เจาะลึก AI Governance สหภาพยุโรปและไทย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร?

Loading

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเราอย่างรวดเร็ว ตั้งแต่โทรศัพท์มือถือไปจนถึงระบบขนส่ง การทำความเข้าใจและกำกับดูแล AI อย่างเหมาะสมจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป รัฐบาลในหลายประเทศเริ่มตื่นตัวเกี่ยวกับ “ธรรมาภิบาล AI” หรือ AI governance ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของความโปร่งใส ความยุติธรรม หรือแม้แต่ความปลอดภัยในอนาคต ที่น่าสนใจคือ ในขณะที่สหภาพยุโรปได้ก้าวหน้าไปอีกขั้นด้วยการออกกฎหมาย EU AI Act ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2567 (แต่มีการบังคับใช้แบบค่อยเป็นค่อยไป มีขั้นมีตอน จะมีผลบังคับใช้เต็มรูปแบบช่วงกลางปี 2569) ประเทศไทยเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและได้มีการร่างคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI ออกมาเช่นกันเมื่อช่วงปลายปี 2567 แล้วสองแนวทางนี้มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? มาร่วมกันเจาะลึกถึงประเด็นเหล่านี้และเตรียมพร้อมรับมือกับยุคสมัยที่ AI จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกของเราอย่างลึกซึ้งกันครับ จากการเปรียบเทียบพระราชบัญญัติ AI ของสหภาพยุโรป (EU AI Act) และคู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative AI สำหรับองค์กรของไทย (Thai AI Guideline) มีประเด็นสำคัญดังนี้ ครับ ขอบเขตและสถานะทางกฎหมาย คู่มือแนวทางการกำกับดูแล Generative…

สหประชาชาติ เตือนอาชญากรไซเบอร์ในเอเชีย กำลังขยายตัวไปทั่วโลก

Loading

นายเบเนดิกต์ ฮอฟมันน์ รักษาการ ผู้แทน UNODC ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิก กล่าวว่า การขยายตัวของกลุ่มอาชญากรสะท้อนถึงการเติบโตของอุตสาหกรรม และกลยุทธ์ในการหลีกเลี่ยงการปราบปรามในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพบการตั้งศูนย์การทำงานในหลายประเทศของแอฟริกา เช่น แซมเบีย แองโกลา และนามิเบีย

ตลอดจนประเทศเกาะในแปซิฟิก

ภาพวันแม่กับการใช้เทคโนโลยี

Loading

  การเผยแพร่ภาพแม่กับลูกเนื่องในโอกาสวันแม่ เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาของเจ้าหญิงแห่งเวลส์ แทนที่จะสื่อถึงชาวโลกว่าพระองค์ทรงมีสุขภาพดีเป็นปกติแล้วและกำลังมีความสุขอยู่กับพระโอรสและพระธิดา กลับสร้างปัญหาสาหัสแบบคาดไม่ถึง   กล่าวคือ ไม่นานหลังจากภาพนั้นกระจายออกไป สำนักข่าวใหญ่หลายแห่งแถลงว่า ตนได้บอกให้ผู้รับภาพงดเผยแพร่ต่อเพราะสงสัยว่าภาพนั้นได้รับการตกแต่งด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยส่งผลให้ไม่สะท้อนความเป็นจริงเต็มร้อย   ต่อมา เจ้าหญิงทรงรับว่าพระองค์ทรงตกแต่งภาพนั้นจริงและทรงขออภัยในความไม่เดียงสาของความเป็นช่างภาพมือใหม่ซึ่งทดลองใช้เทคโนโลยีที่ไม่ค่อยคุ้นเคย   เหตุการณ์นั้นบานปลายเป็นประเด็นใหญ่ภายในเวลาอันสั้น เนื่องจากมีผู้ชี้ว่าทางในวังของอังกฤษได้ใช้วิธีสร้างภาพให้ดูดีเกินความเป็นจริงมานาน และฝ่ายต่อต้านการมีกษัตริย์ได้พยายามขุดคุ้ยเรื่องในแนวนี้มาเผยแพร่อย่างต่อเนื่อง   ในบางกรณีถึงกับใช้เทคโนโลยีใหม่แอบถ่ายภาพ หรือดักฟังการสนทนาของราชวงศ์ส่งผลให้เรื่องไปถึงโรงศาล การเผยแพร่ภาพดังกล่าวจึงอาจเป็นน้ำผึ้งอีกหนึ่งหยดที่ส่งผลให้เกิดจุดพลิกผันอันสำคัญยิ่งในราชวงศ์อังกฤษได้   ผู้ดูโดยทั่วไปคงไม่รู้ว่าภาพดังกล่าวนั้นได้รับการตกแต่ง แต่สำนักข่าวใหญ่ ๆ มีทั้งเทคโนโลยีร่วมสมัยและความเชี่ยวชาญในการดูภาพจึงรู้ เมื่อรู้แล้วก็มิได้อำไว้เพราะเกรงใจราชวงศ์ หากแถลงออกมาเนื่องจากยึดจรรยาบรรณในด้านวิชาชีพของตนสูงกว่าความเกรงใจในตัวบุคคล หรือสถานะทางสังคมของเขารวมทั้งราชวงศ์   เหตุการณ์นี้ชี้ให้เห็นประเด็นใหญ่เกี่ยวกับเทคโนโลยีอีกครั้ง กล่าวคือ เทคโนโลยีมีประโยชน์มหาศาล แต่มีโทษ หรือคำสาปแฝงมาด้วยเสมอ   โทษอาจเกิดจากความไม่เข้าใจ ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือความมักง่าย และความตั้งใจใช้เทคโนโลยีโดยขาดจรรยาบรรณ หรือเจตนาร้าย   ภาพ : เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงขอโทษที่ตกแต่งภาพทางการจากสำนักพระราชวังเคนซิงตัน จนสำนักข่าวดังหลายแห่งลบออกจากระบบ   ด้านประโยชน์นั้นเราคุ้นเคยกับมันในชีวิตประจำวันจนแทบไม่นึกถึง ผู้กำลังอ่านบทความนี้คงมีเครื่องมือทำด้วยเทคโนโลยีร่วมสมัยและอาจใช้มันอ่านอยู่ด้วยรวมทั้งโทรศัพท์อัจฉริยะ คอมพิวเตอร์จำพวกพกพาและคอมพิวเตอร์จำพวกตั้งโต๊ะ   ส่วนผู้อ่านการพิมพ์บนหน้ากระดาษก็อาจมิได้นึกถึงว่ากระดาษและตัวหนังสือที่ปรากฏต่อหน้าจะเกิดขึ้นไม่ได้หากไม่ใช้เทคโนโลยีหลายอย่างด้วยกัน   ส่วนด้านโทษก็มีมาก…