“เอ็ตด้า”เปิดตัวศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์

Loading

  เอ็ตด้า จับมือพาร์ทนอร์ เปิดศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอจีซี ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ เป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ   นายชัยชนะ มิตรพันธ์  ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ เอ็ตด้า เปิดเผยว่า เอ็ตด้า เตรียมเปิดตัว “ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์” หรือ เอไอจีซี  ในวันที่ 8 พ.ย. นี้ ซึ่งเป็นแหล่งรวมความรู้และผู้เชี่ยวชาญด้านธรรมาภิบาลการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ ทั้งในและต่างประเทศ หลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีการอนุมัติแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 6 ปี (พ.ศ. 2565-2570) ไปแล้ว โดยหนึ่งในยุทธศาสตร์ของแผนดังกล่าว คือ  การเตรียมพร้อมให้การประยุกต์ใช้ เอไอ อย่างมีธรรมาภิบาล มีกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ใช้งานมีความรับผิดชอบต่อสังคม   “ปัจจุบันเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ ได้เข้ามามีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนชีวิตของเราในทุกมิติ ทั้ง การทำงาน การทำธุรกิจ การเรียนการสอน การทำธุรกรรมทางการเงิน…

กรรมการข้อมูลส่วนบุคคลอังกฤษเตือน การวิเคราะห์อารมณ์ความรู้สึกมีความเสี่ยงสูง ต้องใช้อย่างระวัง

Loading

  สำนักงานกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลสหราชอาณาจักร (Information Commissioner’s Office – ICO) ออกแถลงเตือนถึงการใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์อารมณ์ว่ามีความเสี่ยงสูงยิ่งกว่าการเก็บข้อมูลชีวมาตร (biometric) เสียอีก และหน่วยงานใดที่ต้องการใช้ข้อมูลเหล่านี้ต้องระวัดระวังอย่างมากก่อนเริ่มใช้งาน ไม่เช่นนั้นจะถูก ICO สอบสวน   ข้อมูลอารมณ์ตามนิยามของ ICO กินความหมายกว้าง นับแต่การวิเคราะห์ความรู้สึก (setiment analysis), การตีความใบหน้า, อัตราการเต้นหัวใจ, เหงื่อตามผิวหนัง, หรือการจับจ้อง ปัญหาของกระบวนการเหล่านี้ในมุมมองของ ICO คือกระบวนการพัฒนายังไม่สมบูรณ์และเสี่ยงต่อการเหยียดคนบางกลุ่มเป็นพิเศษ   นอกจากการเตือนถึงการใช้งานข้อมูลอารมณ์แล้ว ICO ยังประกาศว่าจะออกแนวทางการเก็บข้อมูลชีวมาตร เช่น ลายนิ้วมือ, ลักษณะเสียง, หรือข้อมูลใบหน้า ว่ามีแนวทางการใช้งานที่ดีและมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ได้อย่างไรบ้าง เพราะข้อมูลเหล่านี้หากหลุดไปแล้วไม่สามารถเปลี่ยนได้อีกตลอดชีวิต โดยรายงานน่าจะออกมากลางปี 2023   ภาพโดย AbsolutVision ที่มา – ICO     ———————————————————————————————————— ที่มา :         …

Google เผย AudioLM ปัญญาประดิษฐ์สร้างเสียงจนแยกไม่ออกจากต้นฉบับ

Loading

  นักวิจัยจาก Google เผยรายละเอียดของ AudioLM ปัญญาประดิษฐ์ตัวใหม่ที่สามารถสร้างเสียงได้จากการป้อนข้อมูลเข้าไป   AudioLM สามารถสังเคราะห์เสียงที่ซับซ้อนอย่างเพลงที่ใช้เปียโนเล่น หรือแม้แต่เสียงคนคุยกัน ผลก็คือได้เสียงที่มีคุณภาพแทบไม่ต่างจากเสียงจริง ๆ   Google ฝึกปัญญาประดิษฐ์ชนิดนี้ด้วยการป้อนฐานข้อมูลเสียง ซึ่ง AudioLM จะใช้ Machine Learning ในการบีบอัดไฟล์เสียงให้เป็นไฟล์ข้อมูลเสียงชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่าโทเค็น ก่อนที่จะป้อนโทเค็นนี้เข้าไปให้โมเดล Machine-Learning เรียนรู้แบบแผนและรายละเอียดปลีกย่อยของเสียงนั้น ๆ   สำหรับการใช้งาน AudioLM ในการสังเคราะห์เสียงนั้น เพียงแค่ป้อนเสียงความยาวไม่กี่วินาทีเข้าไป ตัว AudioLM ก็จะคาดเดาความต่อเนื่องของเสียงที่ควรจะมาหลังจากนั้น โดย AudioLM สามารถสังเคราะห์ได้ทั้งเสียงคนพูดหรือเสียงเครื่องดนตรี จากเสียงต้นฉบับความยาวเพียง 3 วินาที ให้กลายเป็น 10 วินาที โดยไม่ซ้ำรูปแบบกันได้   ทั้งนี้ เราสามารถให้ AudioLM ผลิตเสียงได้โดยไม่ต้องป้อนเสียงเข้าไปก็ได้ แต่ให้ผลิตเสียงจากข้อมูลที่มีอยู่แล้ว   จากตัวอย่าง จะพบว่า AudioLM…

สหรัฐฯ เสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิที่วางกรอบการใช้ปัญญาประดิษฐ์

