ซูดาน : ประเทศที่ไม่ใช่ชาติ

Loading

  ซูดาน – สาธารณรัฐซูดาน เป็นประเทศที่ในอดีตมีพื้นที่มากที่สุดในทวีปแอฟริกา ตั้งอยู่ทางภาคอีสานของทวีป มีเมืองหลวงชื่อคาร์ทูม มีพรมแดนทางทิศเหนือติดกับประเทศอียิปต์ ทิศใต้ติดต่อกับเซาท์ซูดาน ทิศตะวันออกติดกับประเทศเอริเทรียและประเทศเอธิโอเปีย ทิศตะวันออกเฉียงเหนือติดกับทะเลแดง ทิศตะวันตกเฉียงใต้ติดกับสาธารณรัฐแอฟริกากลาง ทิศตะวันตกติดกับประเทศชาด และทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดกับประเทศลิเบีย มีพื้นที่ 1,886,068 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 44,909,353 คน   ประเทศซูดานได้รับเอกราชใน พ.ศ.2499 หลังจากที่เคยเป็นอาณานิคมของอังกฤษร่วมกับอียิปต์ในนาม “คอนโดมิเนียม” ซึ่งแปลว่า “บ้านของคนสองคนที่ไม่เคยเห็นหน้ากัน” อังกฤษปกครองทางตอนเหนือ อียิปต์กุมอำนาจทางวัฒนธรรม แต่ไม่มีใครสนใจดินแดนทางใต้ที่เต็มไปด้วยป่าไม้อันดิบชื้นและชนเผ่าพื้นเมืองที่พูดภาษาคนละภาษากับทางเหนือ เมื่อถึงเวลาจะให้เอกราช การตกลงกันว่าจะให้ใครปกครองจึงกลายเป็นเรื่องเหมือนให้แมวกับสุนัขจับมือกันวางแผนแต่งงาน ผลคือไม่ถึงสองปี รัฐบาลพลเรือนถูกโค่นโดยทหารและการปกครองซูดานก็เปลี่ยนไปเป็นรัฐบาลแบบเผด็จการทหาร ซูดานนั้นเดิมเป็นประเทศที่ประชากรส่วนใหญ่ในภาคเหนือเป็นมุสลิม มีความสัมพันธ์กับโลกอาหรับ และถือว่าตนเองเจริญแล้ว ขณะที่ทางใต้ของประเทศกลับเต็มไปด้วยคริสเตียนและผู้นับถือความเชื่อแบบหมอผีดั้งเดิม เป็นกลุ่มคนที่ชาวเหนือเห็นว่าป่าเถื่อน สงครามกลางเมืองครั้งแรกระหว่างเหนือกับใต้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ.2558 ก่อนที่ซูดานจะได้เอกราชเสียด้วยซ้ำ และมันก็ดำเนินมาอย่างเรื่อยๆ จนถึง พ.ศ.2515 เมื่อมีการลงนามในข้อตกลง “แอดดิสอาบาบา” แต่สงบเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะเมื่อถึงปี 1983 ประธานาธิบดีนูเมรีย์ผู้เผด็จการทหารคนหนึ่งจากหลายคน ได้ประกาศใช้กฎหมายชารีอะห์ (เป็นกฎหมายทางศาสนาที่เป็นส่วนหนึ่งของประเพณีศาสนาอิสลามซึ่งอิงตามคัมภีร์ของศาสนาอิสลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งคัมภีร์กุรอ่านและหะดีษ ในศัพท์ศาสนาอิสลามชารีอะห์หมายถึงกฎหมายศักดิ์สิทธิ์) ทั่วประเทศ…

ยูเอ็นรับรอง “อนุสัญญาปราบปรามอาชญากรรมไซเบอร์” ฉบับแรกของโลก

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 9 ส.ค. ว่า หลังเจรจานานเป็นเวลา 3 ปี และการประชุมครั้งสุดท้าย 2 สัปดาห์ในนครนิวยอร์ก รัฐสมาชิกได้ลงมติเห็นชอบ อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านอาชญากรรมทางไซเบอร์ หลังจากนี้จะถูกส่งต่อไปยังที่ประชุมสมัชชาใหญ่ เพื่อให้รับรองอย่างเป็นทางการ

บทบาทสำคัญของ กองกำลังติดอาวุธ ตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐในตะวันออกกลาง

Loading

สงครามอิสราเอล-ฮามาส เป็นเครื่องยืนยันขีดความสามารถของตัวแสดงที่ไม่ใช่รัฐ (non-state actors) ในการกำหนดสถานการณ์แทนรัฐบาล เพราะ “กองกำลังติดอาวุธ กลุ่มก่อการร้ายและกลุ่มผู้ก่อความไม่สงบ” ส่วนใหญ่ไม่รู้สึกว่าพวกตนต้องรับผิดชอบสวัสดิภาพของประชาชนในชาติ

ศาลอาญาระหว่างประเทศ เตรียมสืบสวนกรณีสังหารหมู่ในซูดาน

Loading

  ศาลอาญาระหว่างประเทศ กำลังสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในประเทศซูดาน หลังเกิดสงครามกลางเมือง ที่คาดกันว่าทหารอาจก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   เกือบสามเดือนแล้วที่ซูดานเกิดสงครามกลางเมืองและจนถึงวันนี้สถานการณ์ก็ยังไม่สงบ ล่าสุดศาลอาญาระหว่างประเทศกำลังสืบสวนความรุนแรงที่เกิดขึ้นในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ เนื่องจากพบหลุมฝังศพหมู่ที่ภายในเต็มไปด้วยร่างของผู้เสียชีวิตที่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ ส่งผลให้คาดกันว่า ทหารอาจก่อเหตุฆ่าล้างเผ่าพันธุ์   เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้แทนของศาลอาญาระหว่างประเทศ หรือ ICC ได้รายงานต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติหรือ UNHCR ที่มีสำนักงานในนครนิวยอร์กว่า     ทาง ICC เตรียมที่จะเปิดการสืบสวนกรณีการสังหารหมู่และการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในซูดาน หลังประเทศนี้ตกอยู่ในความโกลาหลจากสงครามกลางเมืองมานานเกือบสามเดือนแล้ว   คาริม ข่าน อัยการจาก ICC ทำหน้าที่เป็นผู้รายงาน ระบุว่า ข้อมูลที่ทาง ICC ได้รับและนำมาสู่การสืบสวนนั้นมาจากรายงานของสำนักงานข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ฉายรายละเอียดเกี่ยวกับการสังหารชาวมาซาลิต หนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ของชาวซูดานอย่างน้อย 87 ราย ในรัฐเวสต์ดาร์ฟูร์ รายานระบุว่า ผู้สังหารคือ กองทัพซูดานและกองกำลัง RSF   อัยการจาก ICC ระบุว่า ขณะนี้พวกเขากำลังอยู่ระหว่างการสืบสวนและเก็บข้อมูล และความเสียหายที่แท้จริงนั้นมีมากกว่าแค่การเสียชีวิตของสมาชิกกลุ่มชาติพันธุ์จำนวน 87 ราย และอาชญากรรมเหล่านี้ถือเป็นการละเมิดธรรมนูญกรุงโรมที่นานาชาติเคยให้สัตยาบัน  …

สังคมโลก : ไม่มีวี่แวว

Loading

    นับตั้งแต่การสู้รบในซูดานปะทุขึ้นอย่างฉับพลัน เมื่อวันที่ 15 เม.ย. ที่ผ่านมา กรุงคาร์ทูมในอีก 1 เดือนต่อมา คือพื้นที่สงครามอันอ้างว้าง ซึ่งยังมีหลายครอบครัวที่หวาดกลัวหลบอยู่ในบ้านของพวกเขา ท่ามกลางเสียงปืนที่ดังสนั่นบนท้องถนนด้านนอกที่รกร้างและเต็มไปด้วยฝุ่น   ทั่วกรุงคาร์ทูม ผู้รอดชีวิตต่างหลบภัยในบ้านที่เสริมการป้องกัน โดยหวังว่าพวกเขาจะไม่โดนลูกหลง และอดทนต่อการขาดแคลนอาหารและสิ่งของพื้นฐานที่สิ้นหวัง เช่นเดียวกับการเผชิญปัญหาไฟฟ้าดับ, การขาดเงินสด, การสื่อสารที่ขาดหาย และภาวะเงินเฟ้อที่ควบคุมไม่ได้   ขณะที่ทหารสองฝ่ายกำลังต่อสู้กัน บรรดาเจ้าหน้าที่รัฐที่เหลืออยู่ต่างถอยร่น ไปปักหลักที่เมืองพอร์ตซูดาน ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงคาร์ทูมประมาณ 850 กิโลเมตร และเป็นศูนย์กลางสำหรับผู้อพยพจำนวนมาก ทั้งชาวซูดานและพลเมืองชาวต่างชาติ     ซูดานมีประวัติศาสตร์เชื่อมโยงกับการรัฐประหารมาอย่างยาวนาน แต่ความหวังของประเทศเพิ่มขึ้นหลังเกิดการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย จนนำไปสู่การประท้วงต่อต้านประธานาธิบดีโอมาร์ อัล-บาเชียร์ เมื่อปี 2562 แม้มีรัฐบาลพลเรือนในช่วงเปลี่ยนผ่าน แต่เป็นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น จนกระทั่งเกิดการรัฐประหารครั้งล่าสุด ในปี 2564   สำหรับชนวนเหตุของสงครามกลางเมืองในซูดานครั้งนี้ เป็นผลจากความตึงเครียดเกี่ยวกับการผนวกรวมกองกำลังเพื่อจัดตั้งกองทัพแห่งชาติ โดย พล.อ.อับเดล ฟัตตาห์ อัล-บูร์ฮาน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของซูดาน ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำประเทศคนปัจจุบัน และ พล.อ.โมฮาเหม็ด…

