สู่ยุคใหม่แห่งการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI

Loading

  ปัญญาประดิษฐ์ถือเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดเริ่มมีการพูดถึงระบบตรวจจับด้วยกล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI แม้นี่ไม่ใช่ของใหม่แกะกล่อง แต่หลายประเทศก็เริ่มตั้งคำถามในการนำมาใช้งานเช่นกัน   กล้องวงจรปิด หนึ่งในอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลาย ถูกใช้งานในฐานะอุปกรณ์บันทึกภาพเพื่อยืนยันสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงตรวจสอบข้อเท็จจริงต่าง ๆ สามารถพบเห็นได้ตามท้องถนน อาคารบ้านเรือน หรือแม้แต่รถยนต์ส่วนบุคคล เรียกว่าเป็นหนึ่งในระบบรักษาความปลอดภัยที่ขาดไม่ได้ในปัจจุบัน   สำหรับภาครัฐนี่ก็ถือเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยระบุตัวตนในพื้นที่สาธารณะเป็นอย่างดี ช่วยให้สามารถตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ใช้งานในการดูแลรักษาความสงบภายในประเทศ นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้สามารถตรวจสอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ล่าสุดจึงเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ นำไปสู่การพัฒนา กล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ในที่สุด     ขั้นกว่าในการรักษาความปลอดภัย กล้องวงจรปิดอัจฉริยะจาก AI   ความก้าวหน้าของ เอไอ หรือ ปัญญาประดิษฐ์ได้รับการพูดถึงอย่างกว้างขวาง การพัฒนาก้าวกระโดดสร้างแรงสั่นสะเทือนครั้งใหญ่ทางสังคม หลายภาคส่วนจึงเริ่มมองเห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ สู่การคิดค้นกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ ที่เริ่มมีการใช้งานแพร่หลายทั่วทุกมุมโลก   ในสหราชอาณาจักรเริ่มมีการติดตั้งกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ สามารถตรวจสอบการทิ้งขยะของคนขับและผู้โดยสารที่อยู่ภายในรถ จากนั้นจะทำการระบุป้ายทะเบียนและส่งข้อมูลนี้ไปถึงเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบโดยอัตโนมัติ นำไปสู่การออกใบสั่งเสียค่าปรับซึ่งมีมูลค่าสูงสุดถึง 100 ปอนด์(ราว 4,400 บาท) เลยทีเดียว   ทางด้านสหรัฐฯได้มีการนำระบบ AI มาใช้ร่วมกับ ระบบอ่านป้ายทะเบียนอัตโนมัติ…

รู้เท่าทัน AI Deepfake ภาพที่เห็น เสียงที่ได้ยิน อาจไม่ใช่เรื่องจริงเสมอไป

Loading

  ในวันที่อัลกอริทึม Generative AI ถูกพัฒนาสู่การเป็น AI Deepfake ที่ฉลาดล้ำและถูกนำมา สร้างเนื้อหา “ภาพ+เสียง” ที่เสมือนเรื่องจริงจนแยกไม่ออก ว่านี่คือชุดข้อมูล ที่ “มนุษย์ หรือ เทคโนโลยี AI” เป็นผู้คนสร้างสรรค์   ประเด็นดังกล่าว กลายเป็นประเด็นร้อนที่เราต่างเป็นห่วงและให้ความสำคัญ เพราะเราแทบไม่สามารถล่วงรู้ได้เลยว่า ภาพ VDO หรือแม้แต่เสียง ที่เราแชร์ ส่งต่อกันบนโลกออนไลน์ ภายในเสี้ยววินาทีนี้ คือ ความจริง หรือ ภาพลวง แล้วเราจะรับมือและรู้ทัน AI Deepfake ได้อย่างไร?   ศูนย์ธรรมาภิบาลปัญญาประดิษฐ์ (AI Governance Clinic หรือ AIGC) เปิดเวทีแลกเปลี่ยนมุมมอง ทำความรู้จักกับ AI Deepfake พร้อมวิธีการรับมือเบื้องต้นเพื่อให้เรารู้ทันเทคโนโลยี AI ที่วันนี้สามารถสร้างชุดข้อมูล ภาพ เสียง ได้ราวกับมนุษย์แล้ว ใน AI…

รวมเรื่องที่นายจ้างต้องรู้ ถ้าพนักงานใช้ AI ช่วยทำงาน ก่อนข้อมูลบริษัทรั่ว

Loading

  รวมเรื่องที่นายจ้างต้องรู้ ก่อนข้อมูลรั่วไม่รู้ตัว ถ้าพนักงานใช้ AI ช่วยทำงาน เพราะผลสำรวจล่าสุดบอกพนักงานเริ่มใช้ปัญญาประดิษฐ์มากขึ้น   ผลสำรวจของ Reuters/Ipsos พบว่า พนักงานจำนวนมากทั่วสหรัฐฯ เริ่มหันไปใช้ ChatGPT เพื่อช่วยงานพื้นฐาน ได้แก่ การร่างอีเมล การสรุปเอกสาร และการทำวิจัยเบื้องต้น   โดยการสำรวจความคิดเห็นของ Reuters/Ipsos มาจากผู้ใหญ่ 2,625 คนทั่วสหรัฐอเมริกามีช่วงความน่าเชื่อถือซึ่งเป็นการวัดความแม่นยำประมาณ 2 จุดเปอร์เซ็นต์   จากการทำแบบสำรวจออนไลน์เกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (AI) ระหว่างวันที่ 11-17 กรกฎาคม พบว่า •  28% บอกว่าพวกเขาใช้ ChatGPT ในที่ทำงานเป็นประจำ •  25% ไม่ทราบว่าบริษัทของพวกเขาอนุญาตให้ใช้เทคโนโลยีนี้หรือไม่ •  22% นายจ้างอนุญาตให้ใช้ืหากเป็นอุปกรณ์ภายนอกอย่างชัดเจน •  10% ของผู้ตอบแบบสำรวจกล่าวว่าเจ้านายของพวกเขาห้ามเครื่องมือ AI ภายนอกอย่างชัดเจน   ChatGPT กลายเป็นแอปที่เติบโตเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์หลังจากเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายน ปี 2565…

