อันตราย! เตือน Deepfake ถูกนำมาใช้หลอกลวงบนโซเชียล ‘เร็วกว่าที่คาด’
ตามรายงานล่าสุด Deepfakes กลายเป็นเครื่องมือที่อาชญากรไซเบอร์ นักแฮกข้อมูล สำนักข่าวปลอม และอื่นๆ ใช้งานเพื่อสร้างเนื้อหาปลอม รวมถึงเพื่อหลอกลวงบนโซเชียลมีเดียเร็วกว่าที่คาด
ตามรายงานล่าสุด Deepfakes กลายเป็นเครื่องมือที่อาชญากรไซเบอร์ นักแฮกข้อมูล สำนักข่าวปลอม และอื่นๆ ใช้งานเพื่อสร้างเนื้อหาปลอม รวมถึงเพื่อหลอกลวงบนโซเชียลมีเดียเร็วกว่าที่คาด
ฟอร์ติเน็ต (Fortinet) ชี้จุดยืนทางการเมืองและอิทธิพลระหว่างประเทศของฝรั่งเศส ทำให้การแข่งขันโอลิมปิก ปารีส 2024 เป็นเป้าหมายสำคัญสำหรับกลุ่มที่มีแรงจูงใจทางการเมือง พบกิจกรรมกลุ่มแฮ็กคึกคักขึ้นหลังรัสเซีย-เบลารุสไม่ได้รับเชิญลงแข่งกีฬาโลก เล็ง Paris 2024 มียอดโจมตีเกิน Tokyo 2020 หรือโอลิมปิกเกมส์ครั้งก่อนหน้าที่ถูกโจมตี 4.4 พันล้านครั้ง
การศึกษาล่าสุดโดย “แคสเปอร์สกี้” เผย ธุรกิจที่มีสาขาอยู่ทั่วโลกกว่า 62% พบว่า องค์กรมีช่องโหว่ จากความแตกต่างกันในระดับความแข็งแรงของการป้องกันทางไซเบอร์ บริษัท 48% ยอมรับว่ามีปัญหานี้ แต่ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องวิกฤติ บริษัท 14% ระบุว่า สาขาของตนนั้นต้องการมาตรการด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์เพิ่มเติม ผู้เชี่ยวชาญของแคสเปอร์สกี้เตือนธุรกิจที่มีหลายสาขาว่า ความแตกต่างกันดังกล่าวอาจส่งผลต่อความปลอดภัยขององค์กรทั้งหมด 62% ยอมรับว่า ‘มีช่องโหว่’ แคสเปอร์สกี้เผยถึงข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของเครือข่ายและข้อมูลที่บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญโดยระบุว่า มีบริษัทที่ตอบแบบสอบถามเพียง 38% เท่านั้น ที่มั่นใจว่าระบบป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ของบริษัทสาขามีประสิทธิภาพเท่ากับในสำนักงานใหญ่ ขณะที่ บริษัท 62% ยอมรับว่ามีช่องโหว่ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา โดยแบ่งเป็นบริษัท 48% เห็นว่ามีปัญหาแต่ไม่ได้รุนแรง บริษัทเหล่านี้เชื่อว่าสาขาส่วนใหญ่ได้รับการป้องกันที่ดี บริษัท 13% มองว่าปัญหานี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วง โดยคิดว่ามีเพียงไม่กี่สาขาที่ได้รับการป้องกันอย่างเพียงพอ บริษัท 1% ระบุว่า ไม่มีสาขาใดเลยที่ได้รับการรักษาความปลอดภัยอย่างแท้จริง นอกเหนือจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ เหตุผลประการหนึ่งที่ทำให้การป้องกันไซเบอร์มีความเหลื่อมล้ำ คือการขาดความเชื่อมั่นในความเชี่ยวชาญของพนักงานประจำสาขา รายงานพบว่าบริษัท 37%…
ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ได้ออกโรงเตือนว่าสถานการณ์อาจจะเลวร้ายลงเรื่อย ๆ เนื่องจากแก๊งอาชญากรใช้ประโยชน์จากปัญญาประดิษฐ์เชิงรู้สร้าง (Generative AI) ในการฉ้อโกง
รายงานผลสำรวจจากเว็บไซต์ข้อมูลระบุชุดตัวเลขรหัส PIN ที่มีคนนิยมใช้มากที่สุด และมีความเสี่ยงสูงต่อการโดนแฮ็กข้อมูล
ปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์มักหลอกล่อให้ผู้ใช้งานวางใจและขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่ได้เห็นว่า การหลอกลวงทางโทรศัพท์กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว การโจมตีแบบ “ฟิชชิง (Phishing)” กลายเป็นภัยร้ายในยุคดิจิทัล… บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวในรายงาน “CyberArk Identity Security” โดย “ไซเบอร์อาร์ก” ผู้ให้บริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ชั้นนำว่า มัลแวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นความเสี่ยงลำดับอันดับต้นๆ ที่พบในองค์กรในปี 2566 ลิ้ม เทค วี รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียน ไซเบอร์อาร์ก เผยว่า ประเด็นหนึ่งที่กังวลก็คือ มีการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแชทบอทเพื่อโจมตีแบบฟิชชิง รวมถึงในปีนี้องค์กรเกือบทั้งหมด หรือกว่า 99.9% อาจพบกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้มากขึ้น ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ และการลดค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ถดถอย สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล องค์กรจึงต้องรีบดำเนินการก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป โดยเฉพาะเรื่องของการวางกลยุทธ์ เทคนิค และขั้นตอนที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันฟิชชิงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับ “วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการฟิชชิงแบบทั่วไป” ทีมรักษาความปลอดภัยไม่สามารถพึ่งพาแค่กลยุทธ์เดียวได้ ด้วยผู้โจมตีสามารถหาวิธีหลบหลีก ดังนั้นจึงต้อง “ใช้แนวทางแบบเป็น…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว