นิวซีแลนด์ออกคำสั่งแบน TikTok มีผลกับอุปกรณ์ของรัฐสภา

Loading

  นิวซีแลนด์เป็นประเทศล่าสุดที่รัฐบาลออกคำสั่ง ห้ามอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐลงแอป TikTok อย่างไรก็ตามเงื่อนไขของนิวซีแลนด์ไม่ได้ครอบคลุมทั้งหมด โดยบอกว่ามีผลเฉพาะอุปกรณ์ที่สามารถเข้าถึงเครือข่ายของรัฐสภานิวซีแลนด์ได้ คำสั่งนี้มีผลตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยยกเว้นเป็นกรณีไปหากอุปกรณ์หน่วยงานนั้นจำเป็นต้องใช้ TikTok ในการทำงาน   ส่วนเหตุผลนั้นก็คล้ายกับประกาศของหลายประเทศก่อนหน้านี้ โดยทางการนิวซีแลนด์บอกว่าหลังหารือกับผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยอินเทอร์เน็ต มีข้อมูลว่าบริการนี้มีความเสี่ยงที่ไม่ผ่านเกณฑ์ของการใช้งานบนเครือข่ายรัฐสภา   ด้านตัวแทนของ TikTok บอกว่าบริษัทไม่ได้รับการติดต่อ หรือหารือเกี่ยวกับคำสั่งแบนแอปดังกล่าว บริษัทจึงรู้สึกผิดหวังต่อการตัดสินใจนี้ และยืนยันว่าไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่า TikTok มีความเสี่ยงต่อผู้ใช้งานในนิวซีแลนด์ ทั้งขอให้การตัดสินใจต่าง ๆ อยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริง   คำสั่งของนิวซีแลนด์นี้ ออกมาหลังจากทั้งอเมริกา คณะกรรมาธิการยุโรป และล่าสุดคืออังกฤษ ออกคำสั่งแบนการใช้งาน TikTok ในอุปกรณ์ของหน่วยงานรัฐบาล     ที่มา: TechCrunch       ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   …

เอาด้วย! อังกฤษแบน ‘ติ๊กตอก’ บนอุปกรณ์สื่อสารของรัฐบาล

Loading

TikTok Ban อังกฤษประกาศแผนห้ามใช้แอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) ให้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันพฤหัสบดีเป็นต้นไป ตามหลังชาติตะวันตกทั้งสหรัฐฯ แคนาดา และอีกหลายประเทศในยุโรป ที่สั่งแบนแอปฯ ดังกล่าวด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย   ทางการอังกฤษ ระบุว่า “ความปลอดภัยของข้อมูลรัฐบาลต้องมาก่อน ดังนั้นในวันนี้เราจึงห้ามใช้แอปฯ นี้บนอุปกรณ์ของรัฐ” และว่า “การห้ามใช้แอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของรัฐเป็นขั้นตอนที่รอบคอบและเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง” พร้อมทั้งให้หน่วยงาน National Cyber Security Centre ตรวจสอบข้อมูลอ่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ และความเสี่ยงว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้าถึงและนำไปใช้ได้อย่างไร   ด้านติ๊กตอกแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจของอังกฤษ โดยโฆษกของบริษัท ระบุว่า “เราเชื่อว่าการแบนเหล่านี้มีพื้นฐานบนความเข้าใจผิดในหลักการและขับเคลื่อนด้วยประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งติ๊กตอกและผู้ใช้นับล้านรายของเราในอังกฤษ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย” พร้อมเสริมว่า “เรายังคงมุ่งมั่นในการทำงานกับรัฐบาลเพื่อหารือเกี่ยวกับความกังวลต่าง ๆ แต่เราควรได้รับการวิจารณ์บนข้อเท็จจริงและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับคู่แข่งของเราด้วยเช่นกัน” และว่าทางบริษัทได้เริ่มต้นกระบวนการที่จะปกป้องข้อมูลผู้ใช้ในยุโรปแล้ว   แอปฯ ติ๊กตอก ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีจีน ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เป็นเจ้าของ ได้ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่รัฐบาลชาติตะวันตกเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ว่าจะตกไปอยู่ในมือของรัฐบาลจีน และบั่นทอนความมั่นคงของชาติตะวันตก   ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ แคนาดา เบลเยียม และคณะกรรมาธิการยุโรปและสภาสหภาพยุโรปสั่งถอดแอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนไปแล้ว  …

จริงหรือที่ TikTok ส่งข้อมูลผู้ใช้ให้รัฐบาลจีน จนหลายประเทศรุมแบน

Loading

    ในช่วงที่ผ่านมา TikTok แพลตฟอร์มสัญชาติจีน เผชิญการปิดกั้นจากหลายประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ที่ออกมาตรการห้ามใช้งาน TikTok บนอุปกรณ์ของรัฐ รวมถึงการห้ามไม่ให้มีบัญชีทางการของเจ้าหน้าที่รัฐบนแพลตฟอร์ม   การแบน TikTok ลามไปถึงประเทศอื่น ๆ อย่าง แคนาดาและไต้หวัน ที่ออกมาตรการในลักษณะเดียวกัน ขณะที่ เนเธอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ที่ก็กำลังหารือแนวทางการแบน TikTok เช่นกัน ซึ่งกระแสต่อต้าน TikTok จากนักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐในหลายประเทศมีมากขึ้นทุกวัน     แต่ที่หนักหน่วงที่สุดเห็นทีจะเป็นอินเดียที่แบน TikTok ตั้งแต่ปี 2020 และเป็นการแบนชนิดที่เรียกว่าถอนรากถอนโคน ควบคุมไปยังประชาชนด้วย ไม่เฉพาะแต่ในอุปกรณ์ของรัฐเท่านั้น   เพราะเหตุใดแอปพลิเคชันที่ได้รับความนิยมอย่างผู้คนกว่า 1,000 ล้านคนจากทั่วโลกถึงตกเป็นเป้าจากรัฐบาลทั่วโลก   ทำไมถึงแบน TikTok   ประเด็นหลักที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ให้เหตุผลในการแบน TikTok ก็คือข้อห่วงกังวลด้านความปลอดภัย สำคัญที่สุดคือความกลัวว่า TikTok ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของจีน…

