รัสเซียระงับให้สหรัฐเข้า ‘พื้นที่ยุทธศาสตร์’ ตามข้อตกลงนิวเคลียร์

Loading

  รัฐบาลมอสโกระงับการให้สหรัฐฯ ตรวจสอบ “สถานที่ยุทธศาสตร์” ตามเงื่อนไขของข้อตกลงนิวเคลียร์ระดับทวิภาคี โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับมาตรการคว่ำบาตรของอีกฝ่าย สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ว่า กระทรวงการต่างประเทศรัสเซียออกแถลงการณ์ ว่านับจากนี้เป็นต้นไป “สถานที่ทุกแห่ง” ซึ่งอยู่ภายใต้เงื่อนของการสังเกตการณ์ และการตรวจสอบ ตามสนธิสัญญาสันติภาพระดับทวิภาคีกับสหรัฐฯ ว่าด้วยการลดจำนวนอาวุธนิวเคลียร์ ที่เรียกกันว่า “นิว สตาร์ต” นั้น “จะไม่สามารถเข้าถึงได้ชั่วคราว” ทั้งนี้ รัฐบาลมอสโกให้เหตุผลว่า เกี่ยวข้องกับการที่รัฐบาลวอชิงตัน “ต้องการสร้างผลประโยชน์ฝ่ายเดียว” และ “กีดกันสิทธิของรัสเซีย” ในการสังเกตการณ์แบบเดียวกัน บนแผ่นดินของสหรัฐฯ เนื่องจากมาตรการคว่ำบาตร ที่รวมถึงการปิดน่านฟ้าจากเครื่องบินพาณิชย์ของรัสเซีย และการกำหนดเงื่อนไขการออกวีซ่าให้แก่เจ้าหน้าที่ของรัฐบาลมอสโก นอกจากนี้ เนื้อหาในแถลงการณ์ยังระบุเกี่ยวกับ การที่สถานการณ์การแพร่ระบาดระลอกใหม่ของโรคโควิด-19 ในสหรัฐฯ ด้วย   Russia suspends START arms inspections over U.S. travel curbs https://t.co/atNK6z8OL2 pic.twitter.com/2m41UX1Q8H — Reuters (@Reuters) August…

จับตา! รัสเซียส่งดาวเทียมอิหร่านขึ้นสู่อวกาศ ตะวันตกกังวลใช้เล็งเป้าหมายทางทหารในยูเครน

Loading

  รัสเซียส่งดาวเทียมดวงหนึ่งของอิหร่าน ทะยานขึ้นจากคาซัคสถานในวันอังคาร (9 ส.ค.) และพุ่งสู่วงโคจร ท่ามกลางประเด็นถกเถียงว่ามอสโกอาจใช้ดาวเทียมดวงนี้สอดแนมเป้าหมายทางทหารต่างๆ ในยูเครน หลังจากถูกนานาชาติโดดเดี่ยวมากขึ้นเรื่อยๆ ตามหลังตะวันตกกำหนดมาตรการคว่ำบาตรตอบโต้กรณีรุกรานยูเครน ทางรัสเซียกำลังหาทางปักหมุดเข้าหาตะวันออกกลาง เอเชียและแอฟริกา รวมถึงเสาะหาลูกค้าใหม่ในโครงการอวกาศของพวกเขา ยูริ โบริซอฟ หัวหน้าขององค์การอวกาศสหพันธรัฐรัสเซีย (Roscosmos) กล่าวที่ศูนย์ปล่อยอวกาศยานไบโคนูร์ คอสโมโดรม ในทุ่งหญ้าสเตปป์ ประเทศคาซัคสถาน ซึ่งบริหารงานโดยมอสโก ยกย่องมันในฐานะ “หลักชัยแห่งประวัติศาสตร์ในความร่วมมือทวิภาคีระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน เปิดทางสู่การเกิดโครงการใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งโครงการที่ใหญ่กว่านี้” อิสซา ซาเรปูร์ รัฐมนตรีคมนาคมของอิหร่าน ซึ่งร่วมเป็นสักขีพยานการปล่อยดาวเทียม Khayyam เรียกมันว่า เป็นเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ และจุดเปลี่ยนสำหรับการเริ่มต้นการปฏิสัมพันธ์ใหม่ๆ ในขอบเขตทางอวกาศระหว่าง 2 ประเทศ ส่วน นาสเซอร์ คานานิ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน เขียนบนทวิตเตอร์ว่า “มันคือเส้นทางอันน่าอัศจรรย์แห่งความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน แม้เผชิญมาตรการคว่ำบาตรและแรงกดดันขั้นสูงสุดของศัตรู” อิหร่าน ซึ่งคงความสัมพันธ์กับมอสโก และละเว้นวิพากษ์วิจารณ์รัสเซียต่อกรณีรุกรานยูเครน พยายามกลบความสงสัยต่างๆ หลังจากมีหลายฝ่ายกังวลว่ามอสโกอาจใช้ Khayyam สอดแนมยูเครน วอชิงตัน พูดถึงการปล่อยจรวดครั้งนี้ว่า ความร่วมมือที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างรัสเซียกับอิหร่าน สามารถถูกมองในฐานะเป็นภัยคุกคาม…

