ประท้วงใหญ่ในเปรูพ่นพิษ นักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนติดค้างที่ “มาชูปิกชู”

Loading

  นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติหลายร้อยคนติดค้างอยู่ในหมู่บ้านใกล้ มาชูปิกชู โบราณสถานบนยอดเขาสูงของเปรู หลังประเทศตกอยู่ภายใต้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินสืบเนื่องจากการประท้วง ที่เริ่มขึ้นเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว   “ดาร์วิน บาคา” นายกเทศมนตรีเมือง มาชูปิกชู ของเปรู เปิดเผยเมื่อวันศุกร์ (16 ธ.ค.) ว่า มีนักท่องเที่ยวเกือบ 300 คนจากทั่วโลก ติดค้างอยู่ในโบราณสถานอารยธรรมอินคา มาชูปิกชู ซึ่งมีทั้งชาวเปรู อเมริกาใต้ อเมริกัน และยุโรป และเขาเรียกร้องให้รัฐบาลส่งเฮลิคอปเตอร์มาช่วยอพยพนักท่องเที่ยว เพราะรถไฟ ที่เป็นพาหนะเข้าออกเมืองได้เพียงอย่างเดียวหยุดวิ่งให้บริการ   ทั้งนี้ รถไฟที่วิ่งเข้าออก มาชูปิกชู มรดกโลกที่ได้รับคัดเลือกจากองค์การยูเนสโก หยุดวิ่งตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค. หลังจากทางรถไฟถูกผู้ประท้วงปิดกั้น และนักท่องเที่ยวยังคงติดค้างอยู่ในหมู่บ้าน อากูอัส กาเลียนเตส ที่บริเวณตอนล่างของมาชูปิกชูเมื่อวันเสาร์ โดยรถไฟยังคงจอดนิ่งที่สถานีรถไฟ ทั้งที่ควรจะพาพวกเขากลับไปที่เมืองซัสโกเมื่อหลายวันที่แล้ว   เปรู ตกอยู่ในวิกฤตการเมืองหลังจากประธานาธิบดีเปโดร กัสติโย ประกาศยุบสภา แต่รัฐสภามีมติปลดเขาออกจากตำแหน่งทันที และแต่งตั้งรองประธานาธิบดี ดีนา โบลูอาร์เต เป็นประธานาธิบดีคนใหม่เมื่อวันที่ 7 ธ.ค.…

โลกระทึก! “อีลอน มัสก์” เตรียมเปิดเน็ตดาวเทียม “สตาร์ลิงค์” ให้เตหะรานใช้ฟรีหลังวอชิงตันไฟเขียว ตำรวจศีลธรรมอิหร่านโดนคว่ำบาตรเซ่นคดี “มาห์ซา อามินี” ตายไปแล้วกว่า 41 โดนจับ 1,200

Loading

  รอยเตอร์/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ยอดเสียชีวิตสื่อทางการการประท้วงอิหร่านล่าสุดมีไม่ต่ำกว่า 41 คน และถูกจับอีก 1,200 คน ขณะที่อีลอน มัสก์ แถลงวันศุกร์ (23 ก.ย.) ว่า สตาร์ลิงค์จะเริ่มต้นเปิดสัญญาณให้ประชาชนอิหร่านใช้หลังถูกเตหะรานสั่งตัดสัญญาณเป็นวงกว้างหลังวอชิงตันไฟเขียว และสหรัฐฯ ยังสั่งขึ้นบัญชีดำคว่ำบาตรตำรวจศีลธรรมอิหร่านต้นตอการเสียชีวิตของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” หลังดับขณะถูกควบคุมในข้อหาสวมญิฮาบไม่ถูกตามกฎผมไม่กี่ช่อโผล่   รอยเตอร์รายงานเมื่อวานนี้ (24 ก.ย.) ว่า ประธานาธิบดีอิหร่าน อิบราฮิม ไรซี (Ebrahim Raisi) ประกาศวันเสาร์ (24) ว่า เขาจะเดินหน้าใช้ความเฉียบขาดในการจัดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดหลังเหตุการเสียชีวิตภายใต้เงื้อมมือของตำรวจศีลธรรมอิหร่าน ของหญิงอิหร่านชาวเคิร์ดวัย 22 ปี “มาห์ซา อามินี” (Mahsa Amini)   อ้างอิงจาก CNN โดยมารินา เนมัต (Marina Nemat) พบว่า อามานีที่มีรูปลักษณ์ชวนมองเสียชีวิตเนื่องมาจากอามินี ปล่อยช่อผมไม่กี่ช่อให้โลกได้เห็น และผิดกฎเคร่งครัดในการสวมญิฮาบของอิหร่านทันที…

