ย้อนอดีตรถไฟสายชายแดนใต้ฝ่าดงระเบิด

Loading

  เหตุการณ์โจมตีรถไฟและลอบวางระเบิดรางไฟเกิดขึ้นมาแล้วนับร้อยครั้ง ตั้งแต่มีเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา   ข้อมูลที่รวบรวมโดย “ศูนย์ภาคใต้ สำนักข่าวอิศรา” ระบุว่า ตลอด 18 ปีไฟใต้ มีเจ้าหน้าที่และพนักงานการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสียชีวิตจากเหตุการณ์โจมตีรถไฟทุกรูปแบบมาแล้ว จำนวน 8 ราย บาดเจ็บ 48 ราย โดยจำนวนนี้นับรวมเหตุการณ์ล่าสุดที่เกิดระเบิดรางรถไฟล่าสุดสายชุมทางหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ ด้วย   ประเด็นที่น่าสังเกตเป็นอย่างยิ่งก็คือ เส้นทางรถไฟสายชายแดนใต้มี 2 สายหลัก ๆ ถ้านับจากชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา กล่าวคือ   1.เส้นทางรถไฟที่ไปจากสถานีชุมทางหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จนถึง สถานีสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ระยะทางประมาณ 200 กิโลเมตร มีสถานี 27 สถานี มีจุดล่อแหลมหรือจุดเสี่ยงรวมทั้งสิ้น 12 จุด ส่วนใหญ่เป็นช่วงจากสถานียะลาถึงสถานีสุไหงโก-ลก (ผ่าน อำเภอรือเสาะ เจาะไอร้อง ระแงะ และสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส)…

เผย 5 รูปแบบภัยไซเบอร์จ่อรอโจมตีในปีหน้า!!

Loading

    เมื่อโลกเข้าสู่ดิจิทัลเต็มรูปแบบ คนหันมาใช้ชีวิตโดยพึ่งพาออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ “อาชญากรรมไซเบอร์” ก็ขยายตัวสูงตามไปด้วย   เกิดภัยคุกคามในรูปแบบใหม่ๆที่เตรียมโจมตีโดยมีเป้าหมาย คือ ผู้ใช้งานทั่วไป หรือถึงองค์กรธุรกิจต่างๆ ซึ่งแนวโน้มภัยคุกคามบนไซเบอร์ในอีก 12 เดือนข้างหน้าและต่อไปในอนาคต จะเป็นอย่างไร ทาง ฟอร์ติเน็ต ผู้นำระดับโลกด้านโซลูชั่นการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แบบอัตโนมัติและครบวงจร ได้เผยผลการคาดการณ์ด้านความปลอดภัยไซเบอร์จาก ฟอร์ติการ์ด แล็บส์ (FortiGuard Labs)     โดยแนวโน้มภัยคุกคามใหม่ในปี 2023 หรือ ปีหน้า และต่อไปในอนาคต ที่ต้องเฝ้าระวัง คือ   1. การเติบโต แบบถล่มทลายของการให้บริการอาชญากรรมบนไซเบอร์ตามสั่ง หรือ Cybercime-as-a-Service (CaaS) จากความสำเร็จของอาชญากรไซเบอร์กับการให้บริการแรนซัมแวร์ในรูปแบบ as-a-service (RaaS) ทางฟอร์ติเน็ตคาดการณ์ว่าจะมีกระบวนการหรือเทคนิคการโจมตีแบบใหม่ๆ จำนวนมากที่จะมาในรูปแบบของ as-a-service ผ่านทางเว็บมืด (dark web) และยังเป็นจุดเริ่มต้นของโซลูชั่นให้บริการแบบ a-la-carte หรือให้เลือกได้จากเมนูอีกด้วย   ภาพ pixabay.com   หนึ่งในวิธีการป้องกันการโจมตีใหม่ ๆ นี้ คือการให้การศึกษาและอบรมเรื่องของความตื่นรู้ ทางด้านความ ปลอดภัยไซเบอร์ โดยในหลายองค์กรสร้างโปรแกรมฝึกอบรมด้านความปลอดภัยพื้นฐานสำหรับพนักงาน และเพิ่มองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้รับมือกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน เช่น ภัยคุกคามที่ใช้ เอไอ ในการทำงาน   2. บริการสอดแนมตามสั่ง (Reconnaissance-as-a-Service) การโจมตีทุกวันนี้ มีการล็อคเป้าหมายที่ชัดเจนมากขึ้น ผู้คุกคามจึงหันไปจ้าง “นักสืบ” จากเว็บมืดให้รวบรวมข้อมูลเชิงลึก หรือข่าวกรองที่เกี่ยวกับเป้าหมายก่อน ที่จะทำการโจมตีมากขึ้นเหมือนการจ้างนักสืบเอกชน บริการ นี้ ยังอาจเสนอสิ่งที่เรียกได้ว่าเป็นพิมพ์เขียว หรือ blueprint ของการโจมตี ที่จะให้มาพร้อมกับข้อมูลโครงสร้างระบบความปลอดภัยไซเบอร์ขององค์กร บุคลากรที่เป็นแกนหลักด้านการรักษาความปลอดภัยบนไซเบอร์ จำนวนเซิร์ฟเวอร์ที่องค์กรมีอยู่ รวมไปถึงช่องโหว่ภายนอกที่รู้กัน ตลอดจนจำนวนเซิร์ฟเวอร์หรือช่องโหว่ภายนอกที่มี แม้กระทั่งข้อมูลการถูกบุกรุก หรืออื่นๆ เพื่อช่วยให้อาชญากรไซเบอร์สามารถโจมตีเป้าหมายได้ตรงจุดและมีประสิทธิภาพ   การล่อหลอกอาชญากรไซเบอร์ด้วยเทคโนโลยีลวงจะให้ประโยชน์ นอกจากจะช่วยตอบโต้การทำงานของ RaaS แล้วยังรวมถึง CaaS ในขั้นตอนของการสอดแนมไปด้วย จะช่วยให้องค์กรสามารถรู้ทันศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบในการป้องกัน   ภาพ pixabay.com   3. กระบวนการฟอกเงินที่อาศัยพลังของแมชชีนเลิร์นนิง โดยจะมีการฟอกเงินที่แยบยลมากขึ้น โดยอาศัยการทำงานของระบบอัตโนมัติ ซึ่งในอดีตการจะล่อลวงให้คนเข้ามาติดกับได้นั้นต้องผ่าน กระบวนการที่ใช้ระยะเวลานาน จากการสำรวจพบว่า อาชญากรไซเบอร์เริ่มใช้แมชชีนเลิร์นนิง (ML) ในการกำหนดเป้าหมายเพื่อสรรหาบุคคล ซึ่งช่วยให้ระบุตัว ล่อที่มีศักยภาพได้ดีขึ้น  …

