ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok

Loading

iT24Hrs   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok โดย TikTok กำลังเผชิญกับข้อจำกัดที่เพิ่มขึ้นและการแบน TikTok ในหลายประเทศทั่วโลก   โดยในสหรัฐอเมริกาได้เตรียมคำสั่งห้าม และได้พิจารณาคดีในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้กับ Shou Zi Chew CEO ของ TikTok ทำให้หลายคนพูดถึง TikTok เยอะ เป็นพาดหัวหลายสำนักข่าวทั้งในสหรัฐและทั่วโลก นอกจากนี้ ทั่วทั้งอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย หลายประเทศได้บังคับใช้ข้อจำกัดระดับหนึ่งกับแอป TikTok   เนื่องด้วยเหตุผลความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ ที่หลายประเทศมองว่า ByteDance บริษัทแม่ของ TikTok มีสายสัมพันธ์กับรัฐบาลจีน ทำให้หน่วยงานรัฐบาลระหว่างประเทศรวมถึงคณะกรรมาธิการยุโรปและNATOได้สั่งห้ามไม่ให้พนักงานใช้ TikTok บนมือถือของบริษัท เช่นเดียวกับรัฐบาลกลางในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เนื่องด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ   ประเทศอะไรบ้างที่แบนแอป TikTok   อัฟกานิสถาน กลุ่มตาลีบันห้าม TikTok ในอัฟกานิสถานในเดือนเมษายน 2565 โดยกล่าวว่าเนื้อหาของแพลตฟอร์ม “ไม่สอดคล้องกับกฎหมายอิสลาม”…

เผยพนักงานเทสลาเข้าถึงกล้องในรถลูกค้าได้ นำคลิปแชร์ภายใน

Loading

  บริษัทเทสลา กล่าวให้ความมั่นใจแก่เจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าหลายล้านรายว่า ความเป็นส่วนตัวของพวกเขา “มีความสำคัญและจะมีความสำคัญอย่างยิ่งตลอดไป” โดยระบุในเว็บไซต์ว่า กล้องที่ติดตั้งในยานพาหนะเพื่อช่วยในการขับขี่ได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดเพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้   อย่างไรก็ตาม จากการสัมภาษณ์อดีตพนักงานเก้าคนของสำนักข่าวรอยเตอร์พบว่า ในระหว่างปี 2019-2022 กลุ่มพนักงานของเทสลาได้แชร์วิดีโอและภาพ ซึ่งบันทึกโดยกล้องติดรถยนต์ของลูกค้าผ่านระบบส่งข้อความภายใน ซึ่งบางครั้งสามารถบันทึกภาพลูกค้าของเทสลาในสถานการณ์ที่น่าอับอาย อดีตพนักงานคนหนึ่งยังกล่าวถึงวิดีโอของชายคนหนึ่งที่เข้าใกล้ยานพาหนะในสภาพเปลือยล่อนจ้อน   นอกจากนั้นยังมีการแชร์ภาพอุบัติเหตุ และเหตุการณ์บนท้องถนน อดีตพนักงานรายหนึ่งเผยว่า ภาพวิดีโออุบัติเหตุหนึ่งในปี 2564 แสดงให้เห็นรถเทสลาขับด้วยความเร็วสูงในย่านที่พักอาศัย ชนเข้ากับเด็กที่ขี่จักรยาน ส่งให้ร่างของเด็กและจักรยานลอยไปคนละทิศละทาง วิดีโอดังกล่าวแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว “เหมือนไฟป่า” ไปทั่วสำนักงานของเทสลาในเมืองซานมาเทโอ รัฐแคลิฟอร์เนีย ผ่านการแชตส่วนตัวแบบตัวต่อตัว   นอกจากนั้นยังมีการแชร์ภาพอื่น ๆ เช่น ภาพสุนัขและป้ายถนนตลก ๆ ที่พนักงานสร้างเป็นมีมด้วยการเขียนคำบรรยายหรือคำอธิบายที่น่าขบขัน ก่อนจะโพสต์ลงในแชตกลุ่มส่วนตัว แม้ว่าบางโพสต์จะถูกแชร์ระหว่างพนักงานสองคนเท่านั้น แต่โพสต์อื่น ๆ ก็มีพนักงานหลายคนที่ได้รับชม   เทสลาระบุใน “ประกาศความเป็นส่วนตัวของลูกค้า” ทางออนไลน์ว่า “การบันทึกภาพของกล้องยังคงไม่มีการระบุตัวตนของผู้ใช้และไม่ได้เชื่อมโยงกับลูกค้าหรือรถของลูกค้า” แต่อดีตพนักงาน 7 คนบอกกับรอยเตอร์ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่พวกเขาใช้ในที่ทำงานสามารถแสดงตำแหน่งของการบันทึก ซึ่งอาจเปิดเผยได้ว่าเจ้าของเทสลาอาศัยอยู่ที่ไหน   อดีตพนักงานคนหนึ่งยังกล่าวด้วยว่า การบันทึกบางอย่างดูเหมือนจะเกิดขึ้นเมื่อรถจอดและดับเครื่อง…

ตำรวจสเปนรวบแฮ็กเกอร์วัย 19 ที่แฮ็กข้อมูลประชาชนกว่า 500,000 ราย

Loading

  สำนักงานตำรวจแห่งชาติสเปน (CNP) เข้าจับกุมตัวแฮ็กเกอร์วัยรุ่นในข้อหาขโมยข้อมูลผู้จ่ายภาษีกว่า 500,000 รายจากฐานข้อมูลของสำนักงานภาษีของสเปน (AEAT)   แฮ็กเกอร์รายนี้มีชื่อว่า โฮเซ ลุยส์ ฮูเอร์ตา (José Luis Huertas) หรือ Alcasec มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงมาดริด ซึ่งเจ้าหน้าที่ชี้ว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงอย่างร้ายแรง และยังเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในด้านสินทรัพย์ทางไซเบอร์และการซ่อนแหล่งเงิน   ฮูเอร์ตาเริ่มแฮ็กมาตั้งแต่อายุ 15 มีวีรกรรมในการแฮ็ก HBO เพื่อสร้างบัญชีฟรีไปปล่อยบน Instagram แฮ็ก Burger King ให้ส่งอาหารฟรี และอีกมากมาย เขาได้เงินจากการแฮ็กเหล่านี้อย่างมหาศาล   เจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าเขาแฮ็กเข้าไปในระบบการส่งข้อมูลกลางที่เชื่อมหน่วยงานนิติบัญญัติและบริหารในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว   ฮูเอร์ตายังได้ประกาศศักดาในพอดแคสต์ออนไลน์ว่าสามารถเจาะเข้าไปยังข้อมูลส่วนตัวของชาวสเปนมากถึงร้อยละ 90   สำหรับเหตุการณ์แฮ็กเมื่อเดือนตุลาคม 2022 เป็นการแฮ็กข้อมูลของชาวสเปน 575,186 คน ซึ่งรวมถึงเลขบัญชีการเงินและข้อมูลเงินเดือนด้วย   สำนักข่าว El País รายงานว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนชี้ว่าฮูร์เอตาใช้นามแฝง Mango บนเว็บไซต์ซื้อขายข้อมูลใต้ดินเพื่อประกาศขายข้อมูลที่ได้จากการโจมตี   โดยหน่วยข่าวกรองของสเปนมีส่วนช่วยในการติดตามฮูเอร์ตาผ่านกระเป๋าตังค์คริปโทเคอร์เรนซีที่ใช้ในจ่ายเงินเช่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เก็บข้อมูลที่ขโมยมา  …

‘การ์ทเนอร์’ เจาะ 8 เทรนด์ใหญ่ อิทธิพลแรงสมรภูมิ ‘ซิเคียวริตี้’

Loading

  วันนี้ที่ “ไซเบอร์ ซิเคียวริตี้” กลายเป็นวาระสำคัญของทุกองค์กร แน่นอนว่าหนึ่งในผู้ที่ต้องรับบทหนักมากที่สุดหนีไม่พ้น ผู้บริหารความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Chief Information Security Officers หรือ CISOs)   Keypoints •   ผู้บริหารควรคิดนอกกรอบไปมากกว่าแค่เรื่องของเทคโนโลยี •   ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า •   ริชาร์ด แอดดิสคอตต์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์อิงค์ กล่าวว่า ไม่ต้องสงสัยเลยว่า CISO และทีมงานด้านความปลอดภัยจะต้องมุ่งไปยังสิ่งที่เกิดขึ้นในวันนี้ เพื่อให้มั่นใจว่าองค์กรของพวกเขาปลอดภัยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้   โดยผู้บริหารความปลอดภัยทางไซเบอร์ต้องสร้างสมมุติฐานและวางแผนเชิงกลยุทธ์ เพื่อใช้เป็นยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความปลอดภัยในอีกสองปีข้างหน้า     1. ภายในปี 2570 50% ของผู้บริหาร CISO จะนำแนวทางปฏิบัติการออกแบบความปลอดภัยที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลางมาปรับใช้ เพื่อลดแรงเสียดทานที่เกิดจากความปลอดภัยไซเบอร์และเพิ่มการควบคุมในระดับสูงสุด ผลการวิจัยของการ์ทเนอร์พบว่า มากกว่า 90% ของพนักงานยอมรับว่า ได้กระทำการที่ไม่ปลอดภัยในระหว่างการทำงานแม้ทราบดีว่าการกระทำนั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้องค์กรแต่ก็ยังทำอยู่ดี   ปลูกฝัง Zero-Trust mindset   2. ภายในปี 2567…

