ออกหมายจับ 2 แฮกเกอร์เขมร โจมตีเว็บไซต์ราชการส่วนท้องถิ่นพร้อมด่าประเทศไทย

Loading

(10 มิ.ย. 68) สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 3 มิ.ย.68 กลุ่มงานรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ บก.ตอท. ได้รับแจ้งจาก “ประชาคมข่าวไซเบอร์” ซึ่งเป็นกลุ่มของเจ้าหน้าที่ผู้ปฎิบัติงานด้านการข่าว โดยเป็นเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่ใช้เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนข้อมูล โดยพบว่า ได้มีกลุ่ม “bl4ck_cyb3r” หรือ กลุ่มแฮกเกอร์ (Hacker) ของชาวกัมพูชา ได้ประกาศจะโจมตีเว็บไซต์หน่วยงานราชการและเอกชนในไทย

รวบหนุ่มบัลแกเรีย ลอบติดตั้งอุปกรณ์รบกวนตู้ ATM พบโดนแล้ว 13 ตู้

Loading

พล.ต.ท.ไตรรงค์ ผิวพรรณ ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยีหรือตำรวจไซเบอร์ ร่วมกับ พล.ต.ต.ศิริวัฒน์ ดีพอ ผบก.สอท.1 และ พ.ต.อ.วีร์กวิน เสริมศรีธนชัย ผกก.3 บก.สอท.1 แถลงข่าวรวบหนุ่มใหญ่ชาวบัลเกเรีย ลักลอบติดตั้งอุปกรณ์รบกวนการทำงานของตู้ ATM ในไทย พบถูกลักลอบติดตั้งแล้ว 13 ตู้

อย่าหลงเชื่อขบวนการหลอกทำภารกิจออนไลน์ วางกับดัก “กำลังจะได้เงินก้อนใหญ่”

Loading

    ภารกิจรายได้เสริม หรือ กับดักหมดตัว? กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ตำรวจไซเบอร์) ออกมาแจ้งเตือนประชาชนผ่านเฟซบุ๊ก ตำรวจไซเบอร์ – บช.สอท. โดยระบุว่า ภารกิจรายได้เสริม หรือ กับดักหมดตัว? ตำรวจไซเบอร์เตือนภัย อย่าหลงเชื่อ! ขบวนการหลอกทำภารกิจออนไลน์ลวงให้โอนเงิน โดยมิจฉาชีพวางแผนหลอกเหยื่ออย่างเป็นระบบ ตั้งแต่สร้างแชทปลอม ดึงเข้ากลุ่มที่มีหน้าม้า จนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยอ้างว่า “กำลังจะได้เงินก้อนใหญ่” 7 ขั้นตอนขบวนการหลอกให้ทำภารกิจปลอม 1.ล่อเหยื่อด้วยโฆษณา มีการยิงแอด โพสต์ปลอม แล้วทักแชตตรง 2.สร้างฉากลวงในกลุ่มแชต มีหน้าม้าปั้นสถานการณ์ให้ดูน่าเชื่อถือ 3.หลอกให้ทำภารกิจง่ายๆ ดูคลิป กดไลก์ รีวิวสินค้า 4.ปั้นรายได้ปลอมให้เห็น มีเงินรอในระบบแต่ยังถอนออกมาไม่ได้ 5.บีบให้โอนซ้ำเพื่อปลดล็อก อ้างขั้นตอนผิดต้องโอนเพิ่ม 6.ใช้จิตวิทยากลุ่มกดดัน หน้าม้าหลอกว่าเคยได้เงิน เพื่อให้เหยื่อตาม 7.หลอกซ้ำด้วยความกลัว-สงสาร ข่มขู่ทางกฎหมายหรือขอความเห็นใจให้โอนอีก สามารถแจ้งความออนไลน์ได้ที่ www.thaipoliceonline.go.th หากมีข้อสงสัย สอบถามได้ที่สายด่วน 1441 ตลอด 24 ชั่วโมง    …

ตร.ไซเบอร์ เตือน ระวัง! “เพจปลอม” อ้างเป็นเจ้าหน้าที่ ช่วยเหลือทางคดี

Loading

4 พ.ค. 2568 ตำรวจไซเบอร์ เตือนภัยมิจฉาชีพสร้างเพจปลอมใช้ชื่อคล้ายหน่วยงานรัฐ เช่น “Suppression Center ช่วยเหลือ” พร้อมรูปเจ้าหน้าที่ โลโก้หน่วยงานจริง เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ และยิงโฆษณา (ads) เข้าหาเหยื่อโดยตรง เพื่อหลอกให้เหยื่อติดต่อกลับ และให้ข้อมูลส่วนตัวไป

รู้ทัน 6 กลโกง ภัยแฝงหารายได้เสริมออนไลน์ รับมืออย่างไร ไม่ให้โดนหลอก

Loading

      ปัจจุบัน งานออนไลน์ มีให้เลือกมากมายตามความสมัครใจ ทั้งคำชวนเชื่อที่ว่า ทำง่ายๆ ไม่ยุ่งยาก อยู่บ้านก็ทำได้ หรือสุดแท้แต่จะเชิญชวน หากเจอบริษัทดีก็ดีไป แต่หากเจอมิจฉาชีพแฝงตัวมาหลอก ก็ต้องน้ำตาตกในไปตามๆ กัน   เว็บไซต์ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม ประเทศไทย เผย 6 วิธีรับมือ เมื่อโดนหลอกให้ทำงาน หารายได้เสริมออนไลน์ ดังนี้ 1. หากพบคำเชิญชวนให้ทำงานออนไลน์ ผ่านทาง SMS หรือโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Facebook, Instagram, Twitter อย่าเข้าไปติดต่อสมัครเด็ดขาด โดยเฉพาะโพสต์ที่แอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานราชการ หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องมาเพิ่มความน่าเชื่อถือ แต่มิได้เป็นช่องทางทางการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง   2. ให้หลีกเลี่ยงข้อเสนอที่ฟังดูดีเกินจริง โดยเฉพาะงานที่มีผลตอบแทนสูง ทำง่าย ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก   3. ให้ปรึกษาสายด่วนของตำรวจไซเบอร์ ที่หมายเลข 1441 เพื่อปรึกษาว่างานดังกล่าว เป็นมิจฉาชีพหรือไม่   4. หากงานออนไลน์ดังกล่าวมีเงื่อนไขว่า ให้วางเงินมัดจำ…

ตำรวจไซเบอร์เตือน! มิจฉาชีพสร้าง “เพจที่พักปลอม” อ้างดีลสงกรานต์ราคาถูก หลอกโอนเงินแล้วเชิดหนี

Loading

เมื่อวันที่ 6 เม.ย.68 เพจ ตำรวจไซเบอร์ กองบัญชาการสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บช.สอท.) ออกประกาศเตือนภัยประชาชนให้ระวังกลุ่มมิจฉาชีพสร้าง เพจเฟซบุ๊กปลอมแอบอ้างเป็นที่พักชื่อดัง โดยอ้างว่าเป็น “ที่พักหลุดจอง” หรือ “ดีลพิเศษช่วงสงกรานต์” พร้อมเสนอราคาถูกผิดปกติ เพื่อหลอกให้เหยื่อโอนเงินมัดจำก่อนจะหายตัวไป ไม่สามารถติดต่อได้อีก