ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์

Loading

แฟ้มภาพเอเอฟพี   ตร.เวียดนามจับ ผู้ใช้เฟซบุ๊ก ฐานพยายามล้มล้างการปกครอง หลังโพสต์-แชร์ เนื้อหาหมิ่นพรรคคอมมิวนิสต์   เมื่อวันที่ 17 มีนาคม สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ตำรวจเวียดนามได้ทำการจับกุมผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งที่ถูกทางการกล่าวหาว่าพยายามล้มล้างระบอบปกครองด้วยการแชร์เนื้อหาที่เป็นการหมิ่นประมาทบรรดาผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม   กระทรวงความมั่นคงสาธารณะของเวียดนามแถลงว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจได้จับกุม ฟาน ถิ ธานห์ ญา อายุ 39 ปี ซึ่งถูกกล่าวหาว่าโพสต์และแชร์บทความและวิดีโอรวม 25 รายการตั้งแต่ปี 2018 โดยมุ่งบิดเบือนและทำให้คณะผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามและประเทศเสื่อมเสียชื่อเสียง   นอกจากนี้ ฟาน ถิ ธานห์ ญา ยังถูกตำรวจกล่าวหาว่าเข้าร่วมและเกณฑ์สมาชิกใหม่เพื่อเข้าร่วมใน “รัฐบาลเฉพาะกาลแห่งชาติเวียดนาม” ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฐานการดำเนินงานในสหรัฐอเมริกา ที่ทางการเวียดนามได้ขึ้นบัญชีดำว่าเป็น”องค์กรก่อการร้าย” ด้วย   ทั้งนี้แม้จะมีการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและเปิดกว้างมากขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่พรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามยังคงเซ็นเซอร์สื่ออย่างเข้มงวดและแทบจะไม่อดทนต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งนำไปสู่การจับกุมคุมขังประชาชนจำนวนมากที่ออกมาแสดงความเห็นต่อต้านรัฐบาลเวียดนาม     ————————————————————————————————————————- ที่มา :               …

เอาด้วย! อังกฤษแบน ‘ติ๊กตอก’ บนอุปกรณ์สื่อสารของรัฐบาล

Loading

TikTok Ban อังกฤษประกาศแผนห้ามใช้แอปพลิเคชันติ๊กตอก (TikTok) ให้มีผลบังคับใช้ทันทีในวันพฤหัสบดีเป็นต้นไป ตามหลังชาติตะวันตกทั้งสหรัฐฯ แคนาดา และอีกหลายประเทศในยุโรป ที่สั่งแบนแอปฯ ดังกล่าวด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย   ทางการอังกฤษ ระบุว่า “ความปลอดภัยของข้อมูลรัฐบาลต้องมาก่อน ดังนั้นในวันนี้เราจึงห้ามใช้แอปฯ นี้บนอุปกรณ์ของรัฐ” และว่า “การห้ามใช้แอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของรัฐเป็นขั้นตอนที่รอบคอบและเหมาะสมตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคง” พร้อมทั้งให้หน่วยงาน National Cyber Security Centre ตรวจสอบข้อมูลอ่อนไหวบนสื่อสังคมออนไลน์ และความเสี่ยงว่าข้อมูลเหล่านี้จะถูกเข้าถึงและนำไปใช้ได้อย่างไร   ด้านติ๊กตอกแสดงความผิดหวังต่อการตัดสินใจของอังกฤษ โดยโฆษกของบริษัท ระบุว่า “เราเชื่อว่าการแบนเหล่านี้มีพื้นฐานบนความเข้าใจผิดในหลักการและขับเคลื่อนด้วยประเด็นภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งติ๊กตอกและผู้ใช้นับล้านรายของเราในอังกฤษ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เลย” พร้อมเสริมว่า “เรายังคงมุ่งมั่นในการทำงานกับรัฐบาลเพื่อหารือเกี่ยวกับความกังวลต่าง ๆ แต่เราควรได้รับการวิจารณ์บนข้อเท็จจริงและได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกับคู่แข่งของเราด้วยเช่นกัน” และว่าทางบริษัทได้เริ่มต้นกระบวนการที่จะปกป้องข้อมูลผู้ใช้ในยุโรปแล้ว   แอปฯ ติ๊กตอก ซึ่งมีบริษัทเทคโนโลยีจีน ไบต์แดนซ์ (ByteDance) เป็นเจ้าของ ได้ก่อให้เกิดความกังวลในหมู่รัฐบาลชาติตะวันตกเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้ว่าจะตกไปอยู่ในมือของรัฐบาลจีน และบั่นทอนความมั่นคงของชาติตะวันตก   ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯ แคนาดา เบลเยียม และคณะกรรมาธิการยุโรปและสภาสหภาพยุโรปสั่งถอดแอปฯ ติ๊กตอกบนอุปกรณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐทุกคนไปแล้ว  …

