นักศึกษาฮ่องกง 4 คนถูกตัดสินจำคุกฐานวางแผนวางระเบิดต่อต้านรัฐบาล

Loading

  นักศึกษาชาวฮ่องกง 4 คนถูกตัดสินจำคุกเมื่อวันพฤหัสบดี จากพฤติการณ์ในแผนต่อต้านรัฐบาลด้วยการวางระเบิดในที่สาธารณะ   เอเอฟพีรายงาน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม 2566 กล่าวว่า ศาลฮ่องกงตัดสินจำคุกนักศึกษา 4 คน ภายใต้กฏหมายความมั่นคงที่จีนบังคับใช้เมื่อปี 2563 เพื่อระงับความขัดแย้งของเกาะแห่งนี้   จำเลยทั้งสี่ซึ่งมีอายุระหว่าง 17-21 ปี เป็นสมาชิกของกลุ่มที่ไม่ค่อยมีใครรู้จักชื่อ “Returning Valiant” ซึ่งส่งเสริมการประกาศเอกราชจากจีน และเคยปลุกระดมให้มีการต่อต้านกฎหมายความมั่นคง   ในปี 2564 กลุ่มนี้ถูกกล่าวหาว่าวางแผนที่จะทำ “ระเบิดเปอร์ออกไซด์” หรือ TATP ขี้นมา และนำไปใช้วางระเบิดในพื้นที่สาธารณะรวมถึงอาคารศาล   ก่อนที่พวกเขาจะจัดหาวัสดุได้ ตำรวจความมั่นคงแห่งชาติของฮ่องกงได้จับกุมพวกเขาเสียก่อนในเดือนกรกฎาคมของปีนั้น   “ศาลฯพิพากษาจำคุกเป็นเวลา 5 ปี 8 เดือน ต่ออเล็กซานเดอร์ โอ จำเลยอายุ 21 ปี จากพฤติการณ์ที่ชัดเจนในฐานะแกนนำผู้เป็นตัวตั้งตัวตีในการเช่าห้อง, วางแผนเตรียมการ และการลาดตระเวนอาคารเป้าหมาย” อเล็กซ์ ลี…

ฮ่องกงยึดหนังสือต้องห้าม ผู้นำแจงยิบป้องกันแนวคิดทางการเมืองที่ไม่ดี

Loading

    ฮ่องกงยึดหนังสือต้องห้าม – วันที่ 18 พ.ค. เอพีรายงานว่า นายจอห์น หลี่ ประธานบริหารเกาะฮ่องกงระบุถึงการเก็บหนังสือที่ไม่เหมาะสมออกจากชั้นวางตามห้องสมุดทั่วเกาะ ว่าเพื่อป้องกันแนวคิด (ทางการเมือง) ที่ไม่ดี ไม่ให้เกิดขึ้น   การชี้แจงดังกล่าวเกิดขึ้นหลังทางการฮ่องกงเริ่มกำจัดหนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุนองเลือดจัตุรัสเทียนอันเหมินปี 2532 และบุคคลสำคัญทางด้านการเมืองที่ไม่พึงประสงค์ ส่งผลให้สิทธิเสรีภาพลดลงอีกในฮ่องกง นับตั้งแต่การเริ่มปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยในฮ่องกง   นายหลี่ กล่าวกับบรรดาผู้แทนราษฎรในสภา หลังถูกยื่นกระทู้ถามว่ามีหนังสือหลายเล่มถูกนำออกจากชั้นหนังสือในห้องสมุดสาธารณะโดยปราศจากคำชี้แจงที่ชัดเจน อาทิ หนังสือที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปราบปรามผู้ประท้วง และหนังสือที่เขียนโดยบุคคลฝ่ายประชาธิปไตย   การดำเนินการข้างต้นของทางการฮ่องกงเรียกเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากนักวิชาการทั่วโลก ว่าเป็นการบ่อนทำลายเสรีภาพการเข้าถึงข้อมูลและการแสดงออกในฮ่องกงมากขึ้นไปอีก   อย่างไรก็ตาม นายหลี่ กล่าวตอบโต้ว่า หนังสือที่ทางการอนุญาตให้ประชาชนยืมกลับบ้านได้จากห้องสมุดจะมีเฉพาะหนังสือที่ทางการแนะนำเท่านั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่ทางการจะแนะนำหนังสือที่ละเมิดกฎหมายหรือละเมิดลิขสิทธิ์ รวมถึงหนังสือที่มีเนื้อหาแนวคิดทางการเมืองที่ไม่เหมาะสม               —————————————————————————————————————————————— ที่มา :               …