“วิคเตอร์ บูท” เป็นใคร ทำไมรัสเซียอยากได้ตัวคืนจากสหรัฐฯ?

Loading

  ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดความคาดหมายมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า สหรัฐฯ จะปล่อยตัว วิคเตอร์ บูท ผู้ถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานเกี่ยวข้องกับการค้าอาวุธผิดกฎหมาย เจ้าของฉายา ‘พ่อค้าความตาย’ เพื่อแลกกับอิสรภาพของ บริตนีย์ ไกรเนอร์ นักบาสเกตบอลหญิงชาวอเมริกัน เจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก 2 สมัย และนาย พอล วีแลน อดีตนาวิกโยธิน ซึ่งถูกคุมขังอยู่ในรัสเซียทั้งคู่ สำหรับฝ่ายรัสเซีย สื่อในประเทศรายงานหลายเดือนแล้วว่า น.ส.ไกรเนอร์ ผู้ถูกจับที่สนามบินในมอสโก เมื่อกุมภาพันธ์ ในข้อหานำเข้ายาเสพติด และนายวีแลน ซึ่งถูกตัดสินจำคุก 16 ปี ฐานจารกรรมข้อมูล อาจถูกใช้เพื่อแลกตัวนายบูท ซึ่งรัฐบาลเครมลินเรียกร้องให้สหรัฐฯ ปล่อยตัวมานาน แต่รัฐบาลของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ปิดปากเงียบเกี่ยวกับเรื่องนี้มาตลอด จนกระทั่งในวันพุธที่ 27 ก.ค.ที่ผ่านมา นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ก็ออกมาพูดถึงเรื่องความพยายามในการนำตัว น.ส.ไกรเนอร์กับนายวีแลน กลับบ้านเป็นครั้งแรก โดยระบุว่า สหรัฐฯ ได้ยื่นข้อเสนอที่ใหญ่มากให้รัสเซียพิจารณา แต่ไม่เผยรายละเอียด อย่างไรก็ตาม…

รัสเซียโรงงานสร้างเลเซอร์ ใช้ทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียม

