เหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่ศูนย์เลือกตั้งในกรุงคาบูล ทำยอดเสียชีวิตพุ่ง 57 ราย

Loading

  เหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่ศูนย์ลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในกรุงคาบูล เมืองหลวงของอัฟกานิสถาน เมื่อวันอาทิตย์ (22 เม.ย.) ทำให้มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็น 57 รายตามรายงานของทางการ โฆษกกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิตเป็นผู้หญิง 21 ราย และเด็กอีกแปดราย นอกจากนี้ยังมีผู้ได้รับบาดเจ็บ 119 ราย จากระเบิดที่เกิดขึ้นบริเวณทางเข้าศูนย์ลงทะเบียนทางฝั่งตะวันตกของกรุงคาบูล ซึ่งมีฝูงชนยืนรออยู่จำนวนมาก กลุ่มที่เรียกตัวเองว่ารัฐอิสลาม (ไอเอส) ระบุผ่านสำนักข่าวอามักซึ่งเป็นกระบอกเสียงของตนเอง ว่าผู้ก่อเหตุเป็นคนของไอเอส เขาคาดเข็มขัดระเบิดแฝงเข้าไปในฝูงชนก่อนกดระเบิด ศูนย์แห่งนี้อยู่ในเขตแดชเต บัคชี ทางตะวันตกของกรุงคาบูล ซึ่งเป็นเขตของชนมุสลิมกลุ่มน้อยชีอะห์ ซึ่งเป็นเป้าหมายการโจมตีของไอเอสบ่อยครั้ง เนื่องจากความแตกต่างทางลัทธิความเชื่อ     นายนาจีบ ดานิช โฆษกกระทรวงมหาดไทยอัฟกานิสถาน ระบุว่า จากการสอบสวนพบว่า คนร้ายที่ก่อเหตุระเบิดฆ่าตัวตายมีเพียงคนเดียวนั้น ได้เดินเข้าไปจุดชนวนระเบิดบริเวณด้านหน้าศูนย์ลงทะเบียนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ในขณะที่เจ้าหน้าที่เตรียมแจกบัตรประจำตัวผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง อัฟกานิสถานเพิ่งเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนผู้ใช้สิทธิเลือกตั้งในเดือนนี้ ก่อนการเลือกตั้งสมาชิกสภานิติบัญญัติจะเกิดขึ้นในเดือน ต.ค. ซึ่งถูกมองว่าเป็นบททดสอบก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปีหน้า     คำบอกเล่าผู้ประสบเหตุในเช้าวันอาทิตย์ เด็ก ๆ ยืนเข้าแถวอยู่กับพ่อแม่ที่กำลังรอลงทะเบียนใช้สิทธิเลือกตั้ง ก่อนมีเสียงระเบิดดังขึ้น ไม่มีรายละเอียดทันทีว่าผู้ก่อเหตุจุดระเบิดอย่างไร แต่แรงระเบิดทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายหลายคัน ราซูลี วัย…

วิชา “รู้เท่าทันข่าวปลอม” ชั้นเรียนใหม่ของเด็กมัธยมอเมริกัน

Loading

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนมัธยม Wakefield High School ในอาร์ลิงตัน รัฐเวอร์จิเนีย กำลังเรียนรู้การจำแนกข้อมูลข่าวสารที่มีอยู่มากมายบนโลกอินเตอร์เน็ต ด้วยคำแนะนำจากอาจารย์วิชาสังคม Patricia Hunt ที่ใช้หลักสูตรออนไลน์ Checkology ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนรู้จักตัวอย่างของข่าวสารและข้อมูลที่บิดเบือน ชี้นำ และหลอกลวง ในชั้นเรียนนี้ อาจารย์ Patricia หยิบยกเหตุยิงกราดที่โรงเรียนมัธยม ในเมืองพาร์คแลนด์ รัฐฟลอริดา เพื่อให้พวกเขาคิดวิเคราะห์และจำแนกข้อมูล ข่าวสาร และข่าวลือ ที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้ได้ อาจารย์ Patricia บอกว่า เด็กๆ ได้รับข้อมูลข่าวสารมากมาย ทั้งสิ่งที่เป็นข่าวจริง ข่าวปลอม ข่าวลือ และข้อมูลที่บิดเบือน ซึ่งเธอก็หวังว่าวิชานี้จะช่วยให้เด็กๆ มีความรู้ความเข้าใจและแยกแยะได้ว่าสิ่งใดคือข่าว และระบุถึงข้อมูลที่มีอคติ ข่าวลวง รวมทั้งโฆษณาชวนเชื่อ ด้าน Alan Miller ผู้ก่อตั้งองค์กร News Literacy Project ที่มีหลักสูตรออนไลน์ Checkology นี้ บอกว่า วัยรุ่นรับรู้ข่าวสารจากสื่อสังคมออนไลน์เป็นส่วนใหญ่ และมักเชื่อข้อมูลที่พวกเขาได้รับจากเพื่อนฝูง ที่น่าตกใจคือ…

