ปลัดมท. เตือน!อย่าหลงเชื่อเพจรับทำบัตรประชาชนออนไลน์

Loading

‘บัตรประชาชนไม่ใช่ใครอ้างจะทำก็ทำได้’ ปลัด มท. ย้ำเตือนสังคมอย่าหลงเชื่อแฟนเพจรับทำบัตรประชาชน หรือใครก็ตามที่มาแอบอ้างช่วยทำบัตรประชาชน พร้อมย้ำ สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 พร้อมให้ข้อมูลที่ถูกต้อง และประสานให้ดำเนินการกับผู้กระทำผิดตลอด 24 ชั่วโมง

สื่ออ้างกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธสังหารทหารเมียนมา 170 นาย

Loading

วันนี้ (30 ต.ค.2566) เว็บไซต์อิรวดี รายงานว่า ในรอบ 5 วันที่ผ่านมา มีทหารเมียนมาถูกสังหารไปแล้วอย่างน้อย 170 นาย เนื่องจากถูกกลุ่มกองกำลังพิทักษ์ประชาชนและกองกำลังติดอาวุธของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ โจมตีในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ปฏิบัติการ 1027 ของกลุ่มชาติพันธุ์ติดอาวุธ ที่ประกอบด้วยการโจมตีร่วมกันโดยหลายกลุ่มเริ่มต้นขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา

ดีเอสไอ โต้ข้อสอบหลุด ยันความปลอดภัยระดับลับที่สุด ติดกล้องเฝ้า 24 ชม.

Loading

    ดีเอสไอ โต้ข้อสอบเลื่อนตำแหน่งหลุด ยันรักษาความปลอดภัยข้อสอบระดับลับที่สุด พร้อมเก็บตัวกรรมการ ริบโทรศัพท์ก่อนสอบ 1 วัน มีกล้องวงจรปิดเฝ้า 24 ชม.   วันที่ 12 ม.ค. 2566 กรมสอบสวนคดีพิเศษ ชี้แจงกรณีมีการร้องว่ามีการทุจริตสอบเลื่อนตำแหน่ง โดยมีคนสนิทของอธิบดีสามารถนำข้อสอบออกมาเฉลยจนได้เลื่อนตำแหน่ง ว่า ตามที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ มีการชี้แจงไปเมื่อวันที่ 29 ธ.ค. 2565 จากนั้นเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 2566 ได้เกิดขบวนการทำลายภาพลักษณ์องค์กรด้วยการส่งข้อความกันในกลุ่มไลน์ ซึ่งมีการไฮไลต์ข้อความ เอกสารแถลงข่าวของกรมสอบสวนคดีพิเศษ ในช่วงที่ระบุถึงการจัดสอบแข่งขันได้จัดจ้างมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นผู้ดำเนินการทั้งการออกข้อสอบและตรวจคะแนนทั้งหมด   พร้อมมีการจัดทำและเผยแพร่เอกสารปลอมการชี้แจงของมหาวิทยาลัยสวนดุสิตว่า ได้รับการคัดเลือกให้เป็นผู้ดำเนินการในการจัดการสอบข้าราชการกรมสอบสวนคดีพิเศษ จำนวนเงิน 280,000 บาท โดยดำเนินการเฉพาะในเรื่องของการจัดสถานที่ในการสอบ และการควบคุมดูแลในวันสอบเท่านั้น ส่วนการออกข้อสอบและตรวจคะแนนไม่ได้เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ซึ่งข้อเท็จจริงตามสัญญาจ้างมหาวิทยาลัยสวนดุสิตเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด ตั้งแต่ออกข้อสอบและตรวจคะแนน   ส่วนกรณีที่มีการร้องเรียนว่ามีข้อสอบหลุด กรมสอบสวนคดีพิเศษ ขอชี้แจงว่า เรามีมาตรการรักษาความปลอดภัย และการรักษาความลับ โดยกำหนดให้เป็นความลับในระดับ “ลับที่สุด” ซึ่งนอกจากกรรมการออกข้อสอบ กรรมการกลั่นกรองข้อสอบ…

