ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน ปมข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กยุโรป-หวั่นสหรัฐสอดแนม

Loading

    ปรับเมต้าอ่วม 4.4 หมื่นล้าน – วันที่ 22 พ.ค. รอยเตอร์รายงานว่า คณะกรรมาธิการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ไอร์แลนด์ มีคำสั่งลงโทษปรับ “เมต้า” ผู้ให้บริการเฟซบุ๊กเป็นเงิน 1.2 พันล้านยูโร หรือกว่า 4.4 หมื่นล้านบาท ถือเป็นโทษปรับมูลค่าสูงสุดเท่าที่เอกชนไอทีเคยเผชิญมา   โทษปรับดังกล่าวของคกก.ไอร์แลนด์ หรือดีพีซี เกิดขึ้นหลังเมต้าล้มเหลวที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาลยุติธรรมแห่งสหภาพยุโรปเมื่อปี 2563 ที่ให้ยุติความร่วมมือการส่งข้อมูลระหว่างยุโรปกับสหรัฐอเมริกา โดยดีพีซียังขีดเส้นตายให้เมต้าต้องยุติการโอนถ่ายข้อมูลภายใน 5 เดือน   ค่าปรับของดีพีซีนั้นนับว่าสูงที่สุดเท่าที่ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีเผชิญมา สูงยิ่งกว่าค่าปรับที่แอมะซอนเคยถูกสั่งลงโทษมูลค่า 746 ล้านยูโร หรือกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2564   คดีความการต่อสู้เรื่องความปลอดภัยข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊กในทวีปยุโรปเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อ 10 ปีก่อน มีจุดเริ่มต้นจากนายแม็กซ์ เชร็มส์ นักรณรงค์ชาวออสเตรีย ฟ้องร้องต่อทางการโดยระบุถึงความเสี่ยงที่ชาวยุโรปอาจถูกสำนักงานความมั่นคงสหรัฐฯ หรือเอ็นเอสเอล้วงข้อมูล ตามที่นายเอ็ดเวิร์ด สโนวเด็น อดีตลูกจ้างเอ็นเอสเอ ออกมาเปิดเผยต่อประชาคมโลก   ด้านเมต้า ระบุว่า…

‘ยุโรป’ จ่อออกกฎหมาย AI ฉบับแรกในชาติตะวันตก คุม ChatGPT

Loading

    สภายุโรปได้อนุมัติร่างกฎหมายเอไอยุโรป (European AI Act) ทำให้ขยับเข้าใกล้การออกกฎหมายสำหรับระบบ AI ฉบับแรกของตะวันตกไปอีกขั้น ขณะที่จีนร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว หวังควบคุมแชตบอท   คณะกรรมการชุดสำคัญของฝ่ายนิติบัญญัติในสภายุโรปได้อนุมัติร่างกฎหมายเอไอยุโรป (European AI Act) ซึ่งความเคลื่อนไหวดังกล่าวทำให้ขยับเข้าใกล้การออกกฎหมายสำหรับระบบ AI ฉบับแรกของตะวันตกไปอีกขั้น   การอนุมัติดังกล่าวถือเป็นพัฒนาการครั้งสำคัญในการเร่งหาทางรับมือกับ AI ของภาครัฐ หลังจากที่ AI พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ขณะที่จีนได้ร่างกฎระเบียบ เพื่อจัดการกับวิธีที่บริษัทต่าง ๆ จะพัฒนาผลิตภัณฑ์ Generative AI เช่น แชตจีพีที (ChatGPT) ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว   กฎหมาย AI ยุโรปนี้พิจารณาถึงความเสี่ยงเป็นเกณฑ์สำคัญในการควบคุม AI ซึ่งการใช้เกณฑ์ทางกฎหมายนั้นขึ้นอยู่กับระดับของความเสี่ยงของ AI แต่ละระบบ   นอกจากนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยังได้ระบุข้อกำหนดสำหรับผู้ให้บริการที่เรียกว่า “แบบจำลองพื้นฐาน” (foundation model) เช่น ChatGPT ซึ่งกลายมาเป็นข้อวิตกกังวลสำหรับกลุ่มหน่วยงานกำกับดูแลกฎระเบียบ เมื่อพิจารณาถึงความก้าวหน้าของระบบดังกล่าว และเกิดความกังวลว่า…

