ชาวฝรั่งเศสแห่คืนปืนเถื่อน หลังประกาศนิรโทษกรรม

Loading

  ตำรวจฝรั่งเศสรับคืนปืนเถื่อนกว่า 6 หมื่นกระบอก กระสุนกว่าล้านนัด หลังประชาชนแห่นำมาคืนจากการออกกฎหมายนิรโทษกรรมทั่วประเทศ หลังลดปัญหาอาชญากรรม เตรียมนำไปทำลายและคัดบางส่วนเข้าพิพิธภัณฑ์   เจ้าของปืนชาวฝรั่งเศสแห่กันไปส่งมอบอาวุธของพวกเขาไปให้ตำรวจทั่วประเทศในสัปดาห์นี้ เป็นส่วนหนึ่งของการรณรงค์ เพื่อรวบรวมอาวุธปืนที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งทายาทของเจ้าของปืนที่เสียชีวิตแล้ว ยังไม่ได้ดำเนินการ หรือลืมไว้ในกระท่อม และที่หลังตู้เก็บของ     การครอบครองปืนในฝรั่งเศสไม่เป็นที่นิยมเท่าในสหรัฐอเมริกา และอาชญากรรมเกิดขึ้นจากปืนนั้นค่อนข้างหายาก แต่ฝรั่งเศสก็ต้องการจำกัดจำนวนอาวุธปืนที่ครอบครองโดยผิดกฎหมาย ซึ่งเจ้าหน้าที่ประเมินว่ามีมากถึงหกล้านกระบอก   ชาวบ้านบอกส่วนบอกว่าปืนที่นำมาส่งให้ตำรวจ เป็นของพ่อที่เสียชีวิตไปแล้ว และตนก็ไม่รู้จะจัดการอย่างไร เพราะไม่ชอบปืน และเห็นว่ามีทางอื่นในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าการใช้ปืนเยอะแยะ เมื่อมีโครงการนิรโทษกรรมจึงได้เข้าร่วม     กระทรวงมหาดไทยของฝรั่งเศส ได้เริ่มรณรงค์เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายนที่ผ่านมา เพื่อรับมอบปืนไรเฟิล ปืนพก กระสุน แม้แต่มีดและระเบิด ในจุดกำหนด 300 แห่งทั่วประเทศ   ผู้ที่นำอาวุธมาส่งมอบตามโครงการนี้ ไม่ต้องมีความผิดหรือรับโทษใดๆ โดยพวกเขาจะลงทะเบียนหรือทิ้งไว้กับตำรวจเฉย ๆ ก็ได้     จนถึงวันพุธ มีการส่งอาวุธปืนประเภทต่าง ๆ แล้วรวม 65,000…

แกะรหัสจดหมายลับ ‘จักรพรรดิโรมัน’ อายุเฉียด 500 ปี ระบุ ทรงกังวลเรื่องลอบสังหาร!

Loading

  หอสมุดแห่งนองซีประกาศ ทีมนักวิทยาศาสตร์ฝรั่งเศส ถอดรหัสลับในจดหมายของประมุขแห่งรัฐในยุคกลางผู้ดำรงตำแหน่ง ‘จักพรรดิแห่งจักวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์’ ได้สำเร็จ หลังจากถูกทิ้งไว้เกือบ 5 ศตวรรษ   ช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางหอสมุดแห่งนองซี ประเทศฝรั่งเศส ได้ประกาศถึงความสำเร็จของทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวฝรั่งเศส ที่สามารถถอดรหัสลับบางส่วนของจดหมายจากปี ค.ศ. 1547 ซึ่งลงพระนามโดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 ซึ่งทรงดำรงตำแหน่งทั้งในฐานะของกษัตริย์แห่งสเปน (ในนามพระเจ้าการ์ลอสที่ 1), อาร์ชดยุคแห่งออสเตรียและจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระหว่าง ค.ศ. 1500-1558   การถอดรหัสลับในจดหมายดังกล่าว ได้เปิดเผยเนื้อหาสำคัญซึ่งระบุถึงความกังวลของกษัตริย์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดพระองค์หนึ่งในยุโรปยุคเรอเนสซองส์ ซึ่งเต็มไปด้วยความขัดแย้งระหว่างศาสนาและราชบัลลังก์ โดยพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 ทรงกล่าวถึงความกังวลพระทัยว่า อาจมีการว่าจ้างคนให้มาลอบสังหารพระองค์ รวมถึงพระประสงค์ที่จะให้ความสำคัญอันดับแรกแก่ความสัมพันธ์ระหว่างพระองค์และพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 แห่งฝรั่งเศส   จดหมายฉบับดังกล่าวมีความยาว 3 หน้ากระดาษ บางตอนเขียนเป็นข้อความตามปกติทั่วไป และบางช่วงเขียนด้วยรหัสลับ และจากการถอดหรัสก็พบความลับจากยุคคริสศตวรรษที่ 16 ซึ่งรวมทั้งข่าวลือว่า ปิแอร์ สโตรซซี ผู้นำทางทหารชาวอิตาลี ซึ่งอยู่ใต้อำนาจของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 กำลังวางแผนลอบปลงพระชนม์พระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5   จดหมายฉบับนี้ถูกทิ้งจนลืมไว้ในห้องสมุดสตานิสลาสในเมืองนองซีเป็นเวลาเกือบ…

ฝรั่งเศสสั่งซื้อปืนเลเซอร์ทำลายโดรนเพื่อใช้ดูแลความปลอดภัยในช่วงโอลิมปิก 2024

Loading

                 HELMA-P ปืนเลเซอร์ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านโดรน เมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมากระทรวงกลาโหมของฝรั่งเศสได้ประกาศข่าวการสั่งซื้อเครื่องต้นแบบ HELMA-P ปืนเลเซอร์ต่อต้านโดรนเพื่อใช้สำหรับการรักษาความปลอดภัยในระหว่างการจัดงานโอลิมปิก 2024 HELMA-P (High Energy Laser for Multiples Applications – Power) เป็นอาวุธที่ผลิตโดยบริษัท CILAS ผู้ผลิตอาวุธสัญชาติฝรั่งเศส มันสามารถสกัดกั้นการทำงานของโดรนขนาดเล็กตั้งแต่ 100 กรัม ไปจนถึงขนาด 25 กิโลกรัม ด้วยการยิงลำแสงเลเซอร์ใส่โดรนซึ่งจะก่อให้เกิดความร้อน ซึ่งมีผลตั้งแต่การรบกวนระบบอุปกรณ์บันทึกข้อมูลไปจนถึงขั้นทำลายโครงสร้างของตัวโดรนจนทำให้ร่วงได้ภายในเวลาไม่กี่วินาที โดย HELMA-P มีรัศมีทำการยิง 1 กิโลเมตร HELMA-P ปืนเลเซอร์ที่จะถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านโดรน นอกเหนือจากอาวุธสำหรับการทำลายตัวโดรนแล้ว ทางการฝรั่งเศสยังได้เตรียมระบบตรวจจับหาโดรนบนอากาศ ซึ่งมีทั้งเรดาร์และเซ็นเซอร์ตรวจจับคลื่นวิทยุที่ใช้ควบคุมโดรน ในปัจจุบันหลายประเทศให้ความสนใจการใช้อาวุธเลเซอร์มากขึ้นทั้งเพื่อการรักษาความปลอดภัยและเพื่อการทหารโดยเฉพาะการใช้งานเพื่อต่อต้านโดรนและจรวด สาเหตุมาจากการที่อาวุธเลเซอร์มีต้นทุนการใช้งานที่ต่ำกว่าเพราะไม่ต้องใช้กระสุน อีกทั้งการยิงเลเซอร์นั้นจะถูกสังเกตได้ยากกว่า เนื่องจากลำแสงเลเซอร์ที่ยิงออกไปนั้นไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า อีกทั้งการยิงก็ไม่ก่อให้เกิดเสียงอีกด้วย   ที่มา – CNN    …