Loading

“รัสเซียสร้างโรงงานเลเซอร์ชื่อ “คาลินา” ใช้ส่งลำแสงเลเซอร์พลังงานสูงไปยังดาวเทียมสอดแนม เพื่อทำลายการมองเห็นชั่วคราวของดาวเทียมนั้น ๆ” จากรายงานของเดอะ สเปซ รีวิว (The Space Review) เผยว่า รัสเซียกำลังสร้างโรงงานที่มีชื่อว่าคาลินา (Kalina) อันเป็นโรงงานเลเซอร์ภาคพื้นดิน เพื่อรบกวนการทำงานของดาวเทียมในวงโคจร โดยเป็นแนวคิดพื้นฐานในการรบกวนเซ็นเซอร์ออปติคัลของดาวเทียมสอดแนมของประเทศอื่น ๆ ด้วยการใช้แสงเลเซอร์ส่อง ซึ่งหากรัฐบาลรัสเซียสามารถสร้างเลเซอร์ได้สำเร็จ ก็จะสามารถป้องกันประเทศส่วนใหญ่จากมุมมองการมองเห็นของดาวเทียมด้วยเซ็นเซอร์ออปติคัลได้ แต่ทั้งนี้ การจะบรรลุเป้าหมายนี้ จำเป็นต้องส่งแสงเลเซอร์ในปริมาณที่เพียงพอไปยังเซ็นเซอร์ดาวเทียมอย่างแม่นยำ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เมื่อพิจารณาจากระยะทางที่ไกลมาก และความจริงที่ว่าลำแสงเลเซอร์ต้องเดินทางผ่านชั้นบรรยากาศของโลกก่อน โดยคาลินาสามารถผลิตเลเซอร์ชนิดพัลซิ่ง (Pulsed laser) ได้ที่ 1,000 จูลต่อตารางเซนติเมตร นอกจากนี้ รายงานยังเปิดเผยอีกว่า คาลินาสามารถกำหนดเป้าหมายดาวเทียมเหนือศีรษะได้เป็นระยะทางหลายร้อยไมล์ ซึ่งจะสามารถป้องกันการมองเห็นพื้นที่ขนาดใหญ่ได้มากประมาณ 100,000 ตารางกิโลเมตร เทียบเท่ากับรัฐเคนตักกี้ ในสหรัฐอเมริกาเลยทีเดียว ไม่เพียงแต่ความสามารถในการทำให้ดาวเทียมสูญเสียการมองเห็นชั่วคราว เซนเซอร์ที่มีระดับพลังงานสูง อาจนำไปสู่การทำให้อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์บนดาวเทียมเสียหายถาวร อย่างไรก็ตามในขณะที่การพัฒนาเทคโนโลยีเลเซอร์กำลังมุ่งไปในทิศทางนั้น มีการพิจารณานโยบายที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการใช้เลเซอร์ในลักษณะนี้โดยนานาชาติ การทำลายอย่างถาวรของเซ็นเซอร์ตามอวกาศโดยประเทศอาจถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ก้าวร้าวซึ่งนำไปสู่ความตึงเครียดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ในปี 2019 รัสเซียเคยออกมายอมรับการมีอยู่ของเพอเรสเวท (Peresvet) ซึ่งเป็นอาวุธเลเซอร์ของรัสเซียสำหรับการป้องกันทางอากาศและการทำสงครามต่อต้านดาวเทียม แต่ไม่มีการยืนยันว่าอาวุธดังกล่าวถูกใช้สำเร็จหรือไม่ ข้อมูลจาก…

