คุมได้แล้ว ไฟไหม้สนามบินขอนแก่น เที่ยวบินขึ้น-ลงใช้สนามบินอุดรฯ แทน

Loading

ศูนย์ข่าวขอนแก่น – ผู้ว่าฯ ขอนแก่นเผยเจ้าหน้าที่คุมเหตุไฟไหม้สนามบินได้แล้ว เสียหายไม่มากเร่งเคลียร์พื้นที่ แต่เที่ยวบินขาเข้าและขาออกกว่า 10 เที่ยวบินในภาคเช้าและบ่ายยังต้องบินขึ้นลงที่สนามบินอุดรฯ แทน โดยแต่ละสายการบินจัดรถรับส่งฟรี ส่วนจะเริ่มเปิดให้บริการได้เมื่อไหร่ต้องรอประกาศจากสนามบินอีกครั้งรายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (26 ม.ค.) เวลาประมาณ 07.00 น. ร.ต.อ.ภาสกร คำภู รอง สว.(สอบสวน) สภ.บ้านเป็ด ได้รับแจ้งเกิดเหตุเพลิงไหม้ท่าอากาศยานขอนแก่น จึงรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ โดยที่เกิดเหตุ นายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่นได้เดินทางไปดูสถานการณ์ด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันได้มีการระดมรถน้ำดับเพลิงจาก ทต.บ้านเป็ด และ ปภ.เขต 6 ขอนแก่น เทศบาลนครขอนแก่น เข้าช่วยสกัดและควบคุมเพลิงทั้งนี้ จุดต้นเพลิงเป็นบริเวณชั้น 3 อาคารผู้โดยสารขาออก มีกลุ่มควันจำนวนมากลอยอยู่เต็มอาคาร เปลวเพลิงลุกไหม้บริเวณฝ้าเพดานของอาคาร และลุกลามไปตามระบบท่อส่งอากาศของอาคาร เจ้าหน้าที่จึงใช้โฟมทำการฉีดสกัด ใช้เวลากว่า 1 ชม.จึงสามารถควบคุมเพลิงไว้ได้ ขณะที่ผู้โดยสารที่มารอขึ้นเครื่องและประชาชนที่มารอรับญาติจำนวนหลายร้อยคน เมื่อได้รับแจ้งว่ามีเพลิงไหม้ต่างพากันวิ่งหนีออกจากตัวอาคารทั้งฝั่งขาเข้าชั้น 2 และฝั่งขาออกชั้น 3 กันอย่างอลหม่าน ทางด้านนายสมศักดิ์ จังตระกุล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น เปิดเผยถึงเหตุไฟไหม้สนามบินครั้งนี้ว่า…

‘สหรัฐฯ’จับ‘จนท.อเมริกัน’ 3 รายใน 1 ปี สงสัยส่งความลับให้‘หน่วยข่าวกรองจีน’

