อาเซียนจะมีบทบาทแก้ไขวิกฤตการณ์พม่าในอนาคตอย่างไร

Loading

การประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรี อันวาร์ อิบราฮิม ในฐานะประธานอาเซียน และ มิน อ่อง หล่าย ประธานสภาบริหารแห่งรัฐ (SAC) ภายใต้การอำนวยความสะดวกของอดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ของไทย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2025 ตามด้วยการประชุมทางออนไลน์ระหว่างอันวาร์และ มาน วิน คาย ถั่น (Mahn Winn Khaing Thann) นายกรัฐมนตรีของรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (NUG) ในวันถัดมา ก่อให้เกิดคำถามสำคัญว่ามันมีความหมายต่อบทบาทในอนาคตของอาเซียน

ทางการพม่าตรวจหนังสือเดินทางเข้ม ขวางหนุ่มสาวไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศ

Loading

รัฐบาลทหารพม่ากำลังขัดขวางไม่ให้คนหนุ่มสาวที่ต้องการหางานทำในต่างประเทศเดินทางออกนอกประเทศผ่านทางสนามบินนานาชาติย่างกุ้ง

รัฐบาลทหารพม่าขอจีนช่วยเหลือระบบอิเล็กทรอนิกส์ ID ก่อนสำรวจสำมะโนประชากรปีหน้า

Loading

สื่อพม่ารายงานว่ารัฐบาลทหารได้ขอให้จีนช่วยเหลือนำระบบระบุตัวตนอิเล็กทรอนิกส์แบบใหม่มาใช้สำหรับการสำรวจสำมะโนประชากรในประเทศ ในการรวบรวม ‘ข้อมูลเอกลักษณ์บุคคลและข้อมูลชีวภาพของพลเมืองที่มีอายุ 10 ปีขึ้นไป’ ระบบที่นักวิจารณ์ระบุว่าจะถูกนำมาใช้สอดแนมฝ่ายตรงข้ามมากขึ้น

รู้จัก ‘ตำรวจลับ’ รัฐบาลทหารพม่า เครื่องมืออำมหิตที่ใช้ปราบฝ่ายประชาธิปไตย

Loading

  บทความในอิรวดีพูดถึงบทบาท ‘ตำรวจลับ’ ของเผด็จการพม่าที่ใช้สอดแนม-ปราบปรามฝ่ายตรงข้าม และล่าสุดยุครัฐบาลทหารมินอ่องหล่าย นอกจากเครือข่ายที่ใช้จับตาความเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้านเผด็จการพลัดถิ่นที่อยู่ในไทยแล้ว ยังพบว่าผู้ที่มีบทบาทสนับสนุนกระบวนการสันติภาพและปฏิรูปการเมืองช่วงรัฐบาลเต็งเส่ง ก็ยังกลายเป็นผู้ให้ข้อมูลกับตำรวจลับพม่าอีกด้วย   เบอร์ทิล ลินต์เนอร์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสที่เชี่ยวชาญประเด็นพม่าเขียนบทความเผยแพร่ในอิรวดี เมื่อ 17 เม.ย. ที่ผ่านมา พูดถึงการที่เผด็จการพม่าตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบันมีการใช้ “ตำรวจลับ” เพื่อคอยสอดแนมและปราบปรามฝ่ายประชาธิปไตยมาโดยตลอด ทั้งในประนอกประเทศ รวมถึงมีตำรวจลับเหล่านี้ในประเทศไทยด้วย แต่เผด็จการในยุคต่างๆ ก็มีการกวาดล้างเหล่าตำรวจลับพวกนี้เองและตั้งหน่วยใหม่ในชื่อใหม่ขึ้นมาตั้งแต่ยุคของเนวิน มาจนถึงเผด็จการมินอ่องหล่ายในปัจจุบัน   โดยเผด็จการเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นต้องมี “ตำรวจลับ” เอาไว้ใช้งานเพื่อที่จะคงอยู่ในอำนาจได้ และยิ่งตำรวจลับเหล่านี้ มีความโหดเหี้ยมอำมหิตมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลดีกับพวกเขามากขึ้นเท่านั้น พวกนาซีเคยมีตำรวจลับชื่อหน่วยเกสตาโป ชาห์แห่งอิหร่านเคยอาศัยหน่วยซาวัคเป็นตำรวจลับและหน่วยข่าวกรอง เผด็จการแห่งโรมาเนีย นิโคแล โจเชสกู มี “กรมความมั่นคงแห่งรัฐ” ส่วนนายพลพม่านั้นมีหน่วยข่าวกรองของตนเอง ซึ่งมีการเปลี่ยนชื่อหลายชื่อในช่วงเวลาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงเป็นเสาหลักทางอำนาจให้กับรัฐเผด็จการทหาร   แต่ด้วยความที่ว่า หน่วยตำรวจลับของพม่านั้นมีลักษณะปกปิดเป็นความลับ ทำให้มีอยู่อย่างน้อยสองครั้งที่หน่วยงานข่าวกรองกองทัพพม่าเปลี่ยนไปเป็นรูปแบบรัฐซ้อนรัฐ ซึ่งกลายเป็นภัยต่อระเบียบรัฐแบบดั้งเดิม ทำให้มีการกวาดล้างผู้นำของตำรวจลับบางส่วนโดยมีการลงโทษคุมขังพวกเขาเป็นเวลายาวนาน   เรื่องนี้ทำให้ผู้นำเผด็จการพม่าเริ่มหันมาคิดว่าจะทำอย่างไรให้ตำรวจลับมีความจงรักภักดีต่อพวกเขาโดยไม่ตั้งคำถามใดๆ นั่นกลายเป็นสาเหตุที่มินอ่องหล่าย ผู้นำระดับสูงของกองทัพและผู้นำเผด็จการทหารยุคปัจจุบัน ได้ให้ผู้นำระดับสูงของหน่วยข่าวกรองอยู่ใกล้ชิดกับเขามากกว่าเผด็จการคนก่อนๆ   พล.ท.เยวินอู ผู้ที่เป็นประธานของหน่วยงานที่ชื่อว่า สำนักงานแห่งกิจการความมั่นคงเสนาธิการทหาร…