ครม. ยัน ไทยพัฒนาระบบพิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการรัฐ-เอกชน

Loading

  คณะรัฐมนตรี ยัน ไทยพัฒนาระบบรองรับ พิสูจน์-ยืนยันตัวตน ทางดิจิทัล ครอบคลุมบริการหน่วยงานรัฐ เอกชน เชื่อสะดวกกับประชาชนยิ่งขึ้น   6 ธ.ค. 65 – ที่ทำเนียบรัฐบาลล น.ส.ทิพานัน ศิริชนะ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า   ครม.รับทราบรายงานตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เสนอรายงานความคืบหน้าการพัฒนาระบบรองรับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) แบ่งออกเป็น 2 ด้านคือ   ความคืบหน้าด้านกฎหมาย อาทิเช่น การยืนยันตัวตนจะกำหนดให้ดำเนินการด้วยวิธีอื่นนอกจากการแสดงบัตรประจำตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทางก็ได้ ถ้าวิธีอื่นดังกล่าวนั้น จะเป็นการสะดวกแก่ประชาชนยิ่งขึ้น   ซึ่งบัญญัติใน มาตรา 8 วรรค 2 แห่ง พ.ร.บ.การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565 และยังมีการกำหนดหลักเกณฑ์การดูแลผู้ให้บริการการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ที่จะบัญญัติไว้ใน ร่าง พ.ร.ฎ.ว่าด้วยการควบคุมดูแลธุรกิจบริการเกี่ยวกับระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลที่ต้องได้รับใบอนุญาต พ.ศ. …. ที่ ครม. มีมติอนุมัติหลักการไปเมื่อวันที่ 22…

ระเบิดซ้ำลูก2รางรถไฟสะเดา คาดจงใจเว้นระยะเวลาให้ชะล่าใจ

Loading

  เผยเหตุระเบิดซ้ำลูกสองรางรถไฟ อ.สะเดา จ.สงขลา อยู่นอกเขตปลอดภัยห่างจากจุดเดิม 250 เมตร คาดคนร้ายจงใจวางไม่ให้หน่วยกู้ระเบิดตรวจพบ ขยายพื้นที่ความมั่นคงคุมสะเดาเพิ่ม   จากกรณีเกิดเหตุคนร้ายลอบวางระเบิดซ้ำลูกสองเส้นทางรถไฟหาดใหญ่-ปาดังเบซาร์ บริเวณจุดเดิมที่ถูกคนร้ายลอบวางระเบิดรถไฟขบวนสินค้าในพื้นที่ ต.ท่าโพธิ์ อ.สะเดา จ.สงขลา ทำให้เจ้าหน้าที่ของการรถไฟเสียชีวิต 3 ราย และบาดเจ็บอีก 4 ราย เหตุเกิดเมื่อเวลาประมาณ 06.30 น.   ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงทั้งทหาร ตำรวจและฝ่ายปกครองนำโดย นายเจษฎา จิตรัตน์ ผวจ.สงขลา พล.ต.ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 พล.ต.ต.วรา เวชชาภินันท์ ผบก.ภ.จว.สงขลา นายภานุมาศ พรหมโชติ วิศวกรกำกับการกองบำรุงทางเขตหาดใหญ่ ร่วมกันแถลงข่าวถึงกรณีดังกล่าว   นายเจษฎษา กล่าวว่า จุดที่เกิดระเบิดซ้ำลูกสอง อยู่ห่างจากจุดเดิมออกไปราว 250 เมตร ซึ่งคนร้ายน่าจะวางแผนมาแล้ว เพื่อไม่ให้ชุดเก็บกู้วัตถุระเบิดที่เข้าไปเก็บกู้และเคลียร์พื้นที่ระเบิดลูกแรกตรวจพบ จึงมีการเปิดพื้นที่ให้เจ้าหน้าที่รถไฟ เข้าไปกู้ซากรถไฟและซ่อมแซมรางตั้งแต่วันที่ 3…

