‘อูเบอร์’ ถูกปรับ 290 ล้านยูโร!

Loading

ประเด็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องที่ในต่างประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสหภาพยุโรปให้ความสำคัญมาก โดยมีการกำหนดข้อบังคับ GDPR

macOS Sequoia ปรับการแสดงข้อความขออนุญาตเข้าถึงข้อมูล สำหรับแอปบันทึกหน้าจอ เป็นทุก 1 เดือน

Loading

macOS Sequoia ระบบปฏิบัติสำหรับผู้ใช้งาน Mac ที่จะออกอัปเดตทั่วไปช่วงปลายปี มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งคือ macOS จะแสดงข้อความเตือน เพื่อยืนยันสิทธิอนุญาตเป็นระยะ สำหรับแอปบันทึกหน้าจอ โดยเตือนว่าแอปนี้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในหน้าจอได้

กูรู แนะ เทคนิค กันภัย ‘ฟิชชิง’ จู่โจมองค์กร

Loading

  ปัจจุบัน อาชญากรไซเบอร์มักหลอกล่อให้ผู้ใช้งานวางใจและขโมยข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างมากเพื่อวัตถุประสงค์ที่ชั่วร้าย เช่นเดียวกับในประเทศไทยที่ได้เห็นว่า การหลอกลวงทางโทรศัพท์กลายเป็นเรื่องปกติไปแล้ว   การโจมตีแบบ “ฟิชชิง (Phishing)” กลายเป็นภัยร้ายในยุคดิจิทัล…   บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวในรายงาน “CyberArk Identity Security” โดย “ไซเบอร์อาร์ก” ผู้ให้บริการด้านไซเบอร์ซิเคียวริตี้ชั้นนำว่า มัลแวร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นความเสี่ยงลำดับอันดับต้นๆ ที่พบในองค์กรในปี 2566   ลิ้ม เทค วี รองประธานประจำภูมิภาคอาเซียน ไซเบอร์อาร์ก เผยว่า ประเด็นหนึ่งที่กังวลก็คือ มีการใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ในแชทบอทเพื่อโจมตีแบบฟิชชิง รวมถึงในปีนี้องค์กรเกือบทั้งหมด หรือกว่า 99.9% อาจพบกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล   สาเหตุสำคัญเป็นผลมาจากการนำเทคโนโลยีคลาวด์มาใช้มากขึ้น ปัจจัยทางภูมิรัฐศาสตร์ และการลดค่าใช้จ่ายเนื่องมาจากเศรษฐกิจที่ถดถอย   สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นนับว่าเป็นเรื่องที่น่ากังวล องค์กรจึงต้องรีบดำเนินการก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป โดยเฉพาะเรื่องของการวางกลยุทธ์ เทคนิค และขั้นตอนที่สามารถใช้งานได้จริง ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเกราะป้องกันฟิชชิงที่มีประสิทธิภาพสูงสุด   สำหรับ “วิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันการฟิชชิงแบบทั่วไป” ทีมรักษาความปลอดภัยไม่สามารถพึ่งพาแค่กลยุทธ์เดียวได้ ด้วยผู้โจมตีสามารถหาวิธีหลบหลีก ดังนั้นจึงต้อง “ใช้แนวทางแบบเป็น…

“28 ม.ค.วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” ถึงเวลาคนไทยต้องตระหนักรู้

