ออสเตรเลีย ยกเครื่องกฎหมายความปลอดภัยทางไซเบอร์ หลังถูกแฮ็กข้อมูล

Loading

  นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย สั่งยกเครื่องกฎหมายความเป็นส่วนตัวใหม่ หลังบริษัทโทรคมนาคมโดนแฮ็กฐานข้อมูลครั้งใหญ่ ซึ่งมีฐานลูกค้ากว่า 40% ของประชากร   หลังจากการรั่วไหลของข้อมูลครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของออสเตรเลีย ทำให้รัฐบาลออสเตรเลียกำลังวางแผนที่จะเข้มงวดขึ้นในข้อกำหนดสำหรับการเปิดเผยการโจมตีทางไซเบอร์   แอนโธนี อัลบานีส (Anthony Albanese) นายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย เผยว่า รัฐบาลตั้งใจที่จะยกเครื่องกฎหมายความเป็นส่วนตัว เพื่อให้บริษัทใดก็ตามที่ประสบปัญหาการแฮกข้อมูล จำเป็นต้องแบ่งปันรายละเอียดกับธนาคารเกี่ยวกับลูกค้าที่อาจได้รับผลกระทบเพื่อลดการฉ้อโกง   ภายใต้กฎหมายความเป็นส่วนตัวของออสเตรเลียในปัจจุบัน บริษัทต่าง ๆ จะถูกป้องกันมิให้เปิดเผยรายละเอียดดังกล่าวเกี่ยวกับลูกค้าของตนกับบุคคลที่สาม   การประกาศนโยบายดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากเกิดการแฮกข้อมูลครั้งใหญ่เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อ Optus บริษัทโทรคมนาคมที่ใหญ่เป็นอันดับสองของออสเตรเลีย แฮ็กเกอร์สามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนจำนวนมากจากลูกค้า Optus ได้มากถึง 9.8 ล้านราย หรือเกือบ 40% ของประชากรออสเตรเลีย ข้อมูลที่รั่วไหล ได้แก่ ชื่อ วันเกิด ที่อยู่ ข้อมูลติดต่อ และในบางกรณี หมายเลขใบอนุญาตขับรถหรือหนังสือเดินทาง   การแฮ็กอาจเป็นผลมาจากอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (Application Programming Interface: API) ที่มีการรักษาความปลอดภัยอย่างไม่เหมาะสมซึ่ง Optus พัฒนาขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการให้ตัวเลือกการตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยแก่ผู้ใช้…

รอยันหลานบวช! ‘จดหมายลับควีนเอลิซาเบธ’ ฝากไว้ที่ ‘ซิดนีย์’ ห้ามเปิดอ่านจนกว่าจะถึงปี 2085

Loading

  อีกหนึ่งเรื่องราวปริศนาที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 แห่งอังกฤษ โดยครั้งหนึ่งทรงมีพระราชหัตเลขา “ลับสุดยอด” ฝากไว้ให้ชาวนครซิดนีย์ในออสเตรเลีย และทรงกำชับหนักหนาว่า “ห้ามเปิดอ่านเด็ดขาด” จนกว่าจะถึงปี ค.ศ.2085   สมเด็จพระราชินีนาถซึ่งเสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 8 ก.ย.ที่ผ่านมา ขณะมีพระชนมายุ 96 พรรษา ได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาฉบับนี้ไว้เมื่อปี 1986 เนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองการบูรณะอาคารควีนวิกตอเรีย (Queen Victoria Building) ซึ่งเกิดขึ้นในปีเดียวกัน   อาคารหลังนี้ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี 1898 และได้รับการตั้งชื่อตามพระนามของสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย และถือเป็นหนึ่งในอาคารที่มีชื่อเสียงที่สุดของนครซิดนีย์   สมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2 ทรงฝากพระราชหัตถเลขาปิดผนึกไว้กับนายกเทศมนตรีซิดนีย์ และทรงมีพระราชเสาวนีย์ว่า “ณ วันที่ท่านคิดว่าเหมาะสมในปี ค.ศ.2085 ขอให้ท่านช่วยเปิดจดหมายนี้ออกอ่าน และแจ้งเนื้อความให้พลเมืองซิดนีย์ได้ทราบด้วย”   แม้ข้อความในพระราชหัตถเลขาจะยังคงเป็นความลับอยู่ แต่มีผู้คาดเดาว่าพระองค์น่าจะทรงขอบใจชาวซิดนีย์ที่ได้เก็บรักษาและซ่อมแซมอาคารประวัติศาสตร์เอาไว้ หลังจากที่มันเกือบจะถูกรื้อทิ้งเพื่อทำเป็นลานจอดรถ   เมื่อปี 1986 บริษัทสัญชาติมาเลเซียได้ทำสัญญาเช่าอาคารควีนวิกตอเรียเป็นระยะเวลา 99 ปี หรือเท่ากับว่าจะสิ้นสุดสัญญาในปี 2085 ซึ่งตรงกับช่วงเวลาที่พระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระราชินีนาถจะถูกเปิดอ่านพอดี   ปัจจุบัน…