ความปลอดภัยอยู่ตรงไหน.. Truemove H หลุดข้อมูลลูกค้าพร้อมสำเนาบัตรประชาชนตั้งแต่ปี 2016

Loading

เหมือนความปลอดภัยในการปกป้องข้อมูลของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการกำลังถูกทดสอบ หลังจาก Facebook กับกรณี Cambridge Analytica ที่บางคนอาจจะคิดว่าไกลตัว มาคราวนี้เป็น Truemove H ผู้ให้บริการมือถือในบ้านเราบ้าง ที่แสดงความเผลอเรอด้วยการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานตั้งแต่ปี 2016 เอาไว้บน Cloud พร้อมสำเนาบัตรประชาชนเป็นจำนวนกว่า 32GB แล้วไม่ปิดกั้นการเข้าถึง ข้อมูลลูกค้าจำนวนมหาศาลชุดนี้ ถูกค้นพบโดย Niall Merrigan นักวิจัยด้านความปลอดภัย ที่คอยสำรวจและตรวจสอบการสร้างโฟลด์เดอร์ Amazon S3 บนระบบ Cloud ซึ่งหลังจากสแกนเจอโฟลเดอร์ที่เปิดเอาไว้หรือไม่ได้ล็อค ก็จะเลือกเข้าไปดูโฟลด์เดอร์ที่มีข้อมูลเยอะๆ ว่าเก็บอะไรเอาไว้บ้าง ซึ่ง 1 ใน 1000 นั้นก็คือโฟลเดอร์เก็บข้อมูลลูกค้าของ Truemove H จากโฟลเดอร์ขนาด 32GB นั้น ภายในมีการแยกข้อมูลลูกค้าเอาไว้เป็นปีๆ อย่างเรียบร้อย ในปี 2015 มีข้อมูลจำนวน 8.3GB, ในปี 2016 14.5GB, ปี 2017 6.6GB และในปี 2018 ที่เพิ่งเริ่มเก็บมี 2.2GB โดยทั้งหมดนับรวมกันเป็น…

US-CERT เตือน! รัสเซียหนุนหลังการโจมตีอุปกรณ์ Network ทั่วโลก พร้อมเผยแนวทางระวังตัวสำหรับ Vendor, ISP, องค์กร และผู้ใช้งาน

