‘ยูจีน แคสเปอร์สกี้’ ปลุกโลกให้มี ‘Cyber Immunity’ สกัดภัยไซเบอร์

Loading

    แคสเปอร์สกี้ เผย จำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ยังคงเพิ่มขึ้นทวีคูณ เช่นเดียวกับความสนใจของ “อาชญากรไซเบอร์” ภัยคุกคามทางไซเบอร์ก่อให้เกิดความเสียหายทางกายภาพได้ เช่น ความเสียหายต่อโรงงานอุตสาหกรรม สิ่งอำนวยความสะดวกด้านพลังงาน ระบบเมืองอัจฉริยะ   Key Points :   – “ยูจีน แคสเปอร์สกี้” ผู้ก่อตั้ง และซีอีโอ แคสเปอร์สกี้ ยักษ์ใหญ่ด้านความปลอดภัยไซเบอร์สัญชาติรัสเซีย เยือนไทย หนุน “Cyber Immunity” หรือ ภูมิคุ้มกันทางไซเบอร์ สกัดภัยคุกคามออนไลน์   -ภัยคุกคาม เป้าโจมตี ภาคไอที โทรคมนาคม สุขภาพ บริการทางการเงิน โรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ   -ปี 2022 พบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน เพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122 ล้านไฟล์   อุตสาหกรรมการรักษาความปลอดภัยข้อมูล กำลังสร้างเทคโนโลยีการรักษาความปลอดภัยมากขึ้น…

Kaspersky พบอาชญากรไซเบอร์ประกาศรับสมัครงานใต้ดินจำนวนมาก

Loading

    Kaspersky Lab เผยผลการวิเคราะห์ข้อมูลจากกระดานสนทนาบนดาร์กเว็บ 155 แห่ง พบว่าประชาคมอาชญากรไซเบอร์มีความต้องการจ้างบุคลากรด้านไอทีจำนวนมาก   จากการศึกษาโฆษณารับสมัครงานกว่า 200,000 ชิ้น ตั้งแต่ปี 2020 จนถึงเดือนมิถุนายน 2022 พบว่าตำแหน่งงานที่โลกไซเบอร์ด้านมืดต้องการมากที่สุด คือ นักพัฒนาเว็บ ถึงร้อยละ 61 ตามมาด้วยวิศวกรย้อนรอย (Reverse Engineer) นักวิเคราะห์ และนักทดสอบแฮก   งานที่ผู้ว่าจ้างเหล่านี้ระบุในรายละเอียดของการจ้างมีทั้งการสร้างมัลแวร์ การสร้างหน้าฟิชชิง โจมตีโครงสร้างพื้นฐานองค์กร และแฮกเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน โดยมีค่าจ้างตั้งแต่ 1,300 – 4,000 เหรียญต่อเดือน (ราว 43,400 – 133,500 บาท) ค่าจ้างสูงสุดเป็นของตำแหน่งวิศวกรย้อนรอย   โปลินา บอชคาเรวา (Polina Bochkareva) เชื่อว่าการเฟ้นหาบุคลากรเพิ่มเติมมักจะนำมาซึ่งการสร้างกลุ่มใหม่หรือขยายกลุ่มที่มีอยู่แล้ว   กลุ่มเหล่านี้มักมีแนวทางการรับสมัครบุคลากรโดยใช้เกณฑ์เดียวกับผู้ว่าจ้างบนดินที่ถูกกฎหมาย อย่างการหยิบยื่นสิทธิประโยชน์ที่พนักงานทั่วไปพึงได้รับ อาทิ สิทธิการลา การเลื่อนตำแหน่ง และแผนจูงใจพนักงานอื่น…

ยอดมัลแวร์พุ่ง!! อาชญากรไซเบอร์โจมตีด้วยไฟล์อันตราย 400,000 ไฟล์/วัน

Loading

  ในปี 2022 ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน   ในปี 2022 ระบบตรวจจับของ แคสเปอร์สกี้ (Kaspersky) ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายที่แพร่กระจายโดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้น 5% เมื่อเทียบกับปี 2021 นอกจากนี้จำนวนของภัยคุกคามบางประเภทก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้พบว่าสัดส่วนของแรนซัมแวร์เพิ่มขึ้น 181% ทุกวัน การค้นพบต่าง ๆ นี้ เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน Kaspersky Security Bulletin (KSB) ซึ่งเป็นการคาดการณ์ และรายงานเชิงวิเคราะห์ประจำปีเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในโลกความปลอดภัยทางไซเบอร์   ระบบตรวจจับของแคสเปอร์สกี้ค้นพบไฟล์ที่เป็นอันตรายใหม่โดยเฉลี่ย 400,000 ไฟล์ต่อวันในช่วงสิบเดือนที่ผ่านมา จากการเปรียบเทียบกับปี 2021 มีการตรวจพบไฟล์อันตรายประมาณ 380,000 ไฟล์ต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น 5% โดยรวมแล้วในปี 2022 ระบบของแคสเปอร์สกี้ตรวจพบไฟล์ที่เป็นอันตรายประมาณ 122…

