ฝรั่งเศสประท้วงเดือด ต้านแผนปฏิรูปบำนาญ หลังรัฐบาลผ่านร่างกฎหมายโดยไม่ต้องลงคะแนน

Loading

  ฝรั่งเศสประท้วงเดือดต้านปฏิรูปบำนาญ อีกทั้งยังเป็นผลักดันร่างกฎหมายให้ผ่านสภา โดยไม่ต้องพึ่งพาการลงคะแนนเสียงในสภา ปะทุความโกรธเกรี้ยวให้แก่ประชาชนทั่วประเทศ จนเกิดการปะทะรุนแรงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ   —ผ่านร่างกฎหมาย ด้วยการ “ไม่ลงคะแนน”—   ประชาชนฝรั่งเศสต่างแสดงความโกรธแค้นมากขึ้นไปอีก เมื่อร่างปฏิรูประบบบำนาญของฝรั่งเศส ผ่านรัฐสภา “โดยไม่มีการลงคะแนน” เพราะกลัวว่าจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภา เรื่องนี้ยิ่งส่งผลให้ประชาชนออกมาประท้วงกันหนักขึ้นอีก   แผนปฏิรูประบบบำนาญที่ผลักดันโดยประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง จะเพิ่มอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี โดยแผนดังกล่าวผ่านสภาสูงได้เมื่อวันพฤหัสบดี (16 มีนาคม) แต่ทางคณะรัฐมนตรีเกร็งว่าจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร   ความกังวลดังกล่าว ทำให้ ‘เอลิซาเบธ บอร์น’ นายกรัฐมนตรีฝรั่งเศส เลือกใช้อำนาจในมาตรา 49:3 ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งให้อำนาจรัฐบาลในการ “หลีกเลี่ยงการโหวตในรัฐสภา”   “เราไม่สามารถเอาอนาคตของเรามาขึงไว้กับเรื่องนี้ได้ เพราะการปฏิรูประบบบำนาญนั่นเป็นเรื่องจำเป็นมาก” นายกรัฐมนตรีบอร์น กล่าวท่ามกลางความวุ่นวายของสภาล่าง   ทันทีที่นายกฯ บอร์นขึ้นกล่าว ทาง ส.ส.ฝ่ายซ้ายได้ร้องเพลงชาติ ‘La Marseillaise’ พร้อมป้ายข้อความว่า “64 ANS…

ฝรั่งเศสตัดไฟฟ้าประท้วงกระทบเตรียมจัดโอลิมปิก

Loading

    เจ้าหน้าที่การไฟฟ้าและพนักงานด้านพลังงานก๊าซของฝรั่งเศส ได้ร่วมประท้วงจากนโยบายที่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ยืดอายุเกษียณจาก 62 เป็น 64 ปี ทำให้มีผู้ไม่พอใจและมีการประท้วงอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ   สำหรับการประท้วงครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ด้านพลังงานได้ตัดไฟฟ้าที่ส่งไปยังสถานที่ก่อสร้างหมู่บ้านนักกีฬาโอลิมปิก รวมทั้งตัดไฟฟ้าของศูนย์ข้อมูลอีกด้วย   เซบาสเซียง เมอเนสปิแลร์ เลขาธิการสหพันธ์แรงงานฝรั่งเศส สาขาพลังงาน กล่าวว่า ต้องการให้ประธานาธิบดีมาครงยกเลิกการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การเกษียณอายุทำงาน แล้วหน่วยงานด้านพลังงานก็กลับไปทำงานให้ประชาชนเหมือนเดิม นอกจากนั้นยังมีรายงานว่า ได้มีการตัดไฟฟ้าที่ใช้ในสนามต่าง ๆ ที่จะใช้ในโอลิมปิกเกมส์ 2024 ด้วย แต่ได้มีการยืนยันจากการไฟฟ้าฝรั่งเศสแล้วว่า สต๊าด เดอ ฟร้องซ์ ซึ่งเป็นสนามกีฬาแห่งชาติไม่ได้ถูกตัดไฟ และยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ   ด้านโอลิวิเย่ร์ เวร็อง โฆษกรัฐบาล กล่าวว่า การกระทำแบบนี้เป็นการทำลายเศรษฐกิจของประเทศและไม่มีใครที่จะมารับผิดชอบได้ เป้าหมายของรัฐบาล คือ การลดอัตราการว่างงาน   สำหรับการประท้วงจะยังคงเดินหน้าต่อไป โดยสหภาพแรงงานฝรั่งเศสได้ร้องขอให้มีการหยุดงานประท้วงในวันที่ 15 มีนาคม           ————————————————————————————————————————-…

