จากบัญชีธนาคาร สู่ บัญชีคริปโตฯ เมื่อ “บัญชีม้า” กำลังกลายพันธุ์ ภัยใหม่โลกดิจิทัล

Loading

    ในสังคมไทย คำว่า “บัญชีม้า” ไม่ใช่คำใหม่ แต่กลับเป็นคำที่อยู่คู่กับข่าวอาชญากรรมมานานหลายปี และยิ่งทวีความน่ากลัวขึ้นทุกครั้งที่มีเหยื่อโผล่มาเล่าเรื่องราวผ่านหน้าสื่อ บัญชีม้าในความหมาย คือ บัญชีธนาคารที่ถูกใช้โดยผู้อื่นเพื่อรับ-โอนเงินที่เกี่ยวข้องกับการหลอกลวงหรือการกระทำผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการหลอกลงทุน, คอลเซ็นเตอร์, ซื้อขายออนไลน์ หรือแม้แต่แชร์ลูกโซ่ในยุคใหม่ เรื่องน่าเศร้า เมื่อผู้เป็นเจ้าของบัญชีม้ามักไม่ใช่ผู้ก่อเหตุโดยตรง แต่กลับต้องกลายเป็น “ผู้ต้องสงสัย” ในทางกฎหมาย บางคนตกเป็นเหยื่อเพียงแค่ให้คนรู้จักยืมบัญชี หรือบางคนโดนขโมยข้อมูลบัตรประชาชนไปเปิดบัญชีโดยไม่รู้ตัว แต่อีกทาง ก็มีคนอีกจำนวนมาก ยอมแลกบัตรประชาชนตัวเองกับเงินแค่ 500 บาทเรื่อยไปถึง 2,000 บาท และในขณะที่ภาครัฐเร่งปราบปรามขบวนการใช้บัญชีม้าในระบบธนาคาร (ยอดสะสม ณ สิ้น ก.พ. 2568 มากกว่า 2 ล้านบัญชี หรือมากกว่า 1 แสน 5 หมื่นรายชื่อ) ล่าสุด มิจฉาชีพกำลังเปลี่ยนสนามจากโลกที่ผูกติดกับบัญชีธนาคารแบบดั้งเดิมสู่โลกดิจิทัลที่มีกระเป๋าคริปโตเคอร์เรนซีแทนบัญชีธนาคาร ซึ่งดูเหมือนวิธีฟอกเงินจะซับซ้อนและติดตามได้ยากขึ้น เป็นภัยสำหรับคนธรรมดาอย่างยิ่ง จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปัจจุบันเริ่มเห็นการโอนเงินระหว่างบัญชีม้าเป็นทอด ๆ ที่สั้นลงอย่างมีนัย จากเดิมที่เคยโอนเงินผ่านบัญชีม้า 4-5…

พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ นัดจิบกาแฟผู้ช่วยทูตตำรวจ 50 ประเทศ ชี้ภัยออนไลน์ คุกคามคนไทย

Loading

พลตำรวจเอกสุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้เชิญเจ้าหน้าที่นายตำรวจประสานงานประจำสถานเอกอัครราชทูตในราชอาณาจักรไทย ประมาณ 100 คน จาก 54 ประเทศ เข้ามาร่วมจิบกาแฟ หารือแนวทางการจัดการปัญหา และกระชับความสัมพันธ์ ส่งเสริมความร่วมมือในการประสานงานกันอย่างอย่างใกล้ชิด

รายงานเผย มีการจ่ายค่าไถ่ทางไซเบอร์ผ่านธนาคารในสหรัฐฯ รวมกันกว่า 45,000 ล้านบาท

Loading

  เครือข่ายการบังคับใช้กฎหมายต่ออาชญากรรมทางการเงิน (FinCEN) ในสังกัดกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกา (USDT) เผยว่าในปี 2021 มีการทำธุรกรรมเกี่ยวกับการจ่ายค่าไถ่ให้กับอาชญากรที่ใช้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ผ่านธนาคารของสหรัฐฯ รวมกันถึงเกือบ 1,200 ล้านเหรียญ (ราว 45,000 ล้านบาท)   นอกจากนี้ ยังพบด้วยว่าการจ่ายค่าไถ่ในปี 2021 ยังเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 188 เมื่อเทียบกับปี 2020 เหตุการณ์ถึงร้อยละ 75 เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2021 โดยผู้ก่อเหตุจำนวนมากมาจากรัสเซีย   FinCEN ชี้ว่าตัวเลขข้างต้นไม่ได้แปลว่ามีจำนวนการโจมตีมากขึ้นเสมอไป แต่อาจหมายถึงว่าการโจมตีในแต่ละครั้งทวีความรุนแรงมากขึ้นก็ได้   ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ใช้ในการวิเคราะห์นั้น FinCEN นำมาจากเอกสารคดีภายใต้กฎหมายรักษาความลับของธนาคาร (BSA) ตลอดทั้งปี 2021 ซึ่ง FinCEN ได้รับเอกสารบันทึกที่เกี่ยวกับมัลแวร์เรียกค่าไถ่มากถึง 1,489 ฉบับ   ฮิมาเมาลิ ดัส (Himamauli Das) รักษาการณ์ผู้อำนวยการ FinCEN ระบุว่ารายงานนี้เผยให้เห็นความสำคัญของการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ BSA ซึ่งทำให้ FinCEN สามารถศึกษาแนวโน้มและรูปแบบภัยคุกคามดังกล่าว…