หมดกันความเป็นส่วนตัว! เมื่ออากู๋ “Google” ขอขุดดาต้ามาสอน AI

Loading

  กำแพงความเป็นส่วนตัวถูกทำลายลงอีกครั้ง เมื่อ Search Engine ยักษ์ใหญ่อย่าง “Google” ขออนุญาต “ขุด” ข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลทุกอย่างที่เราเคยโพสต์ทางออนไลน์ ด้วยเหตุผลว่าจะนำไปสอน AI   การก้าวล้ำเส้นแบ่งของความเป็นส่วนตัวในโลกออนไลน์เริ่มต้นเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อ Google ปรับปรุงนโยบายความเป็นส่วนตัว โดยระบุอย่างชัดเจนว่าบริษัทขอสงวนสิทธิ์ในการขุดข้อมูลทุกอย่างที่พวกเราโพสต์ทางออนไลน์เพื่อสร้างเครื่องมือ AI   โดยนโยบายใหม่ของ Google ระบุว่า “Google จะใช้ข้อมูลเพื่อปรับปรุงบริการและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ฟีเจอร์ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ และสาธารณะ”     “Google” ยกตัวอย่างว่า ข้อมูลจะถูกใช้ฝึกโมเดล AI ของ Google และสร้างผลิตภัณฑ์รวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น Google Translate, Bard และเพิ่มความสามารถของ Cloud AI ซึ่งเพิ่มเติมจากเดิมที่ Google เคยบอกว่าข้อมูลจะใช้สำหรับโมเดลภาษาเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้กระโดดเข้ามาสู่ตลาด “AI” เป็นที่เรียบร้อย   ข้อสังเกตอย่างหนึ่งที่ดูจะไม่ปกตินักคือ โดยทั่วไปแล้ว…

แหล่งข่าวเผย Google ได้รับข้อมูลลับเกี่ยวกับกฎหมายภาษีของออสเตรเลียอย่างไม่เหมาะสมจาก PwC Australia

Loading

  สำนักข่าว Reuters รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวว่า PwC Australia บริษัทสาขาของผู้ตรวจสอบบัญชีรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลกส่งข้อมูลลับที่เกี่ยวกับวันประกาศใช้กฎหมายภาษีใหม่ ที่หลุดมาจากการประชุมด้านภาษีของรัฐบาลออสเตรเลีย Reuters ชี้ว่านี่เป็นครั้งแรกที่มีการระบุว่า Google มีส่วนในกรณีฉาวในออสเตรเลียเกี่ยวกับการปล่อยข้อมูลลับดังกล่าว   โดย PwC กำลังถูกตรวจสอบอย่างหนักจากกรณีที่ ปีเตอร์ คอลลินส์ (Peter Collins) ที่ปรึกษารัฐบาลออสเตรเลียในด้านการออกกฎหมายต่อต้านการเลี่ยงภาษี และยังเป็นอดีตหุ้นส่วนของ PwC ได้ส่งร่างเอกสารลับที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับแผนของรัฐบาลให้กับพรรคพวก   ข้อมูลนี้ยังถูกนำไปใช้ในการพัฒนาความร่วมมือทางธุรกิจกับบรรดาบริษัทข้ามชาติต่าง ๆ   กรณีเริ่มจากเมื่อเดือนสิงหาคม 2015 หนึ่งในเพื่อนร่วมงานของคอลลินส์ได้ส่งอีเมลให้กับพนักงาน Google รายหนึ่ง อีเมลมีเนื้อหาระบุวันที่รัฐบาลออสเตรเลียน่าจะประกาศใช้กฎหมายต่อต้านการเลี่ยงภาษีนานาชาติ (MAAL)   แต่แหล่งข่าวระบุว่าผู้ที่ส่งอีเมลไม่ได้บอก Google ว่าข้อมูลนี้เป็นความลับ   ด้าน Google ออกมาแถลงว่ารู้สึกผิดหวังกับ PwC ที่เปิดเผยข้อมูลอย่างไม่เหมาะสม แต่ก็ยืนยันว่า Google ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าว และประสานโดยตรงกับสรรพากรของออสเตรเลียมาโดยตลอด   ส่วน PwC Australia เผยว่าลูกค้าของบริษัทไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด และบริษัทเองไม่ได้ส่งข้อมูลลับที่ช่วยให้ลูกค้าจ่ายภาษีน้อยลงแต่อย่างใด…

Google เตือนพนักงาน ให้ระมัดระวังการป้อนข้อมูลบริษัทลงในแชตบอท AI แม้แต่ Bard ก็ไม่เว้น

Loading

  สำนักข่าว Reuters อ้างแหล่งข่าวภายในพนักงาน Alphabet บริษัทแม่ของกูเกิล 4 คน ยืนยันว่าบริษัทได้ให้คำแนะนำกับพนักงาน ระมัดระวังการใช้งานแชตบอท AI ทุกชนิด ซึ่งรวมทั้ง Bard แชตบอทของบริษัทด้วย ไม่ให้ป้อนข้อมูลที่เป็นความลับของบริษัทลงไป ซึ่งถือเป็นนโยบายพื้นฐานอยู่แล้วในการดูแลควบคุมข้อมูลภายใน   นอกจากข้อมูลที่เป็นความลับบริษัท Alphabet ยังเตือนวิศวกรให้เลี่ยงการนำโค้ดที่ถูกเขียนโดยแชตบอทไปใช้งาน ซึ่งเป็นหนึ่งในความสามารถของแชตบอท AI ที่ได้รับความนิยม   ประกาศภายในของกูเกิลนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หลายบริษัทได้ออกคำเตือนหรือห้ามพนักงานในการใช้งานแชตบอท AI เพื่อป้องกันปัญหาข้อมูลรั่วไหล ไม่ว่าจะเป็น ซัมซุง อเมซอน หรือแอปเปิล ขณะที่กูเกิลเองก็ขึ้นคำแนะนำในการใช้งานแชตบอท Bard สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปด้วยว่าอย่าป้อนข้อมูลที่เป็นความลับในการสนทนา   ที่มา: Reuters   ————————————————————————————————————————————————————————————————————–   ที่มา : blognone    /   วันที่เผยแพร่ 17 มิ.ย.66 Link : https://www.blognone.com/node/134409

โบกมือลาพาสเวิร์ด! กูเกิลเปิดตัว “กุญแจรหัสผ่าน” เชื่อปลอดภัย-สะดวกขึ้น

Loading

    นับเป็นข่าวดี สำหรับผู้ที่ไม่ชื่นชอบการจำรหัสผ่านต่าง ๆ เพราะบริษัท กูเกิล (Google) มีทางออกของปัญหานี้ โดยที่จะเพิ่มสิ่งที่เรียกว่า “passkeys” หรือกุญแจรหัสผ่านที่ง่ายต่อการใช้งาน อีกทั้งยังมีความปลอดภัยที่มากขึ้น   Passkeys ถือเป็นทางเลือกที่มีความปลอดภัยมากกว่าการพิมพ์รหัสผ่าน หรือการใช้รหัสยืนยันทางข้อความ เพราะผู้ใช้งานไม่ต้องเห็นข้อมูลรหัสผ่านโดยตรง บริการออนไลน์อย่างเช่น Gmail จะใช้ Passkeys สื่อสารผ่านอุปกรณ์ที่เชื่อถือได้ เช่น โทรศัพท์หรือคอมพิวเตอร์ที่ถูกใช้งานเป็นประจำ เพื่อให้บุคคลดังกล่าวสามารถเข้าสู่ระบบ   สิ่งที่ใช้ในการยืนยันตัวตนบนอุปกรณ์ใช้งาน คือรหัสผ่านแบบปลดล็อคประเภท PIN (Personal Identification Number) หรือหมายเลขรหัสประจำตัว รวมไปถึงการยืนยันผ่านไบโอเมตริก เช่น การสแกนลายนิ้วมือหรือใบหน้า รวมถึงการยืนยันผ่านทางกายภาพที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น   Google ได้ออกออกแบบกุญแจรหัสผ่านนี้ ให้สามารถใช้งานร่วมกับอุปกรณ์และระบบปฏิบัติการที่หลากหลาย เช่น โทรศัพท์ไอโฟน (iPhone) คอมพิวเตอร์แม็คส์ (Macs) คอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส (Windows) และโทรศัพท์ระบบแอนดรอยน์ (Android) ของ Google เอง  …

Web Store ก็มีมัลแวร์เหมือนกัน! Google ลบ Extensions อันตรายที่มีผู้ติดตั้งรวม 75 ล้านครั้งออกจาก Chrome แล้ว!

Loading

    ดูเหมือนว่าจะนอกจาก Play Store แล้ว Google ก็ต้องแก้ปัญหาซอฟต์แวร์อันตรายที่เกิดขึ้นบน Chrome Web Store เช่นเดียวกัน หลังล่าสุด Google ได้ลบ ส่วนขยาย (extensions) จำนวน 32 รายการ รวมจำนวนการติดตั้ง 75 ล้านครั้งออกจาก Web Store   การค้นพบซอฟต์แวร์อันตรายนี้เริ่มจาก รายงานของนักวิจัยความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่พบมัลแวร์ที่จะฝังโค๊ด JavaScript เข้าไปในทุกเว็บ โดยเขาอธิบายว่า โค๊ดดังกล่าวถูกออกแบบมาให้ทำงานหลังการติดตั้งส่วนขยายเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และจะทำให้ผู้ใช้พบกับโฆษณาที่ผู้ใช้ไม่ต้องการ รวมถึงเข้าควบคุมหน้าค้นหาให้แสดงผลลิงก์สปอนเซอร์, ผลการค้นหาที่มีการจ่ายตังค์ และอาจเป็นลิงก์อันตราย เป็นต้น     ตัวอย่างส่วนขยายนั้น ได้แก่ Autoskip for Youtube ที่มีจำนวนผู้ติดตั้งกว่า 9 ล้านครั้ง, Soundboost ที่มียอดผู้ติดตั้งกว่า 6.9 ล้านครั้ง และ Crystal…

ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า พร้อมวิธีป้องกัน

Loading

    ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps เชื่อว่าหลายท่านใช้ Google Maps ในช่วงระหว่างเดินทาง หาร้านค้าเด็ด สถานที่โดนๆ เนื่องด้วยความนิยมของข้อมูล Google Maps ที่ใช้งานฟรี ให้ข้อมูลฟรีแบบนี้ กลายเป็นเป้าหมายหลักของมิจฉาชีพ กับการโกงด้านข้อมูลบน Google Maps ที่เรียกว่า Google Maps Scam มาดูกันว่าสิ่งที่ต้องระวังและลักษณะการโกงบน Google Maps มีอะไรบ้าง ระวังกลโกงมิจฉาชีพจากการใช้ Google Maps สำหรับกลุ่มธุรกิจและร้านค้า   นี่คือตัวอย่างกลโกง 5 ข้อ ที่พบบน Google Maps ดังนี้   จ่ายเงินเพื่อเสนอรายชื่อใน Google Maps ให้โดดเด่นขึ้น   รายชื่อบน Google Maps ค่อนข้างมีประโยชน์สำหรับทุกธุรกิจ ช่วยให้ลูกค้าค้นพบธุรกิจและรู้ว่าจะเข้าถึงพวกเขาเมื่อใดและอย่างไร มิจฉาชีพจึงหาทางเข้าหาเหยื่อโดยอุบายให้เสนอรายชื่อบน Google Maps และบางครั้งก็เสนอตำแหน่งที่โดดเด่น…