บาดหมางไปอีก! จีนสั่งบ.เทคฯ เลิกใช้ชิป ‘ไมครอน’ ของสหรัฐฯ

Loading

    รัฐบาลจีนมีคำสั่งเมื่อวันอาทิตย์ ให้ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ยุติการใช้ชิปจากบริษัทไมครอน เทคโนโลยี (Micron Technology Inc.) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ นับเป็นการยกระดับความบาดหมางระหว่างรัฐบาลปักกิ่งและรัฐบาลวอชิงตันในประเด็นเทคโนโลยีและความมั่นคง ตามรายงานของเอพี   หน่วยงาน Cyberspace Administration of China หรือ CAC ของจีน ออกแถลงการณ์ความยาว 6 บรรทัด โดยไม่ได้ให้รายละเอียดใด ๆ เพิ่มเติมเมื่อวันอาทิตย์ว่า ผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอนมี “ความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของเครือข่ายอย่างร้ายแรง” ที่ไม่สามารถระบุได้ ซึ่งเป็นอันตรายของโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลของจีนและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ   ทาง CAC ระบุในแถลงการณ์ด้วยว่า “ผู้ให้บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลสำคัญของจีนควรหยุดซื้อผลิตภัณฑ์จากบริษัทไมครอน”   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ทางการจีนสั่งตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของบริษัทไมครอน เพื่อตอบโต้การที่สหรัฐฯ และพันธมิตรบังคับใช้มาตรการจำกัดการส่งออกสินค้าเทคโนโลยี เพื่อลดโอกาสการเข้าถึงเทคโนโลยีชิปประมวลผลขั้นสูงและเทคโนโลยีอื่น ๆ ของจีน ที่สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่นมองว่าจีนอาจนำไปใช้พัฒนาอาวุธได้ ในช่วงเวลาที่จีนข่มขู่คุกคามและยกระดับความก้าวร้าวต่อไต้หวัน ญี่ปุ่น และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียมากขึ้น   ทางการจีนเตือนว่าจะมีผลที่ตามมาจากมาตรการดังกล่าว แต่ดูเหมือนจะหาทางตอบโต้โดยไม่ให้กระทบกับการผลิตสมาร์โฟนหรืออุตสาหกรรมอื่น ๆ…

ออสเตรเลียจ่อฟ้อง PwC หลังทำข้อมูลแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล

Loading

    สำนักข่าวรอยเตอร์สรายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมดำเนินการตอบโต้ ไพรซ์วอเตอร์เฮาส์ คูเปอร์ส (PricewaterhouseCoopers หรือ PwC) บริษัทตรวจสอบบัญชีชื่อดังระดับโลก ภายหลังการตรวจสอบพบว่า PwC ทำแผนภาษีของรัฐบาลรั่วไหล   รัฐบาลออสเตรเลีย ซึ่งเป็นลูกค้าของ PwC ประเทศออสเตรเลีย (PwC Australia) กล่าวหาว่า PwC ได้แบ่งปันข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการต่อต้านการหลีกเลี่ยงภาษีฉบับใหม่ให้กับลูกค้าของ PwC ซึ่งการกระทำดังกล่าว ถือเป็นการละเมิดความไว้วางใจครั้งใหญ่ และรัฐบาลเตรียมจะส่งเรื่องนี้ให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลีย (AFP) เพื่อดำเนินการในขั้นตอนต่อไป   นายสตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีฝ่ายบริการด้านการเงินของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังกำลังสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และกำลังพิจารณาว่าควรส่งข้อกล่าวหาทางอาญานี้ไปให้กับสำนักงานตำรวจสหพันธ์ออสเตรเลียหรือไม่   ในขณะที่ฝ่ายนิติบัญญัติบางคน เรียกร้องไม่ให้รัฐบาลออสเตรเลียทำสัญญาใด ๆ เพิ่มเติมอีกกับบริษัทตรวจสอบบัญชีรายนี้ รวมถึงนายจิม ชาลเมอร์ส (Jim Chalmers) รัฐมนตรีว่าการกระทวงการคลังออสเตรเลียที่ระบุว่า “นี่เป็นเรื่องที่ไม่สามารถให้อภัยได้”   แม้ว่า นายทอม ซีมอร์ (Tom Seymour)…