ผู้เชี่ยวชาญชี้ Winter Vivern ใช้ช่องโหว่ Zimbra ล้วงอีเมลหน่วยงานรัฐยุโรป

Loading

  Proofpoint ผู้ให้บริการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เผยว่า Winter Vivern (หรือ TA473) กลุ่มแฮ็กเกอร์จากรัสเซียมุ่งโจมตีระบบอีเมล Zimbra เพื่อขโมยอีเมลเจ้าหน้าที่จากประเทศยุโรป   โดยชี้ว่า Winter Vivern ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ที่มีรหัสเรียกขานว่า CVE-2022-27926 ซึ่งอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของ Zimbra Collaboration 9.0 ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต   ช่องโหว่นี้ทำให้แฮ็กเกอร์สามารถเปิดใช้งานสคริปต์หรือ HTML บนเว็บจากภายนอกได้ แต่ก็ได้รับการแก้ไขไปแล้วเมื่อเดือนเมษายน 2022   Winter Vivern ใช้วิธีการฟิชชิ่งแบบเจาะจงเป้าหมาย (spear-phishing) ที่ลวงให้เหยื่อคลิกลิงก์ URL ที่ซ่อนโค้ด JavaScript เอาไว้ ซึ่งจะส่งข้อมูลการล็อกอินอีเมลบน Zimbra ของเหยื่อไปให้แฮกเกอร์   ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา Winter Vivern เน้นโจมตีองค์กรของสหรัฐอเมริกาและยุโรปที่สนับสนุนยูเครน โดยเชื่อว่าเคยโจมตีหน่วยงานยูเครนและโปแลนด์มาแล้ว     ที่มา Channel EYE    …

นิวเคลียร์สหรัฐฯ อยู่ที่ไหนบ้าง ในชาตินาโต

Loading

    ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูติน ผู้นำรัสเซีย ประกาศจะนำอาวุธนิวเคลียร์เชิงยุทธวิธีไปติดตั้งในดินแดนเบลารุส ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านและเป็นพันธมิตรทางการทหารที่สำคัญที่สุดชาติหนึ่งของรัสเซีย   ความเคลื่อนไหวของรัสเซียถูกมองว่า เป็นความพยายามตอบโต้สหรัฐฯ และพันธมิตรนาโต ที่ยังคงเดินหน้าส่งอาวุธช่วยยูเครน   โดยมีหลายฝ่ายแสดงความไม่เห็นด้วย เช่น โฆษกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ หรือ นาโต (NATO) ชี้ว่า นี่เป็นการกระทำที่อันตรายและไร้ความรับผิดชอบ พร้อมกับระบุว่านาโตกำลังเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด   ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหภาพยุโรปก็ออกมาเรียกร้องให้เบลารุสยกเลิกข้อตกลงกับรัสเซีย โดยเตือนว่า ความเคลื่อนไหวนี้อาจทำให้เบลารุสต้องเผชิญกับการคว่ำบาตรเพิ่มเติม   อย่างไรก็ตาม จนถึงตอนนี้ยังไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ออกมาเพิ่มเติมจากฝั่งรัสเซีย หลังจากที่ปูตินออกมาแถลงเมื่อวันเสาร์ (25 มี.ค.) โดยอ้างว่า แผนการติดตั้งอาวุธนิวเคลียร์ของรัสเซีย ไม่ใช่การละเมิดสนธิสัญญาไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ และเป็นเรื่องปกติ แบบเดียวกับที่สหรัฐฯ ทำในชาติพันธมิตรอื่น ๆ   จากคำกล่าวอ้างของปูติน สำนักข่าว TODAY จะพาไปดูว่าตอนนี้สหรัฐฯ มีคลังอาวุธนิวเคลียร์อยู่ที่ประเทศใดบ้างในยุโรป     ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมและไม่แพร่ขยายอาวุธ (Center for Arms Control and…

