Cell Broadcast ทดลองส่ง 3 ครั้ง 3 วัน ไล่ระดับเล็ก-กลาง-สูงสุด เริ่ม 2 พ.ค.

Loading

“นายกฯ อิ๊งค์” รับรายงาน ปภ. ย้ำ Cell Broadcast พร้อมแล้ว เตรียมทดลองส่ง 3 ครั้ง ระดับเล็ก-ระดับกลาง-ระดับสูงสุด เริ่ม 2 พ.ค.นี้ ย้ำ ต้องรวดเร็วทันเหตุการณ์ ข้อความชัดเจน เร่งประชาสัมพันธ์ไม่ให้ตื่นตระหนก วันที่ 25 เมษายน 2568 นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ที่ปรึกษากองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (บก.ปภช.) เปิดเผยว่า ตามที่นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย เร่งพัฒนาระบบ Cell Broadcast (CB) ซึ่งเป็นระบบที่ใช้วิธีการส่งข้อความแจ้งเตือนภัยไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ทุกเครื่องผ่านเครือข่ายเซลลูลาร์ของระบบโทรคมนาคมในระยะเวลาสั้น โดยไม่ต้องทราบหมายเลขโทรศัพท์ของผู้รับและไม่ต้องลงทะเบียนล่วงหน้า เพื่อยกระดับการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติ อุบัติภัย เช่น แผ่นดินไหว ดินโคลนถล่ม น้ำท่วม หรืออุบัติเหตุใหญ่ๆ ที่มีความจำเป็นต้องแจ้งเตือนประชาชน     สำหรับระบบ Cell Broadcast เป็นระบบเตือนภัยมาตรฐานสากลที่ทั่วโลกใช้งาน เนื่องจากประสิทธิภาพของระบบที่สามารถส่งตรงถึงโทรศัพท์มือถือทุกเครื่องของประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย…

เมื่อตกเป็นเหยื่อสแกมเมอร์ เสียเงินอาจไม่เลวร้ายเท่าเสียความรู้สึก

Loading

    Summary ปัญหาสแกมเมอร์กลายเป็นวาระระดับโลกเพราะมีต้นเหตุจากเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติ อีกทั้งยังส่งผลกระทบมากกว่าด้านการสูญเสียเงิน แต่ยังส่งผลสะเทือนถึงจิตใจอีกด้วย การศึกษาพบว่าเหยื่อที่เสียเงินจำนวนมากมักเผชิญความเครียดและความอับอาย หลายครั้งไม่กล้าที่จะพูดคุยกับคนรอบข้าง ผลกระทบทางใจ เช่น ความเครียด ความสิ้นหวัง การโทษตนเอง ส่งผลรุนแรงกว่ามูลค่าการสูญเสียที่เป็นตัวเงิน โดยเฉพาะในสแกมหลอกให้รัก (romance scam) ที่ผู้ถูกหลอกจะรู้สึกถูกหักหลังโดยคนที่ตัวเองรักหมดใจและสูญเสียความสามารถที่จะเชื่อใจคนใกล้ตัว ในฐานะคนใกล้ชิด การให้กำลังใจและรับฟังโดยไม่ตัดสินคือสิ่งสำคัญที่สุดเมื่อรู้ว่าคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อ รวมถึงการช่วยรวบรวมหลักฐานเพื่อแจ้งความดำเนินคดี และหากเห็นสัญญาณความเครียดในระดับที่รุนแรงก็ควรพาเหยื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต     ในยุคสมัยที่เราต้องเอาตัวรอดจากสารพัดกลโกงที่ส่งต่อมาทั้งทางโทรศัพท์มือถือ เว็บไซต์ และอีเมล์ สำหรับใครที่ยังอยู่รอดปลอดภัยก็ถือว่าโชคดี แต่จากสถิติที่ผู้เขียนไปพบปะกับเพื่อนครั้งล่าสุด ตัวพวกเขาเองหรือคนใกล้ตัวต่างผ่านประสบการณ์พลาดพลั้งถูกหลอกเอาเงินมาแล้วทั้งนั้น   คนในครอบครัวของผมเองก็ยังไม่พ้นตกเป็นเหยื่อ ทั้งกรอกบัตรเครดิตใส่เข้าไปในเว็บไซต์ปลอมที่ส่งมาทางอีเมล หรือสั่งซื้อของออนไลน์จากเว็บไซต์ที่ไม่มีอยู่จริง คงไม่ผิดนักหากจะกล่าวว่าถ้าใครไม่เคยถูกหลอกหรือมีคนใกล้ตัวตกเป็นเหยื่อคงนับเป็นคนส่วนน้อยที่ตกขบวน!   หลายคนเข้าใจผิดว่าปัญหาสแกมเมอร์คือปัญหาระดับชาติ ผมอยากจะให้ทำความเข้าใจเสียใหม่ว่านี่คือ ‘ปัญหาระดับโลก’ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา หนังสือพิมพ์ The Economist ถึงขั้นพาดหัวข่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมสแกมเมอร์ออนไลน์อาจเป็นเครือข่ายอาชญากรรมข้ามชาติที่ใหญ่สูสีกับอุตสาหกรรมยาเสพติด   เครือข่ายดังกล่าวทำงานกระจายกันหลายประเทศทั่วโลก แต่มีศูนย์ใหญ่อยู่ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ใกล้ไม่ไกลจากประเทศไทย โดยองค์การสหประชาชาติประมาณการไว้ในปี 2023 ว่าสแกมเมอร์กว่า 200,000 ชีวิตจาก 70 ประเทศทั่วโลกเองก็เป็น ‘เหยื่อ’ ที่ถูกหลอกให้มาทำงานในแก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่พม่าและกัมพูชา…

