วิเคราะห์อนาคตเมืองสแกมเมอร์ทุนจีนในเมียวดี ทำไมยังอาจรอดปลอดภัยท่ามกลางไฟสงคราม

Loading

พ.อ.ชิต ตุ ผู้นำกองกำลังกะเหรี่ยงแห่งชาติหรือเคเอ็นเอ (Karen National Army-KNA) ซึ่งเคยเป็นกองกำลังพิทักษ์ชายแดนกะเหรี่ยงหรือกะเหรี่ยงบีจีเอฟ (Karen Border Guard Force-Karen BGF) ให้กับกองทัพเมียนมาเพื่อดูแลรักษาพื้นที่ชายแดนรัฐกะเหรี่ยงที่อยู่ติดกับชายแดนไทย กำลังเป็นตัวแปรสำคัญในสนามประลองยุทธ์ในเมืองเมียวดี ซึ่งมีการปะทะกันระหว่างกองกำลังฝ่ายต่อต้านที่นำโดยสหภาพกะเหรี่ยงแห่งชาติหรือเคเอ็นยู (Karen National Union-KNU) และกองทัพเมียนมา

พลวัตสงครามเมียนมาต่อไทย

Loading

สถานการณ์สงครามกลางเมืองในเมียนมา เป็นหนึ่งในปัญหาความมั่นคงไทยที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นหนึ่งในประเด็นที่ถูกตั้งคำถามอย่างมากว่า “ไทยจะเอาอย่างไรกับปัญหาสงครามในเมียนมา?” … จนถึงวันนี้ เรายังไม่เห็นสิ่งที่เป็นข้อสรุปจากข้อถกแถลงในระดับนโยบาย ที่ใช้เป็นทิศทางบ่งบอกถึง “ท่าที-จุดยืน” ของประเทศไทยต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในเมียนมาแต่อย่างใด

การบังคับเกณฑ์ทหารกับวิกฤตระดับอาเซียน

Loading

สัญญาณบอกเหตุว่ากองทัพพม่ากำลังอ่อนแอลงอย่างสุดขีด และความพยายามรักษาอำนาจหลังรัฐประหารปี 2021 มาถึงทางตันแล้ว คือการประกาศแผนการบังคับเกณฑ์ทหารทั้งชายและหญิงที่ยังอยู่ในวัยทำงาน อายุตั้งแต่ 18-35 ปี สำหรับผู้ชาย และ 18-27 ปี สำหรับผู้หญิง การประกาศในลักษณะนี้ไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นครั้งแรก เพราะรัฐบาลทหารในยุคก่อนหน้านี้เคยออกกฎหมายบังคับเกณฑ์ทหารในช่วงบ้านเมืองเจอศึกสงครามและทหารขาดแคลน แต่การต่อสู้ของ SAC หรือคณะรัฐประหารพม่าในครั้งนี้ไม่ใช่ “สงคราม” เพื่อปกป้อง “ชาติ” หากแต่เป็นการปกป้องผลประโยชน์ของตนเองมากกว่าอื่นใด

กองทัพเมียนมา กับการเกณฑ์ทหารครั้งใหญ่

Loading

เมื่อ 10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา รัฐบาลทหารเมียนมาประกาศการให้มีการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการรัราชการทหารของประชาชน ฉบับปี 2010 (2010 People’s Military Service Law) เพื่อให้มีการเกณฑ์ทหารครั้งใหม่ทั่วประเทศ รายงานของ กเวน โรบินสัน กับ อ่อง นายโซ แห่งนิกเกอิเอเชีย ที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ สะท้อนปฏิกิริยาที่น่าสนใจอย่างยิ่งของผู้ที่ตกอยู่ในข่ายถูกเกณฑ์เข้าสู่กองทัพในครั้งนี้

สถานการณ์ ‘เมียนมา’ วิเคราะห์สมรภูมิสู้รบดุเดือด

Loading

นับเนื่องมาตั้งปลายเดือน ต.ค.2566 จนถึงปัจจุบัน สถานการณ์การสู้รบระหว่างกองทัพเมียนมา กับกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ และกองกำลังพิทักษ์ประชาชน เกิดขึ้นในหลายภูมิภาค ทั้งรัฐฉานตอนเหนือ รัฐกะยา รัฐชิน รัฐยะไข่ และภูมิภาคสะกาย

ศึกหลายด้านของกองทัพพม่า

Loading

ปฏิบัติการ 1027 ในปลายเดือนตุลาคม เป็นปฏิบัติการของกองกำลังสามฝ่ายที่เรียกตัวเองว่า “พันธมิตรสามภราดรภาพ” (Three Brotherhood Alliance) หรือสั้น ๆ ว่า “สามพี่น้อง” อันประกอบด้วย MNDAA หรือกองกำลังของโกก้าง TNLA ของกลุ่มชาติพันธุ์ตะอาง (ปะหล่อง) และกองทัพอาระกัน หรือ AA ได้ร่วมกันโจมตีกองทัพพม่า และกองกำลังฝ่ายที่สนับสนุนกองทัพพม่า