เปิดไทม์ไลน์ “ม็อบอิหร่าน” กับกระแสต่อต้านตำรวจทำร้ายผู้หญิงจนเสียชีวิต

Loading

  การประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยชนวนเหตุเกิดจาก ตำรวจศีลธรรมจับกุมหญิงวัย 22 ปี และทำร้ายจนเสียชีวิต ทำให้เกิดกระแสต่อต้านจากประชาชนอย่างหนัก   ย้อนไปเมื่อวันที่ 16 ก.ย. ท่ามกลางการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” ที่รวมตัวกันเพื่อขับไล่ผู้นำสูงสุด ตำรวจศีลธรรมของอิหร่านได้จับกุมและทำร้ายหญิงสาวอายุ 22 ปี ชาวอิหร่านชื่อว่า “มาห์ซา อามินี” ในข้อหาแต่งกายไม่สุภาพ เนื่องจากเธอคลุมฮิญาบไม่เรียบร้อย โดยปล่อยให้มีปอยผมด้านหน้าตกลงมาบริเวณหน้าผาก ซึ่งถือว่าผิดระเบียบข้อบังคับในการสวมฮิญาบ หรือผ้าคลุมศีรษะในที่สาธารณะ ทำให้ชาวอิหร่านส่วนใหญ่มองว่าการกระทำของตำรวจในครั้งนี้เกิดกว่าเหตุ   หลังจากนั้นในวันที่ 16 ก.ย. อามินี ซึ่งอยู่ในอาการโคม่าที่โรงพยาบาลก็ได้เสียชีวิตลงจากอาการสมองตาย โดยตามร่างกายของเธอมีบาดแผลฟกช้ำที่เกิดจากการถูกทำร้าย แต่ตำรวจอ้างว่าเธอเสียชีวิตเพราะมีอาการป่วยระหว่างการจับกุมตัวร่วมกับผู้หญิงคนอื่น และไม่ได้ทุบตีเธอตามที่หลายฝ่ายอ้าง แม้ครอบครัวของเธอจะยืนยันว่าเธอไม่เคยมีปัญหาสุขภาพก็ตาม   เมื่อข่าวแพร่ออกไปทำให้ผู้ชุมนุมเกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก แม้แต่ชาวอิหร่านที่เป็นฝ่ายอนุรักษ์นิยมและสนับสนุนการสวมฮิญาบยังมองว่าตำรวจทำเกินกว่าเหตุ การเสียชีวิตของอามินีจึงกลายเป็นชนวนที่เพิ่มความรุนแรงให้กับการชุมนุมประท้วงของ “ม็อบอิหร่าน” เป็นเท่าทวีคูณ   เกิดอะไรขึ้นที่อิหร่าน   การประท้วงของชาวอิหร่านหรือ “ม็อบอิหร่าน” เริ่มต้นเมื่อประมาณวันที่ 10 ก.ย. ที่ผ่านมาโดยม็อบต้องการขับไล่ผู้นำสูงสุด “อายะตุลลอฮ์…

สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 : ผิดไหมที่ประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” ในงานถวายความอาลัย

