หน่วยงานความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนี แนะองค์กรเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสจากรัสเซีย

Loading

  หน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี ออกโรงแนะนำให้ผู้ใช้งานเลี่ยงการใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่มาจากรัสเซีย เพราะอาจถูกนำไปใช้โจมตีทางไซเบอร์ ภายใต้การจัดการของรัฐบาลรัสเซีย   เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของ Bundesamt für Sicherheit in der Informationstechnik (BSI) หรือหน่วยงานด้านความมั่นคงทางไซเบอร์ของประเทศเยอรมนี ออกประกาศแจ้งเตือนผู้ใช้งานและองค์กรต่างๆ ที่ใช้งานซอฟต์แวร์แอนตีไวรัสของแคสเปอร์สกี (Kaspersky) ให้เปลี่ยนไปใช้ซอฟต์แวร์ของบริษัทอื่นๆ   ทั้งนี้ หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของเยอรมนี ระบุว่า บริษัทที่ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ในรัสเซีย อาจถูกเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลรัสเซีย บังคับให้กระทำการแฮกระบบ หรืออาจถูกนำไปใช้เป็นตัวแทนในการเข้าไปโจมตีทางไซเบอร์อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐาน   คำเตือนของหน่วยงานด้านไซเบอร์ของเยอรมนี เกิดขึ้นท่ามกลางการเข้าไปรุกรานยูเครนโดยรัสเซียที่รุนแรงมากขึ้น   ทางด้านแคสเปอร์สกี ออกมาปฏิเสธถึงการเชื่อมโยงดังกล่าว พร้อมกับระบุว่า แคสเปอร์สกีเป็นบริษัทเอกชน ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐบาลรัสเซีย อีกทั้งพวกเขาบอกด้วยว่า คำเตือนของบีเอสไอ มีแรงจูงใจทางการเมืองมากกว่าด้านเทคโนโลยี   อย่างไรก็ดี แคสเปอร์สกี จะติดต่อไปยังบีเอสไอ เพื่อชี้แจงในเรื่องนี้เพิ่มเติม   นอกจากนี้ แคสเปอร์สกี้ กล่าวด้วยว่า โครงสร้างพื้นฐานในการประมวลผลข้อมูลของบริษัทย้ายไปตั้งอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มาตั้งแต่ปี 2018 แล้ว ขณะที่ ข้อมูลของผู้ใช้งานชาวเยอรมนี…

เยอรมนีปราบกลุ่มหัวรุนแรงต้านวัคซีน วางแผนลอบฆ่ามุขมนตรีซัคเซิน

Loading

ตำรวจเยอรมนีบุกตรวจค้นหลายจุด หลังมีการเปิดเผยว่ากลุ่มต่อต้านวัคซีนหัวรุนแรงกำลังวางแผนลอบสังหารมุขมนตรีรัฐซัคเซิน   สำนักข่าว บีบีซี รายงานว่า ตำรวจในรัฐซัคเซิน ทางตะวันออกของประเทศเยอรมนี ออกปฏิบัติการบุกตรวจค้นตามสถานที่ต่างๆ หลังสื่อในเยอรมนีเผยว่า กลุ่มนักเคลื่อนไหวหัวรุนแรงต่อต้านการฉีดวัคซีนโควิด กำลังวางแผนลอบสังหารนายมิชาเอล เครตช์เมอร์ มุขมนตรีรัฐซัคเซิน ซึ่งหันไปสนับสนุนมาตรการควบคุมการระบาด แผนการลอบสังหารนายเครตช์เมอร์ถูกเปิดเผยเป็นครั้งแรกผ่านรายการสารคดีของสถานีโทรทัศน์ ‘ZDF’ ซึ่งมีนักข่าวแฝงตัวอยู่ในกลุ่มคนที่เรียกตัวเองว่า ‘เครือข่ายออนไลน์เดรสเดิน’ (Dresden Online Networking) ซึ่งมีสมาชิกราว 100 คน ซึ่งสื่อสารกันผ่านแอปพลิเคชัน เทเลแกรม   มิชาเอล เครตช์เมอร์ มุขมนตรีรัฐซัคเซิน   โดยนักข่าวของ ZDF พบว่า สมาชิกกลุ่มนี้หารือกันเรื่องแนวคิดต่างๆ รวมถึงพบปะกันที่สวนสาธารณะเป็นประจำ และในการสื่อสารครั้งหนึ่ง ชายคนหนึ่งบอกให้สมาชิกนำอาวุธมาและเตรียมพร้อมด้วย ตำรวจรัฐซัคเซิน ยืนยันว่า คนกลุ่มนี้กำลังวางแผนสังหารนายเครตช์เมอร์ รวมทั้งผู้แทนคนอื่นๆ ของรัฐ ด้านนายเครตช์เมอร์ กล่าวว่า ควรใช้กฎหมายทุกประการเพื่อจัดการกับภัยคุกคามเช่นนี้ และคนในที่สาธารณะไม่ควรกลัวที่จะพูดสิ่งที่อยู่ในใจออกมา และทำงานของตัวเอง ทั้งนี้ นายเครตช์เมอร์เป็นสมาชิกพรรคคริสเตียนประชาธิปไตย ฝ่ายกลางขวา เคยต่อต้านการเพิ่มความเข้มงวดของมาตรการควบคุมโควิด-19 มาก่อน แต่เนื่องจากรัฐซัคเซินเป็นหนึ่งในรัฐที่โควิดระบาดหนักที่สุดในเยอรมนี…

เยอรมนีตรวจสอบภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” ที่สถานทูตสหรัฐ

