ไบเดนสั่งบริษัทเทคฯ คุมเข้มความปลอดภัยเอไอ หวั่นอันตรายต่อสังคม

Loading

U.S. President Joe Biden adjusts his microphone during a meeting with the President’s Council of Advisors on Science and Technology in the State Dining Room of the White House, April 4, 2023, in Washington.   ประธานาธิบดีสหรัฐฯ โจ ไบเดน กล่าวในวันอังคารว่า ต้องจับตามองกันต่อไปว่าเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ เอไอ จะเป็นอันตรายมากน้อยแค่ไหน พร้อมเน้นย้ำว่าบริษัทเทคโนโลยีต่าง ๆ จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อการพัฒนาเอไอ   ปธน.ไบเดน กล่าวต่อที่ประชุมสภาที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีว่า ในอนาคตเอไออาจมีประโยชน์ในด้านการรักษาโรคและรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงแห่งชาติ   ผู้นำสหรัฐฯ…

สภาคองเกรสสหรัฐร้องบริษัทเทคฯยักษ์ใหญ่เก็บหลักฐานอาชญากรรมสงครามในยูเครน

Loading

  สมาชิกสภาคองเกรสระดับสูง 4 รายจากพรรคเดโมแครต ยื่นคำร้องอย่างเป็นทางการถึงซีอีโอของบริษัทยูทูบ ติ๊กต็อก ทวิตเตอร์ และเมตา ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก เพื่อขอให้บริษัทดังกล่าวเก็บคอนเทนต์ที่อาจใช้เป็นหลักฐานการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียในยูเครน   จดหมายที่ยื่นถึงนายมาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ซีอีโอของบริษัทเมตา แพลตฟอร์มส์ (Meta Platforms) มีใจความว่า “สาเหตุที่เราเขียนจดหมายฉบับนี้ขึ้นมาก็เพื่อสนับสนุนให้เมตาดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูลและบันทึกคอนเทนต์ต่าง ๆ ที่มีการแชร์ในแพลตฟอร์มของตนเอง ซึ่งอาจใช้เป็นหลักฐานให้กับรัฐบาลสหรัฐ องค์การสิทธิมนุษยชน และหน่วยงานที่เฝ้าระวังระหว่างประเทศในการสอบสวนเรื่องอาชญากรรมสงครามของรัสเซีย อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และความโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า คำร้องดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากมีหลักฐานที่อาจเป็นการก่ออาชญากรรมสงครามของรัสเซียแพร่กระจายบนโซเชียลมีเดียอย่างต่อเนื่อง โดยในวันพุธ (11 พ.ค.) อัยการสูงสุดของยูเครนประกาศทางเฟซบุ๊กว่า ได้เริ่มการสอบสวนทหารรัสเซียในความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เริ่มรุกรานยูเครนในเดือนก.พ.   สมาชิกสภาคองเกรสทั้ง 4 รายเรียกร้องบริษัทโซเชียลมีเดียเป็นพิเศษให้ “ทำเครื่องหมายสำคัญหรือเน้นสิ่งที่อาจเป็นหลักฐานของอาชญากรรมสงครามและเหตุการณ์อันโหดร้ายอื่น ๆ ในยูเครน”     —————————————————————————————————————————————————— ที่มา :   สำนักข่าวอินโฟเควสท์         …