Loading

ในการแจ้งเตือนรหัส TA18-106A ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงาน FBI, DHS และ NCSC ของสหรัฐอเมริกาได้ออกมาแจ้งเตือนถึงการที่รัฐบาลรัสเซียได้หนุนหลังให้มีการโจมตีเจาะช่องโหว่ของอุปกรณ์ Router, Switch, Firewall, IDS และอื่นๆ ทั่วโลก โดยมีการรายงานถึงกลวิธี, เทคนิค และกระบวนการที่ถูกใช้ในการโจมตีครั้งนี้ ทั้งนี้ในรายงานนี้ก็ได้ระบุด้วยว่าทางรัฐบาลสหรัฐนั้นตรวจพบการโจมตีที่สนับสนุนโดยรัสเซียมาตั้งแต่ปี 2015 แล้ว โดยเป้าหมายในการโจมตีหลักๆ ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ การเจาะช่องโหว่ใน Protocol เก่าๆ และเหล่าองค์กรที่ไม่ดูแลด้าน Security ของตนเอง การโจมตี Router เพื่อเข้าตรวจสอบและควบคุม Traffic ต่างๆ รวมถึงระบบ Industrial Control System (ICS) การเจาะอุปกรณ์ Network ต่างๆ โดยตรง เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ที่เหล่าผู้ใช้งานมักไม่ดูแลให้ปลอดภัย ไม่แก้ไขอะไรตราบเท่าที่ยังใช้งานได้ รวมถึงหากอุปกรณ์เหล่านี้ผู้ผลิตไม่สนับสนุนการใช้งานแล้ว ผู้ใช้งานก็มักยังคงใช้งานต่อไปเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ทั้งนี้เมื่ออุปกรณ์เหล่านี้ถูกเจาะได้สำเร็จแล้ว ผู้ใช้งานก็มักจะไม่รู้ตัว และไม่มีการเปลี่ยนอุปกรณ์เหล่านี้ออกจากเครือข่ายด้วย โดยทาง US-CERT ได้เตือนให้เฝ้าระวัง…

ย้อนประวัติศาสตร์อาวุธเคมี

Loading

ข่าวการใช้อาวุธเคมีโจมตีพลเรือนผู้บริสุทธิ์ในเมืองดูมาของซีเรีย รวมทั้งข่าวการใช้สารทำลายระบบประสาทหวังลอบสังหารอดีตสายลับรัสเซียในอังกฤษ ทำให้เรื่องอาวุธเคมีกลายเป็นประเด็นที่โลกให้ความสนใจอีกครั้ง บีบีซีขอย้อนรอยประวัติศาสตร์การใช้อาวุธเคมีซึ่งเริ่มมีการใช้กันอย่างแพร่หลายในโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว นายฮามิช เดอ เบรต์ตอง-กอร์ดอง อดีตทหารอังกฤษ และเจ้าหน้าที่หน่วยอาวุธเคมี ชีวภาพ และนิวเคลียร์องค์การนาโต เล่าว่า อาวุธเคมีชนิดแรกของโลกคือ คลอรีน (Chlorine) เป็นสารทําลายระบบทางเดินหายใจ (Choking agent) แม้ในตอนแรกมันจะถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำให้เหยื่อพิการมากกว่าทำให้เสียชีวิต แต่ที่ผ่านมาอาวุธชนิดนี้ก็คร่าชีวิตผู้คนไปจำนวนมาก สารคลอรีนถูกใช้ครั้งแรกในสงครามเมืองอีเพรส์ครั้งที่ 2 ในเบลเยียม เมื่อปี 1915 และสร้างความหายนะครั้งใหญ่หลวง เพราะตอนนั้นยังไม่เคยมีการใช้สารคลอรีนเป็นอาวุธทางการทหารมาก่อน แม้จะเป็นสารเคมีพื้นฐานก็ตาม ต่อมาก็มีการใช้แก๊สมัสตาร์ด ซึ่งมีฤทธิ์ทำให้ระคายเคืองผิวหนังและเกิดแผลพุพอง (Blister agents) จากนั้นกองทัพนาซีเยอรมนีได้พัฒนาสารทำลายระบบประสาท (Nerve agents) ขึ้น โดยเป็นสารสังเคราะห์จากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเป็นสารกำจัดศัตรูพืช และพบว่าสารทาบุน และโซมาน สามารถฆ่าคนได้มีประสิทธิภาพ สารทำลายระบบประสาทถูกใช้อย่างแพร่หลายในสงครามอิหร่าน-อิรัก เมื่อปี 1984-1988 ซึ่งเหตุโจมตีเมืองฮาลับยาในอิรัก เมื่อวันที่ 16 มี.ค.1988 ยังติดอยู่ในความทรงจำของผู้คนจำนวนมาก เพราะมีผู้เสียชีวิตมากถึง 5,000 คนในเหตุโจมตีวันนั้น ปัจจุบันอาวุธเคมีกลายเป็นข่าวครึกโครมอีกครั้ง…