เปิด ร่าง พ.ร.บ.ไซเบอร์ ให้อำนาจบอร์ดยับยั้งภัยคุกคามไซเบอร์

Loading

เปิดเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ฉบับแก้ไขของคณะทำงานฯ กำหนดให้มีบอร์ด กปช. 22 คน ให้นายกฯ-รองนายกฯนั่งประธาน ให้อำนาจยับยั้งภัยความมั่นคงคุกคามทางไซเบอร์ คณะทำงานเพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ ตามคำสั่งที่ 7/2559 ของปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  ได้ปรับปรุงแก้ไขเนื้อหาจากร่างเดิมซึ่งเป็นฉบับของคณะรัฐมนตรีที่ได้อนุมัติหลักการไว้ โดยปัจจุบันมีทั้งหมด 53 มาตรา ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ  ฉบับคณะทำงานแก้ไข นิยาม “ไซเบอร์” หมายความว่า กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์ ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ หมายความว่า มาตรการและการดำเนินการเพื่อปกป้อง ป้องกัน การส่งเสริม เพื่อรับมือและแก้ไขสถานการณ์ด้านภัยคุกคามที่จะผลต่อการให้บริการด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เน็ต โครงข่ายโทรคมนาคม การให้บริการดาวเทียม ระบบกิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานระบบกิจการสาธารณะสำคัญ ซึ่งเป็นเครือข่ายในระดับประเทศ เพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความมั่นคงทางการทหาร ความสบเรียบร้อยภายในประเทศและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หน่วยงานของรัฐ หมายความว่า ราชการส่วนกลาง ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคล คณะบุคคล…

สุวรรณภูมิ แจงกรณีหนุ่มไลฟ์สดรอรับเพื่อนในอาคารผู้โดยสาร ทั้งที่ไม่มีตั๋ว

Loading

ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ชี้แจงกรณีหนุ่มไลฟ์สดรอรับเพื่อนในอาคารผู้โดยสารทั้งที่ไม่มีตั๋ว ได้ใช้บัตรรักษาความปลอดภัยชนิดไม่มีภาพถ่ายที่ออกให้หน่วยงานราชการใช้เฉพาะกิจผ่านเข้าไป  ย้ำให้ความสำคัญการรักษาความปลอดภัย พร้อมสั่งยกเลิกการใช้บัตรไม่มีภาพถ่าย มีผล 1 ก.ค.นี้ น.ท.ฤทธิรงค์ ก้อนมณี รองผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (สายปฏิบัติการ 1) บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่มีผู้นำภาพการถ่ายทอดสดผ่านทาง Facebook Live ของชายผู้หนึ่งที่เข้าไปรอรับผู้โดยสารในพื้นที่หวงห้ามของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ และได้มีการตั้งข้อสังเกตว่าบุคคลภายนอกที่ไม่ใช่ผู้โดยสารสามารถเข้าไปในพื้นที่เขตห้ามได้หรือไม่นั้น ในเรื่องนี้ ทสภ. ขอชี้แจงว่า ตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยของ ทสภ. กำหนดให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปในพื้นที่หวงห้าม จะต้องมีบัตรรักษาความปลอดภัยที่ ทสภ. ออกให้ และต้องผ่านเข้า-ออกตามช่องทางที่กำหนดเท่านั้น อีกทั้งต้องผ่านการตรวจค้นและปฏิบัติตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยตลอดเวลาที่อยู่ในพื้นที่หวงห้าม พร้อมทั้งให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ทสภ.ที่ปฏิบัติหน้าที่ด้วย ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในพื้นที่หวงห้าม ได้แก่ พนักงาน/เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ทสภ., พนักงานของผู้ประกอบการร้านค้าในพื้นที่หวงห้าม, พนักงานสายการบิน, ผู้รับจ้าง และอื่นๆ ที่ ทสภ.อนุญาต ซึ่งต้องมีบัตรรักษาความปลอดภัยก่อนผ่านเข้าพื้นที่ น.ท.ฤทธิรงค์กล่าวว่า สำหรับกรณีนี้เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืนวันที่ 8 พฤษภาคม 2560…

“กูเกิ้ล” เตือนระวังอีเมล์หลอกลวงมาในรูปลิ้งก์ ‘Google Docs’

Loading

  บริษัท Google ออกมาเตือนถึงอีเมล์หลอกลวงหรือ scam ที่มาในรูปของลิ้งค์ Google Docs ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ อีเมล์ดังกล่าวมักถูกส่งมาจากคนที่คุณรู้จักและมีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่ออีเมล์สำหรับติดต่อ แต่เมื่อคลิ้กเข้าไปที่ลิ้งค์นั้น แอพฯ ปลอมจะให้คุณกรอกข้อมูลส่วนตัว ซึ่งถ้าคุณกดตกลงก็จะมีโอกาสถูกขโมยข้อมูลส่วนตัวได้   จากนั้นแอพฯ Google Docs ปลอม ก็จะส่งลิ้งค์ไปยังอีเมล์ของคนที่คุณรู้จักโดยแอบอ้างใช้ชื่อของคุณต่อไป ทาง Google ระบุว่าสามารถควบคุมการแพร่กระจายของอีเมล์นี้ได้แล้วภายในเวลาไม่กี่ ชม. และยืนยันด้วยว่าไม่มีการลอบเจาะล้วงข้อมูลสำคัญของผู้ใช้เกิดขึ้นจากอีเมล์ scam ที่ว่านี้ —————————————————————- ที่มา : VOA / 5 พฤษภาคม 2560 Link : http://www.voathai.com/a/google-docs-scam/3838397.html