Loading

เอเอฟพี – รายงานข่าวเรื่องเจ้าหน้าที่สหรัฐฯถูกจับกุมเป็นรายที่ 3 ภายในระยะเวลา 1 ปี เนื่องจากต้องสงสัยว่าช่วยเหลือสปายสายลับของจีน เป็นการเปลือยให้เห็นสงครามอันดุเดือดเข้มข้นระหว่างหน่วยงานข่าวกรองของมหาอำนาจใหญ่ 2 รายนี้  กรณีหน่วยงานรับผิดชอบของทางการอเมริกัน เข้ารวบตัว เจอร์รี ชุน ซิง ลี อดีตเจ้าหน้าที่ของสำนักงานข่าวกรองกลางสหรัฐฯ (ซีไอเอ) เมื่อคืนวันจันทร์ที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา ถูกระบุว่ามีความเกี่ยวข้องโยงใยกับการที่เมื่อ 5 ปีก่อนปักกิ่งกำจัดกวาดล้างเครือข่ายสายลับและสายข่าวภายในจีนของซีไอเออย่างสุดเหี้ยม ก่อนหน้านั้นในเดือนมิถุนายน 2017 ก็มีการจับกุมอดีตเจ้าหน้าที่ความมั่นคงของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯผู้หนึ่ง ชื่อ เควิน มัลลอรี ซึ่งเคยเป็นเจ้าหน้าที่ซีไอเอเหมือนกัน เขาถูกตั้งข้อหาว่าส่งมอบความลับต่างๆ ของสหรัฐฯให้พวกสายลับจีนเพื่อแลกกับเงินทองจำนวน 25,000 ดอลลาร์ ย้อนหลังขึ้นไปอีก 3 เดือน แคนแดช ไคลเบิร์น นักการทูตสหรัฐฯซึ่งมีฐานอยู่ในจีน ถูกตั้งข้อหาเนื่องจากรับเงินสดและของขวัญคิดเป็นมูลค่าหลายหมื่นดอลลาร์จากหน่วยงานข่าวกรองจีน ตามรายงานข่าวของนิวยอร์กไทมส์ หน่วยงานต่อต้านการจารกรรมของสหรัฐฯต้องทำงานอย่างหามรุ่งหามค่ำอย่างน้อยที่สุดก็ตั้งแต่ปี 2012 เพื่อสืบเสาะหาตัวคนที่อาจฝักใฝ่ปักกิ่ง ซึ่งแฝงฝังตัวอยู่ภายในหน่วยงานสืบราชการลับของอเมริกา นิวยอร์กไทมส์รายงานเอาไว้เมื่อปีที่แล้วว่า เริ่มตั้งแต่ปี 2010 จนกระทั่งถึงสิ้นปี 2012 ฝ่ายจีนสามารถเปิดโปงและสังหารแหล่งข่าวของซีไอเอซึ่งอยู่ภายในประเทศจีนไปเป็นจำนวน “อย่างน้อยที่สุดสิบกว่าคน”…

สถาบันการเงินปรับตัวรับดิจิทัล ตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน

Loading

สถาบันการเงินปรับตัวรองรับโลกดิจิทัล ลงทุนตั้งองค์กรกลาง-การพิสูจน์ตัวตน โดยไม่ต้องเห็นหน้ากันในอนาคต แม้ว่าในวันนี้ เวลานี้ จะมีกรณีที่มี มิจฉาชีพได้เข้าไปปลอมแปลงตัวเองผ่านการขโมยบัตรประชาชน + สวมหน้ากากอนามัย + ท้าทายกระบวนการเปิดบัญชี เพื่อการนำเงินเข้าและโอนเงินออกจากการกระทำความผิดนั้น ผมเองก็เฝ้าติดตามว่าเรื่องนี้มันจะไปจบตรงไหน ใครจะเป็นแพะ ใครจะเป็นแกะใครจะเป็นผู้ร้าย ใครจะเป็นพระเอก ที่สุดความจริงจะปรากฏ มันยังไม่ถึงเวลาที่จะไปตำหนิว่าใครหย่อนยาน ใครไม่ทำอะไรอย่างที่ควรจะทำ การออกตัวแรงๆ ของพี่ๆ ตามข่าวสารแบบฟันธง ผมในฐานะคนหัวโบราณอยากจะบอกว่า ระวังธงหัก ยังไม่ชัดอย่ารีบ สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหารนะครับ … จากการให้ข้อมูลของผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงมาตรการป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาเหมือนกรณีที่บุคคลถูกนำบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีว่า ภาคเอกชนและภาครัฐที่มีการนำบัตรประชาชนไปใช้ลงทะเบียนลูกค้าหรือผู้มาขอรับบริการนั้น มีสิ่งที่ต้องทำ 3 เรื่องอย่างเข้มข้น คือ 1.ต้องดูหน้าตาว่าผู้มาขอใช้บริการ หน้าตาเหมือนในบัตรหรือไม่ (Face to face) 2.ต้องตรวจสอบว่าบัตรประชาชนใบที่ใช้ทำธุรกรรมเป็นของจริงหรือปลอม (สามารถตรวจสอบได้โดยใช้เครื่องอ่านบัตรประชาชน) 3.ในกรณีมีการแจ้งบัตรหาย กระทรวงมหาดไทย โดยกรมการปกครองมีระบบให้คอมพิวเตอร์ของแต่ละหน่วยงานเข้ามาตรวจสอบได้ว่า บัตรใบนี้มีสถานภาพเป็นปกติ ถูกแจ้งหายหรือถูกยกเลิก หากได้ทำครบทั้ง 3 ขั้นตอนจะสามารถยืนยันพิสูจน์ได้อย่างชัดเจนในโลกการทำธุรกิจแบบมาเจอหน้ากัน พิสูจน์กัน แล้วก็ตกลงทำรายการของกันและกัน กลับมาเวลานี้ครับ ทางกระทรวงการคลังกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยกระทรวงดิจิทัลฯ ได้มี คำสั่งที่…

