จีนคุมเข้มส่งออกโดรน อ้างเหตุความมั่นคง-ศึกเทคโนโลยีสหรัฐระอุ

Loading

  จีนคุมเข้มส่งออกโดรน – วันที่ 31 ก.ค. รอยเตอร์รายงานว่า ทางการจีนประกาศออกมาตรการควบคุมการส่งออกชิ้นส่วนและอะไหล่บางชนิดที่เกี่ยวข้องกับโดรน ท่ามกลางความตึงเครียดการแข่งขันดุเดือดกันระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา   มาตรการควบคุมการส่งออกนั้นรวมถึงชิ้นส่วนประเภท เครื่องยนต์ เลเซอร์ การสื่อสาร และอุปกรณ์ต่อต้านโดรนทุกชนิด โดยจีนให้เหตุผลว่าเป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ เป็นต้นไป   โฆษกกระทรวงพาณิชย์จีน กล่าวว่า มาตรการควบคุมใหม่จะส่งผลกระทบต่อโดรนเชิงพาณิชย์สำหรับประชาชนทั่วไปด้วย โดยจีนจะไม่อนุญาตให้ส่งออกโดรนพลเรือนเพื่อนำไปดัดแปลงใช้เป็นอาวุธทางทหาร   “การขยายขอบเขตมาตรการควบคุมการส่งออกโดรนที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งสะท้อนสำคัญถึงจุดยืนความรับผิดชอบของจีนต่อเสถียรภาพและสันติภาพของประชาคมโลก” โฆษกกระทรวงพาณิชย์ ระบุ และว่าทางการจีนดำเนินการแจ้งเรื่องต่อบรรดาชาติผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดแล้ว   รายงานระบุว่า จีนเป็นหนึ่งในชาติที่มีอุตสาหกรรมการผลิตโดรนขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยส่งออกโดรนไปยังตลาดหลายแห่ง ในจำนวนนี้ รวมถึงสหรัฐฯด้วย   ข้อมูลจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ หรือสส.คองเกรส ระบุว่า โดรนเชิงพาณิชย์ที่มีจำหน่ายให้ประชาชนทั่วไปในสหรัฐฯ นั้นเป็นแบรนด์ ดีเจไอ (DJI) ที่นำเข้ามาจากจีนถึงร้อยละ 50 ทั้งยังถือเป็นโดรนพาณิชย์ที่ได้รับความนิยมสูงที่สุดด้วย   อย่างไรก็ตาม บริษัท ดีเจไอ ผู้ผลิตและพัฒนาโดรนยอดนิยม ประเทศจีน ยังไม่ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นใด ๆ…

เนเธอร์แลนด์เตรียมออกกฎหมายคัดกรองนักศึกษาต่างชาติที่เข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง

Loading

    เว็บไซต์ Financial Times รายงานเมื่อ 12 มิ.ย.66 ว่า หลายมหาวิทยาลัยในเนเธอร์แลนด์ไม่อนุมัติปริญญาบัณฑิตสาขาเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับนักศึกษาของจีนบางคน ลดจำนวนนักศึกษาจีน และลดความร่วมมือด้านการวิจัยกับมหาวิทยาลัยในจีน เนื่องจากเกรงว่าอาจเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะนักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลจีน (China Scholarship Council : CSC) ซึ่งผู้รับทุนต้องสาบานว่าจะจงรักภักดีต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน และเดินทางกลับจีนภายใน 2 ปีหลังจากสำเร็จการศึกษา รวมถึงรายงานตัวต่อสถานทูตจีนในประเทศที่ศึกษา ด้านนาย Robbert Dijkgraaf รมว.ศธ.ของเนเธอร์แลนด์ กล่าวว่า รัฐบาลไม่ต้องการให้บุคคลที่ได้รับทุนด้านเทคโนโลยีขั้นสูงจากจีนเข้ารับการศึกษา และได้ทำการตรวจสอบว่ามีนักวิจัยจาก CSC กี่คนและทำงานอยู่ในสาขาใดในเนเธอร์แลนด์ รวมทั้งกำลังเตรียมออกกฎหมายคัดกรองบุคลากรทางการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชาติ โดยเฉพาะบุคคลที่เข้าถึงพื้นที่หวงห้ามและเทคโนโลยีละเอียดอ่อน ซึ่งเป็นเป้าหมายในการจารกรรม นอกจากนี้ เนเธอร์แลนด์ยังได้รับแรงกดดันจากสหรัฐฯ ในการจำกัดการถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูงไปยังจีนด้วย       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                     …

สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อความมั่นคงของชาติ

Loading

    เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร รายงานเมื่อ 7 มิ.ย.66 ว่า สหราชอาณาจักรเตรียมปรับปรุงกฎหมายจัดซื้อจัดจ้างเพื่อปกป้องประเทศจากภัยคุกคามที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภัยคุกคามผสมผสาน (hybrid threats)  ที่ใช้ช่องทางเศรษฐกิจเพื่อบ่อนทำลายและก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ ทั้งนี้ จะเพิ่มมาตรการเชิงรุก 3 ประการ ประการแรก จัดตั้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยแห่งชาติสำหรับการจัดซื้อจัดจ้าง สังกัดสำนักงานคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ตรวจสอบความเสี่ยงและประเมินบริษัทจัดจำหน่ายสินค้า ประการที่สอง รัฐบาลมีอำนาจในการห้ามบริษัทจัดจำหน่ายสินค้าบางบริษัททำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างกับหน่วยงานเฉพาะของรัฐบาล ประการสุดท้าย รัฐบาลจะถอดอุปกรณ์เฝ้าระวังที่ผลิตโดยบริษัทภายใต้รัฐบาลจีนออกจากสถานที่ราชการที่มีความละเอียดอ่อน นอกจากนี้ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะสนับสนุนธุรกิจขนาดเล็ก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ให้ชนะสัญญา และเสริมสร้างให้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างโปร่งใสมากขึ้น       —————————————————————————————————————————————— ที่มา :                               เว็บไซต์รัฐบาลสหราชอาณาจักร         …

โปรตุเกสเป็นประเทศล่าสุดที่แบนอุปกรณ์ 5G ของ Huawei

Loading

  รัฐบาลโปรตุเกสได้ประกาศ ห้ามซื้ออุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย 5G จากซัพพลายเออร์จากรัฐที่อยู่นอกสหภาพยุโรป (EU) ,ไม่ได้เป็นสมาชิกของ NATO หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) โดยบริษัทที่นอกเหนือจากองค์กรเหล่านี้จะถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ความเสี่ยงสูง” ต่อความมั่นคงเครือข่ายระดับชาติ   ดังนั้นซัพพลายเออร์อุปกรณ์และบริการ 5G ของจีน อย่าง Huawei จึงถูกแบนเช่นกัน   ในช่วงปี 2019 บริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของโปรตุเกสอย่าง “Altice Portugal” จะเคยประกาศว่าร่วมกับ Huawei เพื่อพัฒนาเทคโนโลยี 5G ก่อนที่ต้นปีที่ผ่านมาจะประกาศเลือก Nokia ให้เป็นผู้ให้บริการอุปกรณ์สำหรับเครือข่ายหลัก 5G   อย่างไรก็ตามแถลงการณ์นี้ไม่ได้ระบุชื่อซัพพลายเออร์รายใดที่ถูกแบนและไม่ได้ระบุวันที่ที่บริษัทโทรคมนาคมในโปรตุเกสจะต้องถอดอุปกรณ์ของซัพพลายเออร์ที่ถูกแบน     ที่มา : ประกาศรัฐบาลโปรตุเกส via Bloomberg         ——————————————————————————————————————————————————————- ที่มา :         …

ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน

Loading

แฟ้มภาพรอยเตอร์   ออสซี่โดดร่วมวง แบนติ๊กต็อก บนอุปกรณ์ของรัฐ ปักกิ่งประณามทันที จี้ปฏิบัติเป็นธรรมกับบริษัทจีน   เมื่อวันที่ 4 เมษายน ออสเตรเลีย ประกาศแบนการใช้ ติ๊กต็อก แอปพลิเคชันแชร์วิดีโอสั้นยอดนิยม บนอุปกรณ์ของรัฐบาลทุกชนิด ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นประเทศล่าสุดในกลุ่มชาติพันธมิตรตะวันตกที่ห้ามการใช้งานแอปสัญชาติจีนนี้บนอุปกรณ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานรัฐบาล เนื่องจากกลัวเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของชาติ   มาร์ก เดรย์ฟัส รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมของออสเตรเลีย กล่าวว่า การตัดสินใจครั้งนี้มีขึ้นภายหลังได้รับคำแนะนำจากหน่วยงานด้านข่าวกรองของประเทศและจะเริ่มปฏิบัติใช้โดยเร็วที่สุด อย่างไรก็ดีรัฐบาลจะอนุมัติข้อยกเว้นบางประการเป็นรายกรณีไปด้วยการผ่อนปรนด้านความปลอดภัยที่เหมาะสม   ท่าทีนี้ส่งผลให้ออสเตรเลีย เป็นชาติสุดท้ายในกลุ่ม “ไฟฟ์ อายส์” พันธมิตรด้านความมั่นคง ร่วมกับสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร แคนาดา และ นิวซีแลนด์ ที่ได้แบนติ๊กต็อกเข้าถึงอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาลของตนเองไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนี้ยังมีฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ และ สหภาพยุโรป (อียู) ที่ก็ได้ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน   ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ กล่าวเตือนว่า ติ๊กต็อก ที่อ้างว่ามีผู้ใช้งานแอปนี้อยู่ทั่วโลกมากกว่า 1,000 ราย ได้แบ่งปันข้อมูลของผู้ใช้งานให้กับรัฐบาลจีน ซึ่งถือเป็นภัยคุกคามความมั่นคงของประเทศต่าง…

นิวซีแลนด์ออกคำสั่งแบน TikTok มีผลกับอุปกรณ์ของรัฐสภา

Loading

  นิวซีแลนด์เป็นประเทศล่าสุดที่รัฐบาลออกคำสั่ง ห้ามอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐลงแอป TikTok อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของนิวซีแลนด์ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด โดยบอกว่ามีผลเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายของรัฐสภานิวซีแลนด์ได้ คำสั่งนี้มีผลตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยยกเว้นเป็นกรณีไปหากอุปกรณ์หน่วยงานนั้นจำเป็นต้องใช้ TikTok ในการทำงาน   ส่วนเหตุผลนั้นก็คล้ายกับประกาศของหลายประเทศก่อนหน้านี้ โดยทางการนิวซีแลนด์บอกว่าหลังหารือกับผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต มีข้อมูลว่าบริการนี้มีความเสี่ยงที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของการใช้งานบนเครือข่ายรัฐสภา   ด้านตัวแทนของ TikTok บอกว่าบริษัทไม่ได้รับการติดต่อ หรือหารือเกี่ยวกับคำสั่งแบนแอปดังกล่าว บริษัทจึงรู้สึกผิดหวังต่อการตัดสินใจนี้ และยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่า TikTok มีความเสี่ยงต่อผู้ใช้งานในนิวซีแลนด์ ทั้งขอให้การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง   คำสั่งของนิวซีแลนด์นี้ ออกมาหลังจากทั้งอเมริกา คณะกรรมาธิการยุโรป และล่าสุดคืออังกฤษ ออกคำสั่งแบนการใช้งาน TikTok ในอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาล     ที่มา: TechCrunch       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   …