แจ้งเตือนปลอม กดแจ้งเตือนติดตั้งโปรแกรม แถมมัลแวร์ผ่านหน้าเว็บ
มีการค้นพบแคมเปญการกระจายมัลแวร์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ข้อความแจ้งปัญหาปลอมจาก Google Chrome, Word และ OneDrive เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้ง “ตัวแก้ไข” ซึ่งแท้จริงแล้วคือมัลแวร์
มีการค้นพบแคมเปญการกระจายมัลแวร์รูปแบบใหม่ ที่ใช้ข้อความแจ้งปัญหาปลอมจาก Google Chrome, Word และ OneDrive เพื่อหลอกให้ผู้ใช้ติดตั้ง “ตัวแก้ไข” ซึ่งแท้จริงแล้วคือมัลแวร์
ไฟล์สกุลหนึ่งที่ทุกคนคงคุ้นเคยกันดีคงจะไม่พ้นไฟล์ Word แต่คุณทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันไฟล์ที่ดูธรรมดา ๆ นี้นั้นกลับถูกนำมาใช้เป็นสิ่งที่จะทำร้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
สกมช. แนะนำผู้ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ อัปเดตแพตช์ให้เป็นเวอร์ชันล่าสุด แก้ไขช่องโหว่ CVE-2022-30190 ของ Microsoft Windows หลังกรณี Microsoft ออกรายงานเกี่ยวกับช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2022-30190 หรือ Follina เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคม 2565 โดยแฮ็กไกอร์อาศัยช่องโหว่นี้ทำงานโดยการฝัง URL ในเอกสารรูปแบบ ms-msdt:/ (Microsoft Support Diagnostic Tool (MSDT)) เพื่อเข้าควบคุมระบบและโปรโตคอลได้จากระยะไกล เมื่อผู้ใช้เปิดเอกสารโค้ดที่เป็นอันตรายจะทำงานทันที ไม่ว่าจะเป็นการเปิดเอกสารในรูปแบบพรีวิว เปิดแบบ Read-only หรือเปิดใน Word ที่ปิดฟีเจอร์มาโคร ซึ่งแฮ็กไเกอร์จะสามารถติดตั้งโปรแกรมเพื่อเปลี่ยนแปลงข้อมูล ลบข้อมูล สร้างบัญชีใหม่ หรือขโมยข้อมูลส่วนตัวได้ พล.อ.ต.อมร ชมเชย รองเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) มีความห่วงใยต่อประชาชนที่อาจจะได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ความปลอดภัย CVE-2022-30190 หรือ Follina เนื่องจากช่องโหว่นี้ตกเป็นเป้าหมายของกลุ่มแฮ็กไเกอร์ที่จะนำมาใช้ในการโจมตีรูปแบบฟิชชิ่ง คือ การหลอกเหยื่อโดยส่งอีเมลพร้อมแนบไฟล์ Word ที่มีโค้ดอันตราย ทำให้ผู้ใช้งานหลงเชื่อ เปิดไฟล์และถูกโจมตีระบบคอมพิวเตอร์ทันที…
เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว