ราชกิจจาฯ เผยแพร่ระเบียบ ว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563

Loading

เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบวุฒิสภา ว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563 ความว่า โดยที่เป็นการสมควรมีระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 และข้อ 13 วรรคสาม ของข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 ประธานวุฒิสภาจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้ ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบวุฒิสภาว่าด้วยการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2563” ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 3 ในระเบียบนี้ “การประชุมลับ” หมายความว่า การประชุมวุฒิสภาที่ต้องกระท าเป็นการลับตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 “เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา” หมายความว่า ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ข้อ 4 ในการประชุมลับ ผู้ที่จะอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ ก็แต่เฉพาะ (1) สมาชิกวุฒิสภา (2) รัฐมนตรี (3) ผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุม ให้เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่ในการประชุมลับในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ ที่ใดในระยะที่จะฟังการประชุมได้ในครั้งใด เป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตจากประธานของที่ประชุมในครั้งนั้น ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสำนักมีหนังสือแจ้งรายชื่อเจ้าหน้าที่ตามวรรคสองในสังกัดของตนต่อสำนักการประชุม เพื่อรวบรวมรายชื่อดังกล่าวเสนอเลขาธิการวุฒิสภาทราบและเก็บไว้เป็นหลักฐาน บุคคลภายนอกผู้ประสงค์จะแถลงหรือชี้แจงในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับต่อที่ประชุมวุฒิสภา หรือบุคคลอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการประชุมลับและจะต้องอยู่ในที่ประชุมวุฒิสภาหรือ ณ…

อิสราเอลเตรียมใช้เทคโนโลยีติดตามเพื่อป้องกันการก่อการร้ายในการสู้กับการแพร่กระจายไวรัสโคโรนา

Loading

ความพยายามของอิสราเอลในการควบคุมการแพร่กระจายของไวรัสโคโรนานั้นอาจจะกลายเป็นเรื่องที่เสี่ยงต่อความเป็นส่วนตัวถัดไป โดยนายกรัฐมนตรีคุณ Benjamin Netanyahu ได้กำหนดแผนที่จะใช้เทคโนโลยีติดตามเพื่อป้องกันการก่อการร้ายในการระบุตัวคนที่มีการปฏิสัมพันธ์กับผู้ที่มีไวรัส COVID-19 ซึ่งแม้ว่าเขาไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเป็นเทคโนโลยีนี้เพียงแค่บอกว่าเป็น “วิธีทางดิจิทัล” ที่คล้ายกับไต้หวัน แต่คุณ Shin Bet หน่วยดูแลรักษาความปลอดภัยในประเทศได้ยืนยันกับ Reuters ว่ากำลังดูวิธีการดังกล่าวอยู่ การประกาศนั้นได้ทำให้เกิดความวิตกกังวลเกิดขึ้น โดยผู้เชี่ยวชาญด้านความเป็นส่วนตัวคุณ Avner Pinchuk ได้เตือนว่าสิ่งนี้อาจจะรวมถึงการติดตามผ่านทางโทรศัพท์แบบ real-time ที่สามารถไปเตือนถึงเจ้าหน้าที่กักกันได้เลย หรือว่าติดตามข้อมูล metadata เพื่อค้นหาเส้นทางการท่องเที่ยวหรือรายชื่อผู้ติดต่อกับผู้ป่วย COVID-19 ได้ ซึ่งคุณ Shin Bet ได้ตอบโต้โดยกล่าวว่าคงจะไม่ได้มีการใช้เทคโนโลยี”ในบริบทที่จะทำให้เกิดการแตกแยก” หากแต่มันอาจไม่เกิดความมั่นใจถ้าหากว่าว่าปฏิเสธที่จะให้ติดตามอย่างต่อเนื่องตั้งแต่แรก มีอีกหลายประเทศที่เริ่มมีการปิดทำการในหลายๆ ส่วนของโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ รวมถึงอิสราเอลด้วย โดยเพิ่งได้มีคำสั่งให้ปิดทำการโรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์แล้ว ซึ่งการใช้เทคโนโลยีตรวจตรานั้นเป็นวิธีการที่ทันสมัย และสิ่งนี้อาจจะทำให้เกิดการใช้งานในที่อื่นๆ ได้เช่นกันถ้าหากว่ากฎหมายไม่ติดขัด ซึ่งถ้าเกิดขึ้นจริง เทคโนโลยีติดตามดังกล่าวอาจจะกลายเป็นเรื่องทั่วไปก็เป็นไป (อย่างน้อยก็ในช่วงที่การแพร่ระบาดยังคงเกิดขึ้นอยู่ทั่วโลก) ————————————- ที่มา : ADPT / 17 มีนาคม 2563 Link : https://www.adpt.news/2020/03/17/israel-will-use-anti-terrorist-tracking-tech-to-fight-coronavirus-outbreak/…

ข้อแนะนำด้านความมั่นคงปลอดภัยเมื่อต้องทำงานจากที่บ้าน (จากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่า #COVID19 และกรณีอื่นๆ)