แฉกลเม็ดโจรไซเบอร์! ต้มเหยื่อไทยหลอกให้เซ็นรับพัสดุจนสูญเสียเงิน

Loading

โดย…วิรวินท์ ศรีโหมด  การหลอกลวงของมิจฉาชีพในปัจจุบันมีหลายรูปแบบ ด้วยยุคเทคโนโลยีที่เข้าถึงทุกคนได้ง่าย จึงเป็นช่องทางที่ผู้ไม่หวังดีสามารถแฝงตัวเข้ามาได้ง่าย หนึ่งในนั้นคือ <strong>“หลอกลวงให้เซ็นรับพัสดุจนสูญเสียเงิน” ซึ่งกำลังเป็นภัยสังคมที่แพร่หลายขณะนี้ วันนี้โพสต์ทูเดย์ได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานทางด้านนี้ จะมาเปิดโปงขบวนการรวมถึงแนะนำวิธีการระมัดระวังตัวไม่ให้เสียรู้ แฉกลลวงหลอกให้เซ็นรับ-สุดท้ายเสียเงิน ภัยรูปแบบดังกล่าวหากไม่ระวังตัวหรือรู้เท่าทันคุณอาจตกเป็น “เหยื่อ” สมาชิกเฟซบุ๊กรายหนึ่งเล่าประสบการณ์ที่พบเจอกับพฤติกรรมของมิจฉาชีพว่า ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา มีกล่องพัสดุระบุชื่อของตัวเองส่งมาจากประเทศจีน โดยพนักงานจัดส่งได้มีการเรียกเก็บเงินเป็นจำนวน 1,680 บาท แต่ด้วยความโชคดีที่ไม่เคยซื้อของออนไลน์แบบเก็บเงินปลายทางมาก่อน จึงสงสัยและปฏิเสธการเซ็นรับพัสดุชิ้นนั้นพร้อมกับจ่ายเงินไป เมื่อสอบถามไปยังบริษัทส่งของก็ทราบว่ามีเรื่องร้องเรียนประเภทนี้ทุกวัน โดยมิจฉาชีพจะสุ่มส่งของหาเหยื่อ เมื่อเซ็นรับก็ต้องจ่ายเงินซึ่งจะตกหลุมพรางทันที ทั้งที่มูลค่าของในกล่องราคาไม่มาก ขณะที่สมาชิกเฟซบุ๊กอีกรายเล่าว่า สั่งโมเดลไอรอนแมนมาจากเพจเฟซบุ๊กหนึ่ง โฆษณาว่าเป็นของแท้ที่โรงงานผลิตเกินจำนวนจึงนำออกมาขายในราคา 2,000 บาท จากราคาปกติประมาณ 30,000 บาท เมื่อของส่งมาถึงก็ได้เปิดพัสดุดูก่อน (ได้รับการยินยอมจากผู้ส่ง) แต่เมื่อเปิดของออกมาดูก็พบว่าของไม่ตรงตามรายละเอียดที่ลงโฆษณาไว้จึงปฏิเสธการรับ พ.ต.อ.โอฬาร สุขเกษม ผู้กำกับการ 3 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) ให้ข้อมูลว่า ขบวนการนี้ส่วนใหญ่อยู่ในไทย นอกนั้นมาจากประเทศเพื่อนบ้าน จีนและประเทศแถบแอฟริกา รูปแบบการหลอกจะส่งของมาที่บ้านหรือเปิดเฟซบุ๊กหรือเว็บไซต์พร้อมกับนำข้อมูลอันเป็นเท็จลงไว้ หากมีผู้สนใจติดต่อซื้อขายก็จะตกเป็นเหยื่อทันที ผกก. 3 ปอท. มองว่า การฉ้อโกงรูปแบบนี้ไม่ต่างจากอดีต เพียงแต่ปัจจุบันมีช่องทางการสื่อสารเพิ่มขึ้น และผู้ตกเป็นเหยื่อก็มักโพสต์เตือนภัยลงในโซเชียลมีเดีย…