ศาลสหรัฐเผย “เอฟบีไอ” สอดแนมการสื่อสารส่วนตัวของคนอเมริกันเป็นประจำ

Loading

    เอกสารจากศาลเเสดงการสอดแนมข่าวกรองต่างประเทศ (ฟีซา) เผยแพร่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ว่าสำนักงานสอบสวนกลาง (เอฟบีไอ) มักละเมิดความเป็นส่วนบุคคลของชาวอเมริกัน ด้วยการลักลอบเข้าถึงฐานข้อมูล เพื่อค้นหาชื่อของเหยื่ออาชญากรรม และผู้เข้าร่วมการประท้วง   สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ว่า ฐานข้อมูลดังกล่าว ซึ่งเอฟบีไอเข้าถึงราว 278,000 ครั้ง ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประกอบด้วยอีเมลส่วนตัว, ข้อความ และการสื่อสารอื่น ๆ ที่สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ (เอ็นเอสเอ) ใช้ค้นหา เมื่อมีการสอดแนมชาวต่างชาติ   ถึงแม้ว่าเอฟบีไอควรเข้าถึงฐานข้อมูลของเอ็นเอสเอ เฉพาะเมื่อมีการสืบสวนปัญหาข่าวกรองต่างประเทศ แต่ความคิดเห็นของศาล แสดงให้เห็นว่า พวกเขาใช้ฐานข้อมูลนี้อย่างไม่เป็นทางการ เพื่อสอบสวนคดีภายในประเทศด้วย ซึ่งในบางกรณี มันไม่มีข่าวกรองต่างประเทศ หรืออาชญากรรมในประเทศ ที่เป็นเหตุผลรองรับ ให้เอฟบีไอใช้สิทธิเข้าถึงฐานข้อมูลได้   อนึ่ง เอกสารข้างต้นถูกเผยแพร่ ขณะที่สภาคองเกรสกำลังอภิปราย เรื่องการต่ออายุมาตรา 702 ซึ่งเป็นกฎหมายที่อนุญาตให้เอ็นเอสเอ สามารถเข้าถึงบัญชีอินเทอร์เน็ตที่มีสหรัฐเป็นเจ้าของ เพื่อสอดแนมเป้าหมายข่าวกรองต่างประเทศ โดยสมาชิกสภาหลายคนกล่าวว่า มาตราข้างต้น…

ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

เงื่อนไขการใช้สิทธิและการบริหารจัดการสิทธิตาม PDPA

Loading

    พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 หรือ PDPA กำหนดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิหลาย ๆ ประการที่กฎหมายบัญญัติไว้ในมาตรา 30-36   ได้แก่ สิทธิในการขอเข้าถึงและขอรับสำเนา (Access) สิทธิขอให้โอนข้อมูล (Portability) สิทธิคัดค้าน (Object) สิทธิขอให้ลบ (Erasure) สิทธิขอให้ระงับการใช้ (Restriction) และสิทธิขอให้แก้ไขข้อมูล (Rectification)   กฎหมายได้กำหนดเป็นหน้าที่ขององค์กรต่าง ๆ ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ให้มีหน้าที่ดำเนินการตอบสนองต่อคำขอใช้สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลด้วย (Responding to Data Subject Requests: DSRs)   สิทธิทั้ง 6 ประการดังกล่าวมีเงื่อนไขและขอบเขตการใช้บังคับหรือการดำเนินการตาม DSRs ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับเงื่อนไขการใช้สิทธิแต่ละประเภท และฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (lawful basis) กับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล   European Data Protection Board (EDPB) ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับการบังคับใช้ GDPR…

Apple แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มอื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน

Loading

    บริษัท แอปเปิล (Apple) แบน ChatGPT และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ ห้ามพนักงานใช้งาน   วันที่ 18 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่าบริษัท แอปเปิล (Apple) บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของโลกประกาศแบนแชทจีพีที (ChatGPT) และแพลตฟอร์มปัญญาประดิษฐ์ (AI) อื่น ๆ เช่น การสร้างรูปภาพ วิดีโอและการเขียนโปรแกรม Copilot ของ GitHub โดยห้ามพนักงานใช้งานเนื่องจากข้อกังวลเกี่ยวกับการรั่วไหลของความลับบริษัท   ก่อนหน้านี้ในเดือนเมษายน บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ผู้พัฒนาบริการแชทจีพีที (ChatGPT) ได้เพิ่มฟีเจอร์ไม่ระบุตัวตนให้กับผู้ใช้งานสามารถเลือกได้เพื่อไม่ให้ระบบเก็บข้อมูลการใช้งานหรือข้อมูลอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ฝึกสอนปัญญาประดิษฐ์ บริษัท โอเพนเอไอ (OpenAI) ยืนยันว่า ไม่มีนโยบายขโมยข้อมูลจากผู้ใช้งานในองค์กรต่าง ๆ   อย่างไรก็ตามยังมีกระแสข่าวหลายบริษัทแบน นอกจากบริษัท แอปเปิล (Apple)…