เวียดนามเตรียมตรวจสอบ “เนื้อหาเป็นพิษ” บน “ติ๊กต็อก”

Loading

  รัฐบาลเวียดนาม ประกาศเตรียมตรวจสอบแอปพลิเคชัน “ติ๊กต็อก” เกี่ยวกับ “เนื้อหาอันตราย” ซึ่งอาจเป็น “ภัยคุกคาม” ต่อเด็กและเยาวชน   สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 7 เม.ย. ว่า กระทรวงข่าวสารของเวียดนาม ออกแถลงการณ์ ว่า จะเริ่มทำการสอบสวนการดำเนินงานภายในประเทศของติ๊กต็อก “ตั้งแต่เดือน พ.ค. นี้ เป็นต้นไป” ว่า “เนื้อหาเป็นพิษ” บนแพลตฟอร์มว่า “เป็นภัยคุกคามต่อเด็กและเยาวชน วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมของเวียดนามหรือไม่”   ปัจจุบัน ติ๊กต็อกให้บริการในเวียดนามกับผู้มีอายุตั้งแต่ 18 ปี และข้อมูลจากรัฐบาลฮานอยระบุว่า จำนวนผู้ใช้งานสะสมในประเทศจนถึงตอนนี้ มีจำนวนเกือบ 60 ล้านคน ด้านติ๊กต็อกออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้เพียงว่า “เป็นการตรวจสอบตามกระบวนการและตามข้อตกลง” และบริษัทเทคโนโลยีข้ามชาติทุกแห่งในเวียดนาม ต้องเผชิญกับขั้นตอนนี้ พร้อมทั้งยืนยันว่า เฉพาะเมื่อไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ติ๊กต็อกลบคลิปตามคำร้องของทางการเวียดนามมากถึง 1.7 ล้านคลิป   Vietnam to probe…

นักวิจัยใช้ช่องโหว่ ChatGPT สร้างมัลแวร์ขั้นสูงสำเร็จในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

Loading

  แอรอน มัลกรูว (Aaron Mulgrew) นักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยจาก Forcepoint เผยว่าเขาใช้ ChatGPT ในการสร้างมัลแวร์ที่ใช้ประโยชน์จากช่องโหว่ Zero-day ได้สำเร็จ   โดยปกติแล้ว ChatGPT มีระบบป้องกันการถูกนำไปใช้เพื่อสร้างมัลแวร์หรือสนับสนุนการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ แต่มัลกรูวพบช่องโหว่ที่เปิดโอกาสให้ทำเช่นนั้นได้   วิธีการก็คือให้ ChatGPT เขียนโค้ดมัลแวร์ทีละบรรทัด จากนั้นมัลกรูวก็ได้นำบรรทัดเหล่านี้มาผสมกันกลายเป็นมัลแวร์สำหรับขโมยข้อมูล   มัลแวร์ที่สร้างขึ้นนี้ยังปลอมตัวเป็นแอปสกรีนเซฟเวอร์ที่จะเปิดใช้งานแบบอัตโนมัติบน Windows มีความสามารถในการขโมยข้อมูล แตกไฟล์เป็นไฟล์เล็กไฟล์น้อยที่ซ่อนเข้าไปในไฟล์รูปภาพได้ และอัปโหลดขึ้นไปบนโฟลเดอร์ Google Drive ได้   นอกจากนี้ มัลกรูวยังใช้ ChatGPT ในการเสริมประสิทธิภาพให้กับมัลแวร์ที่เขียนขึ้นจน VirusTotal ไม่สามารถตรวจจับได้ด้วยอีกต่างหาก   สิ่งที่น่ากลัวก็คือ การที่มัลกรูวซึ่งอ้างว่าตัวเองเป็นมือใหม่ในด้านการเขียนมัลแวร์สามารถทำจนสำเร็จได้ในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง     ที่มา Android Authority         ————————————————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :     …