แคนาดากังวล จีนตั้ง ‘สถานีตำรวจ’ ในควิเบก

Loading

  ตำรวจสหพันธรัฐแคนาดา (Royal Canadian Mounted Police : RCMP) ตรวจสอบรายงาน “สถานีตำรวจ” ของจีน 2 แห่งในมอนทรีออล จังหวัดควิเบก ตามที่กลุ่มองค์กรเอกชนจากสเปน ระบุว่า ทางการจีนใช้เป็นศูนย์กลางในการคุกคามและติดตามชาวจีนในต่างประเทศ แต่ทางการจีนชี้แจงว่า เป็น “ศูนย์บริการ” สำหรับพลเมืองของตนในต่างประเทศ   นายกรัฐมนตรี จัสติน ทรูโด เปิดเผยว่า รัฐบาลแคนาดามีความกังวลเป็นอย่างมาก และหน่วยข่าวกรองกำลังมีการตรวจสอบ นอกจากนี้การสอบสวนยังเกิดขึ้นท่ามกลางข้อกล่าวหาที่ว่าจีนพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งทั่วไป 2 ครั้งล่าสุดของแคนาดา ซึ่งเป็นประเด็นที่สร้างความตึงเครียดระหว่าง 2 ประเทศ   เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว นายคริสโตเฟอร์ เรย์ ผู้อำนวยการเอฟบีไอ ได้รายงานต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาสหรัฐฯ ว่า ทางการจีนมีการจัดตั้งสถานีตำรวจในดินแดนของสหรัฐฯ ซึ่งถือเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยและหลีกเลี่ยงกระบวนการมาตรฐานของการพิจารณาคดีและการบังคับใช้กฎหมาย   กลุ่มองค์กรเอกชน เซฟการ์ด ดีเฟนเดอร์ส (Safeguard Defenders) ซึ่งมีสำนักงานอยู่ในประเทศสเปน เปิดเผยว่า ทางการจีนมีสถานีตำรวจมากกว่า 100 แห่งใน 53…

รัฐมนตรีสหราชอาณาจักรชี้บริษัทจีนที่ได้สัมปทานจากรัฐบาลเคยโจมตีไซเบอร์ต่อประเทศ

Loading

  จอร์จ ฟรีแมน (George Freeman) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมของสหราชอาณาจักร (DSIT) ชี้ว่าบริษัทจีนที่ได้รับสัมปทานด้านโควิดของรัฐเป็นผู้อยู่เบื้องหลังการโจมตีทางไซเบอร์ต่อบริการสุขภาพแห่งชาติ (NHS)   บริษัทนี้มีชื่อว่า BGI Group ซึ่งเจ้าหน้าที่รัฐระบุว่าเป็นผู้แฮ็ก Genomics England โครงการข้อมูลคนไข้ของกระทรวงสาธารณสุข (DHSC) เมื่อปี 2014   BGI Genomics ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ BGI Group สามารถชนะการประมูลสัญญาการทดสอบโควิดมูลค่า 11 ล้านปอนด์ (ราว 457 ล้านบาท) จากรัฐบาลสหราชอาณาจักร ได้เมื่อปี 2021   ก่อนหน้านี้สมาชิกรัฐสภาเคยขอให้รัฐบาลยุติการทำงานร่วมกับบริษัทดังกล่าว โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคง   ด้าน BGI Group ออกมาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยระบุว่าบริษัทไม่เคยและไม่มีทางที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการแฮ็กใครก็ตาม และย้ำว่าบริษัทไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลจีน   ห้องทดลองที่อยู่ในสหราชอาณาจักรก็มีเซิร์ฟเวอร์เป็นของตัวเอง ไม่เคยส่งข้อมูลออกไปนอกประเทศ   ก่อนหน้านี้ สหรัฐอเมริกาก็ออกมาขึ้นบัญชีดำบริษัทนี้ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงเกี่ยวกับการเข้าถึงข้อมูลพันธุกรรม   ที่มา…

รัฐบาลญี่ปุ่นยอมรับ สาวจีนซื้อเกาะในโอกินาวะ “ถูกต้องตามกฎหมาย”