Loading

GETTY IMAGES   ในช่วงไม่กี่วันมานี้ มีคนหลายคนถูกจับกุมหลังไปทำการประท้วงที่งานถวายความอาลัยการสวรรคตของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 และพิธีประกาศขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3   พอล พาวส์แลนด์ ไม่ใช่หนึ่งในคนกลุ่มนั้น แต่ทนายคนนี้เป็นตัวละครหลักในเหตุการณ์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ที่ทำให้เกิดกระแสถกเถียงอย่างแพร่หลาย เรื่องก็คือขณะที่เขากำลังยืนชูกระดาษที่ไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ที่จัตุรัสรัฐสภา เจ้าหน้าที่ตำรวจเดินเข้ามาถามข้อมูลส่วนตัวของเขา   พาวส์แลนด์ได้อัดวิดีโอบทสนทนาบางส่วนไว้และนำไปโพสต์ลงทวิตเตอร์ เขาอ้างว่าเขาได้รับแจ้งว่าจะถูกจับกุมตัวหากเขียนข้อความว่า “ไม่ใช่กษัตริย์ของผม” ลงบนกระดาษ   มีการประท้วงด้วย “กระดาษเปล่า” แบบนี้เกิดขึ้นเช่นกันที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์ขณะขบวนพระบรมศพเคลื่อนผ่าน แต่ก็ไม่ได้มีรายงานการจับกุมใครแต่อย่างใด   อย่างไรก็ดี วิดีโอของพาวส์แลนด์ทำให้ตำรวจนครบาลกรุงลอนดอนออกมาประกาศผ่านทวิตเตอร์เมื่อวันที่ 12 ก.ย. ว่าประชาชนมี “สิทธิที่จะประท้วง”   GETTY IMAGES การประท้วงด้วยกระดาษเปล่าที่เมืองเอดินบะระของสกอตแลนด์     ท้าทายอย่างเย้ยหยัน ?   นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่กระดาษเปล่าถูกนำไปใช้ในการประท้วง แต่เรามักเห็นการกระทำเชิงสัญลักษณ์แบบนี้ในประเทศที่รัฐมีความเป็นเผด็จการและการเข้าปราบปรามประชาชนบ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่นเมื่อปี 2019 นักเคลื่อนไหววัยหนุ่มในคาซัคสถานชื่ออัสลาน ซากุตดินอฟ ถูกตำรวจควบคุมตัวไปหลังถือป้ายเปล่า ๆ ที่หน้าสำนักงานของสภาเมือง…

ประท้วง ตร.ในสหรัฐฯ สุดโหด สาดกระสุนหลายสิบนัดปลิดชีวิต ‘ชายผิวสี’ หลังขับรถละเมิดกฎจราจร