EU บังคับบริษัทเทคโนฯยักษ์ใหญ่จัดการคอนเทนต์ผิดกม.-ฝ่าฝืนเจอโทษปรับ

Loading

  สหภาพยุโรป (EU) เห็นชอบในวันนี้ (23 เม.ย.) เกี่ยวกับการออกกฎหมายใหม่ ซึ่งจะบังคับให้บริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่ ๆ อาทิ กูเกิล และเมตา จัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายในแพลตฟอร์มต่าง ๆ อย่างจริงจังมากขึ้น มิฉะนั้นจะเสี่ยงกับการถูกปรับเป็นเงินหลายพันล้านดอลลาร์   สำนักข่าวซีเอ็นบีซีรายงานว่า รัฐสภายุโรปและประเทศสมาชิก EU ได้บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับกฎหมายการให้บริการดิจิทัล (Digital Services Act – DSA) ซึ่งเป็นกฎหมายหลักที่มีเป้าหมายเพื่อจัดการกับคอนเทนต์ที่ผิดกฎหมายและเป็นอันตราย ด้วยการสั่งให้แพลตฟอร์มดำเนินการลบคอนเทนต์เหล่านั้นออกไปอย่างรวดเร็ว   ส่วนสำคัญของกฎหมายนี้จะจำกัดวิธีที่บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านดิจิทัลทำการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานสำหรับการโฆษณาออนไลน์ โดย DSA จะขัดขวางแพลตฟอร์มต่าง ๆ จากการกำหนดเป้าหมายผู้ใช้งานด้วยอัลกอริทึมโดยใช้ข้อมูลเพศ เชื้อชาติหรือศาสนา และจะห้ามไม่ให้กำหนดเป้าหมายด้านการโฆษณากับผู้ใช้งานที่เป็นเด็ก   นอกจากนี้ DSA จะห้ามการใช้กลวิธีหลอกลวงที่ออกแบบมาเพื่อผลักดันให้ผู้ใช้งานเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการบางอย่างด้วย   บริษัทเทคโนโลยีจะต้องใช้ขั้นตอนใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อกำจัดเนื้อหาที่ผิดกฎหมาย เช่น คำพูดที่สร้างความเกลียดชัง การยั่วยุให้ก่อการร้าย และการล่วงละเมิดทางเพศเด็ก โดยตลาดอี-คอมเมิร์ซ เช่น แอมะซอนจะต้องห้ามการขายสินค้าผิดกฎหมายภายใต้กฎใหม่ดังกล่าว   ทั้งนี้ บริษัทที่ไม่ปฏิบัติตามกฎใหม่ดังกล่าวอาจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 6% ของรายได้ประจำปีทั่วโลก…

ร่างกม.อังกฤษ กำหนดโทษจำคุกผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยี

Loading

FILE – This combination of photos shows logos for social media platforms Facebook and Twitter.   สำนักข่าว เอพี รายงานว่า รัฐบาลอังกฤษกำลังนำเสนอร่างกฎหมายใหม่ที่มีจุดประสงค์ที่จะสร้างความปลอดภัยให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต ด้วยการนำเสนอบทลงโทษจำคุกสำหรับผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายที่ทำการหละหลวมไม่ปฏิบัติตามแนวทางใหม่นี้   รัฐบาลอังกฤษ เปิดเผยในวันพฤหัสบดีว่า ร่างกฎหมายใหม่ที่ว่านี้จะให้อำนาจที่มากขึ้นแก่หน่วยงานกำกับดูแลกิจการเทคโนโลยี ในการดูแลการดำเนินธุรกิจของบริษัทดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ต่างๆ เช่น กูเกิล (Google) เฟซบุ๊ก (Facebook) ทวิตเตอร์ (Twitter) และติ๊กตอก (TikTok) เป็นต้น   เอพี ระบุว่า ร่างกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในโลกออนไลน์นี้ สะท้อนให้เห็นถึงจุดยืนของสหราชอาณาจักรในการเป็นผู้นำการเคลื่อนไหวในการเข้าควบคุมอำนาจของสื่อดิจิทัลทั้งหลาย และจัดการให้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องมีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาข้อมูลที่เป็นภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การล่วงละเมิดทางเพศเด็ก เนื้อหาที่มีลักษณะเหยียดเชื้อชาติ การกลั่นแกล้ง การฉ้อโกงต่างๆ รวมทั้ง เนื้อหาอื่นๆ ที่จะเป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานและปรากฏอยู่ในแพลตฟอร์มของตน หลังจากที่สหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ได้เดินหน้าความพยายามเช่นเดียวกันนี้ไปแล้ว   นาดีน ดอร์รีส…