป้องกันความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการ เพื่อคุ้มครองข้อมูลอย่างเข้มงวด และเพื่อให้สอดคล้องตามข้อกำหนดทางกฎหมาย คุณประโยชน์สำคัญที่ได้จากการลงทุนด้านกรอบการกำกับดูแลการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม มีดังนี้   –  เพิ่มความสามารถในการตัดสินใจ-เข้าถึงข้อมูลได้ดีขึ้น และคาดการณ์ได้แม่นยำมากขึ้น –  เพิ่มประสิทธิภาพและลดค่าใช้จ่าย-งานประจำ…

ปธน. ยูเครน ไล่หัวหน้าสายลับและอัยการสูงสุดออก หลังพบเคยแอบร่วมงานกับรัสเซีย

Loading

  โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี (Volodymyr Zelenskyy) ประธานาธิบดียูเครนกล่าวว่า เขาได้ไล่หัวหน้าขององก์กรรักษาความปลอดภัยของประเทศและอัยการสูงสุดออก โดยให้เหตุผลว่าองค์กรของพวกเขาเคยร่วมงานกับรัสเซียอยู่หลายครั้งในช่วงที่ผ่านมา การไล่ออกของ ไอวาน บาคานอฟ (Ivan Bakanov) หัวหน้าองค์กรรักษาความปลอดภัย และยังเป็นเพื่อนสมัยเด็กของเซเลนสกี และ ไอรีนา เวเนดิกโทวา (Iryna Venediktova) อัยการสูงสุดของยูเครน ซึ่งทำหน้าที่สำคัญในคดีมากมายเกี่ยวกับรัสเซีย ถูกประกาศบนเว็บไซต์ของประธานาธิบดี และนับเป็นการไล่ออกทางการเมืองที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่สงครามได้เริ่มต้นในเดือนกุมภาพันธ์ เซเลนสกีโพสต์บนเทเลแกรมว่า เขาได้ไล่เจ้าหน้าที่ระดับสูงเหล่านี้ออกเนื่องจากค้นพบว่าเจ้าหน้าที่ในองค์กรเหล่านี้หลายคนได้แอบร่วมงานกับรัสเซีย ซึ่งยังมีองค์กรอื่นอีกที่มีปัญหานี้เช่นกัน เขากล่าวว่ามีคดีมากถึง 651 คดี ที่นับเป็นการกบฏและต่อต้านผู้บังคับใช้กฎหมาย นอกจากนี้ยังมีเจ้าหน้าที่กว่า 60 คนจากองค์กรของบาคานอฟและเวเนดิกโทวา ที่กำลังทำงานให้กับรัสเซียในพื้นที่ที่ถูกรัสเซียยึดครองไป ซึ่งการคุกคามความมั่นคงของชาติแบบนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยมากมายเกี่ยวกับผู้นำที่เกี่ยวข้องกับองค์กรเหล่านี้ ในอีกบทความบนเว็บไซต์ประธานาธิบดีกล่าวว่า เซเลนสกีได้แต่งตั้ง โอเลกซี ไซโมเนนโก (Oleksiy Symonenko) ให้เป็นอัยการสูงสุดคนใหม่ ที่มา: Reuters     ที่มา : beartai    /   วันที่เผยแพร่ 18…

ดีอีเอสแนะ 3 ช่องทางช่วยประชาชนถูกแอบอ้างชื่อสร้างโซเชียลปลอม

Loading

ดีอีเอสแนะประชาชน-คนดังพบถูกแอบอ้างชื่อ/รูปภาพไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม รีบแจ้งด่วนผ่าน 3 ช่องทาง ได้แก่ กดรายงานไปที่เจ้าของแพลตฟอร์ม แจ้งผ่านโทร.1212 และแจ้งความได้ทั้งเว็บไซต์แจ้งความออนไลน์/ตำรวจ ยืนยันดีอีเอสพร้อมประสานทุกภาคส่วนเร่งปิดบัญชีปลอม และติดตามผู้กระทำผิดเข้ามาดำเนินคดี น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) กล่าวว่า ที่ผ่านมายังพบแนวโน้มปัญหามิจฉาชีพแอบอ้างนำชื่อและรูปภาพคนอื่นไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอม ทั้งเฟซบุ๊ก เพจปลอม ไลน์ปลอม และ IG เพื่อนำไปหลอกลวงในรูปแบบต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชน ทั้งสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง เสียชื่อเสียง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ที่ถูกแอบอ้างชื่อและโปรไฟล์เป็นดารา หรือคนมีชื่อเสียง ความเสียหายจะยิ่งขยายวงกว้าง เนื่องจากมักมีแฟนคลับหรือผู้ติดตามจำนวนมาก โอกาสที่จะมีเหยี่อหลงเชื่อก็ยิ่งเพิ่มจำนวนเช่นกัน ขณะที่เจ้าตัวเสี่ยงต่อการสูญเสียชื่อเสียง สำหรับรูปแบบการหลอกลวงที่พบบ่อยจากบัญชีโซเชียลสวมรอยเหล่านี้ ได้แก่ หลอกยืมเงิน หลอกขายของ หลอกลงทุน หลอกร่วมทุน โดยเหยื่อที่หลงเชื่อจะสูญเงินโดยไม่ได้รับสินค้าหรือผลตอบแทนใดๆ นอกจากนี้ ยังมีการหลอกลวงที่เป็น Romance Scam หรือหลอกให้หลงรักและสูบเงินเหยื่อผ่านทางออนไลน์ ขณะที่บางกรณีจะเป็นการแอบอ้างตัวตนคนดังสร้างเฟซบุ๊กปลอมเพื่อใช้เป็นพื้นที่โพสต์เนื้อหา หรือแสดงความคิดเห็นเพื่อหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นต้น น.ส.นพวรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหานี้ รวมถึงอำนวยความสะดวกให้ผู้เสียหายซึ่งถูกแอบอ้างชื่อไปสร้างบัญชีโซเชียลปลอมเข้าถึงช่องทางความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งยุติการขยายวงของความเสียหาย เร่งประสานงานเพื่อปิดบัญชีปลอม และติดตามมิจฉาชีพมาดำเนินคดี อย่างไรก็ตาม ประเด็นสำคัญคือ…

