แนะ 3 ข้อ ระวังก่อนสแกนป้องกันภัย QR Code หลอกลวง

Loading

    “ดีอีเอส” เตือน ระวังแก๊งคอลเซ็นเตอร์มามุกใหม่ ใช้ QR Code หลอกดูดเงินให้ สแกนเพื่อรับเป็นเพื่อน แท้จริงคือ Scams วอนประชาชนตระหนัก รู้เท่าทันกลโกง และระวังก่อนสแกน   น.ส.นพวรรณ หัวใจมั่น โฆษกกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฝ่ายการเมือง (ดีอีเอส) เปิดเผยว่า จากกรณีมีข่าวที่ได้รับความสนใจจากประชาชนในเรื่องการฉ้อโกงออนไลน์รูปแบบใหม่ของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ โดยการใช้ QR Code หลอกดูดเงิน โดยส่ง QR Code มาให้ร้านอาหาร แอดไลน์ แต่เมื่อแสกน QR Code พบว่า หน้าจอเหมือนถูกไวรัส เจ้าของโทรศัพท์จึงรีบเข้าแอปธนาคาร เพื่อโอนเงินออกไปบัญชีอื่นก่อน และโทรศัพท์ก็เริ่มค้าง ระบบรวนจึงรีบปิดเครื่อง   จากกรณีที่เกิดขึ้นกระทรวงดีอีเอส มีความห่วงใยความปลอดภัยของประชาชน จึงขอแจ้งเตือนว่า ในการใช้จ่ายสินค้าหรือบริการต่างๆ ร้านอาหารหลายแห่งเริ่มใช้ QR CODE ในการชำระเงินแบบไร้เงินสด ก็ต้องระวังและมีสติในการใช้งานด้วยเช่นกัน เพราะคนร้ายหรือมิจฉาชีพอาจจงใจใช้ QR CODE พิมพ์…

เอกชน-รัฐ เช็คด่วน! ระบบประชุมออนไลน์ e-Meeting ที่ใช้อยู่ ผ่านมาตรฐาน ปลอดภัยไหม และมาดูการรับรองระบบในปัจจุบันโดย ETDA

Loading

    “การประชุมออนไลน์” หรือ e-Meeting กลายเป็นสิ่งที่หลายคน หลายองค์กรต่างใช้งานและคุ้นชินไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการประชุมออนไลน์ภายในองค์กรหรือนอกองค์กร ที่ต้องมีการติดต่อกับลูกค้าหรือหุ้นส่วนใดๆ ก็ตาม และดูเหมือนว่าการประชุมออนไลน์จะยังคงเป็นส่วนสำคัญของทุกการทำงานและธุรกิจต่อไป เพราะหลายธุรกิจต่างปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Hybrid ที่การทำงานไม่จำกัดอยู่แค่ภายในออฟฟิศเท่านั้น เห็นได้จากข้อมูลของ World Economic Forum ระบุว่า พนักงานทั่วโลกเลือกทำงานนอกสถานที่ทำงาน เพิ่มขึ้นสองเท่า จากเดิมปี 2563 อยู่ที่ร้อยละ 16.4 เพิ่มเป็นร้อยละ 34.4 ในปี 2564 โดยใช้แพลตฟอร์มในการประชุมออนไลน์ที่หลากหลาย อาทิ Microsoft Teams, Google Meet, ZOOM และ Cisco WebEx เป็นต้น   แม้ทุกวันนี้การประชุมออนไลน์ จะเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยม ที่จะช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น แต่เมื่อหลายองค์กรมีการจัดประชุมและกิจกรรมออนไลน์มากขึ้น รวมถึงมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลสำคัญระหว่างกันทางออนไลน์ “เราจะมั่นใจได้อย่างไร? ว่าระบบการประชุมออนไลน์ ที่เราเลือกใช้งานมีความปลอดภัยและเป็นระบบที่สอดคล้องเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนด”   สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) หรือ ETDA (เอ็ตด้า)…

“ชัวร์ หรือ มั่วนิ่ม?” แนะ 10 จุดสังเกต ไม่ตกเป็นเหยื่อ “ข่าวปลอม”

Loading

    ในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา “เฟคนิวส์” หรือ “ข่าวปลอม” ได้โผล่ว่อนโซเซียล โดยเฉพาะในช่วงโควิด-19 ระบาด ข่าวปลอมเกี่ยวกับสุขภาพ และเรื่องโควิด   ทำให้ภาครัฐต้องถึงกับมีนโยบายให้แต่ละหน่วยงานภาครัฐตั้งทีมขึ้นมารับผิดชอบเพื่อตรวจสอบข่าวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กรม หรือกระทรวง และให้รีบแจ้งประชาสัมพันธ์ถึงข้อเท็จจริงต่อสังคม เพื่อไม่ให้เกิดความตื่นตระหนกและเข้าใจผิด!?!   อย่างไรก็ตาม แม้ว่ารัฐบาล จะมีการประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนอยู่ตลอดเวลา แต่มิจฉาชีพได้ปรับเปลี่ยน รูปแบบกลโกง ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ทำให้ยังมีประชาชนตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินให้กับมิจฉาชีพ ซึ่งจากรายงานของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) พบว่า 70% ของข่าวสารที่แพร่กระจายบนโซเชียลมีเดีย คือ ข่าวปลอม!!   ทั้งนี้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน ให้ตนเองได้รู้ทันข่าวปลอมผ่านสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะบนเฟซบุ๊ก ทางกระทรวงดีอีเอส จึงแนะนำให้สังเกตจุดสำคัญ 10 ข้อ ที่มีลักษณะเป็น “ข่าวปลอม”  ดังนี้   1. สงสัยข้อความพาดหัว : ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่ดึงดูดความสนใจโดยใช้ตัวหนังสือเด่น ๆ และเครื่องหมายอัศเจรีย์…

