ผลสำรวจของ Pew พบว่าชาวอเมริกันเกินครึ่งมองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของชาติ

Loading

    ผลการสำรวจของสำนักวิจัยของสหรัฐฯ Pew Research Center ในช่วงกลางเดือน พ.ค.66 หลังจากที่นาย Greg Gianforte ผู้ว่าการรัฐมอนแทนา ได้ประกาศลงนามในกฎหมายสั่งแบนแอปพลิเคชัน TikTok ของจีน ซึ่งเป็นรัฐแห่งแรกในสหรัฐฯ ที่แบนอย่างเป็นทางการ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามชาวอเมริกันร้อยละ 59 จากชาวอเมริกันจำนวน 5,100 คน มองว่า TikTok เป็นภัยความมั่นคงของประเทศสหรัฐฯ จำนวนร้อยละ 17 คิดว่าแพลตฟอร์มนี้ไม่ได้เป็นภัยคุกคาม และอีกร้อยละ 23 ตอบว่าไม่แน่ใจ   นอกจากนี้ ผลการสำรวจพบว่า อายุมีผลต่อความคิดที่แตกต่างกัน โดยผู้ที่มีอายุ 18-29 ปี คิดว่า TikTok เป็นภัยคุกคามสำคัญเพียงร้อยละ 13 ในขณะที่ผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมองว่าเป็นภัยคุกคามสำคัญมากถึงร้อยละ 46   อย่างไรก็ตาม เมื่อ มี.ค.66 TikTok เปิดเผยว่า ชาวอเมริกันที่ใช้งานแอปพลิเคชัน TikTok มีจำนวน…

ระแวงไปหมด! สหรัฐฯ เล็งขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์การค้า ‘บ.คลาวด์ของจีน’ อ้างเป็นภัยความมั่นคง

Loading

    จีนา ไรมอนโด รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ เอ่ยเตือนในวันพุธ (26 เม.ย.) ว่าบริษัทด้านคลาวด์คอมพิวติ้งของจีนอย่าง หัวเว่ย คลาวด์ (Huawei Cloud) และอาลีบาบา คลาวด์ (Alibaba Cloud) อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงของสหรัฐฯ และเตรียมที่จะพิจารณาเพิ่มรายชื่อบริษัทเหล่านี้ลงในบัญชีควบคุมการส่งออก   เมื่อวันอังคาร (25) วุฒิสมาชิกรีพับลิกัน 9 คนได้เรียกร้องให้รัฐบาลประธานาธิบดี โจ ไบเดน ใช้มาตรการคว่ำบาตรกับหัวเว่ย คลาวด์ อาลีบาบา คลาวด์ รวมถึงผู้ให้บริการคลาวด์เซอร์วิสรายอื่นๆ ในจีน อีกทั้งยังเสนอให้ ไรมอนโด เพิ่มชื่อบริษัทเหล่านี้ลงในบัญชีดำ ‘Entity List’ ซึ่งหมายถึงกลุ่มองค์กรหรือบุคคลที่สหรัฐฯ เชื่อว่ามีความเชื่อมโยงหรืออาจก่อความเสี่ยงต่อความมั่นคงหรือผลประโยชน์ด้านนโยบายต่างประเทศของอเมริกา   ล่าสุด ไรมอนโด ได้ออกมากล่าวหาบริษัทคลาวด์ของจีนมีแนวโน้มที่จะเป็นภัยคุกคามต่ออเมริกาจริง   “ดิฉันได้เพิ่มรายชื่อบริษัทจีนกว่า 200 รายลงในบัญชี Entity List และเรายังคงทำงานอย่างแข็งขันและต่อเนื่องเพื่อตรวจสอบภัยความมั่นคงเพิ่มเติม และหากเราเชื่อว่ามีบริษัทไหนที่จำเป็นต้องถูกขึ้นบัญชีดำ เราก็จะไม่ลังเลเลย” เธอแถลงต่อคณะกรรมาธิการการจัดสรรงบประมาณของวุฒิสภาสหรัฐฯ (Senate…

เด็กๆ ชายแดนใต้ “ชูหนึ่งนิ้ว” ภัยความมั่นคง?