หน่วยสืบราชการลับสหรัฐฯ เผยแฮ็กเกอร์จีนขโมยเงินมหาศาลไปจากกองทุนโควิด-19

Loading

  หน่วยสืบราชการลับของสหรัฐอเมริกา (Secret Service) เผยว่ากลุ่มแฮ็กเกอร์แบบอำพรางขั้นสูง (APT) ที่มีรัฐบาลจีนให้การสนับสนุนได้ขโมยเงินอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญ (ราว 700 ล้านบาท) ไปจากกองทุนช่วยเหลือโควิด-19 ของสหรัฐฯ   แฮ็กเกอร์กลุ่มนี้มีชื่อเรียกว่า APT41 มีฐานปฏิบัติการอยู่ในมณฑลเฉิงตู ที่ผ่านมาเคยขโมยเงินจากกองทุนกู้ยืมธุรกิจขนาดเล็ก (SBA) และกองทุนประกันการว่างงานในมากกว่า 12 รัฐ   แต่หน่วยสืบราชการรัฐเชื่อว่าเหยื่อจริง ๆ อาจมีจำนวนมากกว่านั้นมาก โดยเผยว่ามีการสืบสวนมากกว่า 1,000 คดีที่กำลังดำเนินอยู่ คดีส่วนใหญ่เกี่ยวกับการฉ้อโกงและการจารกรรมเงินจากกองทุนสาธารณะ   รอย ดอตสัน (Roy Dotson) ผู้ประสานงานด้านการกู้คืนจากการฉ้อโกงโรคระบาดแห่งชาติของหน่วยสืบราชการลับเชื่อว่าหาก APT41 จะโจมตีทั้ง 50 รัฐของสหรัฐฯ ก็ย่อมเป็นไปได้   สำนักข่าว NBC ชี้ว่าปฏิบัติการโจมตีของ APT41 เริ่มต้นในกลางปี 2020 จนส่งผลกระทบต่อ 2,000 บัญชีที่มีการทำธุรกรรมมากกว่า 40,000 รายการ ขณะที่…

เมืองใน “นอร์ทแคโรไลนา”ประกาศเคอร์ฟิว มือมืดยิงสถานีไฟฟ้า ทำไฟดับหลายวัน

Loading

  มือมืดรัวกระสุนใส่สถานีไฟฟ้าย่อย ในเมืองแห่งหนึ่งที่ “รัฐนอร์ทแคโรไลนา” 4 หมื่นครัวเรือนตกอยู่ในความมืดท่ามกลางความหนาวเย็น นายอำเภอออกปาก 40 ปีไม่เคยเจอ เอฟบีไอร่วมสอบ   เทศมณฑล มัวร์ (Moor County) รัฐแคโรไลนา สหรัฐอเมริกา ประกาศภาวะฉุกเฉิน และบังคับใช้เคอร์ฟิว หลังเกิดไฟดับกระทบประชาชนและธุรกิจกว่า 4 หมื่นครัวเรือน สาเหตุเกิดจากการยิงปืนโจมตีสถานีไฟฟ้าย่อยโดยเจตนาอย่างน้อย 2 แห่ง เมื่อคืนวันที่ 4 ธ.ค รอนนี ฟีลด์ส นายอำเภอเทศมณฑลมัวร์ แถลงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่ไม่เคยเจอมาก่อนตั้งแต่ทำงานในหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย มานาน 40 ปี “เป็นการโจมตีแบบมีเป้าหมาย โดยคนคนหนึ่งหรือหลายคนที่รู้ดีว่ากำลังทำอะไรอยู่” เจ้าหน้าที่สอบสวนท้องถิ่นกำลังทำงานร่วมกับเอฟบีไอ และสำนักงานสอบสวนรัฐนอร์ทแคโรไลนา โดยสอบสวนเป็นคดีอาชญากรรม หาตัวผู้ก่อเหตุและมูลเหตุจูงใจ   ฟีลด์ กล่าวว่า นี่เป็นสถานการณ์ที่ร้ายแรงมาก และไม่สามารถคลี่คลายได้ในวันสองวัน เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลงความเห็นว่า การคุ้มครองความปลอดภัยของประชาชนและธุรกิจ ดีที่สุด คือบังคับใช้เคอร์ฟิวในเวลากลางคืน ระหว่างเวลา 21.00 น.…