จนท.กดปุ่มพลาดส่งข้อความเตือนภัยขีปนาวุธทั่วฮาวาย

Loading

ข้อความเตือนภัยที่แจ้งว่ากำลังมีขีปนาวุธมุ่งหน้ามายังรัฐฮาวายและให้ทุกคนหาที่หลบภัยโดยด่วน สร้างความตื่นตระหนกและปั่นป่วนวุ่นวายไปทั่วหมู่เกาะ ก่อนที่ทางการจะออกมาแจ้งว่าเป็นความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ซึ่งบังเอิญไปกดปุ่มเตือนภัยทั้งที่ไม่มีเหตุร้ายใด ๆ เกิดขึ้น ข้อความเตือนภัยดังกล่าวถูกส่งไปยังโทรศัพท์มือถือของประชาชน รวมทั้งสถานีโทรทัศน์และวิทยุต่าง ๆ ซึ่งพากันออกอากาศแจ้งเตือนภัยต่อกันไปในวงกว้าง เมื่อเวลา 8.07 น. ของวันเสาร์ที่ 13 ม.ค. ตามเวลาท้องถิ่น (ราว 1.07 น. ของวันอาทิตย์ที่ 14 ม.ค. ตามเวลาในประเทศไทย) ข้อความดังกล่าวระบุว่า “ขีปนาวุธกำลังมุ่งหน้ามาสู่ฮาวาย หากท่านอยู่กลางแจ้งให้รีบหาที่หลบภัยในอาคาร อยู่ให้ห่างจากหน้าต่าง หากขับรถอยู่ให้รีบจอดข้างทาง หาที่หลบภัยที่ใกล้ที่สุดและนอนราบลงกับพื้น เราจะแจ้งให้ท่านทราบอีกครั้งเมื่อภัยสิ้นสุดลง นี่ไม่ใช่การซ้อม” อย่างไรก็ตาม ไม่มีสัญญาณเตือนภัยดังขึ้น และในอีก 18 นาทีต่อมาทางการรัฐฮาวายได้ส่งข้อความแจ้งว่าเป็นการส่งข่าวสารที่ผิดพลาด โดยที่จริงแล้วสถานการณ์ยังเป็นปกติและมีความปลอดภัย บรรดาผู้ใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่างแสดงความไม่พอใจต่อความผิดพลาดของทางการในครั้งนี้ โดยนายแมตต์ โลเพรสติ สมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรรัฐฮาวายระบุว่า ตนกำลังอยู่ที่บ้านเมื่อได้รับข้อความเตือนภัย ทำให้ตกใจรีบพาลูกและภรรยาเข้าไปหลบในอ่างอาบน้ำซึ่งเป็นบริเวณที่มิดชิดแน่นหนาที่สุดของบ้านพร้อมกับสวดมนต์ภาวนาไปด้วย เหตุนี้ทำให้เขาโกรธมากเมื่อได้ทราบในภายหลังว่าเป็นการแจ้งข่าวผิดพลาด การแจ้งเตือนภัยดังกล่าวยังทำให้การแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอส พีจีเอ ฮาวาย โอเพ่น ที่ฮอนโนลูลูต้องหยุดชะงักลงกลางคันอีกด้วย นายเดวิด อีเก ผู้ว่าการรัฐฮาวายได้ออกมากล่าวขออภัยต่อประชาชน และแจ้งว่าการเตือนภัยที่ไม่เป็นความจริงในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพราะเจ้าหน้าที่ประจำสำนักงานบริหารจัดการเหตุฉุกเฉิน (EMA)…

กรมศุลกากรสหรัฐฯ เพิ่มขั้นตอนตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยว

Loading

กรมศุลกากรสหรัฐฯ ได้อัปเดตประกาศคู่มือเพิ่มเติมเกี่ยวกับขั้นตอนการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยว โดยประกาศดังกล่าวมีผลบังคับใช้ภายเขตปกครองของสหรัฐฯ ดังนั้นผู้จะเดินทางเข้าประเทศโปรดศึกษาคู่มือให้ดี โดยประกาศประกอบด้วยกฏระเบียบจำนวน 12 หน้า และ การประเมินความเป็นส่วนตัวอีก 22 หน้า ซึ่งทางกรมศุลกากรเองได้กำหนดไว้ชัดเจนถึงการตรวจค้นเบื้องต้นและการตรวจค้นขั้นสูงในครั้งแรก ข้อนึงในการตรวจค้นแบบใหม่คือกรมศุลกากรสามารถตรวจค้นนักท่องเที่ยวที่ต้องสงสัยหรือไม่ต้องสงสัยก็ได้ นอกจากนี้เจ้าหน้าที่สามารถสำรวจข้อมูลเบื้องต้นบนอุปกรณ์ที่เข้าถึงได้ในระบบปฏิบัติการหรือแอปพลิเคชันที่ลงเอาไว้ การตรวจค้นขั้นสูงทำได้แต่เจ้าหน้าที่ต้องมีเหตุผล การตรวจค้นขั้นสูงจะเกิดขึ้นเมื่อเจ้าหน้าที่มีการนำอุปกรณ์ของผู้ใช้เข้าไปตรวจค้นด้วยระบบค้นหาแบบพิเศษภายนอก ซึ่งระบบสามารถ ‘พิจารณา ทำสำเนาหรือวิเคราะห์’ ข้อมูลได้โดยต้องไม่สร้างความเสียหายกับข้อมูลนั้น อย่างไรก็ตามขั้นตอนตรวจค้นขั้นสูงจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีเหตุผลอันน่าเชื่อว่าเป็นผู้ต้องสงสัยในการก่ออาชญากรรมหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ โดยผู้ดูแลจะต้องแสดงหรืออย่างน้อยต้องแจ้งวันที่จะทำการค้นหาขั้นสูงเสร็จ การตรวจสอบแบบใหม่นี้ผู้ถูกสำรวจอาจจะได้รับอนุญาตให้อยู่ด้วยได้ระหว่างการค้นหาแต่ไม่ควรที่จะได้รับอนุญาตให้ดูขั้นตอนจริงด้วยตนเองในการตรวจค้นเพราะอาจเห็นเทคนิคกระบวนการตรวจสอบ ผู้ถูกสำรวจรายใดทำร้ายเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรหรือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติจะต้องถูกกำจัด เจ้าหน้ากรมศุลกากรไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลที่เก็บไว้บน Cloud ได้ “เพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกและไม่ได้แสดงอยู่บนอุปกรณ์ เจ้าหน้าที่อาจจะขอให้นักท่องเที่ยวปิดการเชื่อมต่อเครือข่ายใดๆ (เช่น เปิดโหมดเครื่องบิน) หรือ ด้วยการบังคับใช้กฏหมาย หมายค้นจากความมั่นคงปลอดภัยระดับชาติ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย หรือกระบวนการพิจารณาอื่นๆ ตัวเจ้าหน้าที่เองสามารถปิดการเชื่อมต่อได้ –คู่มือระบุเอาไว้ โดยกรมศุลกากรอ้างว่าการตรวจค้นนี้เพื่อสู้กับกิจกรรมของผู้ก่อการร้าย รูปภาพเปลือยของเด็ก การปลอมแปลงวีซ่า การละเมินทรัพย์สินทางปัญญา และ การละเมิดการส่งออก อย่างไรก็ตามมีความเห็นจากสาธารณะออกมาถึงเรื่องความเป็นส่วนตัวว่าเจ้าหน้าที่ยังคงสามารถดำเนินการตรวจสอบโดยไม่ต้องมีหมายค้นต่อไปในการตรวจค้นอุปกรณ์ผู้ใช้งานโดยอาจเกิดจากการตัดสินผิดพลาด นอกจากนี้กรมศุลกากรได้แสดงสถิติการค้นหาในรอบ 2 ปีที่ผ่านมาซึ่งทำการตรวจค้นไปแล้ว 19,051 อุปกรณ์ ในปี 2016 และ 30,200 อุปกรณ์ในปี 2017 จะเห็นได้ว่าเพิ่มขึ้นถึง 59% แต่เจ้าหน้าที่กล่าวว่ามันเป็นแค่ 0.007%…