จีนตัดสินจำคุกตลอดชีวิต พลเมืองอเมริกันวัย 78 ปี ข้อหาจารกรรมข้อมูล

Loading

    ศาลในประเทศจีนตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ชาวอเมริกันเชื้อสายจีนวัย 78 ปี ข้อหาจารกรรมข้อมูล หลังจากเขาถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวเมื่อ 2 ปีก่อน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ศาลเมืองซูโจว ทางตะวันออกเฉียงใต้ของจีนมีคำตัดสินเมื่อวันจันทร์ที่ 15 พ.ค. 2566 ให้จำคุกตลอดชีวิตนาย เหลียง ชิงหวิน (Leung Shing-Wan) พลเมืองอเมริกันเชื้อสายจีนอายุ 78 ปี และเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในฮ่องกง ในข้อหาจารกรรมข้อมูล โดยไม่เปิดเผยรายละเอียดเรื่องข้อกล่าวหาเพิ่มเติม   ตามแถลงการณ์ของศาลประชาชนกลาง ที่ถูกนำมาเผยแพร่ผ่าน วีแชต (WeChat) นายเหลียง หรือ จอห์น เหลียง ถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานต่อต้านการข่าวกรองท้องถิ่นในเมืองซูโจวจับกุมเมื่อ 2 ปีก่อน ก่อนจะถูกพบว่ามีความผิดจริงข้อหาจารกรรมข้อมูล ทำให้ถูกตัดสินจำคุกตลอดชีวิตและตัดสิทธิ์ทางการเมืองตลอดชีวิต   ด้านโฆษกสถานทูตสหรัฐฯ ในกรุงปักกิ่ง กล่าวว่า พวกเขาทราบเรื่องคำตัดสินของนายเหลียงแล้ว และกระทรวงต่างประเทศไม่มีเรื่องอื่นใดสำคัญไปกว่าความปอดภัยและความมั่นคงของพลเมืองสหรัฐฯ ในต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ในงานแถลงข่าวที่กรุงวอชิงตัน กระทรวงต่างประเทศไม่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ อ้างความกังวลด้านความเป็นส่วนตัว   ทั้งนี้…

ฮ่องกงออกกฎหมายคุมเข้มการชุมนุม ต้องถือเทปล้อมขบวน เช็คเนื้อหา ห้ามกระทบความมั่นคง