Loading

  เปิดกฎหมายที่ดินญี่ปุ่นกรณีสาวจีนซื้อเกาะร้างในหมู่เกาะโอกินาวะไม่เข้าข่ายพื้นที่ควบคุม รัฐบาลไม่สามารถแทรกแซงได้ ถึงแม้ประชาชนจะกังวลเรื่องความมั่นคงก็ตาม   หญิงสาวชาวจีน 34 ปี เผยแพร่ภาพผ่านสื่อสังคมออนไลน์ระบุว่า ครอบครัวของเธอได้ซื้อเกาะ “ยานะฮะจิมะ” ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะโอกินาวะของญี่ปุ่น กลายเป็นประเด็นร้อนในแดนอาทิตย์อุทัย ชาวญี่ปุ่นต่างระบุว่า “นี่เป็นจุดเริ่มต้นของการบุกรุกดินแดน” และหวั่นใจว่าจะซ้ำรอยเกาะเซ็งกากุ ที่เรือประมงและเรือติดอาวุธของหน่วยยามฝั่งของจีน เข้ามาในพื้นที่ใกล้กับหมู่เกาะเซ็งกากุอยู่เป็นประจำ   ทั้งนี้ กฎหมายของญี่ปุ่นไม่ได้มีข้อห้ามชาวต่างชาติซื้อที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในญี่ปุ่น โดยเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะต้องเสียภาษีประจำปี แต่ว่าการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์จะไม่เกี่ยวข้องกับการได้รับวีซ่าให้เข้าประเทศ หรือมีสิทธิพำนักในญี่ปุ่น     นายมัตสึโนะ ฮิโรคาสุ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น ระบุว่า การซื้อขายเกาะดังกล่าวทำถูกต้องตามกฎหมาย แต่รัฐบาลจะจับตาความเคลื่อนไหวในกรณีนี้ต่อไป   อย่างไรก็ตาม รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออก กฎหมาย “ตรวจสอบที่ดินที่มีความสำคัญ” บังคับใช้เมื่อปีที่แล้ว กฎหมายดังกล่าวให้รัฐบาลมีอำนาจตรวจสอบที่ดิน 3 ประเภทที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง ได้แก่ 1.ที่ดินใกล้กับพื้นที่ของกองกำลังป้องกันตนเอง 2.ที่ดินใกล้กับโรงไฟฟ้าและสถานที่ทางนิวเคลียร์ 3.พื้นที่เกาะที่ใกล้กับพรมแดน     พื้นที่ใกล้กับที่ดินดังกล่าวรัศมี 1 กิโลเมตรจะถือเป็น “พื้นที่เฝ้าระวัง” ทางการญี่ปุ่นสามารถตรวจสอบชื่อและสัญชาติของเจ้าของที่ดินได้ นอกจากนี้ ในพื้นที่ที่มีความสำคัญมากขึ้นก็จะถูกจัดเป็น “พื้นที่เฝ้าระวังเป็นพิเศษ”…

คลื่นดาวเทียมย่านความถี่ x-band ถูก กสทช. นำไปประมูลและกระทบความมั่นคงของชาติ ?

Loading

    กสทช. ได้นำสิทธิวงโคจรดาวเทียมและคลื่นความถี่ดาวเทียมนำมาประมูลอีกรอบ หลังจากที่ต้องล้มเลิกการประมูลไปคราวก่อน และที่น่าเสียใจคือดาวเทียมที่ทำรายได้เป็นแสนล้านบาทกลับนำรายได้เข้ารัฐเพียงหลักไม่กี่ร้อยล้านบาท โดยที่การเปิดให้มีการแข่งขันไม่ได้ทำให้เปิดกว้างเต็มที่ โดยกำหนดให้ว่าต้องมีประสบการณ์ในการประกอบกิจการดาวเทียม ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่แม้จะไม่ใหม่ก็ไม่มีเพราะดาวเทียมเป็นธุรกิจผูกขาดของประเทศแต่เพียงรายเดียว จึงไม่เกิดการแข่งขันอย่างที่ควรจะเป็น   สิ่งที่คนทั่วไปอาจจะไม่ทราบคือ มีย่านความถี่ของดาวเทียมที่ปกติเป็นย่านความถี่ทางการทหารและความมั่นคงถูกนำออกมาให้เอกชนประมูลไปด้วย   ทั้งนี้คลื่นความถี่ย่าน X band (8.0 – 12.0 GHz) เป็นย่านความถี่สูงที่ถูกรบกวนด้วยความแปรปรวนในบรรยากาศโลกได้น้อย จึงเหมาะสำหรับการสำรวจระยะไกลหรือการรับส่งข้อมูลจากดาวเทียมสู่ดาวเทียมหรือดาวเทียมสู่ภาคพื้นดิน อีกทั้งสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ International Telecommunication Union: ITU อันเป็นองค์การนานาชาติด้านดาวเทียมและการโทรคมนาคมไม่ได้จำกัดการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน X band ในงานด้านใดด้านหนึ่งโดยเฉพาะ หากแต่แนะนำว่าเป็นย่านความถี่ที่เหมาะต่อการปฏิบัติการทางทหาร ดังนั้นภาครัฐของประเทศต่างๆ ในสากลโลก จึงนิยมให้กระทรวงกลาโหมเป็นผู้กำหนดแนวทางการใช้งานคลื่นความถี่ในย่านนี้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะใช้งานเพื่อกิจการด้านความมั่นคงและงานสาธารณะประโยชน์ของประเทศ   เนื่องจากชุดข่ายงานดาวเทียมที่ 3 ที่กสทช. นำออกมาประมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วยข่ายงานดาวเทียม 4 ชุด ได้แก่ THAICOM-IP1, THAICOM-P3, THAISAT-119.5E และ THAISAT-120E มีคลื่นความถี่ในย่าน X band ด้วยแบนด์วิดท์…