Loading

  รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเสนอเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Bill of Rights) ที่ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อกำหนดกรอบและเสนอแนวทางเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์   สำนักประธานาธิบดี (ทำเนียบขาว) เผยว่าบัญญัติฉบับนี้ต้องการควบคุมให้ปัญญาประดิษฐ์ถูกนำไปใช้ในเชิงสร้างสรรค์ อาทิ การพัฒนาคุณภาพชีวิต และการเพิ่มคุณภาพการจ้างงาน ในขณะเดียวกันก็ป้องกันการไปใช้ในเชิงลบด้วย   เนื้อหาของเค้าโครงบัญญัติสิทธิด้านปัญญาประดิษฐ์มีหลักสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ การรักษาระบบที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ การป้องกันไม่ให้มีการสร้างอัลกอรึทึมที่ส่งเสริมการเลือกปฏิบัติ การรักษาความเป็นส่วนตัวของข้อมูล การแจ้งละเอียดของปัญญาประดิษฐ์ และการระบุถึงตัวเลือกอื่น ๆ นอกเหนือไปจากปัญญาประดิษฐ์ พร้อมด้วยผลเสียของเทคโนโลยี   โดยเค้าโครงนี้จะใช้กับ “ระบบอัตโนมัติ (Automated System) ที่มีศักยภาพในการสร้างผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสิทธิ โอกาส หรือการเข้าถึงทรัพยากรหรือบริการสำคัญของชาวอเมริกัน”     ที่มา ZDNET       ——————————————————————————————————————————————– ที่มา :          Beartai         …

ผู้บริหาร Microsoft เตือนภัยจาก Deepfakes ในอนาคตที่อาจสมจริงถึงขั้นที่ไม่มีทางจับได้

Loading

  งานวิจัยชิ้นล่าสุดของ เอริก ฮอร์วิตซ์ (Eric Horvitz) ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของ Microsoft ในชื่อ ‘On the horizon: Interactive and compositional deepfakes’ คาดการณ์ไว้ว่าเทคโนโลยี Deekfakes ในอนาคตอาจพัฒนาไปไกลถึงขั้นที่ถูกนำมาใช้แบบเรียลไทม์ได้   Deepfakes คือการดัดแปลงคลิปวีดิโอโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ และ Machine Learning เพื่อสร้างคลิปวีดิโอที่ทำให้ดูเหมือนว่าคน ๆ หนึ่งพูดในสิ่งที่เขาไม่เคยพูดจริง ๆ ได้   ฮอร์วิตซ์เชื่อว่า Deepfakes ในอนาคตอาจก้าวหน้าไปจนถึงขนาดที่สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้งานแบบเรียลไทม์ได้   นอกจากนี้ Deepfakes ในอนาคตอาจมีความสมจริงไปจนถึงขั้นที่สังเคราะห์ภาพประวัติศาสตร์ของเหตุการณ์โลกที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงได้ หรือที่เรียกว่า Synthetic history (ประวัติศาสตร์สังเคราะห์)   ยิ่งไปกว่านั้น ภาพ Deepfakes ที่สมจริงมากอยู่แล้วในปัจจุบัน อาจยิ่งมีความสมจริงยิ่งขึ้นจนเราไม่สามารถแยกแยะว่าภาพไหนจริงหรือปลอมได้อีกต่อไป รวมถึงยังอาจสามารถหลอกเครื่องมือตรวจจับข้อมูลเท็จที่ล้ำหน้าได้ด้วย     ที่มา TechRadar    …

รัฐบาลสหรัฐฯ ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตให้กับรัสเซียและจีน

Loading

  ผู้ผลิตชิปเซตชั้นนำของโลกทั้งอินวิเดียและเอเอ็มดี กล่าวถึงการจำกัดการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนให้กับรัสเซียและจีน ซึ่งเป็นความพยายามครั้งล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐฯ   ฝ่ายบริหารของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ออกข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับการขายชิปเซตที่มีความสลับซับซ้อนทางเทคโนโลยีบางรุ่นให้กับรัสเซียและจีน   คำสั่งบริหารของปธน.ไบเดน ส่งผลให้ชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ ที่ผลิตและจำหน่ายโดยเอเอ็มดี (AMD) และอินวิเดีย (Nvidia) จะไม่ถูกปล่อยไปยังคู่ขัดแย้งทางการเมืองของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาโดยง่าย ผู้ขายจำเป็นต้องขอใบอนุญาตส่งออกสำหรับการขายชิปเซต ซึ่งรัฐบาลสหรัฐฯ มีความตั้งใจที่จะให้ชิปเซตระดับสูงเหล่านี้ ไม่ถูกนำไปใช้ทางการทหารของประเทศรัสเซีย และจีน   ในอดีตผลิตภัณฑ์ในส่วนชิปเซตกราฟิกระดับไฮเอนด์ มักถูกนำไปใช้สำหรับการพัฒนาวิดีโอเกม เพื่อให้ภาพที่ได้มีความสมจริงมากที่สุด แต่ในช่วง 10 ปีหลังสุด ชิปเซตกราฟิกระดับสูงหลายรุ่น ได้ถูกนำไปใช้กับซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์   ในเวลาเดียวกัน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ ในหลายประเทศก็ถูกนำไปใช้เพื่อพัฒนาอาวุธทางการทหาร หรือในประเทศจีน ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้สอดส่องพลเมืองของตัวเอง ด้วยการระบุใบหน้าในภาพวิดีโอ เป็นต้น   ก่อนหน้านี้ อินวิเดีย มีลูกค้าจำนวนมากทั้งในประเทศจีน และรัสเซีย แต่จากการที่ รัสเซีย เข้าบุกรุกยูเครน จึงทำให้อินวิเดีย ไม่ได้ขายชิปเซตให้กับรัสเซียอีกแล้ว ซึ่งส่งผลให้อินวิเดียสูญเสียรายได้ราว 400 ล้านดอลลาร์สหรัฐในไตรมาสล่าสุด   ทางด้านเอเอ็มดี ยอมรับว่า…