กรณีศึกษา เกาหลีใต้กระชับกฎระเบียบการนำแบตเตอรี่ลิเทียมขึ้นเครื่องบิน

Loading

    กรณีศึกษา เกาหลีใต้กระชับกฎระเบียบการนำแบตเตอรี่ลิเทียมขึ้นเครื่องบิน ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. ที่ผ่านมา นับเป็นการเน้นย้ำถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อเที่ยวบินทั่วโลก จากแบตเตอรี่ที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือและบุหรี่ไฟฟ้า ซึ่งอาจเกิดความผิดปกติจนทำให้เกิดควัน ไฟ หรือความร้อนสูง   เมื่อปีที่แล้ว สำนักงานการบินพลเรือนสหรัฐ (เอฟเอเอ) บันทึกเหตุการณ์แบตเตอรี่ร้อนเกินไปบนเครื่องบินทั่วโลกได้ 3 ครั้งต่อ 2 สัปดาห์ เมื่อเทียบกับไม่ถึง 1 ครั้งต่อสัปดาห์ ในปี 2561   อนึ่ง อุตสาหกรรมการบินตระหนักมาเป็นเวลานานแล้วว่า การใช้งานแบตเตอรี่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นความกังวลด้านความปลอดภัย และกฎระเบียบต่าง ๆ ก็มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้นเป็นระยะ ๆ เพื่อรับมือกับอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น   ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2568 ผู้โดยสารของสายการบินเกาหลีใต้ ควรพกพาวเวอร์แบงก์และบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสัมภาระถือขึ้นเครื่อง ไม่เก็บไว้ในช่องเก็บสัมภาระเหนือศีรษะ รวมถึงห้ามชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครื่องบิน อีกทั้งทางการจะบังคับใช้ข้อจำกัดด้านปริมาณและกำลังไฟของแบตเตอรี่ด้วย   กระทรวงคมนาคมเกาหลีใต้ระบุว่า มาตรการดังกล่าวเป็นการตอบสนองต่อความกังวลของประชาชน เกี่ยวกับเหตุไฟไหม้ หลังเครื่องบินลำหนึ่งของสายการบิน “แอร์ปูซาน”…

