รัฐแคลิฟอร์เนียออกกฎหมายคุ้มครอง ‘ข้อมูลประสาท’ จากคลื่นสมองคนไข้

Loading

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากเมืองซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 1 ต.ค. ว่า นายเกวิน นิวซัม ผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย ลงนามในกฎหมายแก้ไขใหม่ เพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค ซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ของสหภาพยุโรป (จีดีพีอาร์) เพื่อควบคุมความเป็นส่วนตัวของ “ข้อมูลประสาท” จากการระบุพิกัด, พันธุกรรม และข้อมูลชีวภาพ

เปิดพฤติการณ์แก๊งคาร์บอมบ์ตากใบ จี้ชิง จยย.ชาวบ้าน 4 คัน คาดหนีข้ามแดน

Loading

ความคืบหน้าเหตุการณ์ “คาร์บอมบ์” ที่บริเวณสามแยกใกล้บ้านพักนายอำเภอตากใบ และกองร้อยอาสารักษาดินแดนที่ 5 อ.ตากใบ ในพื้นที่ หมู่ 3 ต.เจ๊ะเห อ.ตากใบ จ.นราธิวาส เมื่อค่ำของวันที่ 29 ก.ย.67 ที่ผ่านมา จนทำให้มีกำลังพลทหารนาวิกโยธินฯ ได้รับบาดเจ็บจำนวน 2 นาย ทั้งยังทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายจากแรงระเบิดและเพลิงไหม้นั้น

นศ. สุดเจ๋ง ใช้ “เอไอ” พิสูจน์ได้ว่าคนที่มีลายนิ้วมือเหมือนกันมีอยู่จริง

Loading

เกบ กัว นักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมซึ่งเป็นหัวหน้าของโครงการค้นคว้าที่แสนท้าทายครั้งนี้ โดยเขายกประเด็นโต้แย้งหลักการที่ได้รับการยอมรับกันมานานหลายสิบปีว่า ลายนิ้วมือแต่ละนิ้วของคนล้วนมีเอกลักษณ์และไม่มีลายนิ้วมือคู่ใดในโลกนี้ที่เหมือนกันทุกประการ

Mastercard เปิดบริการจ่ายเงินด้วยใบหน้าหรือลายนิ้วมือ

Loading

  Mastercard เปิดโครงการ Biometric Checkout เป็นเฟรมเวิร์คสำหรับบริษัทพันธมิตรเข้ามาให้บริการจ่ายเงินแบบใช้เพียงใบหน้าหรือลายนิ้วมือ โดยการทดสอบครั้งแรกจะเริ่มในบราซิล พันธมิตรที่ร่วมทดสอบกลุ่มแรก ได้แก่ NEC , Payface , Aurus , PaybyFace , PopID , และ Fujitsu Limited ในบราซิลจะเป็นการทดสอบกับบริษัท Payface ก่อน โดยเฟรมเวิร์คจะกำหนดแนวทางการรักษาความปลอดภัย , ประสิทธิภาพของระบบ biometric ที่ใช้งาน , และการเก็บรักษาข้อมูล biometric ผู้ใช้ที่ร่วมทดสอบกับ Payface จะต้องลงทะเบียนใบหน้าผ่านแอป Payface ก่อน จากนั้นเมื่อเข้าคิวจ่ายค่าสินค้า ก็สามารถจ่ายได้ทันทีเพียงแค่ยิ้มให้กับกล้อง ประโยชน์สำหรับผู้จ่ายคือไม่ต้องหาบัตร ขณะที่ร้านค้าเองก็น่าจะทำให้คิวจ่ายเงินใช้เวลาน้อยลง การยืนยันตัวตนด้วยชีวมิติ (biometric) นั้นมีข้อจำกัดที่ความแม่นยำจะต่ำกว่าการยืนยันด้วยกระบวนการเข้ารหัสลับ เช่น ในชิปบัตรเครดิตทุกวันนี้ ที่ผ่านมา Mastercard เองก็ใช้เทคโนโลยีกลุ่มนี้ร่วมกับการยืนยันด้วยบัตรเครดิตที่มีตัวอ่านลายนิ้วมือ หรือยืนยันตัวตนกับโทรศัพท์มือถือผ่านโปรโตคอล FIDO อีกชั้น น่าสนใจว่าการใช้ใบหน้าหรือลายนิ้วมือเพียงอย่างเดียวจะมีความแม่นยำเพียงพอหรือไม่ ตลอดจนทนทานต่อความพยายามปลอมแปลงตัวหรือเปล่า…

วีซ่าเริ่มใช้ข้อมูลชีวมาตรกับบริการบัตรเครดิต

Loading

  บริษัทวีซ่าจะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือแทนรหัสล็อกและลายเซ็นเต่หลายคนกังวลเรื่องความมั่นคงปลอดภัย   ปัจจุบัน เราใช้ลายพิมพ์นิ้วมือเปิดล็อคประตู โทรศัพท์มือถือ เเละอุปกรณ์อื่นๆ ได้แล้ว แต่ผู้บริโภคพร้อมหรือยังที่จะใช้ลายพิมพ์นิ้วมือในการจ่ายเงิน บริษัทวีซ่า (VISA) ยักษ์ใหญ่ด้านการบริการทางการเงิน มองว่า ลูกค้าพร้อมเเล้วที่จะใช้ประโยชน์จากข้อมูลทางชีวมาตร หรือ biometrics ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะทางกายภาพเพื่อแสดงตน เเต่ยังมีข้อสงสัยกันว่า เทคโนโลยีนี้ มีความปลอดภัยเเค่ไหน บริษัทวีซ่าที่ให้บริการบัตรเครดิต บัตรเดบิท เเละบัตรจ่ายเงินล่วงหน้า ได้เริ่มต้นทดสอบการใช้งานบัตรต่างๆ ที่มีตัวอ่านลายพิมพ์นิ้วมือฝังไว้ภายใน ผู้ใช้เพียงกดนิ้วมือลงบนเครื่องเซ็นเซอร์ และอาจจะเสียบบัตรเข้าไปที่ช่องอ่านชิพ หรือถือบัตรไว้เหนือจุดจ่ายเงิน การใช้ลายพิมพ์นิ้วมือช่วยให้ลูกค้าข้ามขั้นตอนที่ต้องระบุ รหัสล็อก หรือ PIN หรือไม่ต้องเขียนลายเซ็นลงไปที่ใบสั่งจ่ายเงินค่าสินค้าหรือบริการ ลายพิมพ์นิ้วมือของผู้ใช้บัตรเครดิตจะถูกเปรียบเทียมกับลายพิมพ์นิ้วมือที่เข้าระบบเอาไว้ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่เก็บไว้ในชิrของบัตรเครดิต เพื่อสร้างรหัสแบบสุ่มที่เรียกว่า คริพโตแกรม (cryptogram) และสีเเดงหรือสีเขียวบนตัวบัตรจะช่วยระบุว่าลายนิ้วมือของผู้ใช้ตรงกับลายนิ้วมือในบัตรหรือไม่ Matt Smith ประธานฝ่าย platform strategy ที่ VISA กล่าวว่า บัตรเครดิตนั้นๆ จะถูกตั้งให้ใช้ข้อมูลชีวมาตรที่เป็นลายพิมพ์นิ้วโป้ง เพราะลายพิมพ์นิ้วมือของเเต่ละคนไม่เหมือนกัน เเละจะออกคำสั่งให้ตอบรับเมื่อลายพิมพ์นิ้วมือตรงกับที่บันทึกเอาไว้ในบัตรเเละปฏิเสธเมื่อไม่ตรงกัน สำหรับลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตร่วมกับคนอื่นๆ การสั่งจ่ายเงินจะกลับไปใช้ระบบระบุรหัสล็อก หรือเขียนลายเซ็นแทน บริษัทวีซ่าไม่ได้เป็นบริษัทที่ใช้ระบบจ่ายเงินดิจิตัลบริษัทเเรกที่ต้องการใช้ประโยชน์จากข้อมูลทาง…