เหตุผลของความมั่นคง! เบลเยียมแบนการติดตั้ง “ติ๊กต็อก” บนอุปกรณ์ของรัฐ

Loading

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อวันที่ 11 มี.ค. ว่า นายกรัฐมนตรีอเล็กซานเดอร์ เดอ โกร ผู้นำเบลเยียม ประกาศเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ห้ามการติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก บนอุปกรณ์สื่อสารทุกประเภทที่เป็นของหน่วยงานรัฐ โดยเป็นไปตามคำเตือนของสภาความมั่นคงแห่งชาติ เกี่ยวกับความเสี่ยงของกลยุทธ์การเก็บข้อมูลโดยติ๊กต็อก ซึ่งบริษัทไบต์แดนซ์ของจีนเป็นเจ้าของ “มีการให้ความร่วมมือกับหน่วยข่าวกรองของจีน”   ต่อมา ติ๊กต็อกออกแถลงการณ์ “ผิดหวังเป็นอย่างมาก” ต่อมาตรการของรัฐบาลเบลเยียม ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ “ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน” เนื่องจาก ปัจจุบันติ๊กต็อกเก็บข้อมูลของผู้ใช้งานไว้ที่สหรัฐและสิงคโปร์ พร้อมทั้งมีแผนการสร้างศูนย์ข้อมูลเพิ่มเติมอีกหลายแห่งในยุโรปด้วย   Belgium bans TikTok from federal government work phones https://t.co/GD96HxBLXq pic.twitter.com/j3B8XuGpzE — Reuters (@Reuters) March 10, 2023   ทั้งนี้ ติ๊กต็อก เพิ่งประกาศเมื่อกลางสัปดาห์นี้ จัดตั้ง “Project Clover” ที่หนึ่งในแนวทางดำเนินงานสำคัญ คือการ…

แคนาดาแบน “ติ๊กต๊อก” บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของรัฐ โยงความมั่นคง

Loading

    นับตั้งแต่เดือน มี.ค. เป็นต้นไป บนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐบาลแคนาดา ต้องไม่มีแอปพลิเคชัน “ติ๊กต๊อก”   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงออตตาวา ประเทศแคนาดา เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ว่านายกรัฐมนตรีจัสติน ทรูโด แถลงเมื่อวันจันทร์ เกี่ยวกับการห้ามอุปกรณ์สื่อสารและเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดที่เป็นของรัฐ ติดตั้งแอปพลิเคชันติ๊กต็อก และเจ้าของอุปกรณ์เหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ดาวน์โหลดติ๊กต็อกกลับลงสู่อุปกรณ์ของรัฐด้วย โดยให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. นี้   WATCH: The Canadian government is banning the use of the popular short-form video application TikTok on all government-issued mobile devices. Read more: https://t.co/4FAhZJPvAn pic.twitter.com/cAoxaEl40P — Globalnews.ca (@globalnews) February 27,…

คณะกรรมาธิการยุโรปสั่งแบน “TikTok” บนอุปกรณ์ของหน่วยงาน

Loading

    คณะกรรมาธิการยุโรป สั่งแบนการใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok บนอุปกรณ์ของทางการทั้งหมด เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   คำสั่งดังกล่าวกำหนดให้เจ้าหน้าที่ของคณะกรรมธิการยุโรปซึ่งเป็นองค์กรฝ่ายบริหารของสหภาพยุโรป ต้องทำการลบแอปพลิเคชัน TikTok ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันชื่อดังที่ขึ้นชื่อเรื่องวิดีโอสั้น ๆ ของจีน ออกจากอุปกรณ์ของที่ทำงาน รวมทั้งอุปกรณ์ส่วนตัวที่ใช้ทำงาน ภายในวันที่ 15 มี.ค.นี้ เนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางไซเบอร์   ด้านโฆษกคณะกรรมาธิการยุโรป เปิดเผยว่า มาตรการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อปกป้องคณะกรรมธิการจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ และการกระทำใด ๆ ที่อาจเปิดทางให้เกิดการโจมตีทางไซเบอร์ได้ พร้อมทั้งระบุด้วยว่า เป็นเพียงมาตรการชั่วคราว และจะมีการตรวจสอบอย่างต่อเนื่องและอาจมีการพิจารณาใหม่อีกครั้ง     ขณะที่ทาง TikTok ออกมาเคลื่อนไหวแล้ว โดยแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจดังกล่าว และระบุว่า เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากความเข้าใจผิด แม้ว่าก่อนหน้านี้ TikTok จะออกมาเปิดเผยต่อผู้ใช้งานในยุโรปว่า พนักงานในจีนอาจเข้าถึงข้อมูลได้ก็ตาม   โฆษกของบริษัท เปิดเผยว่า ได้ติดต่อไปชี้แจงข้อเท็จจริงกับคณะกรรมาธิการยุโรปแล้ว พร้อมทั้งอธิบายว่าทางบริษัทปกป้องข้อมูลของผู้ใช้งาน 125 ล้านคนทั่วสหภาพยุโรปที่เข้ามาใช้ TikTok ทุก ๆ เดือนได้อย่างไร   นอกจากนี้…