ที่มาก่อนการแบนผ้าคลุมหน้าในฝรั่งเศส

Loading

ประเด็นการห้ามสวมผ้าคลุมหน้าของสตรีมุสลิมในฝรั่งเศสที่บังคับใช้มา 11 ปี กลับมาร้อนอีก เมื่อมารีน เลอ เพน ชูนโยบายห้ามสวม “ฮิญาบ” ที่เป็นเพียงผ้าคลุมศีรษะแต่เปิดหน้าของสตรีมมุสลิม และอาจเป็นตัวชี้ขาดก็ได้ว่าใครที่จะเป็นผู้ชนะในศึกเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งนี้ ฝรั่งเศสได้ชื่อว่าเป็นประเทศแรกในยุโรปที่กล้าหาญชาญชัยเสี่ยงต่อความขัดแย้งในสังคม ด้วยการบังคับใช้กฎหมายห้ามสวมผ้าคลุมหน้าไม่ว่าจะเป็น บุรกอ หรือ นิกอบ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ปี 2554 ในสมัยของประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โคซี โดยเรียกว่า “รัฐบัญญัติห้ามปกปิดใบหน้าในสาธารณสถาน” เช่น ท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ ระบบขนส่งมวลชนและสวนสาธารณะ ยกเว้นกรณีเดินทางในรถส่วนบุคคลแม้ไม่ได้เป็นผู้ขับหรืออยู่ในมัสยิด     กฎหมายฉบับนี้อ้างอิงตัวเลขประมาณการณ์ในขณะนั้นว่า ในจำนวนประชากรมุสลิม 4-6 ล้านคน มีสตรีที่สวมผ้าคลุมหน้าตามประเพณีอาหรับและเอเชียใต้แค่ 2,000 คนเท่านั้น แต่ซาร์โกซีถูกวิจารณ์หนักว่าต้องการเสียงสนับสนุนจากกลุ่มขวาจัด และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนชาวมุสลิมและนักสิทธิมนุษยชนที่ว่า เป็นการกดดันฝ่ายที่เปราะบางที่สุดในสังคมเพื่อเอาใจฝ่ายที่รังเกียจผู้อพยพ ที่กลัวว่าอิสลามจะเป็นอันตรายต่อวัฒนธรรมของฝรั่งเศส กฎหมายกำหนดว่าผู้ที่ไม่ยอมเปิดหน้าให้เจ้าหน้าที่ตรวจเอกลักษณ์จะถูกนำไปสถานีตำรวจ และเจ้าหน้าที่อาจใช้วิธีเกลี้ยกล่อมให้ยินยอม แต่ถ้ายืนกรานว่าจะไม่ยอมเปิดหน้าก็อาจถูกปรับเงิน 150 ยูโร ก่อนถูกส่งไปอบรมความประพฤติ บทลงโทษยังลามไปถึงผู้เป็นพ่อ สามี หรือผู้นำศาสนา ที่บังคับให้สตรีสวมผ้าคลุมหน้า ที่จะถูกปรับเงิน…

ฝรั่งเศส สั่งปรับเงิน Google และ Facebook กว่า 8 พันล้านบาท ในประเด็นการติดตามข้อมูลของผู้ใช้งาน

Loading

  หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส สั่งปรับเงินกูเกิล (Google) และเฟซบุ๊ก (Facebook) รวมกันเป็นเงิน 210 ล้านยูโร ภายหลังทั้งสองบริษัทมีความพยายามขัดขวางผู้ใช้งานในกรณีที่ไม่ต้องการให้ติดตามพฤติกรรมและข้อมูลของผู้ใช้งานบนอินเทอร์เน็ต   Commission Nationale de l’Informatique et des Libertés หรือ CNIL ซึ่งเป็นหน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัวในประเทศฝรั่งเศส เปิดเผยว่า หน่วยงานได้ลงดาบกูเกิล ยักษ์ใหญ่ด้านเสิร์ชเอนจินเป็นจำนวนเงิน 150 ล้านยูโร (ราว 5,800 ล้านบาท) เนื่องจากกูเกิล สร้างความยุ่งยากให้แก่ผู้ใช้งาน จนทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถปิดคุกกี้ (cookies) เพื่อหยุดการติดตามพฤติกรรมการใช้งานบนโลกไซเบอร์ เฟซบุ๊ก ก็ถูกหน่วยงานของประเทศฝรั่งเศสปรับด้วยเหตุผลเดียวกัน เพียงแต่ในรายของเฟซบุ๊ก ถือว่าเบากว่ากูเกิล เพราะโดนสั่งปรับเป็นเงิน 60 ล้านยูโร (ราว 2,300 ล้านบาท) เท่านั้น หน่วยงานตรวจสอบความเป็นส่วนตัว ยืนยันว่า การยอมรับการติดตามของคุกกี้ สามารถทำได้เพียงคลิกเดียว เพราะฉะนั้นแล้ว การที่จะปฏิเสธคุกกี้ ก็ต้องทำได้ง่ายพอๆ กับการกดยอมรับ ทั้งนี้ สิ่งที่กูเกิลและเฟซบุ๊กปฏิบัติกลับตรงกันข้าม…