Loading

    สื่ออาวุโสในฮ่องกงชี้ปัญหากฎหมายควบคุมการชุมนุมฉบับใหม่ของฮ่องกงที่มีเงื่อนไขยาวเหยียด คุมเข้มทั้งเนื้อหาที่ห้ามกระทบความมั่นคงและรูปแบบการชุมนุมที่คนร่วมต้องติดแท็กเบอร์ ต้องถือเทปกั้นล้อมขบวนชุมนุมเองและห้ามออกนอกแนวเทปกั้น แม้แต่ผู้ชุมนุมยังมองว่ามันเป็นกฎที่ “ไร้สาระจนน่าหัวเราะ”   ย้อนไปเมื่อปี 2562 ในช่วงที่มีการลุกฮือของประชาชนในฮ่องกงที่ต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยและเสรีภาพทางการเมืองจากจีนแผ่นดินใหญ่ ในตอนนั้นมีนักกิจกรรมฮ่องกงที่ร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจฮ่องกงไม่ยอมปฏิบัติตามกฎหมาย เพราะไม่ยอมแสดงหมายเลขประจำตัวหรือยศขณะเข้าปราบปรามผู้ชุมนุม   ทิม แฮมเลตต์ ที่ทำงานสื่อในฮ่องกงมาตั้งแต่ปี 2523 และปัจจุบันเกษียณอายุแล้ว ระบุว่ามันกลายเป็นเรื่องย้อนแย้งในแบบที่อธิบดีกรมตำรวจฮ่องกงไม่ทันได้นึกถึง เนื่องจากกฎหมายควบคุมการประท้วงฉบับใหม่ของฮ่องกงบังคับให้ประชาชนที่มาชุมนุมต้องติดป้ายหมายเลขลำดับด้วย แต่กลับไม่บังคับให้ตำรวจทำในสิ่งเดียวกัน   กฎหมายฉบับนี้ออกมาเมื่อช่วงปลายเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา และหลังจากนั้นไม่นานก็มีการประท้วงเล็กๆ ที่ย่านเจิ้งกวนโอ แม้สื่อจะรายงานว่าเป็นการเดินขบวน “ทางการเมือง” ครั้งแรกนับตั้งแต่เกิดโควิด แต่ก็เป็นเพียงการประท้วงต่อต้านการปรับปรุงภูมิทัศน์หน้าบ้านของพวกเขา เช่น การเทคอนกรีต และวางสิ่งของอื่นๆ   ทางอธิบดีกรมตำรวจฮ่องกงออก “จดหมายแจ้งไม่ขัดข้อง” ให้กับผู้ชุมนุมกลุ่มดังกล่าว ซึ่งจดหมายนี้เป็นจดหมายที่ผู้ประท้วงฮ่องกงต้องได้มาเมื่อจะชุมนุม แต่การจะได้จดหมายที่ว่านี้ต้องผ่านเงื่อนไขยาวเหยียด   ในการชุมนุมดังกล่าวนี้มีผู้ชุมนุมเข้าร่วม 80 ราย ซึ่งอาจจะน้อยกว่าตำรวจที่วางกำลังเพื่อรักษาความปลอดภัยเสียอีก และผู้ชุมนุมเหล่านี้ก็ถูกกำหนดให้ต้องติดหมายเลขของผู้ชุมนุม นอกจากนี้ยังต้องให้ผู้ชุมนุมคอยถือเทปกั้นเขตของตำรวจล้อมขบวนไว้ระหว่างเดินจัดเป็น “เขตประท้วง” ซึ่งชาวเน็ตเรียกมันว่า “เทปสถานที่เกิดเหตุอาชญากรรม”   ในกฎการชุมนุมฉบับใหม่ของฮ่องกงยังกำหนดอีกว่าเมื่อการเดินขบวนเริ่มต้นแล้ว จะไม่มีใครอนุญาตให้เข้าไปในพื้นที่ที่มีเทปกั้นเด็ดขาด ถึงแม้ว่าคุณจะมาประท้วงสายก็ตาม…

‘โจชัว หว่อง’ โดนคุกเพิ่มอีก 3 เดือน ฐานแฉตัวตนตำรวจยิงผู้ประท้วงเมื่อปี 2019

Loading

    โจชัว หว่อง (Joshua Wong) หนึ่งในแกนนำคนสำคัญของขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกง ถูกศาลพิพากษาจำคุก 3 เดือน วันนี้ (17 เม.ย.) ในความผิดฐานละเมิดข้อมูล (information breach) ของตำรวจนายหนึ่งที่มีส่วนในการปราบปรามผู้ชุมนุมฮ่องกงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว   นักเคลื่อนไหวหนุ่มแว่นวัย 26 ปี รายนี้เริ่มมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักจากการเป็นแกนนำนักศึกษาออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านจีนในขบวนการปฏัวัติร่มเหลือง (umbrella movement) เมื่อปี 2014 ซึ่งนำไปสู่การชุมนุมปิดถนนบนเกาะศูนย์กลางการเงินแห่งนี้เป็นเวลาถึง 79 วัน   ล่าสุด วันนี้ (17) ศาลสูงฮ่องกงได้พิพากษาจำคุก หว่อง เป็นเวลา 3 เดือน ฐานละเมิดคำสั่งศาลที่ห้ามไม่ให้เขาเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวของตำรวจนายหนึ่งที่ยิงใส่ประชาชนในย่าน Sai Wan Ho ระหว่างปฏิบัติการปราบปรามม็อบฮ่องกงเมื่อเดือน พ.ย. ปี 2019   พยานในศาลระบุว่า หว่อง เดินทางไปรับฟังคำตัดสินด้วยตนเอง ทว่าไม่ได้พูดอะไร ขณะที่ศาลเองยังไม่มีการเผยแพร่คำตัดสินอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรออกมา  …

