ภัยจากการถูกเก็บดีเอ็นเอ (1)

Loading

  ปัจจุบัน ภัยจากการรั่วไหลของข้อมูลมาเป็นอันดับต้น ที่เป็นปัญหาในเมืองไทยตอนนี้ก็คือภัยจากคอลเซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันแล้วว่ามาจากเจ้าหน้าที่รัฐแอบนำข้อมูลไปขาย ใหญ่กว่านั้นก็เป็นระดับภูมิภาคและประเทศ วันนี้มีการเก็บสะสมข้อมูลดีเอ็นเอและลักษณะทางชีวภาพของเผ่าพันธุ์ทั่วโลก บ้านเมืองใดไม่ระวังก็อาจจะเผชิญภัยด้านความมั่นคงได้ในอนาคต   เดือนตุลาคม 2018 พลตรีอีกอร์ คิริลอฟ ผู้บัญชาการของกองบัญชาการพิทักษ์ป้องกันด้านรังสี เคมี และชีวภาพของรัสเซีย เปิดโปงเครือข่ายห้องแล็บของกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯที่มาตั้งอยู่ในพื้นที่หลายแห่งใกล้ชายแดนรัสเซียและจีน เพื่อเก็บข้อมูลสารพันธุกรรม (Deoxyribonucleic acid หรือ DNA) ของผู้คนเผ่าพันธุ์ต่าง ๆ ในภูมิภาคนี้ ไม่ว่ารัสเซีย จีน คาซัค คีร์กีซ มองโกล ตาตาร์ ทาจิก อุซเบก ฯลฯ รัสเซียตั้งข้อสังเกตว่า การเข้ามาสะสมข้อมูลดีเอ็นเอของผู้คนจำนวนมาก สหรัฐฯ อาจจะเข้ามาสร้างอาวุธชีวภาพทำลายผู้คนทางแถบนี้ได้   หลังจากโซเวียตแตกเมื่อ ค.ศ.1991 สหรัฐฯ ก็พัฒนาความเป็นหุ้นส่วนด้านการวิจัยทางชีวภาพกับอดีตสาธารณรัฐของสหภาพโซเวียตหลายแห่ง หนึ่งในหลายโครงการของสหรัฐฯก็คือ โครงการลดภัยคุกคามทางชีวภาพ นันน์-ลูการ์ สหรัฐฯ อ้างว่า โครงการนี้ป้องกันไม่ให้การพัฒนาอาวุธชีวภาพรั่วไหล แต่รัสเซียส่งคำเตือนไปยังสาธารณรัฐทั้งหลายมาโดยตลอด ว่าความร่วมมืออย่างนี้เป็นภัยคุกคามต่อรัสเซียและเผ่าพันธุ์ในยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง   สำนักงานการลดภัยคุกคามด้านกลาโหมของสหรัฐฯ ใช้เงินอีก 102…

‘พฤติกรรมดิจิทัล’เป้าโจมตี อาชญากรไซเบอร์ – จับตา ‘ฟิชชิ่ง’ ระบาดหนักในไทย!

Loading

  พฤติกรรมดิจิทัลแบบใหม่ คือ “เป้าหมายโจรไซเบอร์” แคสเปอร์สกี้ เผยตัวเลขการตรวจพบ “ฟิชชิ่งการเงิน” มากกว่า 1.6 ล้านรายการในอาเซียน และ “1.2 แสนรายการ” ในไทย   การระบาดครั้งใหญ่ได้เร่งการใช้งานดิจิทัลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสร้างพฤติกรรมทางดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ทั้งที่เกี่ยวข้องกับเหตุฉุกเฉินด้านสุขภาพและอื่น ๆ อาชญากรไซเบอร์ก็ใช้ประโยชน์จากกระแสนี้และกำหนดเป้าหมายโจมตีผู้ใช้เพื่อประโยชน์ของตนโดยเฉพาะ   ผู้ใช้งานระบบการชำระเงิน ร้านค้าออนไลน์ และธนาคารออนไลน์เป็นเป้าหมายด้านการเงินที่สำคัญสำหรับฟิชเชอร์ ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ข้อมูลของแคสเปอร์สกี้ แสดงให้เห็นว่ามีการตรวจพบและบล็อกการโจมตีฟิชชิ่งที่เกี่ยวข้องกับการเงินมากถึง 1,604,248 รายการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สัดส่วนการตรวจจับสูงสุดแบ่งเป็นการโจมตีที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน 840,254 รายการ รองลงมาคือร้านค้าอีคอมเมิร์ซ 621,640 รายการ และธนาคารออนไลน์ 142,354 รายการ   ข้อมูลข้างต้นมาจากข้อมูลที่ไม่ระบุชื่อผู้ใช้โดยอิงจากการทริกเกอร์องค์ประกอบที่กำหนดในระบบ Anti-Phishing ของแคสเปอร์สกี้บนคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ คอมโพเนนต์จะตรวจจับเพจทั้งหมดที่มีเนื้อหาฟิชชิ่งที่ผู้ใช้พยายามเปิดโดยคลิกลิงก์ในข้อความอีเมลหรือบนเว็บที่ลิงก์ไปยังเพจที่มีอยู่ในฐานข้อมูลแคสเปอร์สกี้   ฟิชชิ่ง คือ การหลอกลวงทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอข้อมูลที่สำคัญเช่น รหัสผ่าน หรือหมายเลขบัตรเครดิต โดยการส่งข้อความผ่านทางอีเมลหรือเมสเซนเจอร์…

นักวิจัยพบช่องโหว่ Polite WiFi ทำให้แฮ็กเกอร์รู้ตำแหน่งและเจาะข้อมูลได้ง่าย

Loading

  นักวิจัยพบข้อบกพร่องของ WiFi แบบ Polite WiFi ทำให้แฮ็กเกอร์ระบุตำแหน่งด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ ผ่านกำแพงที่มีความหนาถึง 3.3 ฟุต ได้อย่างง่ายดาย   ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอเตอร์ลู (University of Waterloo) ค้นพบว่าอุปกรณ์สมาร์ตโฟนต่าง ๆ มีการตอบรับสัญญาณโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีการเข้ารหัสเอาไว้ก็ตาม ทำให้แฮ็กเกอร์รู้ตำแหน่งของอุปกรณ์อัจฉริยะทั้งหลาย เช่น กล้องวงจรปิด แล็ปท็อป สมาร์ตทีวี หรือสามารถติดตามอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างโทรศัพท์มือถือได้ง่าย   เนื่องจากมีการพัฒนาโดรนบินที่เรียกว่า Wi-Peep ซึ่งจะส่งสัญญาณหลายประเภทในขณะบินและวัดเวลาตอบสนอง จะทำให้อุปกรณ์ตอบสนองต่อความพยายามในการติดต่อโดยอัตโนมัติ ซึ่งวิธีการนี้จะเชื่อมต่ออุปกรณ์เครือข่ายแบบสามเหลี่ยมได้ภายใน 1 เมตร จากตำแหน่งของอุปกรณ์ และยังสามารถติดตามอุปกรณ์สื่อสารที่เคลื่อนที่ได้อีกด้วย   อุปกรณ์ Wi-Peep เปรียบเสมือนแสงในสเปกตรัมที่มองเห็นได้ ส่วนกำแพงเปรียบเสมือนกระจก ทำให้สามารถติดตามการเคลื่อนไหวของเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยภายในอาคารได้ โดยติดตามตำแหน่งของโทรศัพท์หรือสมาร์ตวอทช์ ในขณะเดียวกันก็สามารถระบุตำแหน่งและประเภทของอุปกรณ์อัจฉริยะในบ้าน เพื่อค้นหาอุปการณ์ที่เหมาะสำหรับการเจาะข้อมูลบุกเข้ามา   สิ่งที่น่ากังวลคือผู้โจมตีไม่จำเป็นต้องเห็นเป้าหมายก็สามารถสั่งการผ่านโดรนที่ติดตั้งกล้องจากตำแหน่งที่ซ่อนอยู่ได้ ถึงแม้ว่าผู้เสียหายจะมองเห็นโดรนที่แอบซ่อนอยู่ก็ไม่สามารถระบุตำแหน่งของผู้สั่งการได้ นอกจากนี้ อุปกรณ์ที่นำมาใช้ประกอบโดรนยังหาซื้อได้ง่าย ทำให้โดรน Wi-Peep มีราคาถูกและสร้างขึ้นได้อย่างง่ายดาย และยังไม่มีวิธีการป้องกันการโจมตีประเภทนี้…

เตรียมซ้อมใหญ่แผนต่อต้านก่อการร้าย เพื่อความปลอดภัยการประชุม “เอเปค”

Loading

  “ผบ.ตร.” เผย มีการซ้อมใหญ่รถนำขบวนผู้เข้าร่วมประชุม เพราะจะมีการซ้อมใหญ่อีกครั้งในวันที่ 12 พฤศจิกายน ส่วนวันที่ 11 พฤศจิกายน จะมีการซักซ้อมแผนต่อต้านก่อการร้าย   พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. กล่าวถึงมาตรการความพร้อมในการดูแลรักษาความปลอดภัยการประชุม “เอเปค” ว่า หลังจากที่เมื่อวานนี้มีการซ้อมใหญ่รถนำขบวนผู้นำประเทศเศรษฐกิจ ที่เข้าร่วมประชุม เพราะจะมีการซ้อมใหญ่อีกครั้ง วันที่ 12 พฤศจิกายน ส่วนวันที่ 11 พฤศจิกายน จะมีการซักซ้อมแผนต่อต้านการก่อการร้าย ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิต์   ซึ่งหลังจากนี้ก็จะมีการซักซ้อมแผนต่าง ๆ เช่นการดูแล “ความปลอยภัย” ที่พัก ที่ประชุม การก่อความไม่สงบหรือการประท้วงชุมนุมต่าง ๆ ก่อนที่จะมีการเปิดศูนย์การทำงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 พฤศจิกายนนี้ โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้าศูนย์   เตรียมความปลอดภัย   ส่วนการก่อเหตุความไม่สงบขณะนี้ยังไม่มีการข่าวที่ชัดเจนว่าจะมีการก่อเหตุ แต่ “ตำรวจ” ได้มีการตั้งจุดตรวจคัดกรองตั้งแต่กองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 มาจนถึงกรุงเทพฯ…

นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟเตือนพลเมืองเตรียมอพยพ หากไฟฟ้าดับทั้งระบบ

Loading

  นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟเตือนพลเมืองเตรียมอพยพออกนอกพื้นที่ หากไฟฟ้าดับทั้งระบบ หลังตลอดหลายสัปดาห์ที่รัสเซียโจมตีโครงสร้างพื้นฐานในเมืองอย่างหนักหน่วง   นาย วิตาลี คลิทช์โก นายกเทศมนตรีกรุงเคียฟ เมืองหลวงของยูเครน ระบุว่า เจ้าหน้าที่กำลังทุกวิถีทางเพื่อให้ประชาชนยังคงมีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ พร้อมทั้งยืนยันว่าได้เตรียมแผนรับมือสถานการณ์ต่างๆไว้แล้ว รวมทั้งจุดพักพิงฉุกเฉิก 1,000 จุด ที่ติดตั้งเครื่องทำความร้อน เพื่อให้ประชาชนพักอาศัย หากเกิดกรณีฉุกเฉิน   ขณะเดียวกัน คลิตชโก แนะนำประชาชนในกรุงเคียฟที่มีอยู่ราว 3 ล้านคน เตรียมความพร้อมย้ายไปอยู่กับเพื่อน หรือ ญาติ ในย่านชานเมืองที่ระบบไฟฟ้าและน้ำประปายังคงใช้การได้     โดย คลิตชโก ยังเตือนประชาชนเร่งสำรองของใช้จำเป็นโดยเฉพาะเชื้อเพลิง อาหาร และ น้ำ   คำเตือนของ คลิทช์โก เกิดขึ้นหลัง ตลอดหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กองทัพรัสเซียได้เปิดฉากโจมตีทางอากาศที่มีเป้าหมายหลักคือโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและไฟฟ้าในกรุงเคียฟ ทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ประมาณ 40% ถูกทำลาย หรือได้รับความเสียหาย และ ทางการต้องใช้วิธีดับไฟในบางช่วงเวลา เพื่อไม่ให้ระบบที่เหลืออยู่ทำงานหนักจนเกินไป     ขณะที่สื่อมวลชนหลายสำนักของรัสเซีย รายงานโดยอ้างคำพูดของหน่วยฉุกเฉินเมื่อวานนี้ ว่า…