Loading

    มุมมองที่แตกต่างเกี่ยวกับ “อัตลักษณ์มลายู” ระหว่างพี่น้องมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กับฝ่ายความมั่นคงของรัฐ ถือเป็นปัญหามาโดยตลอด   และกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ” จนบานปลายเป็นชนวนของความขัดแย้งแตกแยกในดินแดนปลายด้ามขวาน ทั้งยังเชื่อกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งของ “ไฟใต้” ที่คุกโชนมานานกว่า 100 ปี โดยเฉพาะใน 2 ทศวรรษมานี้ที่เต็มไปด้วยเหตุรุนแรงรายวัน   “อัตลักษณ์มลายู” ที่ชาวบ้าน ประชาชนคนในพื้นที่มองเป็นเรื่องปกติ ก็เช่น การแต่งกายแบบมลายู, ภาษา ซึ่งคนพื้นที่ใช้ “ภาษามลายูถิ่น” ในการสื่อสาร ตลอดจนประเพณีต่างๆ อย่างการสร้างประตูเมือง และการทำสัญลักษณ์มือ หรือสัญลักษณ์อื่นๆ   เรื่องแบบนี้คนในพื้นที่มองว่า “ปกติ” แต่คนต่างถิ่น โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่รัฐอาจมองเป็น “ภัยความมั่นคง” หรือมีความพยายามปลุกกระแส “แบ่งแยกดินแดน” ได้เหมือนกัน นี่คือมุมมองที่แตกต่าง จนกลายเป็น “ความไม่เข้าใจ”   อย่างล่าสุด มีรายงานแจ้งเตือนของ “หน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่” โดยอ้างอิงถึงกิจกรรมขบวนพาเหรดการแข่งขันกีฬาสีของ “ตาดีกา” แห่งหนึ่งใน อ.จะแนะ จ.นราธิวาส  …

หอการค้าสหรัฐฯ เรียกร้องให้มีมาตรการควบคุม AI

Loading

  หอการค้าสหรัฐอเมริกา (USCC) เรียกร้องให้รัฐบาลออกมาตรการควบคุมเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์เพื่อป้องกันไม่ให้กระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือกลายเป็นภัยความมั่นคง   USCC ชี้ว่านักกำหนดนโยบายและผู้นำด้านธุรกิจจะต้องเร่งกำหนดแนวทางกำกับดูแลด้านความเสี่ยง เพื่อสร้างความมั่นใจว่าปัญญาประดิษฐ์จะถูกใช้อย่างมีความรับผิดชอบ   ทาง USCC ยังประเมินว่าปัญญาประดิษฐ์จะเพิ่มมูลค่าการเติบทางเศรษฐกิจโลกสูงถึง 13 ล้านล้านเหรียญ (ราว 455 ล้านล้านบาท) ภายในปี 2030 และเห็นด้วยว่าที่ผ่านมาเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยเสริมศักยภาพทางการแพทย์และการป้องกันไฟป่าของรัฐ   โดยมีการประเมินว่า หน่วยงานรัฐบาลและองค์กรธุรกิจเกือบทุกแห่งจะนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ภายใน 20 ปีต่อจากนี้   ในทางกลับกัน ก็จำเป็นต้องมีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นจากปัญญาประดิษฐ์ในอนาคตด้วย ซึ่งก็ต้องดำเนินการอย่างระมัดระวังและเหมาะสม มาตรการที่จะออกมาต้องมีความยืดหยุ่นเพียงพอ     ที่มา Reuters         ————————————————————————————————————————- ที่มา :                   แบไต๋           …

แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” พื้นที่อาร์กติก

Loading

  แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ หลักฐานบ่งชี้จีน “พยายามสอดแนม” ภูมิภาคอาร์กติก   แคนาดาเผยพบทุ่นสังเกตการณ์ – วันที่ 23 ก.พ. บีบีซี รายงานว่า กองทัพแคนาดา แถลงพบหลักฐานที่บ่งชี้ว่าทางการจีนพยายามสอดแนม ภูมิภาคอาร์กติก หรือบริเวณขั้วโลกเหนือ ซึ่งประกอบไปด้วยพื้นที่บางส่วนของประเทศต่าง ๆ ครอบคลุมถึงแคนาดา กรีนแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ สวีเดน ฟินแลนด์ และสหรัฐอเมริกา   หลังทีมเจ้าหน้าที่ในภารกิจ “โอเปอเรชั่นลิมปิด” ภารกิจสืบภัยคุกคามต่อความมั่นคงของประเทศด้วยการตรวจตราทางอากาศ ทางบก และทางทะเลของกองทัพแคนาดา ค้นพบทุ่นสังเกตการณ์ช่วงปลายปีก่อน     นายดาเนียล เลอ บูติลิเยร์ โฆษกสำนักงานความมั่นคงแห่งชาติ กล่าวว่ากองทัพตระหนักดีถึงความพยายามของจีนในการสอดแนมน่านฟ้าและเส้นทางการเดินเรือของแคนาดา จีนทำสิ่งนี้โดยใช้เทคโนโลยีเพื่อจุดประสงค์ 2 ด้าน หมายความว่าอุปกรณ์ที่จีนใช้สอดแนมสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเพื่อการวิจัยและการทหาร   พร้อมเสริมว่ากองทัพได้ยับยั้งการเข้าสอดแนมในแคนาดาตั้งแต่ปี 2565 แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียดว่าจีนพยายามล้วงข้อมูลลับด้วยวิธีใด ทั้งนี้ ในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาจีนส่งเจ้าหน้าที่ระดับสูงเข้าไปในพื้นที่ขั้วโลกเหนือมากถึง 33 ครั้ง หนำซ้ำยังส่งเรือตัดน้ำแข็งและเรือขนาดใหญ่…

ออสเตรเลียสั่งถอดกล้องวงจรปิดจีนทั้งหมด-หวั่นด้านความมั่นคงประเทศ

Loading

    ออสเตรเลียเตรียมรื้อกล้องวงจรปิดที่ผลิตในจีนออกจากสถานที่ป้องกัน เพราะเกรงว่าอาจส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศ   บีบีซี รายงานว่า รัฐบาลออสเตรเลียเตรียมถอดกล้องวงจรปิดจากจีน หลังจากการตรวจสอบสถานที่ของรัฐบาลในประเทศ พบว่า กล้องวงจรปิดและอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยกว่า 900 ตัวที่ติดตั้งอยู่บนสถานที่ของรัฐบาลมากกว่า 200 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะแผนกต่างประเทศและแผนกอัยการสูงสุดนั้นผลิตโดยบริษัทฮิควิชั่น (Hikvision) และบริษัทต้าหัว (Dahua) บริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยจากจีน ตามสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาที่ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรื่องดังกล่าวเมื่อปีที่ผ่านมา อ้างว่ากลัวรัฐบาลจีนอาจเข้าถึงข้อมูลสำคัญผ่านอุปกรณ์เหล่านี้ได้     ด้านนายริชาร์ด มาร์เลส รัฐมนตรีกลาโหมของออสเตรเลีย ระบุว่า รัฐบาลจะถอดกล้องวงจรปิดผลิตในจีนที่ติดตั้งอยู่ตามอาคารต่าง ๆ ในสังกัดของกระทรวงออกทั้งหมด เพื่อความปลอดภัยอย่างสมบูรณ์ ขณะเดียวกันทางรัฐบาลจะพิจารณาว่าจะมีการถอดกล้องวงจรปิดจากจีนที่ติดตั้งอยู่ในอาคารอื่น ๆ อีกหรือไม่ต่อไป   ด้านบริษัทฮิควิชั่น ออกมาแย้งว่า ข้อกล่าวหาเหล่านั้นไม่มีข้อมูลที่เป็นความจริง บริษัทไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลวิดีโอของผู้ใช้ปลายทางได้ ดังนั้นจึงเป็นไปไม่ได้ที่จะส่งต่อข้อมูลไปยังจีนอย่างแน่นอน ส่วนบริษัทต้าหัว ยังไม่ได้เคลื่อนไหวเกี่ยวกับเรื่องนี้   ขณะที่นายกรัฐมนตรีแอนโธนี อัลบานีส ของออสเตรเลีย กล่าวว่า เขาไม่เชื่อว่าการถอดกล้องออกจะส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการทูตกับจีน เราปฏิบัติตามผลประโยชน์ของประเทศอย่างโปร่งใส   ทั้งนี้ บริษัททั้ง 2 แห่งของจีนถูกสหรัฐขึ้นบัญชีดำ…