ฝรั่งเศส ลุยสืบสวน ไขปริศนาคดีวางระเบิดทีมรถแข่ง ‘แรลลี่ดาการ์’ คาดก่อการร้าย

Loading

  เกิดเหตุวางระเบิดรถของทีมฝรั่งเศสในการแข่งขันแรลลี่ดาการ์ ทำให้นักแข่งฝรั่งเศสบาดเจ็บสาหัส ทางการฝรั่งเศสเชื่อว่าอาจมีแรงจูงใจเกี่ยวพันกับการก่อการร้ายที่มุ่งเป้าไปยังพลเมืองชาติตะวันตก อัยการรัฐบาลฝรั่งเศสกล่าวเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า ทางการฝรั่งเศสกำลังเปิดคดีสืบสวนเกี่ยวกับการก่อการร้ายในเหตุการณ์ระเบิดที่ติดตั้งอยู่ใต้ท้องรถประจำทีมของฝรั่งเศสในการแข่งขันแรลลี่ดาการ์ที่ซาอุดีอาระเบีย เป้าหมายของระเบิดคือรถสนับสนุนของทีม Sodicars ของฝรั่งเศส ตามคำบอกเล่าของทีมงานและผู้จัดการแข่งขัน การระเบิดเกิดขึ้นหลังจากที่รถออกจากโรงแรมในเจดดาห์ได้ไม่นาน เพื่อมุ่งหน้าไปยังเส้นทางการแข่งขัน แรงระเบิดทำให้ผู้เข้าแข่งขันคนหนึ่งได้รับบาดเจ็บ สมาชิกของทีมแข่ง 5 คน อยู่ในรถคันดังกล่าวตอนที่เกิดเหตุระเบิด ซึ่งหนึ่งในห้าคนนั้นคือ​ ฟิลลิป บรูทร็อง นักขับรถแข่ง เขาได้รับบาดเจ็บสาหัสที่บริเวณขา หนังสือพิมพ์ ‘เลกิปป์’ ของฝรั่งเศสรายงานโดยอ้างคำพูดของเพื่อนร่วมทีมว่า แรงดันระเบิดผ่านขึ้นมาจากพื้นใต้ท้องรถและทำให้เกิดไฟลุกไหม้ เดวิด คาสเทรา ผู้จัดการแข่งขันแรลลี่ดาการ์กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า การแข่งขันซึ่งใช้เวลาสองสัปดาห์จะยังคงดำเนินต่อไป และเขาได้ขอร้องให้เจ้าหน้าที่ทางการของซาอุดีอาระเบียเพิ่มกำลังตำรวจเพื่ออารักขาการแข่งขันแล้ว ทีมแข่งของฝรั่งเศสกล่าวในแถลงการณ์ว่า บูทร็อง ถูกส่งตัวไปรับการรักษาที่ฝรั่งเศสแล้ว และอยู่ในหอผู้ป่วยวิกฤติที่โรงพยาบาลทหารแปร์ซี ใกล้กรุงปารีสพร้อมด้วยครอบครัวของเขาคอยเฝ้าดูแลอย่างใกล้ชิด ทีมอัยการจากหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายของฝรั่งเศสกล่าวในแถลงการณ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมาว่า พวกเขาได้เปิดคดีสืบสวนโดยพุ่งเป้าไปที่แรงจูงใจในการลอบสังหารจากผู้ก่อการร้าย โดยมีหน่วยงานต่อต้านการก่อการร้ายภายในประเทศฝรั่งเศสเป็นผู้รับผิดชอบ การแข่งขันแรลลี่ดาการ์ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 44 โดยเริ่มต้นแข่งขันครั้งแรกในปี  2521 มีเส้นทางการแข่งขันจากปารีสถึงประเทศเซเนกัล ต่อมาก็ย้ายสถานที่จากแอฟริกาไปเป็นอเมริกาใต้ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยในปี 2552 และนับตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา เส้นทางการแข่งขันทั้งหมดก็จัดขึ้นในประเทศซาอุดีอาระเบีย ซาอุดีอาระเบียเคยเป็นประเทศที่เกิดการโจมตีทางทหารโดยพุ่งเป้าหมายไปที่ชาติตะวันตกอย่างต่อเนื่องในช่วง 20 ปีที่แล้ว แต่สถานการณ์ก็เริ่มบรรเทาลง จนกระทั่งช่วงปลายปี…