Loading

  วันที่ 28 ม.ค.ของทุกปี เป็น “วันแห่งข้อมูลส่วนตัว” (Data Privacy Day)  ซึ่งในยุค “ดิจิทัล”  ข้อมูลส่วนบุคคล ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก!!   ทุกประเทศต่างมีกฎหมายที่ออกมาคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งหากเจ้าของข้อมูลไม่ยินยอมให้ข้อมูล หรือเปิดข้อมูล หากมีการละเมิด ก็ถือว่าผิดกฎหมาย!?!   ซึ่งจากผลสำรวจโดย Telenor Asia Digital Lives Decoded ปี 2023 พบว่าคนไทยมีความกังวลในเรื่องความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยของข้อมูลเพียง 17% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียที่อยู่ที่ 44% ส่วนกลุ่มที่ระบุว่าไม่กังวลเรื่องนี้มี 21% สูงกว่าค่าเฉลี่ยของเอเชียที่มีเพียง 8% เท่านั้น แสดงให้เห็นว่า คนไทยกังวลเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย!!   ภาพ pixabay.com   อย่างไรก็ตาม สำหรับประเทศไทย ก็มี พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 หรือ ก.ม.พีดีพีเอ  ที่ออกมาบังคับใช้เรียบร้อยแล้ว ซึ่งทุกองค์กรไม่ว่าภาครัฐ หรือเอกชน ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย   สำหรับองค์กรโทรคมนาคมใหญ่อย่าง ทรู ที่หลังมีการควบรวมกับดีแทคแล้ว ยิ่งทำให้มีลูกค้าที่ต้องดูแลเพิ่มมากขึ้น จะมีวิธีจัดการและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าอย่างไร?   “มนตรี สถาพรกุล” หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า  ทรู คอร์ปอเรชั่น ตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ถือเป็นการเคารพสิทธิมนุษยชนอีกมิติหนึ่งในยุคดิจิทัล ซึ่งถือเป็นหนึ่งในประเด็นด้านความยั่งยืนที่ทรูให้ความสำคัญในระดับสูงมาก   มนตรี สถาพรกุล   “หลังการควบรวมระหว่างทรู และดีแทค ทำให้มีฐานลูกค้ากว่า 51 ล้านรายที่ต้องดูแล และหากรวมบริการต่างๆ ทั้งหมดแล้ว จะมีมากกว่า 100 ล้านบัญชีที่ต้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคล โดยได้ยึดกลยุทธ์ “Privacy and Security by Design” ซึ่งเป็นการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวที่ปกป้องข้อมูลลูกค้าให้ปลอดภัย ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบ พร้อมคุมเข้มความปลอดภัยสารสนเทศ ด้วยมาตรฐานสากล ISO 27001 และเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อจำกัด การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่จำเป็น”   นอกจากนี้ยังได้มีการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ มาใช้ในการลงทะเบียนซิมเพื่อความแม่นยำและปลอดภัย การเปลี่ยนเอกสารไปเป็นดิจิทัล เลิกใช้กระดาษ 100% นำ เอไอ และแชตบอทเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้า เพื่อลดระยะเวลารอและลดระดับการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล   หัวหน้าฝ่ายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล บอกต่อว่า คนไทยส่วนใหญ่ยังตระหนักถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองน้อย จึงต้องมีการสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำในวงกว้าง และต่อเนื่อง เราต้องการให้ผู้ใช้บริการมือถือและเทคโนโลยีดิจิทัลทุกคนเข้าใจสิทธิของการเป็นเจ้าของข้อมูลและรับรู้วัตถุประสงค์ในการใช้ข้อมูล เลือกที่จะให้หรือไม่ให้ความยินยอมในการเข้าถึง เปิดเผย และใช้ข้อมูลส่วนบุคคล มีสิทธิทราบ ขั้นตอนที่ได้มาของข้อมูล และมีสิทธิยกเลิกหรือแจ้งให้ลบทำลายข้อมูลส่วนบุคคลภายใต้กฎหมายเมื่อไหร่ก็ได้   โดยผู้ให้บริการมือถือและดิจิทัล เป็นเพียง “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” เท่านั้น  ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูล สามารถเลือกให้ความยินยอมด้านความเป็นส่วนตัวใน 2…

กว่าครึ่งผู้บริหารเลี่ยงปฏิบัติ ตามมาตรการ ‘ความปลอดภัยไซเบอร์’

Loading

จากการสำรวจความคิดเห็นของ ผู้บริหารระดับสูง ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ และพนักงานออฟฟิศในองค์กรทั่วโลกกว่า 6,500 คน พบว่า เกือบครึ่งหนึ่ง (49%) ของผู้บริหารระดับสูงพยายามหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัยต่างๆ ในปีที่ผ่านมา

AWN ในกลุ่ม AIS แจงด่วน!! กรณีมีผู้ละเมิดข้อมูลสารสนเทศลูกค้านิติบุคคล

Loading

  AWN ในกลุ่ม AIS ชี้แจงด่วน!! กรณีมีผู้ละเมิดข้อมูลสารสนเทศลูกค้านิติบุคคล ที่ใช้บริการ Mobile PBX เบื้องต้นกรณีนี้ ไม่เกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล บริการของลูกค้าทั่วไป รวมทั้งลูกค้านิติบุคคลอื่น ๆ ของเอดับบลิวเอ็นที่ไม่ได้ใช้บริการ Mobile PBX   ตามที่ บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (เอดับบลิวเอ็น) ในกลุ่ม ของ เอไอเอส ได้รับแจ้งจาก บริษัท ไอซอฟเทล (ประเทศไทย) จำกัด (ไอซอฟเทล) ผู้ให้บริการระบบ Mobile PBX แก่ลูกค้าบริษัทนิติบุคคลของ เอดับบลิวเอ็นว่ามีการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศในระบบดังกล่าว โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและโดยไม่ได้รับอนุญาต   หลังจากได้รับแจ้ง เอดับบลิวเอ็นไม่ได้นิ่งนอนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น และได้เร่งทำงานร่วมกับ ไอซอฟเทล และผู้เชี่ยวชาญ ในการตรวจสอบข้อมูลที่ถูกอ้างถึงอย่างเร่งด่วน ซึ่งในเบื้องต้นกรณีนี้ ไม่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูลและบริการของลูกค้าทั่วไป รวมทั้งลูกค้านิติบุคคลอื่น ๆ ของเอดับบลิวเอ็นที่ไม่ได้ใช้บริการ Mobile PBX  …