จนท.สนามบินมะกัน ใช้ปืนช็อตไฟฟ้ายิงหนุ่มฝ่าฝืนคำสั่ง

Loading

เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสนามบินแห่งหนึ่ง ที่อเมริกา ตัดสินใจใช้ปืนไฟฟ้ายิงหนุ่มฝ่าฝืนคำสั่ง หลังสั่งให้หยุดแล้วไม่หยุด เฟซบุ๊ก U.S. Law Enforcement ได้เผยคลิปวิดีโอ ขณะเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยสนามบินแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ตัดสินใจใช้ปืนไฟฟ้ายิงเข้าใส่ชายคนหนึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการที่ ชายคนดังกล่าวเดินเข้ามาบริเวณอาคารเทียบเครื่องบิน ภายในสนามบินแห่งหนึ่ง โดยไม่ผ่านมาตรการรักษาความปลอดภัยของ โดยในคลิปเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ตัดสินใจใช้ปืนไฟฟ้ายิงเข้าใส่ชายคนหนึ่งที่กำลังเดินหนีเจ้าหน้าที่แบบไม่สนใจคำขู่ ซึ่งทันทีที่ถูกยิงชายคนดังกล่าวได้พยายามขัดขืนลุกขึ้นอีกครั้งแม้ว่าเจ้าหน้าที่จะสั่งห้ามขยับ ส่งผลให้ถูกช็อตไฟฟ้าอีกครั้ง ก่อนจะมีเจ้าหน้าที่นอกและในเครื่องแบบเข้าควบคุมสถานการณ์   ที่มา :ช่อง 8 ลิงค์ : https://www.thaich8.com/news_detail/32924

มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ปรากฏในช่วงเดือนมีนาคม ๒๕๖๐ ภายหลังได้รับการเตือนว่ากลุ่มก่อการร้ายจะทำการโจมตีศูนย์การค้าในเขตตะวันตกของเยอรมัน

Loading

จากภาพที่สื่อมวลชนนำเสนอแสดงให้เห็นถึงการประสานการดำเนินมาตรการรักษาความปลอดภัยระหว่างหน่วยงานท้องถิ่นและหน่วยงานจากส่วนกลางทันทีภายหลังเกิดเหตุ ๑.  กรณีชายคนร้ายใช้ขวานทำร้ายประชาชนที่เข้ามาใช้บริการในสถานีรถไฟ เมืองดึสเซลดอร์ฟ เมื่อ ๙มีนาคม ๒๕๖๐ ๑.๑ เจ้าหน้าที่กู้ภัยและเจ้าหน้าที่พยาบาลพร้อมเครื่องมืออุปกรณ์เผชิญเหตุเข้าถึงพื้นที่เกิดเหตุ และทำการปฐมพยาบาลผู้ได้รับบาดเจ็บในที่เกิดเหตุ ภาพจากTheNewshunter.com ภาพจาก GETTY IMAGES ๑.๒ กำหนดพื้นที่ควบคุมและปิดกั้นเส้นทางเข้า-ออกด้านหน้าอาคารสถานีรถไฟด้วยเส้นแถบ พร้อมกับวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจและอาวุธประจำตัว เพื่อควบคุมประชาชนและดูแลความปลอดภัย พื้นที่ภายนอกสถานีรถไฟ ภาพจากAP  ๑.๓ ปิดกั้นและห้ามการสัญจรผ่านถนน และควบคุมเส้นทางเดินรถไฟทั้งส่วนบนดินและส่วนใต้ดินโดยรอบสถานีรถไฟ ภาพจาก GETTY IMAGES ๑.๔ การปิดกั้นพื้นที่ภายในอาคารสถานีรถไฟ และวางกำลังตำรวจรักษาความปลอดภัย พร้อมอาวุธ  เป็นที่น่าสังเกตว่า กำลังตำรวจและหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้าย ในพื้นที่อาคารจะกลุ่มปฏิบัติงานประมาณ ๔-๕ นายต่อกลุ่ม ภาพจาก AFP ภาพจาก GETTY IMAGES  ๑.๕ ข้อสังเกตจากภาพ กรณีที่เกิดเหตุทำร้ายประชาชน เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เกิดเหตุน่าจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท ได้แก่ ๑.๕.๑ ตำรวจชาย-หญิง สวมเครื่องแบบและเสื้อแจ็กเก็ตด้านหลังเป็นคำว่า “POLIZEI”  มีอาวุธประเภทปืนสั้น ประจำการอยู่ทั้งด้าน นอกและในอาคารสถานีรถไฟ ภาพจาก The…

ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใช้มือถือ บริหารอย่างไรให้ปลอดภัย

Loading

กสทช. ร่วมกับเครือข่ายพลเมืองเน็ต (Thai Netizen Network) จัดประชุม NBTC Public Forum ครั้งที่ ๖/๒๕๕๙ เรื่อง “ข้อมูลส่วนบุคคลผู้ใช้มือถือ บริหารอย่างไรให้ปลอดภัย” เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ ณ โรงแรมเอเชีย กรุงเทพฯ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้ ๑.  หลักการป้องกันข้อมูลที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ๑) วัตถุประสงค์และรูปแบบ/วิธีการเก็บข้อมูล ๒) ความถูกต้องของข้อมูลและกำหนดระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูล ๓) วิธีการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล ๔) การรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การเข้ารหัส (Encryption) การซ่อนข้อมูล (Masking/Hiding) ๕) ข้อมูลข่าวสารพร้อมใช้งานทั่วไป และ ๖) การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ทุกประเด็นที่กล่าวมามีใจความสำคัญด้านการรักษาความปลอดภัย คือ ๑) การรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ๒) การเก็บรักษาข้อมูล ๓) การลบข้อมูล โดยหน่วยงานต้องมีการจำกัดระดับ (Level) และกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งาน…