อังกฤษเล็งเพิ่มอำนาจตำรวจเพื่อยุติการประท้วง หวั่นส่งผลกระทบประชาชน

Loading

    รัฐบาลอังกฤษภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี ริชี ซูนัค จะประกาศข้อเสนอใหม่ ๆ เพื่อปราบปรามการประท้วง ในวันนี้ (16 ม.ค.) โดยจะมอบอำนาจพิเศษให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ามาดำเนินการเพื่อป้องกันเหตุการณ์ชะงักงันอันเนื่องมาจากการประท้วง   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา การประท้วงในอังกฤษมักเกี่ยวข้องกับปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่งผลให้มีการปิดพื้นที่ส่วนใหญ่ใจกลางกรุงลอนดอนและปิดกั้นการจราจรบนทางหลวงสายสำคัญ ซึ่งทำให้ต้องออกกฎเพิ่มอำนาจพิเศษให้ตำรวจเพื่อเข้ามาหยุดยั้งความวุ่นวาย   รัฐบาลอังกฤษได้ผ่านกฎหมายเพื่อแก้ไขปัญหานี้ในปี 2565 แต่กำลังวางแผนที่จะดำเนินการเพิ่มเติมด้วยกฎหมายชุดใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ ร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชน (Public Order Bill)   ร่างกฎหมายดังกล่าวได้รับการเผยแพร่เมื่อปีที่แล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการอภิปรายในรัฐสภา ซึ่งได้รับการวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากกลุ่มอิทธิพลเมืองที่กล่าวว่าเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยและให้อำนาจแก่ตำรวจมากเกินไป   รัฐบาลต้องการแก้ไขร่างกฎหมายความสงบเรียบร้อยของประชาชนก่อนที่จะออกเป็นกฎหมาย เพื่อขยายคำจำกัดความทางกฎหมายของ “การหยุดชะงักอย่างร้ายแรง” เพื่อให้ตำรวจมีความยืดหยุ่นมากขึ้น และให้ความชัดเจนทางกฎหมายว่าอำนาจใหม่จะถูกนำมาใช้เมื่อใด   นายซูนัคกล่าวในแถลงการณ์เมื่อค่ำวานนี้ว่า “สิทธิในการประท้วงเป็นหลักการพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยของเรา แต่สิ่งนี้ไม่ใช่เรื่องที่แน่นอน เราไม่สามารถปล่อยให้การประท้วงจากคนส่วนน้อยส่งผลกระทบต่อชีวิตของประชาชนส่วนใหญ่ได้ เราจะต้องดำเนินการให้เรื่องนี้ยุติลง”   ทั้งนี้ รัฐบาลอังกฤษกล่าวว่า หากกฎหมายใหม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา ก็จะช่วยให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้ายุติการประท้วงได้ทันที       ——————————————————————————————————————————————————————– ที่มา :       …

รัฐบาลอังกฤษคุมเข้มออนไลน์ ผู้ใช้งานต้องระบุตัวตน

Loading

  รัฐบาลอังกฤษประกาศมาตรการเพิ่มเติมภายใต้ร่างกฎหมายความปลอดภัยออนไลน์ฉบับใหม่ เมื่อวันที่ 25 ก.พ.ว่า แพลตฟอร์มดิจิทัลอย่างเฟซบุ๊ก , กูเกิล และทวิตเตอร์ ต้องมีเครื่องมือยืนยันตัวตนของผู้ใช้ รวมถึงต้องมีตัวเลือกว่าจะรับหรือไม่รับข้อความจากบัญชีที่ไม่ระบุตัวตน รวมถึงการตอบกลับหรือไม่ เพื่อป้องกันการกลั่นแกล้งและคุกคามออนไลน์จากผู้ไม่ลงทะเบียนเปิดเผยตัวตน นอกจากนี้ ยังต้องมีเครื่องมือที่ช่วยกรองเนื้อหาที่เป็นอันตราย หวังหยุดการกระจายข้อความข่าวสารอันเป็นเท็จ และความเกลียดชัง ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีที่ไม่ปฏิบัติตามอาจถูกออฟคอม ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับธุรกิจสื่อของรัฐบาลอังกฤษกำหนดค่าปรับสูงถึง 10% ของรายได้ประจำปีทั่วโลกของบริษัท อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่มีผลบังคับใช้ โดยเตรียมเสนอต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบต่อไปในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า     ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์    /   วันที่เผยแพร่ 26 ก.พ.65 Link : https://www.thairath.co.th/news/foreign/2325992