แคสเปอร์สกี้แนะ 4 ข้อ เสริมแกร่งไซเบอร์ซิเคียวริตีไทย

Loading

  แคสเปอร์สกี้ ชี้ภัยคุกคามทางไซเบอร์พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจำเป็นต้องมีจุดยืนที่แข็งขันมากขึ้น แนะ 4 เรื่องในการเสริมความแกร่งซัปพลายเชนไอซีที พบไตรมาส 2 ปีนี้ คนไทย 20% เจอภัยคุกคามผ่านเว็บเกือบ 5 ล้านครั้งบนคอมพิวเตอร์   น.ส.จีนี่ กัน หัวหน้าฝ่ายกิจการสาธารณะประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ญี่ปุ่น ตะวันออกกลาง ตุรกี และแอฟริกา แคสเปอร์สกี้ กล่าวว่า การโจมตีทางไซเบอร์ในห่วงโซ่อุปทานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT supply chain) กำลังเพิ่มขึ้น การโจมตีลักษณะนี้เป็นอันตราย เนื่องจากสามารถเกิดช่องโหว่ได้ในทุกเฟส ตั้งแต่การออกแบบ ไปจนถึงการพัฒนา การผลิต การแจกจ่าย การจัดหาและการใช้งาน ไปจนถึงการบำรุงรักษา ซึ่งสามารถส่งผลกระทบต่อรัฐบาล องค์กร และสาธารณชน   ไตรมาสที่ 2 ปีนี้ แคสเปอร์สกี้ตรวจพบภัยคุกคามทางเว็บที่แตกต่างกัน 4,740,347 ครั้งบนคอมพิวเตอร์ของผู้เข้าร่วม Kaspersky Security Network (KSN) ในประเทศไทย โดยรวมแล้วมีผู้ใช้ชาวไทยจำนวน 20.1%…

นักวิจัยเผย Minecraft เป็นเกมที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้ลวงให้ผู้เล่นดาวน์โหลดมัลแวร์มากที่สุด

Loading

  นักวิจัยจากบริษัทด้านไซเบอร์ Kaspersky เผยสถิติที่เก็บได้ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2021 – กรกฎาคม 2022 พบว่า Minecraft เป็นเกมที่อาชญากรไซเบอร์นิยมใช้ลวงให้ผู้เล่นดาวน์โหลดมัลแวร์มากที่สุด โดยคิดเป็นร้อยละ 25   รองลงมาคือ FIFA (ร้อยละ 11) Roblox (ร้อยละ 9.5) Far Cry (ร้อยละ 9.4) และ Call of Duty (ร้อยละ 9) เกมอื่น ๆ ที่อาชญากรนิยมใช้แอบอ้าง ยังรวมถึง Need for Speed, Grand Theft Auto, Valorant, The Sims และ CS:GO   Minecraft ไม่ได้เป็นที่นิยมของเหล่าอาชญากรเฉพาะบน PC เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงบนแพลตฟอร์มมือถือด้วย โดยมีส่วนแบ่งถึงร้อยละ 40 แต่การใช้เกมมือถือเป็นตัวหลอกให้ดาวน์โหลดมัลแวร์ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับเกมบน…

หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนี แนะองค์กรเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี ออกโรงแนะนำให้ผู้ใช้งานเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มาจากรัสเซีย เพราะอาจถูกนำไปใช้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้การจัดการของรัฐบาลรัสเซีย   เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศเยอรมนี ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอนตีไวรัสของแคสเปอร์สกี (Kaspersky) ให้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นๆ   ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนี ระบุว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรัสเซีย อาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรัสเซีย บังคับให้กระทำการแฮกระบบ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นตัวแทนในการเข้าไปโจมตีทางไซเบอร์อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน   คำเตือนของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี เกิดขึ้นท่ามกลางการเข้าไปรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่รุนแรงมากขึ้น   ทางด้านแคสเปอร์สกี ออกมาปฏิเสธถึงการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า แคสเปอร์สกีเป็นบริษัทเอกชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งพวกเขาบอกด้วยว่า คำเตือนของบีเอสไอ มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าด้านเทคโนโลยี   อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี จะติดต่อไปยังบีเอสไอ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้เพิ่มเติม   นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวด้วยว่า โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทย้ายไปตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ขณะที่ ข้อมูลของผู้ใช้งานชาวเยอรมนี…