เสี่ยงโดนปิด! อินโดฯ จี้ กูเกิล-เฟซบุ๊ก ลงทะเบียนกฎใหม่เปิดทางรัฐสั่งลบเนื้อหา

Loading

เสี่ยงโดนปิด! อินโดฯ จี้ กูเกิล-เฟซบุ๊ก ลงทะเบียนกฎใหม่เปิดทางรัฐสั่งลบเนื้อหา ชี้เส้นตาย 20 ก.ค.นี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า รัฐบาลอินโดนีเซีย เตือนเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ให้บริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่ที่ให้บริการในอินโดนีเซีย ลงทะเบียนตามกฎหมายใหม่ที่จะเปิดทางให้รัฐบาลสั่งลบเนื้อหาในแพลตฟอร์มต่างๆ ไม่เช่นนั้นจะถูกปิดบริการในอินโดนีเซีย ขณะที่รายงานล่าสุดระบุว่ายังมีหลายบริษัทเช่นกูเกิล และ เมต้า เจ้าของเฟซบุ๊ก ที่ยังไม่ได้ลงทะเบียน โดยกฎหมายดังกล่าวมีเส้นตายในการลงทะเบียนในวันที่ 20 กรกฎาคมนี้แล้ว ทั้งนี้การลงทะเบียนดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายใหม่ของอินโดนีเซียที่ประกาศออกมาในเดือนพฤศจิกายนปี 2020 โดยกฎหมายดังกล่าวเปิดทางให้รัฐบาลสั่งให้แพลตฟอร์มต่างๆ ลบเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของสังคมได้ โดยหากเป็นกรณีเร่งด่วนต้องทำภายใน 4 ชั่วโมง หรือถ้าไม่เร่งด่วนก็ต้องดำเนินการภายใน 24 ชั่วโมง นอกจากนี้รัฐบาลยังเคยชี้แจงว่ากฎหมายใหม่นั้นจะทำให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการจะปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน ขณะที่เนื้อหาในโลกออนไลน์นั้นจะถูกใช้ในเชิงบวกและสร้างสรรค์ จอห์นนี จี. เพลต รัฐมนตรีสื่อสารอินโดนีเซีย ระบุกับรอยเตอร์ เรียกร้องให้บริษัทต่างๆลงทะเบียนก่อนที่จะถูกคว่ำบาตร ขณะที่กระทรวงสื่อสารอินโดนีเซียเคยระบุเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาแล้วว่า แพลตฟอร์มใดที่ไม่ลงทะเบียนจะต้องถูกปิดกั้นการใช้งานในอินโดนีเซีย ทั้งนี้จากข้อมูลของกระทรวงสื่อสารอินโดนีเซียพบว่า หากนับถึงวันที่ 18 กรกฎาคมมีบริษัทท้องถิ่น 5,900 บริษัท และบริษัทต่างชาติ 108 บริษัทที่ลงทะเบียนภายใต้กฎหมายดังกล่าวแล้ว ในจำนวนนั้นรวมไปถึง…

ทปอ.สอบ TGAT-TPAT ในระบบทีแคส’66 ผ่านคอมพ์ ใส่รหัสล็อก 3 ชั้น สกัดแฮ็กเกอร์

Loading

ทปอ.เดินหน้าสอบ TGAT-TPAT ในระบบทีแคส’66 ผ่านคอมพ์เป็นปีแรก แจงข้อดีเพียบ ประมวลผลเร็วใน 3 วัน พร้อมรหัสล็อก 3 ชั้นสกัดแฮ็กเกอร์ ลดข้อผิดพลาดจากการฝนกระดาษคำตอบ ชี้ระบบนี้ใช้ในฟินแลนด์-สหรัฐ เล็งเปิดระบบใน 2 เดือน ให้ น.ร.ทดลองสอบก่อนใช้จริง จากกรณีที่ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) เตรียมปรับข้อสอบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา หรือทีแคส ประจำปีการศึกษา 2566 โดยปรับการทดสอบความถนัดทั่วไป หรือ GAT ความถนัดทางวิชาการ/วิชาชีพ หรือ PAT เป็น TGAT และ TPAT และปรับ 9 วิชาสามัญ มาวัดความรู้เชิงวิชาการ Applied Knowledge Level หรือ A-Level รวม 15 วิชาแทน โดยการสอบ TGAT และ TPAT จะให้ผู้สอบเลือกสอบด้วยกระดาษ และคอมพิวเตอร์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ ทปอ.จัดสอบคัดเลือกผ่านคอมพิวเตอร์นั้น เมื่อวันที่…