จีน ออกกฎระเบียบใหม่ 24 ข้อ คุม AI สร้างจุดร่วมภาครัฐ – เทคโนโลยี

Loading

  ประเทศจีน ออกกฎระเบียบใหม่ 24 ข้อ เพื่อควบคุมการใช้งานเทคโนโลยี AI ซึ่งเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา เพื่อสร้างจุดกึ่งกลางระหว่างทางภาครัฐ และเทคโนโลยีสู้กับคู่แข่งอย่าง ChatGPT   จีนได้ประกาศใช้ข้อบังคับชั่วคราวเกี่ยวกับการจัดการ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) โดยมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค.66   ย้อนไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 ประเทศจีนได้ประกาศกฎระเบียบมีชื่อว่า “Generative AI Measures” หรือ “มาตรการเจเนอเรทีฟเอไอ” ที่เป็นการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานรัฐบาล หน่วยงานความมั่นคงทางไซเบอร์ของจีน (CAC) คณะกรรมการพัฒนา และปฏิรูปแห่งชาติ และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โดยในมาตรการนี้ มีข้อบังคับถึง 24 ข้อ ที่ได้กำหนดการใช้งาน AI ในประเทศจีน เช่น กำหนดให้แพลตฟอร์มที่ใช้ AI จำเป็นต้องลงทะเบียน และผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนเผยแพร่ รวมถึงห้ามสร้างรูปภาพของ ประธานาธิบดี สี…

การ์ทเนอร์ เปิด 5 เทรนด์ กำหนดอนาคต ยก ‘AI Cloud Data science’ สะเทือนโลก

Loading

  การ์ทเนอร์ เผยแนวโน้มสำคัญที่ส่งผลต่ออนาคตของวิทยาศาสตร์ข้อมูลและแมชีนเลิร์นนิ่ง ผลจากวิวัฒนาการและการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็ว ตอบสนองต่อการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยของข้อมูลในปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจโฟกัสการลงทุน Generative AI   ปีเตอร์ เครนสกี้ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า แมชีนเลิร์นนิ่งยังคงเติบโตอย่างรวดเร็วในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ ขณะเดียวกัน DSML (Data Science and Machine Learning) กำลังพัฒนาจากเดิมที่มุ่งเน้นโมเดลการคาดการณ์ (Predictive Models) ไปเป็นให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในวงกว้างขึ้น ไดนามิก และเน้นข้อมูลเป็นหลัก   รวมถึงได้รับแรงหนุนจาก Generative AI แม้อาจมีความเสี่ยงเกิดขึ้น แต่ก็มีความสามารถและช่วยสร้างยูสเคสการใช้งานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลและองค์กร     เดินหน้าสู่ ยุคใหม่แห่งข้อมูล   การ์ทเนอร์รวบรวม 5 แนวโน้มสำคัญที่จะเป็นตัวกำหนดอนาคตของ DSML ไว้ดังนี้   เทรนด์ที่ 1: Cloud Data Ecosystems : Data…

เตือนภัย AI ขโมยรหัสผ่าน ใช้เสียงแป้นพิมพ์ แม่นยำ 95% แนะใช้สแกนหน้า-นิ้วแทน

Loading

  AI ในปัจจุบันได้พัฒนาไปไกลมาก นักวิจัยจาก Cornell University ได้ค้นพบว่า AI สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัว โดยใช้การจับเสียงจากแป้นพิมพ์ ซึ่งสามารถขโมยรหัสผ่านด้วยความแม่นยำถึง 95%   AI หรือปัญญาประดิษฐ์ อาจไม่ได้มีแค่ข้อดีเพียงอย่างเดียว แต่ AI ในอนาคตอาจกลับมาทำร้ายเราได้หากเราไม่รู้จักและเข้าใจมันมากพอ ซึ่งนักวิจัยจาก Cornell University ได้ทำการทดลองและวิจัยการใช้ AI เพื่อขโมยรหัสผ่านและปรากฏว่ามันสามารถทำได้แม่นยำถึง 95% เลยทีเดียว   นักวิจัยได้ฝึกโมเดล AI เกี่ยวกับเสียงการกดแป้นพิมพ์และปรับใช้บนโทรศัพท์ที่อยู่ใกล้ไมโครโฟนในตัว ซึ่งปัญญาประดิษฐ์จะฟังการกดแป้นพิมพ์บนอุปกรณ์ Macbook Pro และสามารถแกะรหัสผ่านด้วยความแม่นยำ 95% ซึ่งเป็นความแม่นยำสูงสุดที่นักวิจัยเคยเห็นโดยไม่ต้องใช้โมเดลภาษาขนาดใหญ่   ทีมวิจัยยังได้ทดสอบความแม่นยำระหว่างการโทรผ่านแอปพลิเคชัน Zoom ซึ่งบันทึกการกดแป้นพิมพ์ด้วยไมโครโฟนของแล็ปท็อปในระหว่างการประชุม ในการทดสอบนี้ AI มีความแม่นยำถึง 93% ในการสร้างการกดแป้นพิมพ์ซ้ำ ใน Skype โมเดลมีความแม่นยำ 91.7% เรียกได้ว่า AI สามารถแกะรหัสผ่านได้แม่นยำมาก   วิธีแก้การโจมตีนี้คือให้หลีกเลี่ยงการล็อกอินโดยใช้รหัสผ่าน…