ส่อง“สมาร์ทซิตี้”ในไทย…ลงทุนยกระดับชีวิตคนท้องถิ่น

Loading

    การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทย   การขับเคลื่อนพัฒนา “เมืองอัจฉริยะ” หรือ “สมาร์ทซิตี้” ถือเป็นหนึ่งนโยบายที่รัฐบาลให้ความสำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 หมุดหมายที่ 8 เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่และเมืองอัจฉริยะ ที่น่าอยู่ ปลอดภัย เติบโตได้อย่างยั่งยืน!?!   ซึ่งทางกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ได้ดำเนินการส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในระดับท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง โดยระหว่างปี 2564-2565 ประเทศไทยมีเมืองที่ได้รับตราสัญลักษณ์เมืองอัจฉริยะประเทศไทยแล้ว 30 เมือง!?!   ทิศทาง การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของไทยต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร? หาคำตอบได้ด้านล่างนี้?!?   ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส)” บอกว่า รัฐบาลมีนโยบายนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเมืองในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ ให้ยกระดับสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ ทำให้เมืองเจริญทันสมัย และน่าอยู่ ช่วยพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิต ของประชาชนอย่างทั่วถึง   “ภายในสิ้นปี 66 นี้มีเป้าหมายจะส่งเสริมเเมืองอัจฉริยะ เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 15 เมืองรวมเป็น 45 เมือง และประเมินว่าการพัฒนา เมืองอัจฉริยะจะช่วยให้เกิดโอกาสการลงทุนจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนรวม มูลค่ากว่า 60,000 ล้านบาท และจะมีการสร้างมูลค่าการลงทุนที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคต”     อย่างไรก็ตาม…

ชัยวุฒิ เข้ม สั่งเร่งปราบลักลอบใช้เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย และแก้ปัญหาซิมผี

Loading

  นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สั่งการให้ติดตามความคืบหน้าปราบอาชญากรรมออนไลน์ เดินหน้าปราบลักลอบใช้เน็ตข้ามประเทศผิดกฎหมาย แก้ปัญหาซิมผี รวมทั้งปราบบัญชีม้า   โดยในวันนี้ 16 ม.ค. 66 ได้มอบหมายให้นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ประชุมร่วมกับนายเทพสุ บวรโชติดารา รองเลขาธิการสำนักงาน ปปง. พล.ต.ต. นิเวศน์ อาภาวศิน กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี และนายสุทธิศักดิ์ ตันตะโยธิน รองเลขาธิการสำนักงาน กสทช. เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมออนไลน์ โดยมีความคืบหน้าการดำเนินงาน ดังนี้   1) การแก้ปัญหาซิมผี : โดย กสทช. ได้สั่งการผู้ให้บริการโทรคมนาคมแจ้งเจ้าของซิมโทรศัพท์มายืนยันตัวตนให้ถูกต้อง โดยมีแผนงาน ดังนี้ – กรณีผู้มี 100 ซิมขึ้นไป ประมาณ 8,000 ราย ยืนยันตัวตนภายใน ม.ค. 66 – กรณีผู้มี 30 ซิมขึ้นไป…

Do or Die ฉบับ “วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ” ปลัดดีอีเอสคนที่ 4

Loading

  ดีอีเอสมองการขับเคลื่อนเป็น 3 แนวทางคือ ดิจิทัลเซอร์วิส ปลอดภัยและเชื่อถือได้ ลดช่องว่างการเข้าถึงดิจิทัล และดิจิทัลต้องเป็นเรื่องที่ไร้พรมแดนอย่างแท้จริง คนในเมืองและชนบทต้องไม่มีข้อแม้ในการถึงบริการ   วิศิษฏ์ วิศิษฏ์สรอรรถ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ ดีอีเอส เปิดเผยทิศทางนโยบายกระทรวงดีอีเอสปี 2566 ว่า ในฐานะปลัดดีอีเอสคนที่ 4 ตนอยากเห็นกระทรวงดีอีเอสวางเป้าหมายการทำงานในเชิงรุก เพื่อทรานฟอร์เมชั่นรัฐบาลไปสู่ดิจิทัล ซึ่งปัจจุบันมีกระทรวง 3 แห่งที่เป็นระบบลดการใช้กระดาษ (เปเปอร์เลส) ได้แก่ กระทรวงดีอีเอส กระทรวงต่างประเทศ และกระทรวงยุติธรรม แต่ภายใน 6 เดือนจากนี้จะพยายามผลัดกันให้อีก 17 กระทรวงที่เหลือไปสู่เปเปอร์เลสให้ได้เกินครึ่ง   สำหรับแนวทางการทำงานของตนนั้น มองว่าการขับเคลื่อนโลกดิจิทัลจะมุ่งในบริการดิจิทัล (ดิจิทัล เซอร์วิส) ต้องปลอดภัยและเชื่อถือได้ (Safe & Secure) เพราะความปลอดภัยคือปัจจัยสำคัญในโลกดิจิทัล การแก้ไขปัญหา สแกมมิ่ง แก๊งคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งนี้ถือเป็นเรื่องที่ต้องทำอย่างแรกและต้องทำให้สำเร็จ ต้องทำให้ปัญหาการหลอกลวงในโลกออนไลน์นี้ลดน้อยลง   นอกจากนี้ ให้แนวทางไปว่าการสร้างความปลอดภัยเรื่องนี้ การหลอกลวงเกิดขึ้นในไทยและอาจจะไม่ได้เกิดในไทย การป้องกันหลายด้านเพื่อตรวจสอบ…