ความสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับการปฏิบัติตามกฎระเบียบ : การผสานเทคโนโลยี AI กับ PDPA

Loading

การเติบโตของ AI มาพร้อมกับความท้าทายที่สำคัญ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของประเทศไทย มีข้อกำหนดที่ชัดเจนเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม การเก็บรักษา และการประมวลผลข้อมูลขององค์กร บทความนี้จะกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่าง AI และ PDPA พร้อมทั้งสรุปผลกระทบที่มีต่อธุรกิจ และเสนอแนวทางที่องค์กรสามารถนำไปใช้ปฏิบัติตามข้อกำหนด ขณะเดียวกันก็สามารถใช้ประโยชน์จากศักยภาพของ AI ได้อย่างเต็มที่

ChatGPT ภาพหลอน และการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

Loading

  หลาย ๆ ท่านอาจเคยได้ยินว่า Generative AI อาจให้ข้อมูลที่ผิดพลาดหรือไม่ตรงกับความเป็นจริงได้ ดังนั้น ผู้ใช้งานโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM: Larger language models) จึงต้องมีความตระหนักรู้ในข้อจำกัดของเทคโนโลยีประกอบด้วย   ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจจะเป็นข้อเท็จจริงพื้นฐาน หรืออาจจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลก็ได้ ลองจินตนาการว่าหาก Generative AI ให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับตัวท่าน เช่น “วันเดือนปีเกิด” ท่านในฐานะของผู้ใช้งานโมเดลภาษาหเล่านั้นหรือเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้อง   และโดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีการให้ข้อมูลที่ไม่ถูกต้องที่อาจสร้างความเสื่อมเสียต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล   ท่านจะมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้างหรือไม่ เพื่อจะทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลของตนที่ถูกประมวลผลหรือแสดงผลโดย Generative AI นั้นถูกต้อง หรือขอให้ลบข้อมูลเหล่านั้นออกจากการประมวลผลหรือการแสดงผลลัพธ์   การที่ระบบปัญญาประดิษฐ์หรือ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ในทางเทคนนิค เรียกว่า AI Hallucination หรือการประดิษฐ์ภาพหลอนโดย AI   คือกรณีนี้เป็นสถานการณ์ที่ AI สร้างข้อมูลหรือเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องหรือไม่เป็นความจริง ซึ่งเป็นผลลัพธ์การตอบสนองที่สร้างโดย AI ที่ให้ข้อมูลที่เป็นเท็จหรือทำให้เข้าใจผิดว่าเป็นข้อเท็จจริง     เปรียบเสมือนภาพหลอนในจิตวิทยาของมนุษย์ที่อาจเกิดจากข้อจำกัดของโมเดล AI เอง…

ความท้าทายในการกำกับดูแลแพลตฟอร์มดิจิทัล

Loading

  การเติบโตของแพลตฟอร์มดิจิทัลช่วงสิบปีที่ผ่านมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมืองโลกอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน จนทำให้เกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า กลไกการกำกับดูแลการแข่งขันและการคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบัน อาจไม่เพียงพอเสียแล้ว   แพลตฟอร์มเหล่านี้ส่งเสริมให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ของสมาชิกในสังคมและข้ามสังคมที่แตกต่างไปจากในอดีต ทั้งยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนรูปแบบการทำธุรกรรมทั้งที่เป็นธุรกรรมส่วนบุคคล ธุรกรรมเชิงพาณิชย์ ธุรกรรมการเงิน ตลอดจนถึงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานภาครัฐ   แพลตฟอร์มดิจิทัลเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับอุตสาหกรรมของตนเท่านั้น แต่ยังกลายเป็นผู้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และเป็นผู้กำหนดมาตรฐานของโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญทางในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันอีกด้วย   แพลตฟอร์มดิจิทัลมีคุณลักษณะเฉพาะหลายประการ เช่น การได้ประโยชน์จากผลของการมีเครือข่ายเพื่อการเชื่อมโยงกลุ่มผู้ใช้ต่างๆ ทำให้การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสามารถเกิดขึ้นได้ทันที ผู้ใช้แพลตฟอร์มสามารถกำหนดเนื้อหาที่จะนำเสนอได้เอง   อย่างไรก็ตาม ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นคืออาจมีการนำเข้าข้อมูลเท็จ การใช้คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง และการควบคุมประเด็นการถกเถียงที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มให้เป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งจนกลายเป็นการชักนำความเห็นได้   สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นของการมีกลไกเพื่อควบคุมเนื้อหาและการกำกับดูแลที่มีประสิทธิภาพ   ในด้านการค้า แพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ส่งผลกระทบต่อภาคค้าปลีกแบบดั้งเดิมอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เนื่องจากแพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถนำเสนอความสะดวกสบายให้กับผู้บริโภคที่ธุรกิจแบบเดิมทำไม่ได้   นอกจากนี้แล้ว แพลตฟอร์มยังสามารถในการรวบรวมข้อมูลของผู้บริโภคแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ทำการตลาดเฉพาะบุคคล จนทำให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการใช้ข้อมูลไปในทางที่ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค และการใช้เพื่อสร้างแต้มต่อในการแข่งขันในตลาด จนอาจนำไปสู่การมีอำนาจเหนือตลาดได้   อีกประเด็นที่มักทำให้เกิดความกังวลคือ การดำเนินงานของแพลตฟอร์มอาจเป็นการขัดขวางการแข่งขัน (Anti-Competitive Practices) ซึ่งมักนำไปสู่การตรวจสอบอำนาจทางการตลาดของแพลตฟอร์มที่มีส่วนแบ่งตลาดสูง     เหมือนที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และอีกหลายประเทศ หน่วยงานในประเทศเหล่านี้ได้ตรวจสอบผลกระทบของการครอบงำจากแพลตฟอร์ม (Platform Dominance)…

การสอน AI ด้วยข้อมูลส่วนบุคคล (โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย)

Loading

วิธีการหนึ่งซึ่งนิยมแพร่หลาย คือ web scraping ซึ่งเป็นวิธีการคัดลอกหรือดูดข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ที่เปิดเผยต่อสาธารณะ เช่น พฤติกรรม ข้อความ รูปภาพ ข้อมูลติดต่อและอื่น ๆ ตามรูปแบบที่กำหนดเพื่อนำข้อมูลไปวิเคราะห์ตามจุดประสงค์ต่าง ๆ

ก.ต.ช. แนะ 4 ทางรอดโมเดลปลอดภัยไซเบอร์ หนุนแก้ กม. เอาผิดคนทำข้อมูลรั่ว

Loading

วันที่ 25 ก.พ. 67 ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพลและศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์ชทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกาด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง กล่าวว่า ในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่เป็นอีกบทบาทหนึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายตำรวจแห่งชาติดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนที่มีแนวโน้มของปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเพิ่มขึ้น

ซูเปอร์โพล คนกังวลความปลอดภัย หนุนยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์เป็นวาระแห่งชาติ

Loading

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567 ผศ.ดร.นพดล กรรณิกา ผู้ก่อตั้งสำนักวิจัยซูเปอร์โพล และศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ วอชิงตัน ดีซี สหรัฐอเมริกา ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการจัดการความเสี่ยง กล่าวว่า ในฐานะผู้แทนภาคประชาชนในคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่เป็นอีกบทบาทหนึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายตำรวจแห่งชาติ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่มีแนวโน้มของปัญหาเดือดร้อนของประชาชนเพิ่มขึ้น มาจากกรณีเงินถูกโจรกรรมในโลกออนไลน์ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง