ความท้าทายในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

  การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วงสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า กลไกการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว   แพลตฟอร์มเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมและข้ามสังคมที่แตกต่างไปจากในอดีต ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทั้งที่เป็นธุรกรรมส่วนบุคคล ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกรรมการเงิน ตลอดจนถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ   แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมของตนเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย   แพลตฟอร์มดิจิทัลมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ เช่น การได้ประโยชน์จากผลของการมีเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ผู้ใช้แพลตฟอร์มสามารถกำหนดเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เอง   อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจมีการนำเข้าข้อมูลเท็จ การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง และการควบคุมประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกลายเป็นการชักนำความเห็นได้   สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีกลไกเพื่อควบคุมเนื้อหาและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ   ในด้านการค้า แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้   นอกจากนี้แล้ว แพลตฟอร์มยังสามารถในการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดเฉพาะบุคคล จนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไปในทางที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และการใช้เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด จนอาจนำไปสู่การมีอำนาจเหนือตลาดได้   อีกประเด็นที่มักทำให้เกิดความกังวลคือ การดำเนินงานของแพลตฟอร์มอาจเป็นการขัดขวางการแข่งขัน (Anti-Competitive Practices) ซึ่งมักนำไปสู่การตรวจสอบอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง     เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ หน่วยงานในประเทศเหล่านี้ได้ตรวจสอบผลกระทบของการครอบงำจากแพลตฟอร์ม (Platform Dominance)…

‘รอยเท้าดิจิทัล’ จากทำธุรกรรมออนไลน์ ‘ความจำเป็น และ ‘ความเสี่ยง’

Loading

ในยุคดิจิทัลที่ทุกสิ่งทุกอย่างถูกเชื่อมต่อผ่านอินเทอร์เน็ต การทำธุรกรรมออนไลน์ตั้งแต่สั่งซื้อสินค้า สั่งอาหาร การเรียกบริการรถ และการใช้บัตรทางด่วน กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น ตลอดจนการชำระเงินผ่าน QR Code หรือพร้อมเพย์โดยใช้โมบายล์แบงกิ้งหรือดิจิทัลวอลเล็ต รวมถึงการชำระเงินผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิต ก็กลายเป็นเรื่องปกติที่ผู้คนอยากจะใช้เงินสดน้อยลง

CAC ยกร่างกฎควบคุมการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า

Loading

  สำนักงานไซเบอร์สเปซจีน (CAC) เผยว่าได้ยกร่างกฎควบคุมความมั่นคงปลอดภัยในการใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้า   CAC ชี้ว่าต้องมีการควบคุมให้ใช้เทคโนโลยีดังกล่าวในจุดประสงค์เฉพาะและต้องมีความจำเป็นที่พอเหมาะ ภายใต้มาตรการเชิงป้องกันที่เข้มงวด   นอกจากนี้ การใช้เทคโนโลยีจดจำใบหน้ายังต้องได้รับความยินยอมจากปัจเจกบุคคล อีกทั้งยังควรใช้ระบบการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่ข้อมูลไบโอเมตริกซ์หากมีประสิทธิภาพเท่ากัน   ในร่างกฎของ CAC ยังห้ามการใช้อุปกรณ์ยืนยันตัวตนและการจับภาพในห้องพักโรงแรม ห้องน้ำสาธารณะ ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า และสถานที่อื่น ๆ ที่จะละเมิดความเป็นส่วนตัว   การติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ควรมีเป้าหมายเพื่อความปลอดภัยสาธารณะเท่านั้นและต้องมีป้ายเตือนที่เห็นเด่นชัดวางอยู่ใกล้ ๆ ด้วย     ที่มา   Reuters       ————————————————————————————————————————————————— ที่มา :                    แบไต๋                     /…