กองทัพสหรัฐมาแรง พัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับ UUV เฝ้าระวังภัยให้ยานแม่

Loading

  อนาคตในการรบใต้น้ำกำลังเปลี่ยนไป เมื่อกองทัพเรือสหรัฐ กำลังพัฒนาโดรนใต้น้ำไร้คนขับรุ่นใหม่ Unmanned underwater vehicle (UUV) ซึ่งสามารถปล่อยออกจากเรือดำน้ำได้ง่าย และมันก็สามารถกลับมาที่เรือได้ด้วยตัวเอง   แนวคิดของการสร้างโดรนคือ จะใช้โดรนเป็นยากลูกที่ปล่อยไปอยู่แนวหน้าสำหรับการตววจจับการเคลื่อนไหวของศัตรูรวมทั้งตอปิโดที่พุ่งมาจากระยะไกล โดรนจะคอยเป็นหูเป็นตาเพิ่มเติมให้กับยานแม่ นอกจากนี้ยังสามารถนำมาสำรวจมหาสมุทรหรือค้นหาภูเขาใต้น้ำที่อาจสร้างความเสียหายให้กับเรืออื่น ๆ ได้ โดยล่าสุด เรือดำน้ำจู่โจมเร็วของ USS Connecticut ชนกับภูเขาในทะเลที่ไม่จดอยู่ในแผนที่ ภายในเดือนตุลาคม 2021 อุบัติเหตุครั้งนี้ทำให้ลูกเรือ 21 คนได้รับบาดเจ็บ   ในส่วนของการติดตั้งอาวุธ พวกเขาบอกมันยังไม่ถูกพัฒนาไปถึงขั้นนั้น (แต่อนาคตไม่แน่) ขั้นต้นจะเป็นการใช้โดรนเพื่อสำรวจ ซึ่งตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างการทดสอบ โดยสามารถปล่อยออกจากเรือดำเนินได้ด้วยตัวเองเป็นผลสำเร็จ แต่ขากลับ ต้องใช้นักประดาน้ำในการไปเก็บมันกลับมา เพราะมันยังหาทางกลับมาเองไม่ถูก ซึ่งสิ่งที่พวกเขาต้องการพัฒนาคือ มันต้องออกและหาทางกลับมาที่ยานแม่ได้ด้วยตัวเองมัน (นึกถึงเครื่องบินไร้คนขับในเรื่อง stealth เลยแฮะ)   ในขณะที่ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้น เราได้เห็นทั้งจีน รัสเซีย และสหรัฐได้พยายามพัฒนาอาวุธใหม่ ๆ มากขึ้นเรื่อย โดยก่อนหน้านี้ จีนก็ได้เปิดตัวเรือดำน้ำไร้คนขับขนาดใหญ่ที่สามารถบรรจุขีปนาวุธและตอปิโดไว้ในนั้นได้ แน่นอนว่ามันสามารถทำตามคำสั่งโดยไม่มีการลังเลใด ๆ ครับ อนาคตโลกเราจะเป็นยังไงต่อไป…