สหรัฐฯ อพยพพลเมืองอเมริกันชุดแรกหนีสงครามกลางเมืองซูดาน

Loading

    ชาวอเมริกันหลายร้อยคนเดินทางออกจากซูดานผ่านทางท่าเรือเมื่อวันเสาร์ ถือเป็นพลเมืองอเมริกันชุดแรกที่อพยพออกจากซูดานโดยความช่วยเหลือของรัฐบาลสหรัฐฯ หลังจากเกิดการสู้รบกลางเมืองในช่วงสองสัปดาห์ที่ผ่านมาระหว่างกองทัพบกซูดานกับกองกำลังกึ่งทหาร   เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า อากาศยานไร้คนขับ หรือ โดรน ของสหรัฐฯ เฝ้าจับตาและคุ้มกันการอพยพประชาชนอเมริกันจำนวน 200-300 คนดังกล่าว ซึ่งเริ่มต้นจากการเดินทางด้วยขบวนรถโดยสารเป็นระยะทางกว่า 800 กิโลเมตรไปยังพอร์ตซูดาน เพื่อขึ้นเรือโดยสารข้ามทะเลแดงมุ่งหน้าไปยังซาอุดิอาระเบียที่ซึ่งจะมีเจ้าหน้าที่การทูตของรัฐบาลสหรัฐฯ รอให้ความช่วยเหลือ   ก่อนหน้านี้ ครอบครัวของชาวอเมริกันที่ติดอยู่ในซูดานวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลกรุงวอชิงตันที่ไม่ส่งเจ้าหน้าที่ไปยังซูดานเพื่อช่วยอพยพพลเมืองอเมริกันออกมา โดยคาดว่ามีชาวอเมริกันอาศัยอยู่ในซูดานราว 16,000 คนที่ต้องการลี้ภัยหนีสงครามกลางเมือง   เมื่อวันที่ 22 เมษายน กองกำลังพิเศษของอเมริกาเดินทางไปยังกรุงคาร์ทูมเพื่อช่วยเหลือนำบรรดาเจ้าหน้าที่การทูตและเจ้าหน้าที่รัฐบาลอเมริกันออกจากซูดานไปล่วงหน้าแล้ว พร้อมสั่งปิดสถานทูตสหรัฐฯ ในซูดาน แต่ยังมีพลเมืองอเมริกันจำนวนมากที่ตกค้างอยู่ในซูดาน     จนถึงขณะนี้ มากกว่าสิบประเทศ ได้นำตัวพลเมืองของตนออกมาจากซูดานแล้ว โดยใช้หลายวิธีด้วยกัน รวมถึงขบวนรถโดยสาร เครื่องบินทหาร เรือของกองทัพเรือ และเจ้าหน้าที่ภาคพื้นดิน รวมทั้งประเทศไทยที่ได้ส่งเครื่องบินไปรับตัวพลเมืองชาวไทยออกจากซูดานเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา   นับตั้งแต่การสู้รบของกองทัพบกซูดานและกองกำลังกึ่งทหารเคลื่อนที่เร็ว หรือ อาร์เอสเอฟ ปะทุขึ้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน สหรัฐฯ ได้ประกาศเตือนพลเมืองของตนให้หาทางหนีออกมาจากซูดาน รวมทั้งพยายามติดต่อไปยังประเทศอื่นเพื่อช่วยเหลือในการอพยพชาวอเมริกันออกจากพื้นที่สู้รบ ก่อนที่จะตัดสินใจจัดขบวนรถโดยสารไปรับพบเมืองอเมริกันกลับบ้าน…