Loading

จากเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าหรือ COVID-19 แพร่ระบาด หลายองค์กรได้มีมาตรการให้พนักงานปฏิบัติงานจากที่บ้าน หนึ่งในกระบวนการที่ควรพิจารณาคือการลดความเสี่ยงจากเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ ทางสถาบัน SANS ได้มีข้อแนะนำ 5 ประการในการรับมือเรื่องนี้ 1. ระวังไม่ให้ตกเป็นเหยื่อการโจมตีแบบ social engineering เนื่องจากการปฏิบัติงานจากบ้านนั้นจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารหรือรับส่งไฟล์กับบุคคลอื่นมากกว่าการทำงานตามปกติ ผู้ประสงค์ร้ายอาจฉวยโอกาสนี้ในการส่งอีเมลหลอกลวง แนบไฟล์มัลแวร์ หรือแนบลิงก์ที่พาไปยังเว็บไซต์ฟิชชิ่งเพื่อหลอกขโมยรหัสผ่านได้ ทั้งนี้ควรทบทวนกระบวนการสั่งงานและการอนุมัติสั่งงาน เนื่องจากการโจมตีประเภท Business Email Compromise หรือ CEO Fraud ซึ่งเป็นการแฮกอีเมลของผู้บริหารแล้วสั่งให้ส่งข้อมูลหรือสั่งให้โอนเงินนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กรได้ 2. รักษาความมั่นคงปลอดภัยของรหัสผ่าน โดยควรใช้รหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก และไม่ซ้ำกับรหัสผ่านที่เคยใช้ในบริการอื่น หากเป็นไปได้ควรเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยเพื่อลดผลกระทบหากเกิดเหตุการณ์รหัสผ่านหลุด รวมถึงพิจารณาใช้โปรแกรมช่วยบริหารจัดการรหัสผ่านร่วมด้วย ทั้งนี้รวมถึงการตั้งรหัสผ่าน Wi-Fi เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ไม่ได้รับอนุญาตแอบเชื่อมต่อ Wi-Fi แล้วแพร่กระจายมัลแวร์หรือดักขโมยข้อมูล 3. การทำงานจากที่บ้านอาจไม่ได้หมายความว่าต้องอยู่แค่ในบ้านเสมอไป บางกรณีอาจจำเป็นต้องออกไปประชุมหรือทำงานนอกบ้าน เช่น ตามร้านกาแฟหรือห้างสรรพสินค้า หากเป็นไปได้ควรเชื่อมต่อ Wi-Fi จากโทรศัพท์มือถือ หากจำเป็นต้องเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะควรใช้ VPN ทั้งนี้ควรอัปเดตระบบปฏิบัติการ ซอฟต์แวร์ที่ใช้งาน และฐานข้อมูลของโปรแกรมแอนติไวรัสอย่างสม่ำเสมอ 4. ทำความเข้าใจกับเด็กหรือคนอื่นในบ้านว่าอุปกรณ์สำนักงานที่นำไปใช้ทำงานที่บ้าน…

Microsoft เผย บัญชีที่ถูกแฮก 99.9% ไม่ได้เปิดใช้การยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย มีองค์กรแค่ 11% เท่านั้นที่เปิดใช้

Loading

ในงาน RSA Conference 2020 วิศวกรจาก Microsoft ได้นำเสนอสถิติการแฮกบัญชีผู้ใช้ โดยระบุว่าบัญชี 99.9% ที่ถูกแฮกนั้นไม่ได้เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย (Multi-Factor Authentication หรือ MFA) ซึ่งเป็นการใช้ข้อมูลอื่น (เช่น OTP หรือ PIN) มาช่วยยืนยันเพิ่มเติมในการล็อกอินนอกเหนือจากการใช้รหัสผ่านเพียงอย่างเดียว นอจากนี้ทาง Microsoft ยังพบว่ามีองค์กรแค่ 11% เท่านั้นที่เปิดใช้งานระบบนี้ การแฮกบัญชีผู้ใช้นั้นสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่พบมากที่สุดคือการใช้เทคนิค password spraying ซึ่งเป็นการพยายามเดารหัสผ่านโดยใช้ข้อความที่เป็นคำทั่วไปหรือตั้งรหัสผ่านที่สามารถคาดเดาได้ง่าย วิธีรองลงมาคือการใช้เทคนิค password replays ซึ่งเป็นการใช้รหัสผ่านที่เคยหลุดจากบริการอื่นๆ มาทดลองล็อกอิน เทคนิคนี้ใช้ได้ผลเนื่องจากผู้ใช้ส่วนมากยังตั้งรหัสผ่านเดียวกันในหลายๆ บริการ ทำให้เมื่อรหัสผ่านของบริการใดเกิดหลุดรั่วออกไปก็สามารถนำไปใช้ล็อกอินในบริการอื่นๆ ได้ โดยทาง Microsoft พบว่าผู้ใช้ 60% ตั้งรหัสผ่านเดียวกันสำหรับบัญชีองค์กรและบัญชีส่วนตัว หนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้บัญชีขององค์กรถูกแฮกคือองค์กรเหล่านั้นไม่ได้เปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัย นั่นทำให้หากรหัสผ่านของพนักงานในองค์กรรั่วไหล (เช่น ตั้งรหัสผ่านที่คาดเดาได้ง่าย ติดมัลแวร์ หรือตกเป็นเหยื่อฟิชชิ่ง) ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายกับองค์กรได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้ทั่วไปสามารถศึกษาวิธีตั้งค่าบัญชีและเปิดใช้งานการยืนยันตัวตนแบบหลายปัจจัยได้จากลิงก์เหล่านี้ Microsoft (https://support.microsoft.com/th-th/help/12408/microsoft-account-how-to-use-two-step-verification)…