อิหร่านประท้วงเหตุนักเรียนหญิงถูกโจมตีด้วยสารพิษปริศนา

Loading

  สำนักข่าวของอิหร่านหลายแห่งรายงานว่า บรรดาผู้ปกครองนักเรียนในกรุงเตหะรานและเมืองอื่น ๆ ของอิหร่าน ได้รวมตัวประท้วง หลังจากเหตุนักเรียนหญิงทั่วประเทศถูกโจมตีด้วยสารพิษหลายระลอก ซึ่งส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนในโรงเรียนหลายสิบแห่ง   อาการเจ็บป่วยโดยไม่ทราบสาเหตุ ได้ส่งผลกระทบต่อเด็กนักเรียนหญิงหลายร้อยคนในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่อิหร่านเชื่อว่าเด็กผู้หญิงอาจถูกวางยาพิษและถูกกล่าวโทษว่าเป็นศัตรูของรัฐบาล ด้านรัฐมนตรีสาธารณสุขอิหร่านระบุว่า เด็กหญิงเหล่านี้ถูกโจมตีด้วยสารพิษอ่อน ๆ และนักการเมืองบางคนแนะนำว่า เด็กหญิงอาจตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มอิสลามิสต์ที่ต่อต้านการศึกษาของเด็กผู้หญิง   อับดุลเรซา ราฮ์มานี ฟาซลี รัฐมนตรีมหาดไทยของอิหร่านกล่าวเมื่อวันเสาร์ว่า เจ้าหน้าที่สืบสวนได้พบตัวอย่างสารพิษต้องสงสัย ซึ่งอยู่ระหว่างการตรวจสอบ เพื่อระบุสาเหตุของความเจ็บป่วยของนักเรียน และผลการสืบสวนจะได้รับการเผยแพร่โดยเร็วที่สุด   ความเจ็บป่วยส่งผลกระทบต่อโรงเรียนมากกว่า 30 แห่งใน 10 จังหวัดจากทั้งหมด 31 จังหวัดของอิหร่านในวันเสาร์ วิดีโอที่โพสต์บนสื่อสังคมออนไลน์แสดงให้เห็นผู้ปกครองรวมตัวกันที่โรงเรียนเพื่อพาลูกกลับบ้าน และนักเรียนบางคนถูกรถพยาบาลหรือรถโดยสารนำส่งโรงพยาบาล   การรวมตัวของผู้ปกครองนอกอาคารกระทรวงศึกษาธิการในกรุงเตหะรานเมื่อวันเสาร์ เพื่อประท้วงเรื่องความเจ็บป่วยของเด็กนักเรียน กลายเป็นการเดินขบวนต่อต้านรัฐบาล นอกจากนั้น ตามรายงานจากคลิปวิดีโอที่ไม่ได้รับการยืนยัน การประท้วงในลักษณะเดียวกันนี้ยังถูกจัดขึ้นในอีก 2 พื้นที่ในกรุงเตหะรานและเมืองอื่น ๆ รวมทั้งอิสฟาฮานและราชต์   การล้มป่วยปริศนาของเด็กนักเรียนหญิงเกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลอิหร่านต้องเผชิญกับกระแสการประท้วงต่อต้านรัฐบาลหลายเดือน โดยมีจุดประกายจากการเสียชีวิตของ เมห์ซา อามินี หญิงสาวชาวอิหร่าน หลังถูกควบคุมตัวโดยตำรวจศีลธรรมที่บังคับใช้ระเบียบการแต่งกายที่เข้มงวด  …