ตุรกีเตือนพลเมืองเสี่ยงถูกโจมตีในสหรัฐฯ และยุโรป ตอบโต้คำเตือนของชาติตะวันตก

Loading

    กระทรวงการต่างประเทศตุรกีออกคำเตือน 2 ฉบับ ให้พลเมืองของตนเพิ่มความระมัดระวังการโจมตีที่เกิดขึ้นจากความเกลียดกลัวอิสลาม เกลียดต่างชาติ และเหยียดเชื้อชาติในสหรัฐอเมริกาและยุโรป หลังจากพันธมิตรตะวันตกออกคำเตือนพลเมืองของตนในตุรกีให้เพิ่มความระมัดระวังการโจมตีของผู้ก่อการร้าย และหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมต่าง ๆ   ในถ้อยแถลงของกระทรวงการต่างประเทศตุรกี ระบุให้ชาวตุรกีที่อยู่ในสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปอยู่ในความสงบเมื่อเผชิญกับการคุกคามและการโจมตีจากกลุ่มเหยียดเชื้อชาติและอยู่ห่างจากพื้นที่ซึ่งมีการประท้วงที่อาจทวีความรุนแรงขึ้น การเพิ่มขึ้นของการกระทำที่เป็นการต่อต้านอิสลามและการเหยียดเชื้อชาติสะท้อนให้เห็นถึงมิติที่เป็นอันตรายของการไม่ยอมรับทางศาสนาและความเกลียดชังในยุโรป   ก่อนหน้านี้สถานทูตของสหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส และอิตาลี ในตุรกีได้ออกประกาศเตือนด้านความปลอดภัยสำหรับพลเมืองของตน โดยระบุว่ามีความเป็นไปได้กลุ่มก่อการร้ายจะก่อเหตุโจมตีโดยมีเป้าหมายคือศาสนสถาน ส่วนสถานทูตสวีเดนแนะนำให้พลเมืองของตนหลีกเลี่ยงสถานที่ซึ่งกำลังมีการประท้วง โดยในกรณีของสวีเดนยังเกี่ยวข้องกับกรณีที่มีนักการเมืองและกลุ่มแนวคิดขวาจัด มีการชุมนุมประท้วงต่อต้านอิสลามและเผาคัมภีร์อัลกุรอานที่ด้านหน้าสถานกงสุลตุรกี เพิ่มความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ในลักษณะคล้ายกันที่เนเธอร์แลนด์และเดนมาร์กด้วย           ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :                        จส.100             …

แฮ็กเกอร์สายรัสเซียโจมตีเว็บไซต์รัฐสภายุโรป เหตุเพราะโหวตให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย

Loading

  KillNet กลุ่มแฮ็กเกอร์ที่สนับสนุนรัฐบาลรัสเซียอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีเว็บไซต์ของรัฐสภายุโรป (European Parliament) ด้วย DDoS จนล่ม หลังจากที่รัฐสภายุโรปประกาศให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้าย   เว็บไซต์ของรัฐสภายุโรปล่มจนถึงช่วงเย็นของวันพุธที่ผ่านมา การโจมตีนี้เป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการโจมตีทางไซเบอร์ต่อประเทศในยุโรปตะวันออกและแถบทะเลบอลข่านที่สนับสนุนยูเครน   เจาเม ดุก (Jaume Duch) โฆษกประจำรัฐสภายุโรปเผยผ่าน Twitter ว่าเว็บไซต์ล่มเพราะมีการจราจรทางอินเทอร์เน็ตจากภายนอกเข้ามามากเกินไป โดยเจ้าหน้าที่กำลังเร่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่   การโจมตีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่รัฐสภายุโรปออกมติที่ระบุให้รัสเซียเป็นรัฐที่สนับสนุนการก่อการร้าย จากกรณีการรุกรานยูเครน ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 494 เสียง ไม่เห็นชอบ 58 เสียง และงดออกเสียง 44 เสียง ในขณะเดียวกัน ยังได้เรียกร้องให้สหภาพยุโรปออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมเพื่อโดดเดี่ยวรัสเซียจากประชาคมโลก   สำหรับ Killnet เป็นกลุ่มที่มุ่งเป้าโจมตีชาติตะวันตกด้วยการรวบรวมสมาชิกแบ่งเป็นกลุ่มต่าง ๆ อาทิ Kratos, Rayd และ Zarya ก่อนหน้านี้เคยอ้างความรับผิดชอบต่อการโจมตีรัฐสภาโปแลนด์ที่มีมติเป็นเอกฉันท์ให้รัสเซียเป็นรัฐก่อการร้ายมาแล้ว รวมถึงยังเคยก่อเหตุโจมตีประเทศในแถบทะเลบอลข่านด้วย   สถาบัน CyberPeace ระบุว่าที่ผ่านมา KillNet ก่อเหตุโจมตีประเทศที่สนับสนุนยูเครนไปแล้วกว่า 76 ครั้ง…