“ผู้ว่าการฮ่องกง” โปรปักกิ่งจ่อแบน “ทนายต่างชาติ” ห้ามว่าความคดีความมั่นคง ตัดช่องช่วยเจ้าของแอปเปิลเดลี “จิมมี ไล” กงสุลใหญ่สหรัฐฯข้ามเส้นแดงปักกิ่งวิจารณ์ทันที “เสรีภาพโดนกัดกร่อน”

Loading

    เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – ผู้ว่าการเขตบริหารพิเศษฮ่องกง จอห์น ลี เดินหน้าเสนอร่างกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติฮ่องกงที่จะให้อำนาจพิเศษแก่เขาสามารถวีโต้ห้ามใช้ทนายความชาวต่างชาติในคดีความมั่นคง ระหว่างที่ จิมมี ไล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์แอปเปิลเดลีที่โดนปิดไปร้องต่อศาลสูงฮ่องกง ห้ามไม่ให้คำสั่งของปักกิ่งในเรื่องการใช้ทนายความต่างชาติมีผลกับคดีของเขา ผู้แทนรัฐบาลปักกิ่งประจำฮ่องกงวันศุกร์(24 ก.พ)จวกกงสุลใหญ่สหรัฐฯ ข้ามเส้นแดงจีนเข้าก้าวก่ายกิจการภายในชัดเจนหลังกงสุลใหญ่สหรัฐฯแสดงความวิตก ความเป็นนิติรัฐและเสรีภาพของฮ่องกงผิดหวังรัฐบาลพรรค CCP ของจีนอนุญาตให้ผู้ว่าการเกาะแบนทนายความต่างชาติว่าความในคดีความมั่นหวังคงกำจัดฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง   บลูมเบิร์กรายงานวันอังคารที่ 21 ก.พ ว่า รัฐบาลเขตบริหารพิเศษฮ่องกงของ จอห์น ลี ได้ยื่นเรื่องเพื่อขอแก้ไขกฎหมายต่อสภานิติบัญญัติฮ่องกงในวันจันทร์(20)ล่าสุด   เป็นความเคลื่อนไหวหลังผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์แอปเปิลเดลี จิมมี ไล (Jimmy Lai) ที่อยู่ในเรือนจำในสัปดาห์ก่อนหน้านั้นพยายามต้องการหาความชัดเจนว่า เขาสามารถใช้ทีมกฎหมายทนายความชาวอังกฤษในการสู้คดีความมั่นคงของตัวเองในศาลฮ่องกงได้หรือไม่   ไลถูกปักกิ่งมองว่าเป็นหัวหน้าอยู่เบื้องหลังการประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตยในฮ่องกงปี 2019   ฮ่องกงฟรีเพรสซึ่งเป็นสื่อฮ่องกงรายงานวันจันทร์(20)ว่า ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์แอปเปิลเดลีที่โด่งดังได้ยื่นเรื่องต่อศาลสูงฮ่องกง ร้องขอให้ป้องกันคำสั่งจากรัฐบาลปักกิ่งไม่ให้มีผลกระทบต่อการใช้ทนายความชาวอังกฤษในคดีของเขา   สื่อฮ่องกงรายงานว่า คำร้องยื่นเมื่อวันศุกร์ก่อนหน้าเกิดขึ้นหลังคำตัดสินของปักกิ่งเมื่อเดือนธันวาคมปีที่แล้วที่ให้อำนาจแก่ผู้ว่าการเกาะ จอห์น ลี สามารถตัดสินใจอนุญาตให้มีทนายความต่างชาติเป็นตัวแทนลูกความในคดีความมั่นคงในฮ่องกงได้หรือไม่   บลูมเบิร์กรายงานว่า ในปีที่ผ่านมาลีได้ร้องขอการตัดสินใจจากปักกิ่งห้ามทนายความชาวอังกฤษชื่อดัง ทิมโมธี โอเวน (Timothy…