ความหมายของ “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” กับวิกฤติโควิด-19

Loading

EDITORS NOTE: Graphic content / World Health Organization (WHO) Director-General Tedros Adhanom Ghebreyesus talks during a daily press briefing on COVID-19 virus at the WHO headquaters in Geneva on March 11, 2020. – WHO Director-General Tedros… การที่องค์การอนามัยโลกตัดสินใจประกาศให้โควิด-19 เป็น ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก ในวันพุธ เป็นสิ่งที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้แล้ว แม้สถานการณ์โดยรวมจะบ่งชี้ถึงความจำเป็นที่จะต้องทำการประกาศนี้มาสักระยะ โดยเฉพาะเมื่ออัตราการระบาดในจุดต่างๆ เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง นิตยสาร Time รายงานว่า คำว่า “ภาวะการระบาดใหญ่ทั่วโลก” หรือ Pandemic ในความหมายขององค์การอนามัยโลก คือ การแพร่กระจายของโรคใหม่ไปยังพื้นที่ทั่วโลก แม้ว่าเกณฑ์ที่ชัดเจนในการตัดสินว่าสถานการณ์ใดควรได้รับคำนิยามนี้จะไม่ชัดเจนเสียทีเดียว…

โปแลนด์สั่งปรับโรงเรียนตามกฎหมาย GDPR จากการใช้ไบโอเมตริกตรวจสอบสิทธิ์ในการรับอาหารของนักเรียน

Loading

ภาพโดย MichaelGaida/Pixabay โรงเรียนในประเทศโปแลนด์ถูกทางการสั่งปรับเป็นเงิน 20,000 zloty (หน่วยเงินของโปแลนด์ คิดเป็นเงินไทยราว 166,000 บาท) ตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรปหรือ GDPR หลังจากทางโรงเรียนประมวลผลข้อมูลลายนิ้วมือของนักเรียนเพื่อตรวจสอบการจ่ายเงินค่าอาหารกลางวัน Jan Nowak ประธานของ UODO หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูลส่วนตัวในโปแลนด์ระบุว่าทางโรงเรียนได้ประมวลผลลายนิ้วมือของเด็กนับร้อยคนโดยไม่มีมาตรฐานตามกฎหมาย ซึ่งโรงเรียนมีทางเลือกมากมายในการจัดการอาหารของโรงเรียนที่ไม่จำเป็นต้องใช้ลายนิ้วมือ UODO ระบุว่า โรงเรียนแห่งนี้ใช้เครื่องอ่านไบโอเมตริกตรวจสอบนักเรียนที่ทางเข้าโรงอาหารมาตั้งแต่ปี 2015 เพื่อตรวจสอบสิทธิ์การรับอาหารของนักเรียน โดยถ้านักเรียนปฏิเสธที่จะใช้ไบโอเมตริกจะต้องไปต่อท้ายแถว และต้องรอจนกว่าเด็กที่ใช้ไบโอเมตริกจะเข้าโรงอาหารจนหมดก่อนเด็กที่ไม่ใช้จึงจะเข้าได้ ซึ่งประธาน UODO ให้ความเห็นว่ากฎเหล่านี้สร้างการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียมต่อเด็กและสร้างความแตกต่างอย่างไม่มีเหตุผล แม้ว่าโครงการไบโอเมตริกของโรงเรียนแห่งนี้จะมีคำยินยอมจากผู้ปกครองก็ตาม แต่ UODO พบว่าตามวัตถุประสงค์คือการระบุสิทธิ์ในการรับอาหารกลางวันของนักเรียน ก็ไม่ได้มีความจำเป็นต้องใช้ไบโอเมตริก รวมถึง GDPR ระบุไว้ชัดเจนตาม Retical 38 ว่าข้อมูลส่วนบุคคลของเด็กต้องได้รับการปกป้องเป็นพิเศษเนื่องจากเด็กไม่สามารถตระหนักถึงความเสี่ยงและสิทธิในข้อมูลของตนเอง และไบโอเมตริกก็คือข้อมูลเฉพาะตัวตนที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ หากหลุดออกไปจะถือเป็นความเสี่ยงขั้นรุนแรงต่อเสรีภาพของบุคคลนั้น ๆ ————————————————— ที่มา : Blognone / 7 มีนาคม 2563 Link : https://www.blognone.com/node/115049