Loading

  เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของเยอรมนีสอบสวนกรณี เจ้าหน้าที่หลายคนประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐ มีอาการของภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 10 ต.ค. ว่า สำนักงานตำรวจกรุงเบอร์ลินเปิดเผยเมื่อปลายสัปดาห์ที่แล้ว ว่ากำลังสืบสวนสอบสวนกรณีบุคลากรการทูตประจำสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในกรุงเบอร์ลินจำนวนหนึ่ง มีอาการของภาวะ “ฮาวานา ซินโดรม” ตั้งแต่เดือน ส.ค.ที่ผ่านมา โดยปฏิเสธให้ข้อมูลเพิ่มเติม ด้านสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำกรุงเบอร์ลินยังคงสงวนท่าที   Police investigating "Havana syndrome" cases at US Embassy in Berlin https://t.co/tZqH5I5upS pic.twitter.com/bXSjtKtUph — The Hill (@thehill) October 9, 2021   อย่างไรก็ดี ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นประมาณ 1 เดือน หลังนายวิลเลียม เบิร์นส ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองกลาง ( ซีไอเอ ) สั่งย้ายหัวหน้าสถานีซีไอเอประจำกรุงเวียนนา เมืองหลวงของออสเตรีย เนื่องจากไม่สามารถดำเนินการตอบสนองต่อภาวะฮาวานา…

เยอรมนีเข้าสืบสวนมือถือจีนในด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์

Loading

  โฆษกสำนักงานความมั่นคงปลอดภัยทางสารสนเทศของรัฐบาลกลาง (Federal Office for Information Security – BSI) ในสังกัดกระทรวงกิจการภายในของเยอรมนียืนยันว่าได้มีการเริ่มสืบสวนมือถือจีนหลายแบรนด์เกี่ยวกับปัญหาด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ การสืบสวนดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่กระทรวงกลาโหมของลิทัวเนียได้เผยผลการศึกษาที่พบเครื่องมือกรองและปิดกั้นคำที่เกี่ยวกับการเมืองจีนในมือถือ Xiaomi และยังได้แนะนำให้ประชาชนโยนมือถือจีนทิ้งไปทั้งหมด ซึ่งล่าสุดทาง Xiaomi ได้ออกมาปฏิเสธแล้ว ที่มา POLITICO   —————————————————————————————————————————————— ที่มา : Beartai      / วันที่เผยแพร่   26 ก.ย.2564 Link : https://www.beartai.com/news/itnews/793386

สหรัฐสอดแนมยุโรปผ่านระบบเคเบิลใต้น้ำเดนมาร์ก

Loading

  สำนักงานข่าวกรองเดนมาร์ก “ช่วยเหลือ” สหรัฐ ด้วยการให้สอดแนมความเคลื่อนไหวของนักการเมืองคนสำคัญในยุโรปหลายคน รวมถึงนายกรัฐมนตรีเยอรมนี ผ่านสถานีเคเบิลใต้น้ำในประเทศ สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก เมื่อวันที่ 31 พ.ค. โดยอ้างจากรายงานของสถานีโทรทัศน์ดีอาร์จากเดนมาร์ก ว่า สำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ ( เอ็นเอสเอ ) ซึ่งเป็นหน่วยข่าวกรองที่มีภารกิจทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้การกำกับดูแลโดยประทรวงกลาโหมของสหรัฐ อาศัย “ความร่วมมือ” จากสำนักงานข่าวกรองของเดนมาร์ก ระหว่างปี 2555 – 2557 สอดแนมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของหลายประเทศในทวีปยุโรป ไม่ว่าจะเป็นสวีเดน นอร์เวย์ ฝรั่งเศส และเยอรมนี   BREAKING: Denmark's secret service has helped the United States spy on German Chancellor Angela Merkel and other European politicians.https://t.co/loxpAw6UKg — DW News…

หน่วยความมั่นคงไซเบอร์เยอรมนีเตือนโรงพยาบาลอาจเป็นเหยื่อแฮกเกอร์รายต่อไป

Loading

    นายอาร์น เชินโบห์ม ผู้อำนวยการสำนักงานสหพันธรัฐเพื่อความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (BSI) ของเยอรมนีประกาศเตือนว่า โรงพยาบาลในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะตกเป็นเป้าหมายการโจมตีโดยกลุ่มแฮกเกอร์ หลังจากในเดือน พ.ค. มีการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่เกิดขึ้นมากมาย เช่น การโจมตีระบบสาธารณสุขของไอร์แลนด์และท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงของสหรัฐ ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คลินิกในเยอรมนีถูกโจมตีทางไซเบอร์อยู่บ่อยครั้ง นายเชินโบห์มเปิดเผยกับสำนักข่าวไซต์ ออนไลน์ของเยอรมนีว่า โรงพยาบาลอาจมีความเสี่ยงถูกโจมตีในระดับที่สูงกว่า นอกจากนี้ นายเชินโบห์มยังระบุว่า ธุรกิจต่างๆ ในเยอรมนีมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะถูกโจมตีโดยแฮกเกอร์ เนื่องจากมีการให้พนักงานทำงานจากบ้านในช่วงที่เชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่ระบาด และได้กล่าวเสริมว่า ก่อนหน้านี้บริษัทต่างๆ มีความจำเป็นที่จะต้องอนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้โดยเร็ว จึงอาจทำให้ระบบไอทีของหลายบริษัทมีจุดอ่อนให้โจมตีได้   —————————————————————————————————————————————————————— ที่มา : สำนักข่าวอินโฟเควสท์     / วันที่เผยแพร่   23  พ.ค.2564 Link : https://www.infoquest.co.th/2021/89865