2 App ช่องทางการติดต่อ ของขวัญปีใหม่จาก DSI

Loading

  2 App ช่องทางการติดต่อ ของขวัญปีใหม่จาก DSI   กรมสอบสวนคดีพิเศษ พัฒนาระบบสารสนเทศ มอบ 2 Application เป็นของขวัญปีใหม่ 2566 เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูล สามารถร้องเรียน ร้องทุกข์ ติดตามสถานะการดำเนินงานคดีพิเศษ และไว้เป็น ที่ปรึกษาเพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวงจากมิจฉาชีพ ได้แก่   1. กรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล หรือ DGA ในการพัฒนาเพิ่มเติมการทำงานของ Application ทางรัฐ เพื่อให้ประชาชนแจ้งร้องเรียน ร้องทุกข์ และติดตามสถานะการดำเนินงานคดีพิเศษ ได้หลายช่องทาง ได้แก่ เว็บไซต์กรมสอบสวนคดีพิเศษ Application DSI และ แอปพลิเคชัน ทางรัฐ   โดยประชาชนสามารถ Download ติดตั้งได้จาก AppStore หรือ PlayStore ซึ่งเป็นการเพิ่มช่องทางให้ประชาชนสามารถร้องเรียน ร้องทุกข์ และติดตามสถานะของเรื่องที่ร้องขอ จากกรมสอบสวนคดีพิเศษได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและปลอดภัยภายใต้การพัฒนาร่วมกันของสองหน่วยงาน และตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการให้บริการกับประชาชน ตลอด…

เตือนภัย! มิจฉาชีพปลอมเอกสาร DSI เจอแบบนี้อย่าหลงเชื่อเด็ดขาด

Loading

  DSI แจ้งเตือนประชาชน กรณี หนังสือราชการส่งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษปลอมเผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต หากพบเห็นอย่าหลงเชื่อเด็ดขาด   DSI แจ้งเตือนประชาชน กรณี หนังสือราชการส่งจากกรมสอบสวนคดีพิเศษปลอมเผยแพร่ในระบบอินเทอร์เน็ต   กรมสอบสวนคดีพิเศษ ได้ตรวจพบว่ามีการเผยแพร่เอกสารที่เป็นหนังสือราชการ (หนังสือภายนอก) ลับมาก ด่วนที่สุด ที่ ยธ 0807/1047 ลงวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ระบุส่งจาก กรมสอบสวนคดีพิเศษ ถนนจิระ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ถึง ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดบุรีรัมย์ เรื่อง รอผลการสืบสวนและการดำเนินคดีจับกุมกลุ่มผู้ที่มีส่วนพัวพันกับคดีฟอกเงิน ระบุเนื้อหาเกี่ยวกับการสืบสวนเกี่ยวกับคดีฟอกเงิน และให้รักษาความลับของราชการ ลงนามโดย พลตำรวจตรี เอกรักษ์ ลิ้มสังกาศ รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พร้อมมีตราประทับรูปครุฑ และระบุหมายเลขโทรศัพท์ติดต่อ ที่ท้ายหนังสือ มีหน่วยงานเจ้าของเรื่องคือ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน โทรศัพท์ 02-219 3600 โทรสาร 02-219 390 นั้น   กรมสอบสวนคดีพิเศษ…

DSI รร.นายร้อยตำรวจ นิติวิทย์ฯ ขานรับแนวทาง “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” เตรียมทดลองใช้จริง

Loading

  “การสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง” หรือ Investigative Interview เป็นแนวทางการสืบสวนสอบสวนคดีของตำรวจในประเทศนอร์เวย์ ซึ่งยึดหลักการในการสอบสวน “สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์” จึงเน้นไปที่การสัมภาษณ์เพื่อให้ได้มาซึ่งความจริงมากกว่าการตั้งเป้าหมายให้ได้คำรับสารภาพจากผู้ต้องสงสัย นี่เป็นแนวทางที่เคยถูกนำมาฝึกอบรมให้กับเจ้าหน้าที่หลายหน่วยงานในประเทศไทยเมื่อปี 2562 แนวทางนี้เป็นหนึ่งในข้อเสนอที่ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งในเวทีเสวนาที่จัดขึ้นโดย สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ภายใต้ชื่อ TIJ Forum ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ Way Out : หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2564 โดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากประเทศนอร์เวย์มาอธิบายถึงหลักการสัมภาษณ์เพื่อหาความจริง หลังมีผลสำรวจของ TIJ Poll จากคดี “อดีตผู้กำกับโจ้” ทำร้ายผู้ต้องสงสัยจนเสียชีวิต ระบุว่า ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมลดลงอย่างมาก และต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เชิงโครงสร้างอำนาจในกระบวนการยุติธรรมไปจนถึงกระบวนการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงในคดี TIJ Forum จัดขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 ในหัวข้อ “WAY OUT: หนทางใหม่สู่การค้นหาความจริง” (ภาคต่อ) โดยมี 3 หน่วยงานสำคัญในกระบวนการยุติธรรม คือ กรมสอบสวนคดีพิเศษ…