“อเมซอน” ต้องจ่าย 1,072 ล้านบาท ข้อหาสอดแนมลูกค้าผ่านกล้องวงจรปิดและลำโพง

Loading

    อเมซอน ตกลงจ่ายเงิน 30.8 ล้านดอลลาร์ เพื่อยุติข้อกล่าวหา ละเมิดความเป็นส่วนตัวลูกค้า ทั้งการสอดแนมผู้หญิงผ่านกล้องวงจรปิดที่ติดตั้งในห้องนอนและห้องน้ำหลายเเห่งเป็นเวลาหลายเดือน และบันทึกเสียงผู้ใช้งานลำโพงนานเกินความจำเป็น   สำนักข่าวอัลจาซีราห์ รายงานว่า บริษัทเทคยักษ์ใหญ่อเมซอนตกลงจ่ายเงิน 5.8 ล้านดอลลาร์ หลังคณะกรรมาธิการว่าด้วยการค้าแห่งสหพันธรัฐ (เอฟทีซี) เผยว่า อดีตพนักงานอเมซอนสอดแนมลูกค้าผู้หญิงหลายคนเป็นเวลาหลายเดือน ในปี 2560 โดยใช้กล้องวงจรปิดรักษาความปลอดภัย บริษัทริง ติดตั้งไว้ในห้องนอนและห้องน้ำ   อเมซอนยังตกลงจ่ายเงินอีก 25 ล้านดอลลาร์ สำหรับข้อกล่าวหาละเมิดความเป็นส่วนตัวเด็ก เนื่องจากไม่สามารถลบคลิปเสียงจากลำโพงสั่งการด้วยเสียงอัจฉริยะอเล็กซา เมื่อผู้ปกครองเด็ก ๆ ร้องขอให้ลบ และบริษัทยังเก็บบันทึกเสียงไว้นานเกินความจำเป็น   “ชามูแอล เลวีน” ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคของเอฟทีซี กล่าวว่า “อเมซอนละเมิดความเป็นส่วนตัวเพื่อผลประโยชน์ การเพิกเฉยต่อความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของบริษัทริงทำให้ผู้บริโภคถูกสอดแนมและล่วงละเมิด”   สำนักงานใหญ่อเมซอน กล่าวว่า “อุปกรณ์และบริการของบริษัท สร้างมาเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของลูกค้า และให้ลูกค้าควบคุมประสบการณ์การใช้งานด้วยตนเอง”     สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า ริง (Ring) บริษัทในเครืออเมซอน เผยว่า…

Google ก็มา! ยอมจ่ายเกือบ 400 ล้านเหรียญ หลังแอบเก็บข้อมูลโลเคชันแม้ผู้ใช้งานปิดแล้ว

Loading

  เมื่อวานนี้มีข่าวว่า Apple ถูกฟ้องกลุ่มกรณีมีการเก็บข้อมูลการใช้งานแม้ว่าผู้ใช้งานจะปิดไว้แล้วก็ตาม ก็ต้องรอกระบวนการทางกฏหมายต่อไป แต่ล่าสุด Google ได้ยุติคดีโดยยอมจ่ายกว่า 400 ล้านเหรียญเนื่องจากบริษัทเก็บข้อมูลตำแหน่งของผู้ใช้งานแม้ว่าจะปิดไปแล้วก็ตาม   กลุ่มทนายความจากโอเรกอน นิวยอร์ก ฟลอริดา เนบราสก้า และรัฐอื่น ๆ ได้เปิดการสอบสวนตามรายงานเมื่อปี 2018 จาก Associated Press เผยข้อมูลว่า Google ติดตามตำแหน่งของผู้ใช้ในบริการต่าง ๆ บน iPhone และ Android ได้อย่างไร ตั้งแต่ปี 2014 – 2019, Google ได้หลอกผู้ใช้งานว่าระบบไม่มีการเก็บข้อมูลแล้วกรณีที่ผู้ใช้งานเลือกปิด แต่เบื้องหลังยังมีการเก็บข้อมูลอยู่ โดย Google จะนำข้อมูลเหล่านั้นไปปรับการโฆษณาหรือทำให้ Google Ads ตรงใจผู้ใช้งานมากขึ้น   ด้าน Google ชี้แจงว่านั่นเป็นนโยบายของผลิตภัณฑ์ที่ล้าสมัยแล้ว ปัจจุบันบริษัทได้ปรับปรุงระบบใหม่แล้ว โดย Google จะชี้แจ้งเรื่องการเก็บข้อมูลที่ละเอียดขึ้นกว่าเดิมด้วย   Google ปรับปรุงข้อตกลงนี้ใหม่หลังจากจ่ายเงิน…

Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ ลดการละเมิดความเป็นส่วนตัว

Loading

  Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ เพื่อลดการละเมิดความเป็นส่วนตัว และป้องกันการการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเรื่องนี้เป็นประเด็นตั้งแต่ปี 2021 กลุ่ม EU โดย รัฐสภายุโรป (EP) MEPs ได้เรียกร้องให้แบนการใช้เทคโนโลยีการจดใบหน้าในพื้นที่สาธารณะ เพราะเป็นการละเมิดสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยมีความเป็นไปได้ว่าโปรแกรมเมอร์ที่เขียนอัลกอริทึ่มของระบบ อาจใส่อคติลงไป ทำให้ Ai อาจมีอคติเช่นกัน ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อน และมีปัญหาให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง Microsoft จะเลิกใช้ AI จดจำใบหน้าที่สามารถตรวจจับอารมณ์ได้ โดยนักพัฒนารายใหม่ จะไม่สามารถใช้ Framework เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมจดจำใบหน้าของ Microsoft ได้อีกต่อไป ซึ่งนักพัฒนาที่ใช้อยู่เดิมจะสามารถใช้งานได้จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2023 แต่ทาง Microsoft เองจะยังคงมีเทคโนโลยีนี้อยู่เพื่อช่วย “สำหรับการควบคุม” เช่น Seeing AI สำหรับช่วยเหลือคนตาบอดและผู้ที่มีปัญหาด้านการมองเห็น Microsoft ได้แชร์ Responsible AI Standard ( กรอบจริยธรรมในการพัฒนา AI )…