ประท้วงเดือดในเอเธนส์ เหตุประชาชนไม่พอใจกรณีรถไฟชนกันทำให้มีผู้เสียชีวิต 38 ราย

Loading

    ประชาชนกรีซรวมตัวเดินประท้วงในกรุงเอเธนส์ หลังไม่พอใจเหตุรถไฟ 2 ขบวนชนกันจนมีผู้เสียชีวิต 38 ราย แต่รัฐบาลบอกว่าเป็นความผิดพลาดส่วนบุคคล   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 กล่าวว่า กลุ่มผู้ชุมนุมชาวกรีกหลายร้อยคน เดินขบวนประท้วงไปตามท้องถนนในกรุงเอเธนส์ โดยกล่าวโทษว่าเป็นความบกพร่องของรัฐบาล หลังเกิดเหตุรถไฟ 2 ขบวนชนกันจนตกรางใกล้เมืองลาริสซาในคืนวันที่ 28 กุมภาพันธ์ และมีผู้เสียชีวิต 38 ราย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเด็กนักเรียน   ขณะที่รัฐบาลกำลังหาสาเหตุที่แท้จริงของโศกนาฏกรรมทางรถไฟที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดของประเทศกรีซ โดยชี้ว่าเป็นความผิดส่วนบุคคลของนายสถานีรถไฟวัย 59 ปี ที่ถูกอัยการเรียกสอบสวนเพื่ออธิบายว่ารถไฟโดยสารที่มีผู้โดยสารมากกว่า 350 คนได้รับอนุญาตให้วิ่งบนเส้นทางเดียวกับรถไฟบรรทุกสินค้าเป็นระยะทางหลายกิโลเมตรได้อย่างไร พร้อมตั้งข้อหากระทำการโดยประมาทอันเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายและอาจเผชิญโทษจำคุกตลอดชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิดจริง   นายกรัฐมนตรีคีรีอาคอส มิตโซทาคิส ของกรีซ ลงพื้นที่เกิดเหตุด้วยตัวเอง และกล่าวว่าเป็นเรื่องน่าเศร้าที่เกิดอุบัติเหตุแบบนี้จากความผิดพลาดของบุคคล พร้อมประกาศไว้อาลัยทั่วประเทศเป็นเวลา 3 วัน และให้สัญญาว่าจะทำการสอบสวนอย่างเต็มที่   อย่างไรก็ดี สหภาพแรงงานการรถไฟกล่าวว่า นายสถานีน่าจะตกเป็นแพะรับบาป เนื่องจากข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยของเส้นทางรถไฟสายเอเธนส์-เทสซาโลนิกิเป็นที่รู้กันมานานหลายปีแล้ว   ในจดหมายเปิดผนึกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ บรรดาพนักงานรถไฟแจกแจงว่า…

ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่

Loading

สมาชิกสันนิบาตโซเชียลเดโมแครตฮ่องกงถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกันออกจากพื้นที่ หลังจากถือป้ายประท้วงและพยายามตะโกนนอกศาลในฮ่องกง ขณะมีการพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหา 47 คน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ (Photo by Peter PARKS / AFP)   การพิจารณาคดีด้านความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่สุดของฮ่องกงเปิดฉากขึ้นในวันจันทร์ โดยมีบุคคลผู้ฝักใฝ่ประชาธิปไตยหลายสิบคนถูกกล่าวหาว่าพยายามโค่นล้มรัฐบาลและอาจได้รับโทษประหนึ่งอาชญากร   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 กล่าวว่า ศาลฮ่องกงเปิดพิจารณาคดีความมั่นคงแห่งชาติครั้งใหญ่ที่มีผู้ถูกกล่าวหาถูกไต่สวน 47 คน และอาจต้องโทษจำคุกตลอดชีวิตหากถูกตัดสินว่ามีความผิด   ผู้เห็นต่างในดินแดนของจีน ซึ่งรวมถึงนักเคลื่อนไหวทางประชาธิปไตยที่มีชื่อเสียงในเกาะฮ่องกง ถูกเรียกมาขึ้นศาลเพื่อไต่สวน โดยมีการเปิดเผยภายหลังว่า ผู้ถูกดำเนินคดี 16 คนปฏิเสธความผิดในข้อหา “สมรู้ร่วมคิดในการกระทำเพื่อโค่นล้มรัฐบาลจากการจัดการเลือกตั้งขั้นต้นอย่างไม่เป็นทางการ”   ขณะที่อีก 31 คนสารภาพผิดตามข้อกล่าวหาและจะถูกตัดสินโทษหลังกระบวนการพิจารณาคดีเสร็จสิ้น   ชาวฮ่องกงจำนวนหนึ่งทำการชุมนุมประท้วงเล็ก ๆ บริเวณหน้าศาลฮ่องกง ท่ามกลางการดูแลความปลอดภัยอย่างเข้มงวดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ   ด้านกลุ่มสิทธิมนุษยชนและผู้สังเกตการณ์กล่าวว่า การพิจารณาคดีนี้แสดงให้เห็นว่าระบบกฎหมายถูกใช้เพื่อบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามด้วยข้ออ้างด้านความมั่นคง ทั้ง ๆ ที่การต่อต้านเผด็จการไม่ใช่อาชญากรรม   ผู้ถูกดำเนินคดีต้องเผชิญกับการพิจารณาคดีที่คาดว่าจะใช้เวลานานกว่า 4…