Loading

ชายผู้หนึ่งชูนิ้วกลางที่มีความหมายในการด่าทอใส่แถวตำรวจในชุดปราบจลาจล ซึ่งในที่สุดแล้วได้ใช้แก๊สน้ำตาและระเบิดแสงทำให้มึนงง เพื่อเคลียร์พื้นที่รอบๆ ศาลาว่าการเมือง และสำนักงานตำรวจเมืองอาครอนในช่วงคืนวันอาทิตย์ (3 ก.ค.) หลังจากมีฝูงชนจำนวนหนึ่งยังคงไม่ถอยไปไหน ภายหลังการชุมนุมเดินขบวนประท้วงกรณีสังหารโหด เจย์แลนด์ วอลเกอร์ ผู้ประท้วงหลายร้อยคนออกมาเดินขบวนเมื่อวันอาทิตย์ (3 ก.ค.) ที่เมืองอาครอน รัฐโอไฮโอ ของสหรัฐฯ หลังจากมีการเผยแพร่ภาพจากกล้องที่ติดตัวตำรวจ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพวกเจ้าหน้าที่กำลังรัวกระสุนหลายสิบนัดเข้าใส่ชายผิวสีซึ่งไม่มีอาวุธติดตัวรายหนึ่ง จนกระทั่งเสียชีวิต ขณะที่ตำรวจบอกว่าชายผู้นี้ดูเหมือนมีปืนอยู่ในรถและยิงใส่เจ้าหน้าที่ด้วย ท่ามกลางความโกรธเกรี้ยวที่พุ่งพรวดขึ้นมาจากกรณีล่าสุดของการที่ตำรวจเข่นฆ่าชายผิวดำในสหรัฐฯ โดยที่ฝ่ายเจ้าหน้าที่พยายามเรียกร้องให้ผู้คนอยู่ในความสงบ ปรากฏว่ามีผู้คนจำนวนหนึ่งได้จัดการชุมนุมและเดินขบวนไปยังศาลาว่าการเมือง โดยถือแผ่นป้ายเขียนข้อความประท้วง พร้อมตะโกนถ้อยคำอย่างเช่น “ลงโทษคนที่ทำกับเจย์แลนด์” ถ้อยคำดังกล่าวนี้หมายถึง เจย์แลนด์ วอลเกอร์ วัย 25 ปี ที่ถูกยิงเสียชีวิตตั้งแต่เมื่อวันจันทร์ที่แล้ว (27 มิ.ย.) หลังเจ้าหน้าที่พยายามเรียกเขาให้จอดรถ โทษฐานละเมิดกฎจราจร ทั้งนี้จากการเปิดเผยของสำนักงานตำรวจเมืองอาครอน     การเดินขบวนในวันอาทิตย์ (3) คือวันที่ 4 ของการที่ผู้คนออกมาประท้วงอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมาการประท้วงดำเนินไปอย่างสงบ ถึงแม้มีช่วงเวลาซึ่งตึงเครียดอยู่เหมือนกันเมื่อผู้ประท้วงบางคนเข้าไปใกล้ๆ ตำรวจที่ตั้งแถวคอยควบคุมสถานการณ์ และพากันตะโกนใส่พวกเขา หลังจากเดินขบวนแล้ว ยังมีฝูงชนที่อยู่ในท้องถนนเพื่อแสดงการประท้วงต่อ และถูกตำรวจในชุดปราบจลาจลบุกเคลียร์พื้นที่ในตอนกลางคืน ด้วยความหวาดกลัวว่าจะเกิดความไม่สงบปะทุขึ้นมา ทางการของเมืองที่มีประชากรราว…

ป่วน ผู้ประท้วงอินเดียเผาขบวนรถไฟ ก่อจลาจลทั้งเมือง ต้านกฎหมายเกณฑ์ทหารใหม่

Loading

  ผู้ประท้วงอินเดียบุกเผารถไฟ รถบัสโดยสาร ปิดกั้นถนน และทำร้ายตำรวจ เนื่องมาจากไม่พอใจที่รัฐบาลปฏิรูปกฎหมายเกณฑ์ทหาร ทำให้ทหารมีอายุงานสั้นเหลือเพียง 4 ปี   สำนักข่าวบีบีซี รายงานว่า เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. เกิดเหตุกลุ่มผู้ประท้วงในเมืองโกปัญกัญจ์ ในรัฐพิหาร ของอินเดีย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นได้พากันโกรธแค้นบุกจุดไฟเผาตู้รถไฟโดยสาร และรื้อทำลายรางรถไฟ ทุบทำลายชานชาลารถไฟ   นอกจากนี้ผู้ประท้วงยังบุกไปวางเพลิงเผาทำลายที่ทำการพรรคภารติยะ ชนตะ หรือบีเจพี ทำลายอาคารที่ทำการรัฐบาล และไปรวมตัวปิดการจราจรบนทางหลวงหลายสาย เนื่องมาจากไม่พอใจต่อร่างกฎหมายเกณฑ์ทหารฉบับใหม่ที่เรียกว่า “อัคนีบาท” หรือ “เส้นทางแห่งไฟ” ที่นายกรัฐมนตรีนเรนทรา โมดี เพิ่งผลักดันผ่านสภาไปเป็นที่เรียบร้อย   รายงานข่าวระบุว่า ทางการระดมตำรวจกว่า 25,000 นาย ไปดูแลรักษาความสงบในรัฐพิหาร ขณะที่การประท้วงได้ขยายวงไปยังเมืองอื่นๆ อย่างรัฐหรยาณา ทางภาคเหนือและรัฐราชสถานทางตะวันตกของประเทศ     ทั้งนี้ ภายใต้ร่างกฎหมายเกณฑ์ทหารใหม่กำหนดให้ บุคคลทั้งเพศชายและหญิง ที่มีอายุระหว่าง 17 ปี 6 เดือน ไปจนถึง 21…