อังกฤษชี้ รัสเซียอาจ “กำลังจะหมดแรง”-สายลับในยุโรปหายไปครึ่งหนึ่ง

Loading

หัวหน้า MI6 ของสหราชอาณาจักรชี้ มีสัญญาณว่ารัสเซียอาจ “กำลังจะหมดแรง” และยูเครนจะมีโอกาสในการโต้กลับ หน่วยสืบราชการลับของสหราชอาณาจักร (SIS) หรือที่คอหนังสายลับหลายคนรู้จักในชื่อ MI6 ออกมาเปิดเผยว่า สถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนขณะนี้ ทางรัสเซียกำลังเริ่ม “หมดแรง” ในการรุกรานยูเครน ริชาร์ด มัวร์ หัวหน้า MI6 บอกว่า เขาเชื่อว่ารัสเซียอาจ “กำลังจะหมดแรง” ในการรุกรานยูเครน “การประเมินของเราคือ รัสเซียจะพบว่ามันยากขึ้นเรื่อย ๆ ในการจัดหายุทโธปกรณ์และกำลังคนในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า พวกเขาจะต้องหยุดชะงักในทางใดทางหนึ่ง และนั่นจะทำให้ชาวยูเครนมีโอกาสโต้กลับ”     เขาเสริมว่า “ขวัญกำลังใจของชาวยูเครนยังสูงอยู่ พวกเขาเริ่มได้รับอาวุธดี ๆ จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ” ในทางตรงกันข้าม มัวร์บอกว่า มีหลายสัญญาณว่ารัสเซียอาจจะเริ่มไม่ไหวหน่อย ๆ ตั้งแต่ที่รัสเซียล้มเหลวอย่างมีนัยยะสำคัญในการยึดกรุงเคียฟและโค่นล้มรัฐบาลของ โวโลดิเมียร์ เซเลนสกี ในช่วงแรกของการรุกราน ทำให้สงครามยืดเยื้อ และในสมรภูมิดอนบาส (ยูเครนตะวันออก) ในปัจจุบันเอง รัสเซียก็เน้นใช้กลยุทธ์ “ส่งทหารไปตาย” เป็นส่วนใหญ่ หัวหน้าหน่วยข่าวกรองของสหราชอาณาจักรยังเชื่อว่า รัสเซียสูญเสียความสามารถในการสอดแนมในยุโรปไปแล้ว “ครึ่งหนึ่ง”…

แฮ็กเกอร์รัสเซียยันเดินหน้าโจมตีลิทัวเนีย ตอบโต้ปิดล้อมคาลินินกราด

Loading

  Killnet ซึ่งเป็นกลุ่มแฮ็กเกอร์ของรัสเซีย ยีนยันว่าทางกลุ่มจะยังคงเดินหน้าโจมตีทางไซเบอร์ต่อลิทัวเนียเป็นวันที่ 2 เพื่อตอบโต้ต่อการที่รัฐบาลลิทัวเนียทำการสกัดกั้นการขนส่งสินค้าเข้าไปยังคาลินินกราด   “เราจะโจมตีจนกว่าลิทัวเนียจะยกเลิกการปิดล้อมคาลินินกราด” โฆษกของ Killnet กล่าวต่อสำนักข่าวรอยเตอร์   ทั้งนี้ คาลินินกราดเป็นดินแดนของรัสเซียซึ่งถูกล้อมรอบด้วยลิทัวเทียและโปแลนด์ ขณะที่รัฐบาลลิทัวเนียมีคำสั่งห้ามขนส่งสินค้าที่ถูกคว่ำบาตรโดยสหภาพยุโรป (EU) ผ่านเขตแดนลิทัวเนีย ส่งผลคาลินินกราดถูกปิดล้อม โดยไม่สามารถขนส่งสินค้าทางรถไฟเชื่อมดินแดนดังกล่าวกับพื้นที่ส่วนที่เหลือของรัสเซีย   ด้านศูนย์ความมั่นคงด้านไซเบอร์แห่งชาติลิทัวเนีย (NCSC) ออกแถลงการณ์วานนี้ระบุว่า หน่วยงานของรัฐบาลรวมทั้งสถาบันของภาคเอกชนหลายแห่งถูกโจมตีทางไซเบอร์   “มีแนวโน้มว่าการโจมตีดังกล่าวจะมีความรุนแรงขึ้นในช่วงหลายวันข้างหน้า โดยเฉพาะในภาคการขนส่ง พลังงาน และภาคการเงิน” NCSC ระบุ   ทั้งนี้ แฮ็กเกอร์ได้ทำการโจมตีที่เรียกว่า Denial of Service หรือ DoS โดยการส่งข้อมูลจำนวนมหาศาลไปยังเป้าหมายเพื่อทำให้การรับ-ส่งข้อมูลเกิดภาวะคอขวดจนไม่สามารถให้บริการต่อผู้ใช้งานได้     โดย ก้องเกียรติ กอวีรกิติ       ———————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :    สำนักข่าวอินโฟเควสท์     …