ประท้วงต่อต้านเผาอัลกุรอาน ลุกลามทั่วตะวันออกกลาง

Loading

    การตัดสินใจของสวีเดนที่อนุญาตให้นักการเมืองขวาจัดจากเดนมาร์ก จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอานที่ด้านหน้าสถานทูตตุรกีในกรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค.ที่ผ่านมา สร้างความไม่พอใจอย่างมากต่อตุรกี   และกำลังส่งผลต่อการเข้าเป็นสมาชิก “นาโต” ของสวีเดน เนื่องจากตุรกีสามารถใช้สิทธิ์ในการโหวตคัดค้านได้ และเมื่อคืนที่ผ่านมา ประธานาธิบดี เรเจป เทย์ยิป เออร์โดอัน ผู้นำตุรกีออกมาประกาศจุดยืนเรื่องนี้แล้ว โดยระบุชัดเจนว่าตุรกีจะไม่ยกมือสนับสนุนให้สวีเดน   นอกจากนี้ยังเกิดการประท้วงในหลายเมืองของประเทศตุรกี และกำลังขยายเป็นวงกว้างทั่วตะวันออกกลาง   การจุดไฟเผาธงชาติสวีเดนของกลุ่มผู้ประท้วงในกรุงอัมมาน เมืองหลวงของจอร์แดน เพื่อแสดงความไม่พอใจต่อการตัดสินใจของทางการสวีเดนที่อนุญาตให้ราสมุส ปาลูดาน นักการเมืองชาวเดนมาร์กเชื้อสายสวีเดนซึ่งมีจุดยืนต่อต้านผู้อพยพ จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอานบริเวณด้านหน้าสถานทูตตุรกีในกรุงสตอกโฮล์มเมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา   นอกจากที่จอร์แดนแล้ว ยังมีรายงานการประท้วงเกิดขึ้นตามท้องถนนในกรุงแบกแดด เมืองหลวงของอิรัก และกรุงซานาของเยเมนด้วย   โดยกลุ่มผู้ประท้วงชูป้ายที่มีเนื้อหาประณามรัฐบาลสวีเดน พร้อมตะโกนข้อความต่อต้านการเผาคัมภีร์อัลกุรอาน ผู้ประท้วงหลายคนระบุว่าไม่อาจยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นได้   ขณะที่รัฐบาลสวีเดนยังคงยืนยันปกป้องการตัดสินใจของตัวเองที่อนุญาตให้จัดกิจกรรมเผาคัมภีร์อัลกุรอาน โดยระบุว่านี่คือการเคารพเสรีภาพในการแสดงออกตามหลักการประชาธิปไตย   กิจกรรมการเผาคัมภีร์อัลกุรอานของนักการเมืองฝ่ายขวาในสวีเดนคราวนี้ มีจุดประสงค์เพื่อประท้วงต่อประธานาธิบดีเออร์โดอัน ผู้นำตุรกีที่พยายามกดดันสวีเดนให้กวาดล้างกลุ่มเคลื่อนไหวชาวเคิร์ดพลัดถิ่นในสวีเดนเพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่ตุรกีจะไม่ขัดขวางสวีเดนในการขอเข้าเป็นสมาชิกนาโต ทำไมตุรกีต้องการให้สวีเดนกวาดล้างชาวเคิร์ดพลัดถิ่น   เคิร์ดคือกลุ่มชาติพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีประชากรอยู่ 40 ล้านคน ในจำนวนนี้อาศัยอยู่ในตุรกีมากที่สุดถึง 20 ล้านคน หรือคิดเป็น…