โซเชียลมีเดียกับเวลาชีวิต

Loading

      สภาพแวดล้อมในการทำงานทุกวันนี้มีผลให้สมาธิในการทำงานลดลงอย่างมากเมื่อเทียบกับในอดีต   โดยเฉพาะในช่วงก่อนที่จะมีโซเชียลมีเดียที่เราสามารถใช้เวลาในการทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ เพราะไม่ต้องเสียเวลาไปกับสื่อโซเชียลมากเท่าทุกวันนี้ น่าแปลกที่การมาถึงของสื่อออนไลน์ที่เชื่อมโยงตัวเราเข้ากับทุกคนบนโลกไม่ว่าจะอยู่ในประเทศไหนน่าจะทำให้เรามีชีวิตที่สะดวกสบายขึ้น   แต่กลับกลายเป็นว่าเราต้องใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบมากขึ้น เพราะเรามักจะตอบสนองต่อสื่อออนไลน์เหล่านี้ทันทีและตลอดเวลาไม่ว่าจะทำงานอยู่ หรือประชุม รวมถึงใช้เวลาอยู่กับครอบครัวก็ตาม ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสื่อต่างๆ เหล่านั้นไม่จำเป็นต้องตอบสนองแบบทันทีทันใด ข้อความออนไลน์ส่วนมากสามารถตอบกลับได้ในชั่วโมงถัดไป หรือบางครั้งไปตอบในวันรุ่งขึ้นก็ไม่มีอะไรเสียหาย แต่เราเคยชินกับการตอบสนองแบบทันทีไม่ว่าจะทำอะไรอยู่   ผลก็คือสถิติการเกิดอุบัติเหตุเพราะการใช้โทรศัพท์มือถือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องๆ ไม่ว่าจะเป็นการใช้มือถือขณะขับรถ หรือเดินข้ามถนน ฯลฯ รวมถึงการใช้มือถือในที่ทำงานที่ทำให้ต้องเสียสมาธิจากการประชุมสำคัญหรือจากการเจรจาต่อรองกับผู้อื่น   ที่สำคัญคือมันทำให้เราต้องยุ่งวุ่นวายกับเรื่องต่างๆ มากมาย จนมีเรื่องให้ทำตลอดทั้งวัน แต่งานที่ทำไปทั้งหมดนั้นไม่ได้ทำให้ส่งผลให้เราบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้เลย เพราะล้วนเป็นงานเฉพาะหน้าหรืองานเฉพาะกิจ โทรศัพท์มือถือและโซเชียลมีเดียเป็นตัวอย่างหนึ่งของสิ่งที่เข้ามาดึงสมาธิไปจากเราจนทำให้เสียเวลาไปกับงานที่ไม่ก่อให้เกิดการบรรลุเป้าหมาย เพราะไม่ว่าจะงานจะยุ่งแค่ไหนแต่เราก็ควรมีเป้าหมายที่เราต้องการเอาชนะให้ได้   เพราะคนธรรมดาทั่วไปล้วนมีขีดจำกัดทั้งกายและใจ ซึ่งต้องใช้ควบคู่กันไปเสมอ การทำงานอย่างเต็มที่ย่อมทำให้เราเสียพลังกายและพลังใจจึงต้องหาทางชาร์จพลังให้ตัวเองอยู่เป็นระยะๆ การพักผ่อนในแต่ละวันให้เพียงพอจึงเป็นสิ่งจำเป็น เช่นเดียวกับการหยุดทำงานในวันเสาร์และอาทิตย์เพื่อผ่อนคลายจากงานที่ทำในแต่ละสัปดาห์   การใช้ชีวิตของเราจึงจำเป็นต้องทบทวนเป้าหมายในแต่ละวันเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่หลงทำอะไรที่ทำให้เราห่างไกลจากเป้าหมายมากขึ้นเรื่อยๆ โดยไม่รู้ตัว เพราะโลกการแข่งขันทุกวันนี้ทำให้เวลาเดินเร็วขึ้นด้วยข้อมูลข่าวสารที่เพิ่มขึ้นมากกว่าในอดีตหลายเท่า จึงทำให้ทุกสิ่งรอบตัวดูวุ่นวายไปหมด   เอาแค่ 2 เดือนแรกของปีนี้ก็เกิดเรื่องราวมากมายที่เราคิดไม่ถึง ซึ่งทั้งหมดนั้นทำให้การแข่งขันในทางธุรกิจรุนแรงมากขึ้น ทำให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เกิดขึ้นมามากมาย ทำให้เราต้องเรียนรู้ทุกอย่างใหม่หมดเพื่อรองรับงานที่จะเปลี่ยนแปลงไปในอนาคต   ไม่น่าแปลกใจอะไรที่คนรุ่นใหม่มักจะบ่นว่าตัวเอง “หมดพลัง” เพราะรู้สึกว่าใช้พลังงานไปมากมายกับหลายๆ เรื่อง…

ทำไมกลุ่มฮิซบอลเลาะห์ยังใช้เพจเจอร์? จนโดนระเบิดทั่วเลบานอน

Loading

เปิดเหตุผลกลุ่มติดอาวุธฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอนยังคงใช้ “เพจเจอร์” ในการสื่อสาร เพราะกลัวถูกติดตาม-วางระเบิดในมือถือ

รัฐบาลสหรัฐฯ เตือนเจ้าหน้าที่ที่ใช้ Samsung Galaxy อัปเดตซอฟต์แวร์เพื่อปิดช่องโหว่ หรือหยุดใช้งานไปเลย

Loading

ย้อนกลับไปเมื่อเดือนกรกฎาคม ทางรัฐบาลสหรัฐฯ ได้เตือนว่าใครก็ตามที่ใช้สมาร์ตโฟน Pixel และทำงานในรัฐบาลกลาง ให้อัปเดตซอฟต์แวร์ก่อนวันที่ 4 กรกฎาคม หรือหากไม่อัปเดตก็ให้หยุดใช้งาน