ออสเตรเลีย ตั้งข้อหาวัยรุ่น ทำปืนใช้งานได้จริง จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

Loading

  วันที่ 14 มิ.ย. ซีเอ็นเอ็น รายงานว่า วัยรุ่นออสเตรเลีย ถูกตั้งข้อหามีความผิดเกี่ยวกับปืน หลังตำรวจยึดอาวุธปืนที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ซึ่งวัยรุ่นอ้างทำที่บ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ   ดาบตำรวจแบลร์ สมิธ ถืออาวุธปืนที่ทำจากเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ยึดได้ Credit: Nic Ellis ตำรวจในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียพบอาวุธปืนดังกล่าว และอาวุธปืนอื่นๆ จำนวนมาก หลังออกหมายค้นที่บ้านหนุ่มวัย 18 ปี ในช่วงต้นเดือน มิ.ย. ดาบตำรวจแบลร์ สมิธ บอกผู้สื่อข่าวว่า “อาวุธปืนนี้ แม้จะคล้ายของเล่น แต่มีความสามารถที่จะก่ออันตรายร้ายแรงภายในชุมชนของเรา เป็นที่น่ากังวลอย่างยิ่งว่า ผู้ชายคนนี้สามารถผลิตอาวุธปืนนี้ได้ที่บ้านด้วยเครื่องพิมพ์ 3 มิติ และวัสดุหาง่าย” ไนน์นิวส์ โทรทัศน์ออสเตรเลีย รายงานว่า อาวุธปืนพลาสติกดังกล่าวสามารถยิงกระสุนปืนได้ 15 ลูก ด้วยการเหนี่ยวไก 1 ครั้ง ตำรวจอ้างว่าใช้เวลา 2 วัน ในการผลิตด้วยวัสดุที่มีต้นทุนต่ำกว่า 40 ดอลลาร์ออสเตรเลีย…

สหรัฐฯ-อังกฤษ-ออสเตรเลียประกาศร่วมมือทางไฮเปอร์โซนิก หลังเพนตากอนซุ่มเงียบทดสอบมิสไซล์เหนือเสียงของล็อกฮีด มาร์ตินกลางมีนาคม

Loading

(ภาพบนขวา) มิสไซล์ไฮเปอร์โซนิก บริษัทล็อกฮีด มาร์ติน กลางมีนาคมปีนี้ และ (ภาพใหญ่) การทดสอบมิสไซล์ไฮเปอร์โซนิกบริษัทเรธีออน เทคโนโลยีส์ เมื่อกันยายนปีที่ผ่านมา   เอเอฟพี/เอเจนซีส์/MGRออนไลน์ – เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลียประกาศว่าจะเริ่มต้นร่วมมือทางความสามารถป้องกันและการโจมตีของมิสไซล์ไฮเปอร์โซนิกท่ามกลางคู่แข่งทั้งรัสเซียและจีนที่รุดหน้าในความก้าวหน้าเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เกิดขึ้นหลังกองทัพสหรัฐฯ เมื่อกลางเดือนมีนาคมประสบความสำเร็จโครงการ Hypersonic Air-breathing Weapon Concept หรือ HAWC ที่ยิงออกมาจากเครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 แต่ไม่มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ   เอเอฟพีรายงานวันนี้ (6 เม.ย.) ว่า สหรัฐฯ อังกฤษ และออสเตรเลีย แถลงในวันอังคาร (5) ว่า จะทำงานร่วมกันในเทคโนโลยีทางการทหารไฮเปอร์โซนิกอันเป็นส่วนหนึ่งของการขยายพันธมิตรทางการป้องกันกลุ่ม AUKUS ที่จะช่วยติดอาวุธเรือดำน้ำนิวเคลียร์เพื่อต่อต้านการขยายอิทธิพลทางการทหารของจีนในภูมิภาค   โดยประเทศทั้งสามประกาศความร่วมมือต่อการพัฒนาไฮเปอร์โซนิก การต่อต้านไฮเปอร์โซนิก และความสามารถทางสงครามอิเล็กทรอนิกส์วอร์แฟร์ ในแถลงการณ์ที่ออกโดยประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ บอริส จอห์นสัน และนายกรัฐมนตรีออสเตรเลีย…

สหรัฐฯ และ ออสเตรเลีย ลงนามแลกเปลี่ยนข้อมูลอาชญากร

Loading

  รัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ เมอร์ริค การ์แลนด์​และ รัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในของออสเตรเลีย คาเรน แอนดรูวส์ แถลงหลังร่วมลงนามการเข้าถึงข้อมูลอาชญากรรมตามกาละเทศะระหว่างสองประเทศ เพื่อประโยชน์ในการสืบคดีอาชญากรรมร้ายแรง โดยข้อตกลงร่วมนี้อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ คลาวด์ ของสหรัฐฯ ที่อนุญาตให้คู่สัญญาร้องขอและได้รับข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ จากบริษัทเทเลคอมต่าง ๆ ในอีกประเทศ โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการร้องขอต่อศาล ขณะที่รัฐบาลออสเตรเลียสามารถเรียกขอข้อมูลสื่อสารของผู้ต้องสงสัยได้แม้ว่าข้อมูลนั้นจะถูกเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ในสหรัฐฯ​ และ หน่วยงานยุติธรรมของสหรัฐฯ​จะไม่มีส่วนในการสืบสวนกรณีนั้นก็ตาม ————————————————————————————————————————————————- ที่มา :  AFP            / วันที่เผยแพร่   16 ธ.ค.2564 Link :  https://today.line.me/th/v2/article/oqOLMY6

หมดยุคอวตาร เล็งออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน

Loading

  ออสเตรเลีย เตรียมออกกฎหมายหมิ่นประมาท บังคับโซเชียล เปิดเผยตัวตน นายกรัฐมนตรี สกอตต์ มอร์ริสัน แห่งออสเตรเลีย กำลังออกกฎหมายหมิ่นประมาทฉบับใหม่ ซึ่งจะบังคับให้แพลตฟอร์มออนไลน์ต้องเปิดเผยตัวตนของอวตารหรือโทรลล์ มิฉะนั้นแพลทฟอร์มจะต้องชดใช้ค่าเสียจากการหมิ่นประมาท กฎหมายดังกล่าวจะมีแพลตฟอร์มโซเชียล เช่น Facebook หรือ Twitter ซึ่งจะต้องรับผิดชอบต่อความคิดเห็นใด ๆ ก็ตามที่สร้างความเสื่อมเสียให้กับผู้ใช้งาน แพลตฟอร์มจะต้องสร้างระบบการร้องเรียนที่ผู้คนสามารถใช้ได้หากรู้สึกว่าเป็นเหยื่อของการหมิ่นประมาท ในกระบวนการนี้ บุคคลที่โพสต์เนื้อหาที่หมิ่นประมาทจะถูกขอให้ลบออกในขั้นแรก แต่ถ้าพวกเขาปฏิเสธ หรือหากเหยื่อสนใจที่จะดำเนินการทางกฎหมาย แพลตฟอร์มก็สามารถขออนุญาตตามกฎหมายจากผู้โพสต์เพื่อเปิดเผยข้อมูลติดต่อของพวกเขาได้ ซึ่งจะสามารถดำเนินคดีตามกฏหมายต่อไป มอร์ริสัน เปิดเผยอีกว่า โลกออนไลน์ไม่ควรเป็นที่ซึ่งบอทและพวกหัวรุนแรงและโทรลล์และคนอื่น ๆ จะไม่เปิดเผยตัวตน แต่สามารถเข้ามาทำร้ายผู้คนได้ และร่างกฎหมาย “ต่อต้านโทรลล์” คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ คิดยังไงกัน หากกฏหมายนี้การบังคับใช้ในไทยบ้าง ?       ที่มาข้อมูล  https://www.theverge.com/2021/11/28/22806369/australia-proposes-defamation-laws-unmask-trolls     ————————————————————————————————————————————————————— ที่มา :  Techhub           …